สมาธิในฌานมันโง่
สมาธิในอริยมรรคมันฉลาด
.
สมาธิในฌานจิตสงบนิ่งรู้อยู่ในสิ่ง สิ่งเดียวความรู้อื่นความเห็นอื่นไม่ปรากฏขึ้น เป็นสมาธิแบบอารัมณูปนิชฌาน
เป็นสมาธิในฌานสมาบัติ
.
สมาธิในอริยมรรค มันฉลาด
คือ จิตสงบนิ่งลงไปนิดหนึ่งความรู้ความคิดมันเกิดขึ้นมาฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งขึ้นมายังกับน้ำพุ
ที่นี้ในเมื่อความรู้ความคิดมันเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร
.
ความคิด คือวิตกใช่ไหมล่ะ
สติที่รู้พร้อมอยู่ที่ในขณะที่จิตเกิดความคิดคือ วิจารใช่หรือเปล่าในเมื่อ จิตมีวิตก วิจาร ปีติและสุขมันก็ย่อมบังเกิดขึ้น
สมาธิในวิปัสนานี่อาศัย องค์ฌานคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตาเหมือนกัน เหมือนกันกับสมาธิในฌานสมาบัติ
.
แตกต่างกันโดยที่ว่า สมาธิในฌานสมาบัติไม่เกิดภูมิความรู้
เป็นแต่เพียงทำจิตให้ละเอียด ละเอียด ละเอียดจนกระทั่ง เกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่
.
แต่สมาธิในอริยะมรรคนี้ พอจิตสงบนิ่งลงไปปั๊บ บางทีก็รู้สึกแจ่ม ๆ แต่ความคิดมันผุดขึ้นมาผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมาแบบรั้งไม่อยู่
.
ซึ่งนักปฏิบัติบางท่านเข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน อย่าไปเข้าใจผิด
บางทีพอจิตสว่างแล้วก็เกิดเห็นโน่นเห็นนี่ทางนิมิตรขึ้นมา
เมื่อจิตเลิกรู้เห็นนิมิตรแล้วก็มาเกิดภูมิความรู้ความคิดขึ้นมายังกับน้ำพุอีกเหมือนกัน
.
นี่เป็นสมาธิในอริยะมรรค
ซึ่งเรียกว่า สมาธิวิปัสนา เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจถูกต้อง ในช่วงใดจิตต้องการสงบนิ่งปล่อยให้นิ่ง ช่วงใดจิตต้องการคิดปล่อยให้คิด แต่มีสติกำหนดตามรู้
.
ทีนี่ถ้าหากสมาธิถึงขนาดที่เกิดภูมิความรู้ขึ้นมาเองเนี่ยเราไม่ต้องไปกำหนดอะไรหรอกเขาจะเป็นไปเองของเขา
.
จิตของเราจะรู้...เฉยอยู่เท่านั้น บางครั้งพอจิตสงบแล้วมันเกิดมีความคิดขึ้นมา ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งขึ้นมา จิตอาจจะแบ่ง ออกเป็นแยกออกเป็น 3 มิติ
.
มิติหนึ่ง คิดอยู่ไม่หยุดยั้ง
อีกมิติหนึ่งเฝ้าดูงาน
อีกมิติหนึ่ง ถ้าร่างกายปรากฎ
จะมาสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย
.
ตัวที่คิดอยู่ไม่หยุด เป็นจิตเหนือสำนึก ตัวที่เฝ้าดูคือตัวผู้รู้ได้แก่ สติ ตัวที่หยุดนิ่งคือจิตใต้สำนึกตัวคอยเก็บผลงาน
.
ลองไปปฏิบัติดูนะ จะเป็นไปได้มั๊ย อย่างที่ว่านี้
อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เทศน์
.
อธิบายโอวาท หลวงปู่เทศน์ เทศรังสี โดยหลวงปู่พุธ ฐานิโย
พวกเข้าฌานรู้ยัง สมาธิในฌาน มันโง่
สมาธิในอริยมรรคมันฉลาด
.
สมาธิในฌานจิตสงบนิ่งรู้อยู่ในสิ่ง สิ่งเดียวความรู้อื่นความเห็นอื่นไม่ปรากฏขึ้น เป็นสมาธิแบบอารัมณูปนิชฌาน
เป็นสมาธิในฌานสมาบัติ
.
สมาธิในอริยมรรค มันฉลาด
คือ จิตสงบนิ่งลงไปนิดหนึ่งความรู้ความคิดมันเกิดขึ้นมาฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งขึ้นมายังกับน้ำพุ
ที่นี้ในเมื่อความรู้ความคิดมันเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร
.
ความคิด คือวิตกใช่ไหมล่ะ
สติที่รู้พร้อมอยู่ที่ในขณะที่จิตเกิดความคิดคือ วิจารใช่หรือเปล่าในเมื่อ จิตมีวิตก วิจาร ปีติและสุขมันก็ย่อมบังเกิดขึ้น
สมาธิในวิปัสนานี่อาศัย องค์ฌานคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตาเหมือนกัน เหมือนกันกับสมาธิในฌานสมาบัติ
.
แตกต่างกันโดยที่ว่า สมาธิในฌานสมาบัติไม่เกิดภูมิความรู้
เป็นแต่เพียงทำจิตให้ละเอียด ละเอียด ละเอียดจนกระทั่ง เกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่
.
แต่สมาธิในอริยะมรรคนี้ พอจิตสงบนิ่งลงไปปั๊บ บางทีก็รู้สึกแจ่ม ๆ แต่ความคิดมันผุดขึ้นมาผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมาแบบรั้งไม่อยู่
.
ซึ่งนักปฏิบัติบางท่านเข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน อย่าไปเข้าใจผิด
บางทีพอจิตสว่างแล้วก็เกิดเห็นโน่นเห็นนี่ทางนิมิตรขึ้นมา
เมื่อจิตเลิกรู้เห็นนิมิตรแล้วก็มาเกิดภูมิความรู้ความคิดขึ้นมายังกับน้ำพุอีกเหมือนกัน
.
นี่เป็นสมาธิในอริยะมรรค
ซึ่งเรียกว่า สมาธิวิปัสนา เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจถูกต้อง ในช่วงใดจิตต้องการสงบนิ่งปล่อยให้นิ่ง ช่วงใดจิตต้องการคิดปล่อยให้คิด แต่มีสติกำหนดตามรู้
.
ทีนี่ถ้าหากสมาธิถึงขนาดที่เกิดภูมิความรู้ขึ้นมาเองเนี่ยเราไม่ต้องไปกำหนดอะไรหรอกเขาจะเป็นไปเองของเขา
.
จิตของเราจะรู้...เฉยอยู่เท่านั้น บางครั้งพอจิตสงบแล้วมันเกิดมีความคิดขึ้นมา ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งขึ้นมา จิตอาจจะแบ่ง ออกเป็นแยกออกเป็น 3 มิติ
.
มิติหนึ่ง คิดอยู่ไม่หยุดยั้ง
อีกมิติหนึ่งเฝ้าดูงาน
อีกมิติหนึ่ง ถ้าร่างกายปรากฎ
จะมาสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย
.
ตัวที่คิดอยู่ไม่หยุด เป็นจิตเหนือสำนึก ตัวที่เฝ้าดูคือตัวผู้รู้ได้แก่ สติ ตัวที่หยุดนิ่งคือจิตใต้สำนึกตัวคอยเก็บผลงาน
.
ลองไปปฏิบัติดูนะ จะเป็นไปได้มั๊ย อย่างที่ว่านี้
อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เทศน์
.
อธิบายโอวาท หลวงปู่เทศน์ เทศรังสี โดยหลวงปู่พุธ ฐานิโย