อย่ายึดมั่นในพระรัตนตรัยอย่างผิดๆ
"คนบางคนสงสัยต่อไปว่า เราต้องยึดมั่นถือมั่น เช่น จะต้องยึดมั่นถือมั่นในพระพุทธเจ้า ยึดมั่นถือมั่นในพระธรรม ยึดมั่นถือมั่นในพระสงฆ์กันอย่างนี้อยู่ทั่ว ๆ ไป...
แม้จะพูดว่าให้ถือเอาพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง
ก็มีความหมายว่า
#ให้ถือเอาเป็นตัวอย่างในการที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร
พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้น
คือตัวความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
เมื่อผู้ใดมีจิตใจไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร
เป็นตัวตนหรือเป็นของตน
เมื่อนั้นชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่กับผู้นั้น
หรืออยู่ในจิตใจของผู้นั้น
สังเกตดูให้ดีเถิดจะเห็นว่า
เมื่อจิตของเราไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร
ว่าเป็นตัวเราหรือเป็นของเราแล้ว
ในขณะนั้นจิตมีความบริสุทธิ์ที่สุด
ในขณะนั้นจิตมีความสว่างไสวที่สุด
ในขณะนั้นจิตมีความสงบเย็นหรือเป็นสุขที่สุด
พอเกิดความยึดมั่นถือมั่นอะไรเข้ามา
จิตนั้นก็เร่าร้อนที่สุด สกปรกที่สุด
มืดมัวที่สุด และเป็นทุกข์ที่สุด
ดังนั้น จิตที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในขณะนั้นแหละ
เป็นจิตที่ถึงพระพุทธเจ้า
หรือมีพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง
แม้จะเข้าวัดรับศีล ฟังเทศน์ ให้ทาน
มาสักกี่ปีกี่สิบปี
ก็ยังห่างไกลต่อพระพุทธเจ้าอยู่นั่นเอง
เพราะฉะนั้นจึงต้องร้องตะโกน
เป็นนกแก้วนกขุนทองเรื่อยไปว่า
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ เป็นต้น
โดยไม่มีความหมายอะไรเลย
สิ่งที่เรียกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้นมีอยู่หลายชั้น หลายลำดับ หลายความหมาย เป็นเพียงเปลือกนอกก็มี เป็นเนื้อในก็มี แม้ที่เป็นเนื้อในก็ยังมีหลายชั้นเป็นชั้น ๆ เข้าไป กว่าจะถึงเนื้อในที่เป็นหัวใจที่สุด
อย่างพระพุทธเจ้านี้ที่เป็นชั้นนอกชั้นเปลือกที่สุดก็เช่น พระพุทธรูป เป็นต้น
ที่เป็นเนื้อในเข้าไปก็คือองค์พระพุทธเจ้าที่เดินไปมาอยู่ที่ประเทศอินเดียในสมัยนู้น
ที่เป็นเนื้อในเข้าไปกว่านั้นอีกก็คือ พระธรรมะและวินัย พระธรรมวินัย ที่พระองค์ตรัสว่า นี้จักอยู่เป็นศาสดาของพวกเธอ ในการเป็นที่ล่วงลับไปแห่งตถาคต
ทีนี้ ที่เนื้อในเข้าไปอีกก็ต้องรู้ว่าพระธรรมวินัยนั้นมีหัวใจเป็นอย่างไร
พระธรรมวินัยทั้งหมดทั้งสิ้นมีหัวใจเป็นความสะอาด สว่าง สงบ...เนื้อแท้หรือหัวใจชั้นในสุดของพระพุทธเจ้าก็คือ ภาวะแห่งความสะอาด สว่าง สงบ
พระพุทธเจ้ามีความสะอาดถึงที่สุด เราเรียกว่าบริสุทธิคุณ มีความสว่างถึงที่สุด เราเรียกว่าพระปัญญาคุณ มีความสงบสุขถึงที่สุด ซึ่งเราเรียกว่าสันติคุณ เป็นต้น
ภาวะแห่งความสะอาด สว่าง สงบที่มีอยู่ในหัวใจของท่านนั้น คือองค์พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ที่จะกล่าวได้ว่า มีอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงบัดนี้
สมกับพระพุทธภาษิตที่พระองค์ตรัสว่า
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ที่ไม่เห็นธรรม ก็ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคต ผู้ที่ไม่เห็นธรรมแม้จะอยู่ใกล้ตถาคตขนาดจับเอาจีวรไว้ ก็ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคต"
นี่แหละลองคิดดูให้ดีเถิดว่า พระพุทธองค์เองก็ทรงปฏิเสธว่าร่างกายนั่นไม่ใช่องค์ตถาคต ต่อเมื่อเห็นธรรมะที่มีอยู่ในจิตใจ นั่นจึงจะเรียกว่าเห็นตถาคต"
พุทธทาสภิกขุ
#พัฒนาตน #สวนโมกข์กรุงเทพ #สร้างสรรค์สังคมรมณีย์
พระพุทธทาสบอกว่า อย่ายึดมั่นในพระรัตนตรัย อย่าง ผิดๆ
"คนบางคนสงสัยต่อไปว่า เราต้องยึดมั่นถือมั่น เช่น จะต้องยึดมั่นถือมั่นในพระพุทธเจ้า ยึดมั่นถือมั่นในพระธรรม ยึดมั่นถือมั่นในพระสงฆ์กันอย่างนี้อยู่ทั่ว ๆ ไป...
แม้จะพูดว่าให้ถือเอาพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง
ก็มีความหมายว่า
#ให้ถือเอาเป็นตัวอย่างในการที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร
พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้น
คือตัวความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
เมื่อผู้ใดมีจิตใจไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร
เป็นตัวตนหรือเป็นของตน
เมื่อนั้นชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่กับผู้นั้น
หรืออยู่ในจิตใจของผู้นั้น
สังเกตดูให้ดีเถิดจะเห็นว่า
เมื่อจิตของเราไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร
ว่าเป็นตัวเราหรือเป็นของเราแล้ว
ในขณะนั้นจิตมีความบริสุทธิ์ที่สุด
ในขณะนั้นจิตมีความสว่างไสวที่สุด
ในขณะนั้นจิตมีความสงบเย็นหรือเป็นสุขที่สุด
พอเกิดความยึดมั่นถือมั่นอะไรเข้ามา
จิตนั้นก็เร่าร้อนที่สุด สกปรกที่สุด
มืดมัวที่สุด และเป็นทุกข์ที่สุด
ดังนั้น จิตที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในขณะนั้นแหละ
เป็นจิตที่ถึงพระพุทธเจ้า
หรือมีพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง
แม้จะเข้าวัดรับศีล ฟังเทศน์ ให้ทาน
มาสักกี่ปีกี่สิบปี
ก็ยังห่างไกลต่อพระพุทธเจ้าอยู่นั่นเอง
เพราะฉะนั้นจึงต้องร้องตะโกน
เป็นนกแก้วนกขุนทองเรื่อยไปว่า
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ เป็นต้น
โดยไม่มีความหมายอะไรเลย
สิ่งที่เรียกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้นมีอยู่หลายชั้น หลายลำดับ หลายความหมาย เป็นเพียงเปลือกนอกก็มี เป็นเนื้อในก็มี แม้ที่เป็นเนื้อในก็ยังมีหลายชั้นเป็นชั้น ๆ เข้าไป กว่าจะถึงเนื้อในที่เป็นหัวใจที่สุด
อย่างพระพุทธเจ้านี้ที่เป็นชั้นนอกชั้นเปลือกที่สุดก็เช่น พระพุทธรูป เป็นต้น
ที่เป็นเนื้อในเข้าไปก็คือองค์พระพุทธเจ้าที่เดินไปมาอยู่ที่ประเทศอินเดียในสมัยนู้น
ที่เป็นเนื้อในเข้าไปกว่านั้นอีกก็คือ พระธรรมะและวินัย พระธรรมวินัย ที่พระองค์ตรัสว่า นี้จักอยู่เป็นศาสดาของพวกเธอ ในการเป็นที่ล่วงลับไปแห่งตถาคต
ทีนี้ ที่เนื้อในเข้าไปอีกก็ต้องรู้ว่าพระธรรมวินัยนั้นมีหัวใจเป็นอย่างไร
พระธรรมวินัยทั้งหมดทั้งสิ้นมีหัวใจเป็นความสะอาด สว่าง สงบ...เนื้อแท้หรือหัวใจชั้นในสุดของพระพุทธเจ้าก็คือ ภาวะแห่งความสะอาด สว่าง สงบ
พระพุทธเจ้ามีความสะอาดถึงที่สุด เราเรียกว่าบริสุทธิคุณ มีความสว่างถึงที่สุด เราเรียกว่าพระปัญญาคุณ มีความสงบสุขถึงที่สุด ซึ่งเราเรียกว่าสันติคุณ เป็นต้น
ภาวะแห่งความสะอาด สว่าง สงบที่มีอยู่ในหัวใจของท่านนั้น คือองค์พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ที่จะกล่าวได้ว่า มีอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงบัดนี้
สมกับพระพุทธภาษิตที่พระองค์ตรัสว่า
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ที่ไม่เห็นธรรม ก็ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคต ผู้ที่ไม่เห็นธรรมแม้จะอยู่ใกล้ตถาคตขนาดจับเอาจีวรไว้ ก็ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคต"
นี่แหละลองคิดดูให้ดีเถิดว่า พระพุทธองค์เองก็ทรงปฏิเสธว่าร่างกายนั่นไม่ใช่องค์ตถาคต ต่อเมื่อเห็นธรรมะที่มีอยู่ในจิตใจ นั่นจึงจะเรียกว่าเห็นตถาคต"
พุทธทาสภิกขุ
#พัฒนาตน #สวนโมกข์กรุงเทพ #สร้างสรรค์สังคมรมณีย์