หมอเหนื่อย เพราะเอาเวลาไปดูแลผู้ลี้ภัย จนไม่มีเวลาดูแลคนไทย .... ทำยังไงดี

เมื่อวันที่ (3 ก.พ. 68) แพทย์หญิงณัฐกานต์ ชื่นชม อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลแม่สอด ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Nuttagarn Chuenchom ระบุว่า ผู้บริหารบอกว่าให้หมอเบียร์รับตรวจเคสวัณโรคกับเอชไอวีในศูนย์อพยพ เพราะ รพช. ไม่สามารถดูแลได้ จะให้รถโรงพยาบาลไปรับคนไข้เอามาให้ตรวจที่แม่สอด ..โดยไม่ดูภาระงานที่ทำอยู่ตอนนี้เลย
.
ไม่ผิดคาดนะ ที่จะเป็นแบบนี้ เบียร์คิดมาหลายวันแล้ว .. ให้เวลาอีกครึ่งวัน ถ้าผู้บริหารยังไม่เปลี่ยนแนวคิด จะไปเขียนใบลาออกราชการวันนี้แหละ อายุราชการ 20 ปีก็อุทิศตนมามากพอละ ไม่มีวินาทีไหนเลยที่ไม่ทำเพื่อผู้อื่น
.
บอกอยู่ตลอดว่าศูนย์อพยพเป็นเรื่องของประเทศไทย ไม่ใช่สาธารณสุขท้องถิ่น คนไทยชายแดนเสียประโยชน์มาเยอะแล้ว ได้รับบริการช้า เสียเวลารอนาน ยังต้องแบ่งหมอของพวกเขาไปให้คนอื่นอีกหรอ ส่วนกลางโน่นต้องมาจัดการ
.
ไม่ทนอีกต่อไป.. ลาก่อนละค่ะ
.
หมอเบียร์ ยังโพสต์เพิ่มเติมว่า เรื่องของการจัดการค่ายผู้อพยพไม่ใช่เรื่องของสาธารณสุขท้องถิ่น มันเป็นเรื่องระดับชาติ เป็นเรื่องการจัดการของรัฐบาล การแก้ไขกฎหมาย การผลักดันผู้ลี้ภัยกลับประเทศเดิม
ความเห็นของเบียร์คือต้องจัดบุคลากรอีกชุดหนึ่งเพื่อมาดูแลค่ายอพยพ ในช่วงเร่งด่วน แนะนำให้เขาหางบประมาณมาจ้างหมอเมียนมากลุ่มเดิมที่เคยดูแลอยู่แล้วระหว่างรองบประมาณใหม่ แต่เค้าไม่ทำแบบนั้น เค้ามาแบ่งหมอจากโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไปไปออกตรวจ จำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดเท่ากับประชากรหนึ่งอำเภอเลย
.
ในระยะยาวต้องพูดคุยเรื่องการแก้กฎหมายผู้ลี้ภัยให้ถูกต้อง และมีการผลักดันกลับประเทศเดิม
.
คนไทยชายแดนเสียสละมามากพอแล้ว ทุกวันนี้บุคลากรก็ไม่พอ คนไข้ก็ต้องรอนาน รอทุกอย่างทั้งรอหมอและรอคิวในการตรวจ บางคนเป็นมะเร็งก็ต้องรอการวินิจฉัยและการรักษา แล้วจะมาให้เค้าเสียสละเพิ่มโดยการแบ่งหมอของพวกเขาไปให้คนอื่นอีกหรอคะ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าได้มีผู้เข้าไปให้กำลัง และแสดงความเห็นใจหมอเบียร์เป็นจำนวนมาก พร้อมกับเห็นด้วยกับการเรียกร้องแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจาเป็นปัญหาระดับประเทศ ไม่ใช่ให้หมอมาแบกรับภาระเองทั้งหมด ไม่งั้นเราก็จะต้องรับภาระตรงนี้ไปเรื่อย ๆ แบบเตี้ยอุ้มค่อม
.
ที่มา : https://www.facebook.com/nuttagarn.chuenchom/posts/pfbid02g6vd3VieEsyLoHy9ShGefL9DhQZhdtmGufwduahXKtMANaaUdBgPZELz3XJC7fkUl

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่