เห็นช่วงนี้มีอภิปรายกันเรื่องโรฮิงญากันเต็มไปหมด เลยขอแชร์ประสบการณ์ของสวีเดนกับเดนมาร์กหน่อยครับ
ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า เจ้าของกระทู้มาอาศัยสองประเทศนี้อยู่ เลยได้ติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับนโยบายการบริหารจัดการกับผู้ลี้ภัยต่างด้าวมาบ้างครับ
สวีเดนและเดนมาร์ก สองประเทศนี้แม้จะเป็นเพื่อนบ้านกัน แต่มีนโยบายในการจัดการกับผู้อพยพลี้ภัยแตกต่างกันครับ โดยประเทศสวีเดนถือว่าเป็นหน้าที่ของประเทศที่ร่ำรวยในการรับผู้อพยพเหล่านี้จากภาวะสงคราม ดังนั้น ถ้านับต่อหัวประชากรแล้ว สวีเดนนำโด่งในอียูหรือในโลก (ข้อมูลทางการจาก OECD ปี 2014 สวีเดนแซงหน้าสวิตเซอร์แลนด์, เยอรมนีและฝรั่งเศสไปเยอะมาก) สำหรับการอนุมัติให้ผู้อพยพลี้ภัยจากโซมาเลีย, อิรัก, อัฟกานิสถาน และซีเรียเข้าประเทศ และรัฐบาลจัดสรรที่พัก, เงินค่าเลี้ยงดู และคอร์สสอนภาษาเพื่อการ integrate กลุ่มผู้อพยพเหล่านี้ให้เข้ากับสังคมสวีเดน และจำนวนผู้อพยพก็เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
ใจป้ำถึงขนาดที่ว่า นักการเมืองต่างก็สนับสนุนแนวคิดการให้ความช่วยเหลือนี้อย่างเต็มที่ ใครที่เอ่ยปากถึงโควต้า หรือการลดจำนวนรับ ต่างจะโดนโจมตีจากนักการเมืองด้วยกัน และเป็นข่าวครหาตามหน้าหนังสือพิมพ์หาว่าเป็นพวก racist หรืออย่างเบาะๆ ก็ anti-immigrant เลยทีเดียวครับ
แต่ข้ามฝั่งไปที่เดนมาร์ก สถานการณ์กลับตรงข้ามกัน เดนมาร์กมองว่าการรับผู้อพยพนั้นถือเป็นเรื่องที่ต้องอภิปรายให้รอบด้าน ไม่ใช่สักแต่จะรับเข้ามาโดยไม่ดูแลจัดการอย่างเป็นระบบ ล่าสุดนายกหญิงก็ประกาศกร้าวว่า ผู้อพยพทุกคนเมื่อเข้าประเทศมาแล้วจะต้องทำงาน อย่าหวังว่าเดนมาร์กจะใช้เงินภาษีของประชาชนส่วนรวมมาเลี้ยงดูปรนเปรอให้อยู่อย่างสบาย ดังนั้น จำนวนผู้ลี้ภัยที่เดนมาร์กรับเข้ามา จึงดูไม่เยอะ เพราะรัฐต้องจัดสรรที่อยู่, จัดหาคอร์สภาษา และอื่นๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายมหาศาลทั้งสิ้น
เดนมาร์กมักจะวิจารณ์สวีเดนว่า มีระบบการจัดการเพื่อรองรับผู้ลี้ภัยที่ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งก็เหมือนว่าจะจริง เพราะผู้ลี้ภัยที่รับเข้ามามักถูกส่งไปอยู่ในที่ใกล้ๆ กัน จนเมื่อผ่านไปไม่กี่ปี เมืองใหญ่หรือเมืองที่ผู้ลี้ภัยถูกส่งไป เริ่มมีการแบ่งโซน (segregation) ไปตามเชื้อชาติ เช่น โซนนี้เป็นของอาหรับซีเรีย, อีกโซนเป็นของอัฟริกันโซมาเลีย ซึ่งราคาที่ดินก็ตกเพราะคนท้องถิ่นที่มีเงินไม่ค่อยอยากย้ายไปอยู่ สาเหตุหนึ่งเพราะสาธารณูปโภคไม่ค่อยสะดวก จากความแออัดของผู้ลี้ภัยเหล่านี้
นอกจากนี้ การที่ผู้ลี้ภัยกระจุกตัวอยู่แต่กับคนชาติเดียวกัน ทำให้ลูกหลานรุ่นถัดมา ไม่สามารถผสมกลมกลืนเข้ากับคนสวีดิชท้องถิ่นได้ และเมื่อเรียนจบแล้ว ก็มักจะตกงาน มีงานวิจัยพบว่า อัตราว่างงานของสวีเดนนั้นสูงในกลุ่มเด็กจบใหม่ โดยเฉพาะผู้หญิง และในกลุ่มคนเชื้อชาติอื่น ปัญหาเบื้องหลังการที่บริษัทไม่ค่อยอยากจ้างชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะลี้ภัยหรือไม่ประการหนึ่งก็เพราะกฎหมายด้านแรงงานค่อนข้างจะเอาใจลูกจ้าง ทำให้การไล่ออกลูกจ้างประจำเป็นไปได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายตกกับตัวบริษัทสูง ถึงกับว่า มีการทดลองใช้เรซูเม่ที่เกือบจะเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่ชื่อ ชื่อหนึ่งเป็นสวีดิช อีกชื่อเป็นชื่อต่างด้าว ปรากฏว่าเรซูเม่ของชื่อสวีดิชได้รับการติดต่อสัมภาษณ์มากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ
ขณะที่เดนมาร์ก เน้นใช้ผู้ลี้ภัยในการแก้ปัญหาการอพยพเข้าเมืองใหญ่ของประชากรไปในตัว คือกระจายผู้ลี้ภัยส่วนหนึ่งให้ไปอาศัยในบ้านนอกเลย เพื่อเพิ่มประชากรในเมืองเล็กๆ เหล่านั้นที่เหล่าเด็กจบใหม่มักจะทยอยเข้ามาหางานในเมืองใหญ่ๆ กันทุกปี บางเมืองก็เหลือแต่ประชากรสูงอายุ ธุรกิจก็ทยอยปิดตัวเพราะไม่มีอุปสงค์พอ เมื่อผู้ลี้ภัยถูกส่งมา ข้อดีอย่างหนึ่งคือ เป็นการบังคับให้ทั้งผู้ลี้ภัยและคนในเมืองต่างต้องปรับตัวเข้าหากัน คนหนึ่งต้องเรียนภาษาเพื่อเอาตัวรอด อีกคนก็ต้องต้อนรับเพื่อดึงมาเป็นลูกค้าพยุงธุรกิจ ดังนั้น จึงจะเห็นธุรกิจประเภทร้านอาหารตามเมืองเล็กๆ ที่พนักงานหรือเจ้าของเป็นคนต่างด้าวอยู่ คือเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว และประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการรับผู้อพยพอย่างมีข้อจำกัด เช่น การลดเงินอุดหนุนรายเดือนเมื่อผ่านไปสามปีห้าปี และการจำกัดจำนวนรับเข้าประเทศต่อปี พร้อมเงื่อนไขจิปาถะ ไม่ว่าจะการไม่อนุญาตให้กู้เงินสำหรับวีซ่าบางประเภทจนกว่าจะมีงานประจำ เป็นต้น
เพราะงั้น เขียนมายาวละ สรุปเลยว่า เห็นด้วยกับทางเดนมาร์กมากกว่า คือรัฐวางแผนและจัดเตรียมทรัพยากรทั้งงบประมาณ, ที่พำนักอาศัย, การจัดหาครูสอนภาษา และการกำหนดจำนวนรับต่อปี พร้อมจำนวนเงินสนับสนุนต่อเดือนต่อครอบครัวที่พออยู่ได้แต่ไม่ถึงกับสบายไม่ต้องทำงาน ถ้ามีร่างระเบียบที่ลงรายละเอียดทั้งหมดนี้ได้ก่อน ถึงค่อยรับเข้ามาอย่างเป็นระบบ ทุกๆ ปีเลยยังได้ครับ
ถ้าไม่งั้น ตอนนี้ ก็ทำได้เพียงมอบข้าวสารอาหารแห้งพออยู่ได้บนเรือแล้วให้ไปประเทศอื่นก่อนจนกว่าวันที่ไทยเรามีระบบรองรับ เพื่อที่จะได้บังคับให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จำเป็นต้องมาเรียนภาษาและหางานทำเป็นหลักแหล่ง ชดเชยกับตลาดแรงงานไทยที่กำลังขาดแคลนอยู่ตอนนี้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงจะดีกว่าแค่เพียงตั้งศูนย์ฉุกเฉินเฉพาะกาลที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ หรือมีการจัดการอบรมทักษะอาชีพเพื่อป้อนตลาดแรงงานของไทยในภายหลัง อาจจะฟังดูเหมือนทำไม่ได้จริง แต่สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะไทยเราอาจจะไม่คุ้นชินกับระบบการดึงแรงงานจากผู้ลี้ภัยมาป้อนตลาดภายในของเราเองด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านทรัพยากรบุคคล, งบประมาณสนับสนุน หรือกระทั่งมาตรการรองรับจากรัฐบาลเองครับ
เพราะฉะนั้น คงต้องฝากบอกไปกับหลายๆ ท่านที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า #อย่าป๋าถ้าไม่พร้อม
โรฮิงญา ภาระหรือมนุษยธรรม ประสบการณ์จากสวีเดนและเดนมาร์ก
ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า เจ้าของกระทู้มาอาศัยสองประเทศนี้อยู่ เลยได้ติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับนโยบายการบริหารจัดการกับผู้ลี้ภัยต่างด้าวมาบ้างครับ
สวีเดนและเดนมาร์ก สองประเทศนี้แม้จะเป็นเพื่อนบ้านกัน แต่มีนโยบายในการจัดการกับผู้อพยพลี้ภัยแตกต่างกันครับ โดยประเทศสวีเดนถือว่าเป็นหน้าที่ของประเทศที่ร่ำรวยในการรับผู้อพยพเหล่านี้จากภาวะสงคราม ดังนั้น ถ้านับต่อหัวประชากรแล้ว สวีเดนนำโด่งในอียูหรือในโลก (ข้อมูลทางการจาก OECD ปี 2014 สวีเดนแซงหน้าสวิตเซอร์แลนด์, เยอรมนีและฝรั่งเศสไปเยอะมาก) สำหรับการอนุมัติให้ผู้อพยพลี้ภัยจากโซมาเลีย, อิรัก, อัฟกานิสถาน และซีเรียเข้าประเทศ และรัฐบาลจัดสรรที่พัก, เงินค่าเลี้ยงดู และคอร์สสอนภาษาเพื่อการ integrate กลุ่มผู้อพยพเหล่านี้ให้เข้ากับสังคมสวีเดน และจำนวนผู้อพยพก็เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
ใจป้ำถึงขนาดที่ว่า นักการเมืองต่างก็สนับสนุนแนวคิดการให้ความช่วยเหลือนี้อย่างเต็มที่ ใครที่เอ่ยปากถึงโควต้า หรือการลดจำนวนรับ ต่างจะโดนโจมตีจากนักการเมืองด้วยกัน และเป็นข่าวครหาตามหน้าหนังสือพิมพ์หาว่าเป็นพวก racist หรืออย่างเบาะๆ ก็ anti-immigrant เลยทีเดียวครับ
แต่ข้ามฝั่งไปที่เดนมาร์ก สถานการณ์กลับตรงข้ามกัน เดนมาร์กมองว่าการรับผู้อพยพนั้นถือเป็นเรื่องที่ต้องอภิปรายให้รอบด้าน ไม่ใช่สักแต่จะรับเข้ามาโดยไม่ดูแลจัดการอย่างเป็นระบบ ล่าสุดนายกหญิงก็ประกาศกร้าวว่า ผู้อพยพทุกคนเมื่อเข้าประเทศมาแล้วจะต้องทำงาน อย่าหวังว่าเดนมาร์กจะใช้เงินภาษีของประชาชนส่วนรวมมาเลี้ยงดูปรนเปรอให้อยู่อย่างสบาย ดังนั้น จำนวนผู้ลี้ภัยที่เดนมาร์กรับเข้ามา จึงดูไม่เยอะ เพราะรัฐต้องจัดสรรที่อยู่, จัดหาคอร์สภาษา และอื่นๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายมหาศาลทั้งสิ้น
เดนมาร์กมักจะวิจารณ์สวีเดนว่า มีระบบการจัดการเพื่อรองรับผู้ลี้ภัยที่ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งก็เหมือนว่าจะจริง เพราะผู้ลี้ภัยที่รับเข้ามามักถูกส่งไปอยู่ในที่ใกล้ๆ กัน จนเมื่อผ่านไปไม่กี่ปี เมืองใหญ่หรือเมืองที่ผู้ลี้ภัยถูกส่งไป เริ่มมีการแบ่งโซน (segregation) ไปตามเชื้อชาติ เช่น โซนนี้เป็นของอาหรับซีเรีย, อีกโซนเป็นของอัฟริกันโซมาเลีย ซึ่งราคาที่ดินก็ตกเพราะคนท้องถิ่นที่มีเงินไม่ค่อยอยากย้ายไปอยู่ สาเหตุหนึ่งเพราะสาธารณูปโภคไม่ค่อยสะดวก จากความแออัดของผู้ลี้ภัยเหล่านี้
นอกจากนี้ การที่ผู้ลี้ภัยกระจุกตัวอยู่แต่กับคนชาติเดียวกัน ทำให้ลูกหลานรุ่นถัดมา ไม่สามารถผสมกลมกลืนเข้ากับคนสวีดิชท้องถิ่นได้ และเมื่อเรียนจบแล้ว ก็มักจะตกงาน มีงานวิจัยพบว่า อัตราว่างงานของสวีเดนนั้นสูงในกลุ่มเด็กจบใหม่ โดยเฉพาะผู้หญิง และในกลุ่มคนเชื้อชาติอื่น ปัญหาเบื้องหลังการที่บริษัทไม่ค่อยอยากจ้างชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะลี้ภัยหรือไม่ประการหนึ่งก็เพราะกฎหมายด้านแรงงานค่อนข้างจะเอาใจลูกจ้าง ทำให้การไล่ออกลูกจ้างประจำเป็นไปได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายตกกับตัวบริษัทสูง ถึงกับว่า มีการทดลองใช้เรซูเม่ที่เกือบจะเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่ชื่อ ชื่อหนึ่งเป็นสวีดิช อีกชื่อเป็นชื่อต่างด้าว ปรากฏว่าเรซูเม่ของชื่อสวีดิชได้รับการติดต่อสัมภาษณ์มากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ
ขณะที่เดนมาร์ก เน้นใช้ผู้ลี้ภัยในการแก้ปัญหาการอพยพเข้าเมืองใหญ่ของประชากรไปในตัว คือกระจายผู้ลี้ภัยส่วนหนึ่งให้ไปอาศัยในบ้านนอกเลย เพื่อเพิ่มประชากรในเมืองเล็กๆ เหล่านั้นที่เหล่าเด็กจบใหม่มักจะทยอยเข้ามาหางานในเมืองใหญ่ๆ กันทุกปี บางเมืองก็เหลือแต่ประชากรสูงอายุ ธุรกิจก็ทยอยปิดตัวเพราะไม่มีอุปสงค์พอ เมื่อผู้ลี้ภัยถูกส่งมา ข้อดีอย่างหนึ่งคือ เป็นการบังคับให้ทั้งผู้ลี้ภัยและคนในเมืองต่างต้องปรับตัวเข้าหากัน คนหนึ่งต้องเรียนภาษาเพื่อเอาตัวรอด อีกคนก็ต้องต้อนรับเพื่อดึงมาเป็นลูกค้าพยุงธุรกิจ ดังนั้น จึงจะเห็นธุรกิจประเภทร้านอาหารตามเมืองเล็กๆ ที่พนักงานหรือเจ้าของเป็นคนต่างด้าวอยู่ คือเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว และประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการรับผู้อพยพอย่างมีข้อจำกัด เช่น การลดเงินอุดหนุนรายเดือนเมื่อผ่านไปสามปีห้าปี และการจำกัดจำนวนรับเข้าประเทศต่อปี พร้อมเงื่อนไขจิปาถะ ไม่ว่าจะการไม่อนุญาตให้กู้เงินสำหรับวีซ่าบางประเภทจนกว่าจะมีงานประจำ เป็นต้น
เพราะงั้น เขียนมายาวละ สรุปเลยว่า เห็นด้วยกับทางเดนมาร์กมากกว่า คือรัฐวางแผนและจัดเตรียมทรัพยากรทั้งงบประมาณ, ที่พำนักอาศัย, การจัดหาครูสอนภาษา และการกำหนดจำนวนรับต่อปี พร้อมจำนวนเงินสนับสนุนต่อเดือนต่อครอบครัวที่พออยู่ได้แต่ไม่ถึงกับสบายไม่ต้องทำงาน ถ้ามีร่างระเบียบที่ลงรายละเอียดทั้งหมดนี้ได้ก่อน ถึงค่อยรับเข้ามาอย่างเป็นระบบ ทุกๆ ปีเลยยังได้ครับ
ถ้าไม่งั้น ตอนนี้ ก็ทำได้เพียงมอบข้าวสารอาหารแห้งพออยู่ได้บนเรือแล้วให้ไปประเทศอื่นก่อนจนกว่าวันที่ไทยเรามีระบบรองรับ เพื่อที่จะได้บังคับให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จำเป็นต้องมาเรียนภาษาและหางานทำเป็นหลักแหล่ง ชดเชยกับตลาดแรงงานไทยที่กำลังขาดแคลนอยู่ตอนนี้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงจะดีกว่าแค่เพียงตั้งศูนย์ฉุกเฉินเฉพาะกาลที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ หรือมีการจัดการอบรมทักษะอาชีพเพื่อป้อนตลาดแรงงานของไทยในภายหลัง อาจจะฟังดูเหมือนทำไม่ได้จริง แต่สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะไทยเราอาจจะไม่คุ้นชินกับระบบการดึงแรงงานจากผู้ลี้ภัยมาป้อนตลาดภายในของเราเองด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านทรัพยากรบุคคล, งบประมาณสนับสนุน หรือกระทั่งมาตรการรองรับจากรัฐบาลเองครับ
เพราะฉะนั้น คงต้องฝากบอกไปกับหลายๆ ท่านที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า #อย่าป๋าถ้าไม่พร้อม