ในยุคฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษคุกคามคนไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ติดอันดับประเทศที่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากฝุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะ “มะเร็งปอด” ที่เป็นข้อกังวลในระยะยาว
ในยุคฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษคุกคามคนไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ติดอันดับประเทศที่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากฝุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะ “มะเร็งปอด” ที่เป็นข้อกังวลในระยะยาว ซึ่ง รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเข้ามารักษามากขึ้น และมีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อย ๆ และมักได้ยินคำถามว่า “ผมเจอมะเร็งปอด แล้วผมอยู่นานรึเปล่า” หรือ “จะมีโอกาสรอดหรือไม่”
“สถิติข้อมูลจากสถาบันมะเร็งนานาชาติ ซึ่งพบว่ามะเร็งปอดเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก และมีอัตราการตายจากโรคมะเร็งที่สูงที่สุดด้วย”
ในส่วนของมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการและมักมาหาแพทย์ด้วยความรวดเร็วขึ้น เนื่องจากมะเร็งเต้านมอยู่ภายนอกสามารถคลำได้ เจอได้ก่อนที่จะลุกลาม ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีอาการเตือนเป็นช่วง ๆ เช่น ถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีเลือดออก
ส่วน “มะเร็งปอด” โดยส่วนมากแล้วคนไข้มักจะมาหาแพทย์ด้วยระยะที่เป็นมากแล้ว เพราะปอดเป็นอวัยวะภายในและมักไม่มีการแสดงอาการในระยะแรก ปอดมีพื้นที่เยอะ ก้อนมะเร็งแค่ 1 เซนติ เมตรหรืออาจไม่ถึง 1% ของพื้นที่ปอด ซึ่งกว่าที่จะมีอาการก็มักจะเป็นมากแล้ว ดังนั้นการรักษาเลยได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ผู้ป่วยที่มาครั้งแรกจากโรคมะเร็งปอดจำนวนกว่า 60-70% มักจะตรวจเจออุบัติการณ์ของโรคในระยะที่ 4 ส่วนระยะที่ 3 จะอยู่แค่ประมาณ 20%และในระยะที่ 1-2 จะอยู่รวมกันประมาณ 15-20% เท่านั้น
ปัจจุบันวิธีการตรวจที่มีการศึกษาและยืนยันว่าจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของมะเร็งปอด คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดรังสีต่ำ (Low-dose Computed Tomo-graphy : LDCT ) ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยก้อนมะเร็งได้รวดเร็วขึ้น เหมาะสมกับคนไข้ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งสูง เช่น คนไข้ที่สูบบุหรี่หนักและเป็นเวลานาน
ส่วนการรักษาโรคมะเร็งปอดนั้น สามารถรักษาได้ทั้งการผ่าตัดและการให้ยารักษา เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้าหรือการฉายแสง โดยเฉพาะคนไข้ที่เจอโรคในระยะเริ่มต้น การผ่าตัดมักมีโอกาสหายขาดได้มาก อีกทั้งยิ่งเป็นการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง เช่น การผ่าตัดแบบจุดเดียวจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
“เวลาผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว มักจะถูกมองว่าเค้าอาจจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน แต่ในโลกปัจจุบันไม่ใช่เป็นแบบนั้นอีกแล้ว เรามีการรักษาโรคมะเร็งปอดที่รักษาให้หายขาดได้ หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งปอดที่แพร่กระจายแล้ว คนไข้ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างใกล้เคียงเป็นปกติได้”
รศ.นพ.ศิระ ระบุว่า ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา โอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปี ของคนไข้มะเร็งปอดเมื่อระยะที่ 1 จะมีมากถึง 80-90% และ ระยะ 2 โอกาสรอด 50-70% ส่วนในระยะ 3 โอกาสรอด 30-50% และในระยะ 4 โอกาสรอด 0-20% โดยการรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยามุ่งเป้าสำหรับผู้ป่วยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมของมะเร็งปอด เช่น EGFR, ALK, ROS-1 นั้น ๆ ทำให้คนไข้มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือผู้ป่วยต้องเข้าถึงการรักษาให้เร็วที่สุดและต้องร่วมมือในการรักษา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “อย่าหลงทาง” ถ้าผู้ป่วยหลงทางไปรักษาในวิธีที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาส ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้ป่วยต้องไม่เสียโอกาสในการรักษาให้หาย
หรือหากมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถปรึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอด โดย รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ได้ที่ Lineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์
https://www.siradoctorlung.com...
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/articles/4400936/
ตำแหน่งปวดหัว บอกโรคได้จริงหรือ
คอลัมน์ : สุขภาพดีกับรามาฯ
ผู้เขียน : อ.พญ.ธนนันท์ ธรรมมงคลชัย สาขาวิชาประสาทวิทยา
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อาการปวดหัว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป แม้ส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย และสามารถหายเองได้จากการกินยาหรือพักสักระยะ แต่ยังมีอาการปวดหัวบางประเภทที่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงบางอย่าง ปวดหัวแบบไหนไม่ควรนิ่งนอนใจ และจริงไหมที่ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้ เรามาหาคำตอบกัน
อาการปวดหัว คืออาการปวดบริเวณหัวหรือลำคอส่วนบน เกิดได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดตลอดเวลา ปวดเป็นพัก ๆ ปวดตุ้บ ๆ ปวดแปล๊บ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แม้จะเป็นอาการปวดศีรษะเหมือนกัน แต่อาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ กล้ามเนื้อตึงตัวรอบศีรษะ โรคไมเกรน หรือโรคอื่น ๆ เช่น มีสิ่งผิดปกติในสมอง
ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้ระดับหนึ่ง
ตำแหน่งปวดหัวสามารถบอกโรคได้ในระดับหนึ่ง ได้แก่ ปวดหัวเหมือนมีอะไรมารัด เกิดจากกล้ามเนื้อตึงตัวหรือความเครียด เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อย และไม่ได้มีความร้ายแรง, ปวดหัวข้างเดียว อาจเป็นไมเกรนหรือไม่ใช่ก็ได้ และปวดจากบ่าลามขึ้นไปที่หัว เป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
มีความเชื่อที่แชร์ต่อ ๆ กันมาว่า ตำแหน่งของการปวดหัวสามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไรอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จริงหรือไม่
ความเชื่อที่ 1 ปวดหัวข้างเดียวเป็นไมเกรน ความเชื่อนี้ไม่จริง ปวดไมเกรนมีลักษณะจำเพาะหลายอย่าง การปวดหัวข้างเดียวเป็นเพียงหนึ่งในอาการของไมเกรนเท่านั้น แต่คนไข้ยังต้องมีอาการอื่น ๆ อีกถึงจะเรียกได้ว่าเป็นโรคไมเกรนจริง ๆ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในวัยนักศึกษา วัยทำงาน แต่หากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แล้วไม่เคยปวดหัวมาก่อนมักไม่ใช่อาการของไมเกรน
ความเชื่อที่ 2 ปวดตรงโหนกแก้ม กลางใบหน้า เป็นไซนัสอักเสบ ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวดตรงโหนกแก้มหรือปวดตรงใบหน้า เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนไข้ไซนัสอักเสบบางราย แต่การปวดบริเวณนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น การปวดจากเส้นประสาทคู่ที่ 5 มักจะปวดบริเวณครึ่งล่างของใบหน้า มีความปวดร้าวเหมือนปวดฟัน
ความเชื่อที่ 3 ปวดหัว ปวดหู แถมปวดกราม เป็นโรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวด 3 อย่างนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ปวดหู อาจเป็นหูชั้นกลางหรือหูชั้นนอกอักเสบ หากปวดกรามอาจเกิดจากการกัดฟันตอนนอน แล้วส่งผลให้ปวดตอนกลางวัน อาการเหล่านี้เป็นโรคใกล้ตัวที่พบได้บ่อย ซึ่งหลายคนมองข้ามไป
ความเชื่อที่ 4 ปวดหัวรุนแรง ฉับพลัน เป็นโรคอันตรายทางสมอง ความเชื่อนี้ไม่จริง เพราะหากเป็นอาการปวดหัวที่บ่งบอกถึงโรคทางสมอง คนไข้จะต้องมีอาการอื่นด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ซึม อ่อนแรง
ทั้งนี้ อาการปวดหัวที่ต้องระวัง ได้แก่ ปวดหัวร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัวตอนกลางคืนจนทำให้ตื่น ปวดหัวแบบมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ซึม รู้สึกตัวน้อยลง และชัก...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/rama-health/news-1754553
หมอตอบชัด’เป็นมะเร็งปอดจะรอดไหมครับ’ และ ตำแหน่งปวดหัว บอกโรคได้จริงหรือ
ในยุคฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษคุกคามคนไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ติดอันดับประเทศที่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากฝุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะ “มะเร็งปอด” ที่เป็นข้อกังวลในระยะยาว ซึ่ง รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเข้ามารักษามากขึ้น และมีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อย ๆ และมักได้ยินคำถามว่า “ผมเจอมะเร็งปอด แล้วผมอยู่นานรึเปล่า” หรือ “จะมีโอกาสรอดหรือไม่”
“สถิติข้อมูลจากสถาบันมะเร็งนานาชาติ ซึ่งพบว่ามะเร็งปอดเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก และมีอัตราการตายจากโรคมะเร็งที่สูงที่สุดด้วย”
ในส่วนของมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการและมักมาหาแพทย์ด้วยความรวดเร็วขึ้น เนื่องจากมะเร็งเต้านมอยู่ภายนอกสามารถคลำได้ เจอได้ก่อนที่จะลุกลาม ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีอาการเตือนเป็นช่วง ๆ เช่น ถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีเลือดออก
ส่วน “มะเร็งปอด” โดยส่วนมากแล้วคนไข้มักจะมาหาแพทย์ด้วยระยะที่เป็นมากแล้ว เพราะปอดเป็นอวัยวะภายในและมักไม่มีการแสดงอาการในระยะแรก ปอดมีพื้นที่เยอะ ก้อนมะเร็งแค่ 1 เซนติ เมตรหรืออาจไม่ถึง 1% ของพื้นที่ปอด ซึ่งกว่าที่จะมีอาการก็มักจะเป็นมากแล้ว ดังนั้นการรักษาเลยได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ผู้ป่วยที่มาครั้งแรกจากโรคมะเร็งปอดจำนวนกว่า 60-70% มักจะตรวจเจออุบัติการณ์ของโรคในระยะที่ 4 ส่วนระยะที่ 3 จะอยู่แค่ประมาณ 20%และในระยะที่ 1-2 จะอยู่รวมกันประมาณ 15-20% เท่านั้น
ปัจจุบันวิธีการตรวจที่มีการศึกษาและยืนยันว่าจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของมะเร็งปอด คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดรังสีต่ำ (Low-dose Computed Tomo-graphy : LDCT ) ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยก้อนมะเร็งได้รวดเร็วขึ้น เหมาะสมกับคนไข้ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งสูง เช่น คนไข้ที่สูบบุหรี่หนักและเป็นเวลานาน
ส่วนการรักษาโรคมะเร็งปอดนั้น สามารถรักษาได้ทั้งการผ่าตัดและการให้ยารักษา เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้าหรือการฉายแสง โดยเฉพาะคนไข้ที่เจอโรคในระยะเริ่มต้น การผ่าตัดมักมีโอกาสหายขาดได้มาก อีกทั้งยิ่งเป็นการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง เช่น การผ่าตัดแบบจุดเดียวจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
“เวลาผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว มักจะถูกมองว่าเค้าอาจจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน แต่ในโลกปัจจุบันไม่ใช่เป็นแบบนั้นอีกแล้ว เรามีการรักษาโรคมะเร็งปอดที่รักษาให้หายขาดได้ หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งปอดที่แพร่กระจายแล้ว คนไข้ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างใกล้เคียงเป็นปกติได้”
รศ.นพ.ศิระ ระบุว่า ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา โอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปี ของคนไข้มะเร็งปอดเมื่อระยะที่ 1 จะมีมากถึง 80-90% และ ระยะ 2 โอกาสรอด 50-70% ส่วนในระยะ 3 โอกาสรอด 30-50% และในระยะ 4 โอกาสรอด 0-20% โดยการรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยามุ่งเป้าสำหรับผู้ป่วยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมของมะเร็งปอด เช่น EGFR, ALK, ROS-1 นั้น ๆ ทำให้คนไข้มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือผู้ป่วยต้องเข้าถึงการรักษาให้เร็วที่สุดและต้องร่วมมือในการรักษา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “อย่าหลงทาง” ถ้าผู้ป่วยหลงทางไปรักษาในวิธีที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาส ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้ป่วยต้องไม่เสียโอกาสในการรักษาให้หาย
หรือหากมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถปรึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอด โดย รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ได้ที่ Lineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์ https://www.siradoctorlung.com...
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/4400936/
ตำแหน่งปวดหัว บอกโรคได้จริงหรือ
คอลัมน์ : สุขภาพดีกับรามาฯ
ผู้เขียน : อ.พญ.ธนนันท์ ธรรมมงคลชัย สาขาวิชาประสาทวิทยา
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อาการปวดหัว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป แม้ส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย และสามารถหายเองได้จากการกินยาหรือพักสักระยะ แต่ยังมีอาการปวดหัวบางประเภทที่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงบางอย่าง ปวดหัวแบบไหนไม่ควรนิ่งนอนใจ และจริงไหมที่ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้ เรามาหาคำตอบกัน
อาการปวดหัว คืออาการปวดบริเวณหัวหรือลำคอส่วนบน เกิดได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดตลอดเวลา ปวดเป็นพัก ๆ ปวดตุ้บ ๆ ปวดแปล๊บ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แม้จะเป็นอาการปวดศีรษะเหมือนกัน แต่อาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ กล้ามเนื้อตึงตัวรอบศีรษะ โรคไมเกรน หรือโรคอื่น ๆ เช่น มีสิ่งผิดปกติในสมอง
ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้ระดับหนึ่ง
ตำแหน่งปวดหัวสามารถบอกโรคได้ในระดับหนึ่ง ได้แก่ ปวดหัวเหมือนมีอะไรมารัด เกิดจากกล้ามเนื้อตึงตัวหรือความเครียด เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อย และไม่ได้มีความร้ายแรง, ปวดหัวข้างเดียว อาจเป็นไมเกรนหรือไม่ใช่ก็ได้ และปวดจากบ่าลามขึ้นไปที่หัว เป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
มีความเชื่อที่แชร์ต่อ ๆ กันมาว่า ตำแหน่งของการปวดหัวสามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไรอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จริงหรือไม่
ความเชื่อที่ 1 ปวดหัวข้างเดียวเป็นไมเกรน ความเชื่อนี้ไม่จริง ปวดไมเกรนมีลักษณะจำเพาะหลายอย่าง การปวดหัวข้างเดียวเป็นเพียงหนึ่งในอาการของไมเกรนเท่านั้น แต่คนไข้ยังต้องมีอาการอื่น ๆ อีกถึงจะเรียกได้ว่าเป็นโรคไมเกรนจริง ๆ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในวัยนักศึกษา วัยทำงาน แต่หากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แล้วไม่เคยปวดหัวมาก่อนมักไม่ใช่อาการของไมเกรน
ความเชื่อที่ 2 ปวดตรงโหนกแก้ม กลางใบหน้า เป็นไซนัสอักเสบ ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวดตรงโหนกแก้มหรือปวดตรงใบหน้า เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนไข้ไซนัสอักเสบบางราย แต่การปวดบริเวณนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น การปวดจากเส้นประสาทคู่ที่ 5 มักจะปวดบริเวณครึ่งล่างของใบหน้า มีความปวดร้าวเหมือนปวดฟัน
ความเชื่อที่ 3 ปวดหัว ปวดหู แถมปวดกราม เป็นโรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวด 3 อย่างนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ปวดหู อาจเป็นหูชั้นกลางหรือหูชั้นนอกอักเสบ หากปวดกรามอาจเกิดจากการกัดฟันตอนนอน แล้วส่งผลให้ปวดตอนกลางวัน อาการเหล่านี้เป็นโรคใกล้ตัวที่พบได้บ่อย ซึ่งหลายคนมองข้ามไป
ความเชื่อที่ 4 ปวดหัวรุนแรง ฉับพลัน เป็นโรคอันตรายทางสมอง ความเชื่อนี้ไม่จริง เพราะหากเป็นอาการปวดหัวที่บ่งบอกถึงโรคทางสมอง คนไข้จะต้องมีอาการอื่นด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ซึม อ่อนแรง
ทั้งนี้ อาการปวดหัวที่ต้องระวัง ได้แก่ ปวดหัวร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัวตอนกลางคืนจนทำให้ตื่น ปวดหัวแบบมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ซึม รู้สึกตัวน้อยลง และชัก...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/rama-health/news-1754553