ขอคำแนะนำการออกแบบแผ่นเหล็ก (Steel Plate)

สวัสดีค่ะ เกริ่นก่อนว่าดิฉันเพิ่งจบวิศวกรรมโยธามาหมาดๆ ไม่มีประสบการณ์ในการออกแบบจริงจังมาก่อน แต่บังเอิญได้งานออกแบบ และไม่มีคนสอนงานเลยค่ะ ปัจจุบันเวลาทำงานจะกลับย้อนไปศึกษาทบทวนข้อมูลจากเนื้อหาที่เคยเรียนและในอินเทอร์เน็ตตามแหล่งที่เชื่อถือได้ ในการมาประยุกต์ใช้กับงาน ตอนนี้มีหลายอย่างมากๆที่ดิฉันรู้สึกว่าดิฉันไม่เข้าใจ รู้สึกว่าที่เรียนมามันแทบจะคิดเป็นแค่ประมาณ 30% ของสิ่งที่ควรรู้ในการทำงาน ดังนั้นต่อๆไปคงได้เข้ามาตั้งกระทู้ถาม เพื่อหาความรู้อีกหลายกระทู้หลายหัวข้อ
         ยังไงรบกวนพี่ๆวิศวกรผู้มีประสบการณ์ช่วยไขข้อสงสัยทีนะคะ ดิฉันต้องการได้ความรู้เพิ่มหรือเปลี่ยนการเข้าใจผิดมากๆ เพื่อนำไปสร้างประโยชน์ต่อไปและลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นหากทำไปโดยความรู้ที่อาจจะไม่ถูกต้อง

         กระทู้นี้สิ่งที่ดิฉันสงสัยคือเรื่องของการออกแบบ Steel Plate (ในกรณีนี้เป็น Raised Pattern Floor Plate จะเลือกใช้เป็น Steel Plate ลายตีนไก่)
1.สำหรับทำบันไดเหล็ก ในส่วนขั้นบันได และชานพักบันได
2.สำหรับทำพื้นเหล็กระเบียงตกแต่ง ที่ไม่ได้รับน้ำหนักจากคนที่จะขึ้นไปใช้ แต่รับน้ำหนักจากโครงสร้างตกแต่งทางสถาปัตยกรรม จำพวกผนังเบา เหล็กฉีก

         จากการอ่าน Textbook ของต่างประเทศ ได้ทราบมาว่า
1.สามารถคำนวณหาความหนาของ Steel Plate โดยอ้างอิงจากตาราง 3-18b ของ AISC รายละเอียดดังรูปที่แนบมา (บางส่วนนะคะ) เราก็จะได้รู้ Maximum Uniformly Distributed Load ที่สามารถรับได้ในแต่ละขนาด ซึ่งเราจะสามารถเอาเป็นค่าควบคุมในการออกแบบความหนาได้
         
คำถาม คือ
         1).คำพูดที่กล่าวไปด้านบน ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ?
         2).คำว่า Span ในตารางที่นี้เหมือนแผ่นพื้นคสล.ไหมคะ ถ้ายกตัวอย่าง Steel Plate ขนาด 1.26 x 12 m. Span คือ 1.26 m. ถูกไหมคะ? 
         3).สมมติว่าเราจะเอาข้อมูลมาใช้กับ Steel Plate ที่ยกตัวอย่างด้านบน คือ ขนาด 1.26 x 12 m.
             - เท่ากับว่าเราควรจะใช้ค่าตารางจากช่อง Span มีค่าเท่ากับ 4 ft และลองใช้ความหนา 3/16" ซึ่งมี Maximum Uniformly Distributed Load เท่ากับ 70.2 Ib/ft^2 หรือ 343 kg/m^2 (ค่าจากตารางที่ตัดรูปไปไม่ถึงค่ะ)
             - ซึ่งแปลว่า Steel Plate ที่มีความยาว 4 ft หรือ 1.26 m. จะรับ Maximum Uniformly Distributed Load ได้ 343 kg ในทุกๆ 1 m^2
             - เราสามารถใช้ค่านี้ได้เลยในการสรุปผลออกแบบความหนา โดยไม่ต้องเอาไปคูณความยาว 12 m. อีก หรือทำกระบวนการคำนวณอื่นๆเพิ่ม ถูกไหมคะ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่