ผักนี้มะเร็งกลัวนะ! รีบปลูก-รีบหามากิน จะทานกับเมนูอะไรก็อร่อยมีกลิ่นเฉพาะ
ผักชนิดนี้มะเร็งกลัว อย่าช้ารีบหามาปลูก รีบหามากิน จะทานกับเมนูอะไรก็อร่อยมาก เป็นผักที่มีกลิ่นเฉพาะ
ผักแพวเป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ ผักแพ้ว ผักไผ่ ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า พริกม้า จันทร์แดง จันทร์โฉม หอมจันทร์ เป็นต้น มักพบได้ทั่วไปตามริมน้ำ มีลักษณะเป็นพืชล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวรูปหอก มีกลิ่นหอมฉุน ดอกเป็นช่อสีขาวนวลหรือชมพูม่วง
โดยผักแพวมี 2 ชนิดหลักๆ คือ ผักแพวแดง และผักแพวขาว แตกต่างกันเพียงสีของต้น แต่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรเหมือนกัน ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรคู่กัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น
คนส่วนใหญ่นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาบริโภคเป็นผักสด รวมทั้งนิยมนำมาแกงกับปลา เพื่อดับกลิ่นคาว เป็นพืชที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเป็นสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการลดความอ้วน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ
นอกจากนี้ผักแพวยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้รักษาโรคและอาการต่างๆ ได้แก่ ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงประสาท ช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ รักษาปอด แก้ไอ แก้หอบหืด ช่วยในการขับถ่าย รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ เป็นต้น
ประโยชน์ของผักแพว
– รสเผ็ดของผักแพวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลือด เหมาะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอหรือวันละไม่น้อยกว่า 3 ขีด
– ผักแพวมีวิตามินเอสูง จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี โดยมีวิตามินเอสูงถึง 8,112 หน่วยสากล ในขณะที่อีกข้อมูลระบุว่ามีมากถึง 13,750 มิลลิกรัม
– ผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด โดยมีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
– ผักแพวมีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี
– ผักแพวมีธาตุเหล็กสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง
– ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ประกอบอาหาร ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนาม หรือนำมาหั่นเป็นฝอย ใช้คลุกเป็นเครื่องปรุงสดประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม เป็นต้น
– ใบผักแพวนำมาใช้แกงประเภทปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นของเนื้อสัตว์หรือกลิ่นคาวปลาได้
การเลือกซื้อผักแพว ควรเลือกซื้อผักแพวสด หรือดูที่ความสดของใบเป็นหลัก ไม่เหี่ยวและเหลือง แต่ถ้ามีรอยกัดแทะของหนอนและแมลงบ้างก็ไม่เป็นไร ส่วนการเก็บรักษาผักแพวก็เหมือนกับผักทั่วๆ ไป คือเก็บใส่ในถุงพลาสติกแล้วปิดให้สนิท หรือจะเก็บใส่กล่องพลาสติกสำหรับเก็บผักก็ได้ แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผัก
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานผักแพวมากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนภายในช่องปาก คอ รวมถึงกระเพาะอาหาร อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการระคายเคือง และแผลในกระเพาะอาหาร
ในการใช้ผักแพวเพื่อเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้ควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือ ผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ก่อนจะใช้ผักแพวเป็นสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
อ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ... สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/4306724/
โรคไบโพลาร์..เพระาความเศร้าไม่ได้มีแค่โรคซึมเศร้า
ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? Healthy Clean ขอพาไปทำความรู้จักกับ “โรคไบโพลาร์” ที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เคยรู้..
ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตในโลกที่เต็มไปด้วยความรวดเร็วและความไม่แน่นอน การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เริ่มประสบปัญหาความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หรือหดหู่จนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น
โรค Bipolar หรือ “โรคอารมณ์สองขั้ว” เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมักแสดงอาการที่คล้ายกับโรคซึมเศร้าอย่างชัดเจน เช่น ความรู้สึกหดหู่ สิ้นหวัง และการขาดพลังในการดำเนินชีวิต แต่ในความเป็นจริง โรคไบโพลาร์มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่มีทั้งช่วง “เศร้า” และ “คึกคักเกินไป” ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
สัญญาณที่อาจบ่งบอกว่าไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า
แม้ว่าโรคไบโพลาร์จะมีอาการซึมเศร้าในช่วงหนึ่ง แต่สิ่งที่แตกต่างจากโรคซึมเศร้าคือการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่มีทั้ง “ขาขึ้น” และ “ขาลง” ที่ชัดเจน โดยในช่วงที่อารมณ์คึกคักเกินไป (Manic) ผู้ป่วยอาจรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากเกินไป พูดเร็วเกินปกติ หรือมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่น การใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือการตัดสินใจที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว
การไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในลักษณะนี้อาจส่งผลให้ชีวิตประจำวันเกิดความยุ่งยากได้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรือการใช้ชีวิตในสังคม ดังนั้น การสังเกตอาการอย่างละเอียดและการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการรักษา
อาการของโรคไบโพลาร์แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1.กลุ่มอาการ Mania หรือ อารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนานร่าเริง
-อารมณ์ดี คึกคัก ครื้นเครง
-พลังงานล้นเหลือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ปริมาณมาก
-ความคิดพรั่งพรู พูดมาก
-ไม่มีสมาธิ ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย
-หุนหันพลันแล่น
-ไม่หลับไม่นอน
-ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2.อาการช่วง Depression หรือ ซึมเศร้า
-รู้สึกเศร้า ไม่มีความหวัง ไม่มีคุณค่า หรือรู้สึกผิด
-อ่อนเพลีย เสียความสนใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบ
-ไม่มีสมาธิจดจ่อ
-พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
-มีปัญหาการนอนหลับ
-มีความคิดอยากตาย
การรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว
โรคอารมณ์สองขั้วรักษาด้วยการใช้ยากลุ่มควบคุมอารมณ์ ยาต้านเศร้าและยารักษาอาการทางจิต ตามอาการ ร่วมกับการทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัดและการปรับการใช้ชีวิตประจำวัน กรณีมีอาการรุนแรงทางจิตหรือมีความคิดอยากตาย หรืออยากทำร้ายตนเองและผู้อื่น ควรได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล…
……………………………………………
คอลัมน์ : Healthy Clean
โดย “พรรณรวี พิศาภาคย์”... สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/articles/4369161/
ผักนี้มะเร็งกลัวนะ! และ โรคไบโพลาร์..เพระาความเศร้าไม่ได้มีแค่โรคซึมเศร้า
ผักชนิดนี้มะเร็งกลัว อย่าช้ารีบหามาปลูก รีบหามากิน จะทานกับเมนูอะไรก็อร่อยมาก เป็นผักที่มีกลิ่นเฉพาะ
ผักแพวเป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ ผักแพ้ว ผักไผ่ ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า พริกม้า จันทร์แดง จันทร์โฉม หอมจันทร์ เป็นต้น มักพบได้ทั่วไปตามริมน้ำ มีลักษณะเป็นพืชล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวรูปหอก มีกลิ่นหอมฉุน ดอกเป็นช่อสีขาวนวลหรือชมพูม่วง
โดยผักแพวมี 2 ชนิดหลักๆ คือ ผักแพวแดง และผักแพวขาว แตกต่างกันเพียงสีของต้น แต่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรเหมือนกัน ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรคู่กัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น
คนส่วนใหญ่นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาบริโภคเป็นผักสด รวมทั้งนิยมนำมาแกงกับปลา เพื่อดับกลิ่นคาว เป็นพืชที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเป็นสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการลดความอ้วน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ
นอกจากนี้ผักแพวยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้รักษาโรคและอาการต่างๆ ได้แก่ ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงประสาท ช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ รักษาปอด แก้ไอ แก้หอบหืด ช่วยในการขับถ่าย รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ เป็นต้น
ประโยชน์ของผักแพว
– รสเผ็ดของผักแพวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลือด เหมาะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอหรือวันละไม่น้อยกว่า 3 ขีด
– ผักแพวมีวิตามินเอสูง จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี โดยมีวิตามินเอสูงถึง 8,112 หน่วยสากล ในขณะที่อีกข้อมูลระบุว่ามีมากถึง 13,750 มิลลิกรัม
– ผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด โดยมีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
– ผักแพวมีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี
– ผักแพวมีธาตุเหล็กสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง
– ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ประกอบอาหาร ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนาม หรือนำมาหั่นเป็นฝอย ใช้คลุกเป็นเครื่องปรุงสดประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม เป็นต้น
– ใบผักแพวนำมาใช้แกงประเภทปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นของเนื้อสัตว์หรือกลิ่นคาวปลาได้
การเลือกซื้อผักแพว ควรเลือกซื้อผักแพวสด หรือดูที่ความสดของใบเป็นหลัก ไม่เหี่ยวและเหลือง แต่ถ้ามีรอยกัดแทะของหนอนและแมลงบ้างก็ไม่เป็นไร ส่วนการเก็บรักษาผักแพวก็เหมือนกับผักทั่วๆ ไป คือเก็บใส่ในถุงพลาสติกแล้วปิดให้สนิท หรือจะเก็บใส่กล่องพลาสติกสำหรับเก็บผักก็ได้ แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผัก
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานผักแพวมากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนภายในช่องปาก คอ รวมถึงกระเพาะอาหาร อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการระคายเคือง และแผลในกระเพาะอาหาร
ในการใช้ผักแพวเพื่อเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้ควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือ ผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ก่อนจะใช้ผักแพวเป็นสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
อ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4306724/
โรคไบโพลาร์..เพระาความเศร้าไม่ได้มีแค่โรคซึมเศร้า
ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? Healthy Clean ขอพาไปทำความรู้จักกับ “โรคไบโพลาร์” ที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เคยรู้..
ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตในโลกที่เต็มไปด้วยความรวดเร็วและความไม่แน่นอน การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เริ่มประสบปัญหาความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หรือหดหู่จนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น
โรค Bipolar หรือ “โรคอารมณ์สองขั้ว” เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมักแสดงอาการที่คล้ายกับโรคซึมเศร้าอย่างชัดเจน เช่น ความรู้สึกหดหู่ สิ้นหวัง และการขาดพลังในการดำเนินชีวิต แต่ในความเป็นจริง โรคไบโพลาร์มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่มีทั้งช่วง “เศร้า” และ “คึกคักเกินไป” ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
สัญญาณที่อาจบ่งบอกว่าไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า
แม้ว่าโรคไบโพลาร์จะมีอาการซึมเศร้าในช่วงหนึ่ง แต่สิ่งที่แตกต่างจากโรคซึมเศร้าคือการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่มีทั้ง “ขาขึ้น” และ “ขาลง” ที่ชัดเจน โดยในช่วงที่อารมณ์คึกคักเกินไป (Manic) ผู้ป่วยอาจรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากเกินไป พูดเร็วเกินปกติ หรือมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่น การใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือการตัดสินใจที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว
การไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในลักษณะนี้อาจส่งผลให้ชีวิตประจำวันเกิดความยุ่งยากได้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรือการใช้ชีวิตในสังคม ดังนั้น การสังเกตอาการอย่างละเอียดและการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการรักษา
อาการของโรคไบโพลาร์แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1.กลุ่มอาการ Mania หรือ อารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนานร่าเริง
-อารมณ์ดี คึกคัก ครื้นเครง
-พลังงานล้นเหลือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ปริมาณมาก
-ความคิดพรั่งพรู พูดมาก
-ไม่มีสมาธิ ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย
-หุนหันพลันแล่น
-ไม่หลับไม่นอน
-ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2.อาการช่วง Depression หรือ ซึมเศร้า
-รู้สึกเศร้า ไม่มีความหวัง ไม่มีคุณค่า หรือรู้สึกผิด
-อ่อนเพลีย เสียความสนใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบ
-ไม่มีสมาธิจดจ่อ
-พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
-มีปัญหาการนอนหลับ
-มีความคิดอยากตาย
การรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว
โรคอารมณ์สองขั้วรักษาด้วยการใช้ยากลุ่มควบคุมอารมณ์ ยาต้านเศร้าและยารักษาอาการทางจิต ตามอาการ ร่วมกับการทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัดและการปรับการใช้ชีวิตประจำวัน กรณีมีอาการรุนแรงทางจิตหรือมีความคิดอยากตาย หรืออยากทำร้ายตนเองและผู้อื่น ควรได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล…
……………………………………………
คอลัมน์ : Healthy Clean
โดย “พรรณรวี พิศาภาคย์”... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/4369161/