พม่าเปิดแผน ‘ท่าขี้เหล็ก’ ใช้ไฟจากลาว หลังไทยหยุดจ่าย ขอ 3-5 วันกลับมาเหมือนเดิม
https://www.matichon.co.th/region/news_5034397
ตัดไฟส่งออก ‘ท่าขี้เหล็ก’ แล้ว หันไปพึ่งพาลาว ชี้ระหว่างแก้ระบบส่ง ในตัวเมืองอาจขาดไฟใช้ 3-5 วัน ขณะที่หลายฝ่ายกังวลการโดนไทยตัดไฟ ตุนเชื้อเพลิงสำรองแล้ว
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการข้ามไปมาของผู้คนสองฝั่ง ที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 1 พรมแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทั้งจาก อ.แม่สาย และจากท่าขี้เหล็ก เมียนมา ยังคงเป็นไปด้วยความคึกคัก มีรถรับ-ส่งนักเรียนที่ต้องมาเรียนฝั่งไทย พ่อค้า แม่ค้า และประชาชนที่มาซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคและทำธุระกันในตอนเช้าอย่างคึกคัก แม้ว่าจะมีคำสั่งให้ตัดไฟจากประเทศไทยที่ส่งไปเมียนมาก็ตาม
ที่ด่านพรมแดน เจ้าหน้าที่ยังตรวจตราการเข้าออกอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการลักลอบลำเลียงสิ่งของผิดกฎหมายเข้าราชอาณาจักรไทย และตรวจสอบผลตามหมายจับที่อาจหลบหนีออกนอกประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเช้านี้ยังไม่มีการไฟฟ้ายังคงมีการจ่ายไฟตาม แต่ก็สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายไทยและประชาชนชาวเมียนมา เพราะเกรงจะกระทบในหลายด้าน
น.ส.
ผกายมาศ เวียร์รา ประธานหอการค้า อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระบุว่า ใน จ.ท่าขี้เหล็ก มีการใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยเกือบทั้งหมด เพราะไม่มีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เอง หากมีการตัดไฟเชื่อว่าจะกระทบต่อวิถีชีวิตและภาคธุรกิจใน จ.ท่าขี้เหล็ก ทั้งหมด ทั้งนี้ อาจรวมถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย
ปัจจุบัน จ.เชียงราย มีการขายพลังงานไฟฟ้าไปให้กับทางการเมียนมา 2 จุด คือจุดสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา จาก อ.แม่สาย ไปยัง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา และจุดหมู่บ้านเหมืองแดง ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย ไปยัง จ.ท่าขี้เหล็ก ซึ่งนายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ รองผู้ว่าการ กฟภ.ชี้แจงว่า ปัจจุบันประเทไทยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทเมียนมาจำนวน 5 จุด ในพื้นที่บ้านเจดีย์สามองค์-เมืองพญาตองซู รัฐมอญ, บ้านเหมืองแดง-เมืองท่าขี้เหล็ก, สะพานมิตรภาพไทย-พม่า-เมืองท่าขี้เหล็ก, สะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และที่บ้านห้วยม่วง-อ.เมียวดี
ด้านกองสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร กฟภ.แจ้งว่า ในปี 2566 สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทยได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศของไทยแจ้ง กฟภ.ให้ระงับการจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 2 จุดคือที่บ้านวังผา อ.แม่ระมาด จ.ตาก-บ้านก๊กโก๋ อ.เมียวดี และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง-อ.เมียวดี ต่อมามีการเปิดอีก 1 จุดในปี 2567 ในพื้นที่ อ.เชียงแสน-เมืองพง จ.ท่าขี้เหล็ก เพราะคู่สัญญาผิดนัดชำระค่าไฟฟ้า รวมทั้งหมดที่ปิดไปแล้ว 3 จุด ทั้งนี้ กฟภ.ได้ประสานหน่วยงานความมั่นคงอย่างใกล้ชิดและพร้อมจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อไม่ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือมิจฉาชีพอื่นนำไปใช้กระทำความผิด แต่การพิจารณางดจ่ายกระแสไฟฟ้าจะไม่ทำให้กระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้าและระบบสื่อสารภายในประเทศอย่างแน่นอน
ขณะที่เพจ
Tachileik News Agency ซึ่งเป็นเพจข่าวท้องถิ่นประจำ จ.ท่าขี้เหล็ก ระบุว่า การตัดกระแสไฟที่จะเกิดขึ้นทำให้สํานักงานคณะกรรมการผู้นําแสงสว่างเมือง (ธุรกิจกระจายไฟฟ้า) ของ จ.ท่าขี้เหล็ก เตรียมแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าจากประเทศลาวแทน หากมีการตัดกระแสไฟจากประเทศไทยจริง แต่ประชาชนชาวเมียนมาใน จ.ท่าขี้เหล็ก ก็ยังคงกังวลใจ ได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดหาซื้อน้ำและเชื้อเพลิงไว้และหาแหล่งจ่ายไฟสำรองไว้ใช้ภายในครัวเรือนกันอย่างอลหม่าน
เวลา 09.00 น. นาย
ณัฏฐ์คเนศ จรัสรวีสิริกุล ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอแม่สาย นำเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าทำการตัดไฟที่สะพานไฟบริเวณหน้าด่านพรมแดนแห่งที่ 1 อ.แม่สาย ตามคำสั่งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม หลังเป็นประธานการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประเด็นการตัดไฟในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา เพื่อสกัดการดำเนินการของขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีทั้งสิ้น จำนวน 5 จุด
1. จุดซื้อขายบริเวณบ้านพระเจดีย์สามองค์-เมืองพญาตองซู รัฐมอญ
2. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณบ้านเหมืองแดง-เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน
3. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า-เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน
4. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2-เมืองเมียวดี
และ 5. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณบ้านห้วยม่วง-เมืองเมียวดี
นาย
ณัฏฐ์คเนศกล่าวว่า การจัดไฟในครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบกับท่าขี้เหล็ก เนื่องจากใช้ไฟจากไทยเป็นหลัก แต่ก็มีไฟอีกส่วนหนึ่งที่มาจาก สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม หลังจากตัดไฟแล้ว คาดว่า สปป.ลาว จะต้องมีการแก้ไขในระบบการส่งไฟฟ้า ซึ่งอาจจะติดขัด ทำให้ในตัวเมืองท่าขี้เหล็กไม่สามารถใช้งานได้อีกประมาณ 3-5 วัน
สส.จี้ รบ.เร่งแก้ปัญหา PM2.5 บรรเทาความเดือดร้อนปชช.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_837157/
สส. นำปัญหาผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 เข้าหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมาก โดยเรียกร้องผ่านไปยังรัฐบาลและหน่วยงานี่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (5 ก.พ.68) นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้เปิดให้ สส.นำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เข้าหารือ ซึ่งในวันนี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ สส.นำเข้าหารือจำนวนมาก เช่น นาย
วุฒิพงศ์ ทองเหลา สส.ปราจีนบุรี พรรคชาติพัฒนา หารือปัญหาฝุ่น PM 2.5 ข้ามแดนในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าส่วนหนึ่งสาเหตุเกิดขึ้นจากการเผาพื้นที่เกษตรของเพื่อนบ้าน ช่น กัมพูชา โดยขอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งเจรจากับกัมพูชาเป็นการเร่งด่วน
ด้านนาย
ภูริวรรธก์ ใจสำราญ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาชน หารือปัญหามลพิษ PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่พบหลายพื้นที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะเด็กนักเรียน พ่อค้าแม่ค้า จึงขอให้รัฐบาลและกรุงเทพมหานครวางแนวทางแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนโดยเร็ว
สำหรับปัญหาอื่น ๆ โดยเฉพาะปัญหาระบบสาธารณูปโภค ทั้งขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ปัญหาไม่มีไฟฟ้าส่องสว่าง ปัญหาถนนชำรุดเสียหายแล้ว ปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกลวงประชาชน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ยังถือเป็นปัญหาสำคัญที่ สส. นำเข้าหารือต่อเนื่องทุกสัปดาห์
"ส.อ.ท." ชี้เป้ารัฐ เร่งปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า พร้อมรับมือสงครามการค้าที่แรงขึ้น
https://siamrath.co.th/n/598972
"ส.อ.ท." ชี้เป้ารัฐ เร่งปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า พร้อมรับมือสงครามการค้าที่แรงขึ้น
เมื่อวันที่ 5 ก.พ.68 หม่อมหลวง
ปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 43 ในเดือนมกราคม 2568 ภายใต้หัวข้อ “
ความเห็นต่อนโยบายการปฏิรูปภาษีไทย” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ เห็นด้วยหากภาครัฐดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าก่อน เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตในประเทศ และเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสงครามการค้าที่คาดว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ขณะที่การปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในช่วงเวลานี้ ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย
โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ให้ความสำคัญกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันเป็นปัจจัยหลักที่ควรต้องนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินนโยบายปฏิรูปภาษี โดยเฉพาะการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ทำให้สินค้าส่งออกไทยตามเทรนด์เทคโนโลยีโลกไม่ทัน ส่งผลทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไปจากเดิม การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะเดียวกันแนวทางการปฏิรูปภาษีควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีแผนและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนให้ภาคธุรกิจปรับตัว ตลอดจนออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราภาษีแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า การปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม Global Minimum Tax ในอัตรา 15% ที่มีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2568 นั้น อาจทำให้ภาครัฐไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนได้ดังเดิม ดังนั้นภาครัฐต้องคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันด้านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วย เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ โลจิสติกส์ ฯลฯ พร้อมทั้งเตรียมปรับปรุงกฎระเบียบและเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องเหมาะสม และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม (Rule of law กฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์) ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมแรงงานทักษะสูงรองรับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ๆ ที่มีมูลค่าสูง
โดยจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท.(CEO Survey) จำนวน 125 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 47 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 43 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้
1) ปัจจัยใดที่ควรนำมาประกอบการพิจารณาในการดำเนินนโยบายการปฏิรูปภาษีไทย
อันดับ 1 : โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม 67.2%
อันดับ 2 : ความสามารถในการแข่งขันในด้านภาษีกับประเทศคู่แข่ง 66.4%
อันดับ 3 : เสถียรภาพทางการคลังและประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี 39.2%
อันดับ 4 : แนวทางการปฏิบัติตามกฎกติกาสากล เช่น OECD 13.6%
2) ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการปฏิรูปภาษีไทยอย่างไร
อันดับ 1 : ปรับโครงสร้างภาษีอย่างค่อยเป็นค่อยไปควบคู่กับ มาตรการบรรเทาผลกระทบ 62.4%
อันดับ 2 : ขยายฐานภาษีและส่งเสริมให้เศรษฐกิจเข้ามาอยู่ในระบบ 52.0%
อันดับ 3 : การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านภาษี 44.0%
อันดับ 4 : ยึดหลักการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และการเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน 25.6%
3) การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม Global Minimum Tax ที่อัตรา 15% จะส่งผลดีอย่างไร
อันดับ 1 : ลดต้นทุนทางภาษีให้กับบริษัท เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน 59.2%
อันดับ 2 : ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) และลดแรงจูงใจที่นักลงทุนจะย้ายฐานไปประเทศที่มีภาษีต่ำกว่า 44.8%
อันดับ 3 : ส่งเสริมความเท่าเทียมในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้มาตรฐานภาษีที่เท่าเทียม 43.2%
อันดับ 4 : ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนซ้ำภายในประเทศ และมีมาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่ภาษีเพิ่มมากขึ้น 27.2%
4) ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม Global Minimum Tax ที่อัตรา 15% ในเรื่องใด
อันดับ 1 : ความสามารถในการแข่งขันด้านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้านอื่นๆเช่น ต้นทุนวัตถุดิบ โลจิสติกส์ ฯลฯ 64.0%
อันดับ 2 : การปรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI 44.0%
อันดับ 3 : การปรับตัวของผู้ประกอบการจากการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลตาม GMT 36.0%
อันดับ 4 : แผนการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ (FDI) อาจหยุดชะงัก 16.8%
5) ภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นต่อนโยบายการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างไร
อันดับ 1 : ไม่เห็นด้วย 62.4%
อันดับ 2 : เห็นด้วย 37.6%
6) ภาครัฐควรเร่งพิจารณาปรับปรุงภาษีประเภทใด
อันดับ 1 : ภาษีนำเข้า 48.8%
อันดับ 2 : ภาษีนิติบุคคล 44.8%
อันดับ 3 : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 38.4%
อันดับ 4 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 32.8%
#สอท #ภาษีนำเข้า #ข่าววันนี้ #สงครามการค้า #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์
JJNY : พม่าเปิดแผนใช้ไฟจากลาว│สส.จี้รบ.เร่งแก้ปัญหา PM2.5│"ส.อ.ท."ชี้เป้าปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า│ทรัมป์ประกาศยึดฉนวนกาซา
https://www.matichon.co.th/region/news_5034397
ตัดไฟส่งออก ‘ท่าขี้เหล็ก’ แล้ว หันไปพึ่งพาลาว ชี้ระหว่างแก้ระบบส่ง ในตัวเมืองอาจขาดไฟใช้ 3-5 วัน ขณะที่หลายฝ่ายกังวลการโดนไทยตัดไฟ ตุนเชื้อเพลิงสำรองแล้ว
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการข้ามไปมาของผู้คนสองฝั่ง ที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 1 พรมแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทั้งจาก อ.แม่สาย และจากท่าขี้เหล็ก เมียนมา ยังคงเป็นไปด้วยความคึกคัก มีรถรับ-ส่งนักเรียนที่ต้องมาเรียนฝั่งไทย พ่อค้า แม่ค้า และประชาชนที่มาซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคและทำธุระกันในตอนเช้าอย่างคึกคัก แม้ว่าจะมีคำสั่งให้ตัดไฟจากประเทศไทยที่ส่งไปเมียนมาก็ตาม
ที่ด่านพรมแดน เจ้าหน้าที่ยังตรวจตราการเข้าออกอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการลักลอบลำเลียงสิ่งของผิดกฎหมายเข้าราชอาณาจักรไทย และตรวจสอบผลตามหมายจับที่อาจหลบหนีออกนอกประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเช้านี้ยังไม่มีการไฟฟ้ายังคงมีการจ่ายไฟตาม แต่ก็สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายไทยและประชาชนชาวเมียนมา เพราะเกรงจะกระทบในหลายด้าน
น.ส.ผกายมาศ เวียร์รา ประธานหอการค้า อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระบุว่า ใน จ.ท่าขี้เหล็ก มีการใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยเกือบทั้งหมด เพราะไม่มีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เอง หากมีการตัดไฟเชื่อว่าจะกระทบต่อวิถีชีวิตและภาคธุรกิจใน จ.ท่าขี้เหล็ก ทั้งหมด ทั้งนี้ อาจรวมถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย
ปัจจุบัน จ.เชียงราย มีการขายพลังงานไฟฟ้าไปให้กับทางการเมียนมา 2 จุด คือจุดสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา จาก อ.แม่สาย ไปยัง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา และจุดหมู่บ้านเหมืองแดง ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย ไปยัง จ.ท่าขี้เหล็ก ซึ่งนายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ รองผู้ว่าการ กฟภ.ชี้แจงว่า ปัจจุบันประเทไทยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทเมียนมาจำนวน 5 จุด ในพื้นที่บ้านเจดีย์สามองค์-เมืองพญาตองซู รัฐมอญ, บ้านเหมืองแดง-เมืองท่าขี้เหล็ก, สะพานมิตรภาพไทย-พม่า-เมืองท่าขี้เหล็ก, สะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และที่บ้านห้วยม่วง-อ.เมียวดี
ด้านกองสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร กฟภ.แจ้งว่า ในปี 2566 สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทยได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศของไทยแจ้ง กฟภ.ให้ระงับการจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 2 จุดคือที่บ้านวังผา อ.แม่ระมาด จ.ตาก-บ้านก๊กโก๋ อ.เมียวดี และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง-อ.เมียวดี ต่อมามีการเปิดอีก 1 จุดในปี 2567 ในพื้นที่ อ.เชียงแสน-เมืองพง จ.ท่าขี้เหล็ก เพราะคู่สัญญาผิดนัดชำระค่าไฟฟ้า รวมทั้งหมดที่ปิดไปแล้ว 3 จุด ทั้งนี้ กฟภ.ได้ประสานหน่วยงานความมั่นคงอย่างใกล้ชิดและพร้อมจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อไม่ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือมิจฉาชีพอื่นนำไปใช้กระทำความผิด แต่การพิจารณางดจ่ายกระแสไฟฟ้าจะไม่ทำให้กระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้าและระบบสื่อสารภายในประเทศอย่างแน่นอน
ขณะที่เพจ Tachileik News Agency ซึ่งเป็นเพจข่าวท้องถิ่นประจำ จ.ท่าขี้เหล็ก ระบุว่า การตัดกระแสไฟที่จะเกิดขึ้นทำให้สํานักงานคณะกรรมการผู้นําแสงสว่างเมือง (ธุรกิจกระจายไฟฟ้า) ของ จ.ท่าขี้เหล็ก เตรียมแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าจากประเทศลาวแทน หากมีการตัดกระแสไฟจากประเทศไทยจริง แต่ประชาชนชาวเมียนมาใน จ.ท่าขี้เหล็ก ก็ยังคงกังวลใจ ได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดหาซื้อน้ำและเชื้อเพลิงไว้และหาแหล่งจ่ายไฟสำรองไว้ใช้ภายในครัวเรือนกันอย่างอลหม่าน
เวลา 09.00 น. นายณัฏฐ์คเนศ จรัสรวีสิริกุล ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอแม่สาย นำเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าทำการตัดไฟที่สะพานไฟบริเวณหน้าด่านพรมแดนแห่งที่ 1 อ.แม่สาย ตามคำสั่งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม หลังเป็นประธานการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประเด็นการตัดไฟในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา เพื่อสกัดการดำเนินการของขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีทั้งสิ้น จำนวน 5 จุด
1. จุดซื้อขายบริเวณบ้านพระเจดีย์สามองค์-เมืองพญาตองซู รัฐมอญ
2. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณบ้านเหมืองแดง-เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน
3. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า-เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน
4. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2-เมืองเมียวดี
และ 5. จุดซื้อขายไฟฟ้าบริเวณบ้านห้วยม่วง-เมืองเมียวดี
นายณัฏฐ์คเนศกล่าวว่า การจัดไฟในครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบกับท่าขี้เหล็ก เนื่องจากใช้ไฟจากไทยเป็นหลัก แต่ก็มีไฟอีกส่วนหนึ่งที่มาจาก สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม หลังจากตัดไฟแล้ว คาดว่า สปป.ลาว จะต้องมีการแก้ไขในระบบการส่งไฟฟ้า ซึ่งอาจจะติดขัด ทำให้ในตัวเมืองท่าขี้เหล็กไม่สามารถใช้งานได้อีกประมาณ 3-5 วัน
สส.จี้ รบ.เร่งแก้ปัญหา PM2.5 บรรเทาความเดือดร้อนปชช.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_837157/
สส. นำปัญหาผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 เข้าหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมาก โดยเรียกร้องผ่านไปยังรัฐบาลและหน่วยงานี่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (5 ก.พ.68) นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้เปิดให้ สส.นำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เข้าหารือ ซึ่งในวันนี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ สส.นำเข้าหารือจำนวนมาก เช่น นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา สส.ปราจีนบุรี พรรคชาติพัฒนา หารือปัญหาฝุ่น PM 2.5 ข้ามแดนในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าส่วนหนึ่งสาเหตุเกิดขึ้นจากการเผาพื้นที่เกษตรของเพื่อนบ้าน ช่น กัมพูชา โดยขอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งเจรจากับกัมพูชาเป็นการเร่งด่วน
ด้านนายภูริวรรธก์ ใจสำราญ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาชน หารือปัญหามลพิษ PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่พบหลายพื้นที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะเด็กนักเรียน พ่อค้าแม่ค้า จึงขอให้รัฐบาลและกรุงเทพมหานครวางแนวทางแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนโดยเร็ว
สำหรับปัญหาอื่น ๆ โดยเฉพาะปัญหาระบบสาธารณูปโภค ทั้งขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ปัญหาไม่มีไฟฟ้าส่องสว่าง ปัญหาถนนชำรุดเสียหายแล้ว ปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกลวงประชาชน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ยังถือเป็นปัญหาสำคัญที่ สส. นำเข้าหารือต่อเนื่องทุกสัปดาห์
"ส.อ.ท." ชี้เป้ารัฐ เร่งปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า พร้อมรับมือสงครามการค้าที่แรงขึ้น
https://siamrath.co.th/n/598972
"ส.อ.ท." ชี้เป้ารัฐ เร่งปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า พร้อมรับมือสงครามการค้าที่แรงขึ้น
เมื่อวันที่ 5 ก.พ.68 หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 43 ในเดือนมกราคม 2568 ภายใต้หัวข้อ “ความเห็นต่อนโยบายการปฏิรูปภาษีไทย” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ เห็นด้วยหากภาครัฐดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าก่อน เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตในประเทศ และเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสงครามการค้าที่คาดว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ขณะที่การปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในช่วงเวลานี้ ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย
โดยจากผลสำรวจยังพบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ให้ความสำคัญกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันเป็นปัจจัยหลักที่ควรต้องนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินนโยบายปฏิรูปภาษี โดยเฉพาะการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ทำให้สินค้าส่งออกไทยตามเทรนด์เทคโนโลยีโลกไม่ทัน ส่งผลทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไปจากเดิม การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะเดียวกันแนวทางการปฏิรูปภาษีควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีแผนและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนให้ภาคธุรกิจปรับตัว ตลอดจนออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราภาษีแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า การปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม Global Minimum Tax ในอัตรา 15% ที่มีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2568 นั้น อาจทำให้ภาครัฐไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนได้ดังเดิม ดังนั้นภาครัฐต้องคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันด้านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วย เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ โลจิสติกส์ ฯลฯ พร้อมทั้งเตรียมปรับปรุงกฎระเบียบและเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องเหมาะสม และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม (Rule of law กฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์) ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมแรงงานทักษะสูงรองรับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ๆ ที่มีมูลค่าสูง
โดยจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท.(CEO Survey) จำนวน 125 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 47 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 43 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้
1) ปัจจัยใดที่ควรนำมาประกอบการพิจารณาในการดำเนินนโยบายการปฏิรูปภาษีไทย
อันดับ 1 : โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม 67.2%
อันดับ 2 : ความสามารถในการแข่งขันในด้านภาษีกับประเทศคู่แข่ง 66.4%
อันดับ 3 : เสถียรภาพทางการคลังและประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี 39.2%
อันดับ 4 : แนวทางการปฏิบัติตามกฎกติกาสากล เช่น OECD 13.6%
2) ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการปฏิรูปภาษีไทยอย่างไร
อันดับ 1 : ปรับโครงสร้างภาษีอย่างค่อยเป็นค่อยไปควบคู่กับ มาตรการบรรเทาผลกระทบ 62.4%
อันดับ 2 : ขยายฐานภาษีและส่งเสริมให้เศรษฐกิจเข้ามาอยู่ในระบบ 52.0%
อันดับ 3 : การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านภาษี 44.0%
อันดับ 4 : ยึดหลักการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และการเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน 25.6%
3) การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม Global Minimum Tax ที่อัตรา 15% จะส่งผลดีอย่างไร
อันดับ 1 : ลดต้นทุนทางภาษีให้กับบริษัท เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน 59.2%
อันดับ 2 : ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) และลดแรงจูงใจที่นักลงทุนจะย้ายฐานไปประเทศที่มีภาษีต่ำกว่า 44.8%
อันดับ 3 : ส่งเสริมความเท่าเทียมในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้มาตรฐานภาษีที่เท่าเทียม 43.2%
อันดับ 4 : ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนซ้ำภายในประเทศ และมีมาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่ภาษีเพิ่มมากขึ้น 27.2%
4) ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม Global Minimum Tax ที่อัตรา 15% ในเรื่องใด
อันดับ 1 : ความสามารถในการแข่งขันด้านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้านอื่นๆเช่น ต้นทุนวัตถุดิบ โลจิสติกส์ ฯลฯ 64.0%
อันดับ 2 : การปรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI 44.0%
อันดับ 3 : การปรับตัวของผู้ประกอบการจากการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลตาม GMT 36.0%
อันดับ 4 : แผนการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ (FDI) อาจหยุดชะงัก 16.8%
5) ภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นต่อนโยบายการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างไร
อันดับ 1 : ไม่เห็นด้วย 62.4%
อันดับ 2 : เห็นด้วย 37.6%
6) ภาครัฐควรเร่งพิจารณาปรับปรุงภาษีประเภทใด
อันดับ 1 : ภาษีนำเข้า 48.8%
อันดับ 2 : ภาษีนิติบุคคล 44.8%
อันดับ 3 : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 38.4%
อันดับ 4 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 32.8%
#สอท #ภาษีนำเข้า #ข่าววันนี้ #สงครามการค้า #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์