เชื้อ HPV ภัยเงียบที่ผู้หญิงและผู้ชายไม่ควรมองข้าม

สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาวพันทิพทุกท่าน
ยากจะบอกเล่าเรื่องนี้เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้ให้เพื่อนๆทุกท่านได้ตระหนักถึงความอันตรายที่หลายๆท่านในที่นี้อาจจะไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำและอาจจะเคยเกิดขึ้นแล้วด้วยซ้ำแต่ละเลยมองข้ามมันไป

ก่อนอื่นมารู้จัก HPV แบบคร่าวๆ อาจจะยาวไปนิดเสียเวลาหน่อยแต่มีประโยชน์นะคะ
 (HPV : Human papilloma virus) เจ้าไวรัสตัวนี้เรียกง่ายๆ คือ ไวรัสหูด หรือ หูด ที่หลายคนอาจจะเคยเป็น เชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว และก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสทางผิวหนังและทางเพศสัมพันธ์ ทางช่องคลอด, ปาก และทวารหนัก โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เกิดการถลอก มีรอยขีดข่วน การเสียดสีมีแผล การสัมผัสกับบริเวณผิวหนังที่เป็นหูดหรือการหยิบจับของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ รวมทั้งการแกะเกา ทำให้เกิดการแพร่กระจายของหูดไปยังส่วนอื่นๆได้ เชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวนูนขึ้นหรือเป็นติ่งเนื้อให้เห็น ลักษณะของหูดขึ้นอยู่กับสายพันธ์ของไวรัสและบริเวณที่เป็น  ผู้ที่มีเชื้อ HPV อยู่ในร่างกาย มักไม่มีอาการแสดงใด ๆ จึงอาจแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว

เชื้อไวรัสชนิดนี้มีมากกว่า 100 สายพันธุ์  สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

-สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำไม่ก่อมะเร็ง ไม่ได้ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น HPV สายพันธ์ุ 6 และ สายพันธ์ุ11

-สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงก่อมะเร็ง มีประมาณ 40 สายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ และ 14 สายพันธุ์ ทําให้เป็นโรคร้าย HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์  โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงประมาณร้อยละ 70 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33
HPV สายพันธุ์ 16  เป็นเชื้อชนิดที่มีความเสี่ยงสูงที่ ผู้ที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการที่เห็นได้ชัดเจน และส่งผลให้เซลล์ที่ปากมดลูกเปลี่ยนแปลง จนเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคออีกด้วย
HPV สายพันธุ์ 18 มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกับ สายพันธุ์ 16 โดยทั่วไปมักจะไม่แสดงอาการเช่นเดียวกัน และมักเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก

HPV ภัยเงียบสำหรับผู้ชาย 
-90% ของผู้ชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์ เคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่ง ของชีวิต
-การติดเชื้อ HPV ในเพศชายไม่ลดลง ตามช่วงอายุ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายตอบสนองต่อเชื้อ HPV ได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายไม่สามารถกําจัดเชื้อออกไปได้ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
-เชื้อ HPV สามารถแฝงอยู่ในร่างกาย ได้นานกว่า 10 ปี โดยไม่มีอาการใด ๆ ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้ออาจแพร่สู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว
-ไม่มีการตรวจคัดกรองมะเร็งอวัยวะเพศชาย ทำให้ส่วนมากจะตรวจพบเมื่อเป็นโรค หรือมะเร็งระยะลุกลาม แล้วเท่านั้น

คนเราอาจจะเคยได้รับเชื้อ HPV จากการใช้ชีวิตประจำวันสัมผัสและใช้สิ่งของต่างๆ  ร่วมกับผู้อื่น เช่น ห้องน้ำสาธารณะ แม้กระทั้งปุ่มกดในลิฟท์ ลูกบิด หรือ กลอนและที่จับประตู หากบริเวณสัมผัสเชื้อโดยตรงนั้นมีแผล หากร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไปได้โดยธรรมชาติ และก็มีบางส่วนที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก และอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่
1.   อายุ ส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกมักพบในผู้มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
2.   *** เปลี่ยนคู่นอนบ่อยมีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มากขึ้น เพราะปัจจุบันนี้มีความหลากหลายทางรสนิยมและความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างเปิดกว้าง ทำให้มีความเสี่ยงรับเชื้อที่ค่อนข้างสูง
3.   สูบบุหรี่
4.   มีบุตรจำนวนมาก
5.   ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์)
6.   ไม่เคยตรวจภายใน เพื่อค้นหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Precancercous lesion) ซึ่งในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่สามารถตรวจพบด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาที่เรียกว่าแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) และสามารถรักษาได้ หากตรวจพบรอยโรคในระยะนี้ก็จะสามารถป้องกันการเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
 
การป้องกัน
-ทางทีดีที่สุดต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงให้ตัวเอง ใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าจะไม่ได้ช่วยป้องกันแบบ 100 %  เพราะอาจติดเชื้ออยู่บริเวณภายนอกแต่ก็ดีกว่าไม่ใส่เพราะป้องกันอย่างอื่นได้

-รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อยๆในระหว่างวัน สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันตัว จขกท จะพกแอลกอฮอล์และทิชชู่เปียกติดตัวเสมอเวลาออกจากบ้าน หากต้องใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ห้องน้ำ อย่างที่รู้ว่าแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อไวรัสได้ก่อนจะใช้ก็จะฉีดแอลกอฮอล์บริเวณฝาชักโครกแล้วเช็ดด้วยกระดาษทิชชู่ก่อนนั่ง ทำเท่าที่ทำได้ไม่รู้ว่าช่วยได้มั้ยแต่ก็สบายใจ

-สังเกตุตัวเองเมื่อเห็นความผิดปกติอย่านิ่งนอนใจ ควรไปตรวจภายใน หรือ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 3 ปี หรือ ตรวจเชื้อไวรัส HPV ทุกๆ 5 ปี หากพบเชื้อคุณหมอจะตรวจไปตามขั้นตอนและแนะนำการรักษาอาจจะขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของการติดเชื้อ สำหรับการตรวจ HPV ในเพศชาย สามารถทำได้คล้ายกับผู้หญิง คือการเก็บเซลล์บริเวณองคชาตหรือปากทวารหนัก เพื่อนำเซลล์ที่สงสัยไปดูการเรียงตัวว่าผิดปกติเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือไม่

-ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี ทั้งชายและหญิง มีหลายชนิด สามารถศึกษาเพิ่มเติ่มอย่างละเอียดจากแหล่งข้อมูล บทความของโรงพยาบาลและทางการแพทย์อื่นๆ  ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ความรู้ทั่วไปนี้ จขกท รวบรวมตามความเข้าใจโดยอ้างอิงข้อมูลมาจาก
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/496   
https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/08312020-1159   
https://piyavate.com

และต่อจากนี้จะเป็นประสปการณ์ตรงล้วนๆที่ จขกท อยากบอกต่อเพื่อนๆให้พึงตะหนักไว้ แม้ว่าจะรักสามีรักแฟนมากแค่ไหนก็อย่าละเลยตัวเองอย่างเด็ดขาดนะคะ 
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่