ลมแรงพัด PM 2.5 เบา รร.สังกัด กทม. เปิดเรียนตามปกติ
https://www.dailynews.co.th/news/4332465/
‘ชัชชาติ’ ร่าย 11 มาตรการทำแล้ว พร้อมชง 4 ข้อเสนอรัฐบาล ขอ"ดาบ' เพิ่มอำนาจกทม.จัดการฝุ่น
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวระหว่าง ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ณ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม เขตดินแดง โดยระบุ
เช้านี้ลมพัดแรง ไม่มีหมอกเหมือนวาน นี้ สาเหตุจากลมเปลี่ยนทิศเป็นลมจากทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมแห้งที่ไม่ได้เอาไอน้ำเข้ามา แต่พาฝุ่นมาด้วย และจากความแรงของลมก็พาฝุ่นที่สะสมในกทม. ออกไปด้วยเช่นกัน ทำให้สถานการณ์ฝุ่นกทม. ดีขึ้น ไม่มีสีแดง เป็นสีเหลืองและส้ม
“เป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่สัปดาห์ก่อน สำหรับรร.สังกัด กทม. เปิดเรียนทั้งหมด 437 แห่ง แต่ยังคงเฝ้าระวังตลอด โดยแนวโน้มสถานการณ์ฝุ่นจากนี้ ด้านการระบายอากาศ 2 วันนี้ยังคงดีอยู่ แต่จะแย่อีกครั้ง 29 -30 ม.ค.68 ส่วนจุดเผา ประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตะวันออกยังคงมีการเผาเยอะอยู่ ต้องเฝ้าระวังหากทิศทางลมพัดฝุ่นมาทาง กทม.”
ผู้ว่าฯ กทม. แนะช่องทางตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยผ่านแอปพลิเคชัน Air BKK หน้าหลักจะแสดงค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM 2.5 แต่หากจะดูค่าฝุ่นรายชั่วโมงสามารถเปิดดูได้ เหตุผลที่แสดงค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงเป็นหลัก เพราะค่าฝุ่นจะเหวี่ยงขึ้นลงไม่นิ่ง การใช้ค่าเฉลี่ยนจะกำหนดมาตรฐานในการรายงานได้ดีกว่า
สำหรับการตรวจควันดำรถ วันนี้(27 ม.ค.) เจ้าหน้าที่จะลงตรวจรถเมล์โดยไม่แจ้งล่วงหน้าอีก ที่ผ่านมาตรวจ 6 วันต่อสัปดาห์ตลอดทั้งปีไม่เคยหย่อน แต่แม้จะตรวจพบควันดำก็ทำได้แค่เพียงขอความร่วมมือ หากจะดำเนินการตามกฎหมายต้องนำเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกไปด้วย
“ต้องชี้แจงอีกครั้งว่า กทม. ไม่มีอำนาจจับรถ 6 ล้อขึ้นไป มีอำนาจแค่รถ 4 ล้อ ทั้งยังไม่สามารถสั่งหยุดรถได้ ทำได้เพียงติดสติกเกอร์และให้แก้ไขภายใน 30 วัน เป็นข้อจำกัดทางกฎหมายที่เราพยายามขออำนาจตรงนี้”
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า วานนี้ (26ม.ค.) ผู้ว่าฯกทม.ไลฟ์สดสรุปภาพรวมและมาตรการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พร้อม 4 ข้อเสนอแก้ไขต่อรัฐบาล ประกอบด้วย
1. Low Emission Zone (LEZ) เขตมลพิษต่ำ ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่เมืองชั้นใน จำกัดโซนการวิ่งรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไปที่ไม่ลงทะเบียนสีเขียว ห้ามเข้าพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษก รวมพื้นที่ 9 เขต และแนวถนนผ่าน 13 เขต ใครไม่ลงทะเบียนเข้ามาจะโดนปรับ เป็นการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ควบคุมรถเข้าพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
2. โครงการรถคันนี้ลดฝุ่น ซึ่งเป็นการร่วมลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง/ไส้ ครั้งนี้มีรถเข้าร่วมแล้ว 260,752 คัน จากเป้า 500,000 คัน โครงการนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมลดฝุ่นได้
3. ห้องเรียนปลอดฝุ่น ปี 67 ปรับปรุงทุกรร.ให้มีห้อง safe zone เป็นห้องใหญ่ที่ติดแอร์และเครื่องกรองอากาศ ส่วนห้องเรียนปลอดฝุ่นสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล รร.สังกัด กทม. จากทั้งหมด 437 แห่ง มีชั้นอนุบาล 429 แห่ง มีห้องเรียนอนุบาล 1,966 ห้อง ปรับปรุงเสร็จแล้ว 744 ห้อง และทำให้เสร็จทั้งหมดภายในปีนี้
4. เครือข่าย Work From Home (WFH) ปัจจุบันมีหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมกับ กทม. เป็นภาคีเครือข่าย WFH ประมาณเกือบ 100,000 คน จากประมาณ 155 บริษัท
5. รถอัดฟางให้ยืมฟรี เพื่อลดการเผาวัสดุทางการเกษตรและช่วยลดต้นทุน ปัจจุบันมีเกษตรกรจองแล้ว 2,000-3,000 ไร่ จากเขตหนองจอกและคลองสามวา
6. สนับสนุนทีมฝนหลวงช่วยฝุ่น กทม.
7. เปิดช่องทางร้องเรียน แจ้งการเตือนฝุ่น
8. การพยากรณ์ฝุ่นมี Air BKK ที่พัฒนามาหลายเวอร์ชัน คาดการณ์ได้ล่วงหน้าหลายวัน เพราะเซ็นเซอร์ที่ใช้ในแอปมีคุณภาพมาตรฐานสูงกว่าทั่วไป
9. ตรวจฝุ่นที่ต้นตอที่ผ่านมา
10. การปรับปรุงการจราจร พยายามสนับสนุนให้ใช้การเดินทางที่ไม่สร้างมลพิษ ทั้งใช้จักรยาน Bike Sharing ทำทางเท้าให้ดี เป้าระยะทาง 1,000 กม. ดำเนินการไปแล้ว 800 กม. รวมถึงการจราจรบนถนนที่ใช้ระบบ AI มาช่วยควบคุมมากขึ้น หากการจราจรดีขึ้นก็มีส่วนช่วยให้การสะสมของฝุ่นน้อยลง และ11.เพิ่มพื้นที่สีเขียว โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น ที่ ตอนนี้ปลูกไปแล้วกว่า 1.2 ล้านต้น และขยายเป้าเป็น 2 ล้าน
ส่วนแนวทางเสนอรัฐบาล เพื่อให้กทม.มีอำนาจแก้ปัญหาฝุ่น ได้แก่ 1.การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ตามหลัก PPP สิ่งที่ กทม. เคยเสนอรัฐบาลไปคือหลัก “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle) ซึ่ง กทม. ไม่มีอำนาจตรงนี้ ซึ่งอยู่ใน พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ
2. การลดค่าความทึบแสงของการตรวจรถยนต์ควันดำ ภายใต้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จาก 30 เป็น 10 หรือขอให้ท้องถิ่นกำหนดเอง ซึ่ง กทม. อยากตรวจให้เข้มข้นกว่า 30 เพราะต่ำกว่านั้นก็ก่อให้เกิดมลพิษ และ กทม. มีรถยนต์เป็นจำนวนมาก
3. เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการการจัดการกับรถควันดำ ภายใต้ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม เช่น ปรับจากการต้องแก้ไขภายใน 30 วัน เป็นแก้ไขทันที
4. ขอให้ กทม. เป็นเจ้าพนักงานภายใต้ พ.ร.บ.ขนส่งทางบกฯ เพื่อมีอำนาจในการตรวจรถ 6 ล้อขึ้นไป
ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ทั้งหมดนี้กทม. ยังไม่ได้รับตามข้อเสนอ เช่นเดียวกับปีที่แล้ว สภากทมฯเห็นชอบร่างข้อบัญญัติรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า โดยให้รถเมล์ทั้งหมดใน กทม. ต้องเป็นรถ EV ภายใน 7 ปี แต่กฤษฎีกาแจ้งว่า กทม. ไม่มีอำนาจในการออกข้อบัญญัติเพื่อกำหนดให้รถเมล์ใน กทม. เป็นรถไฟฟ้า และอีกหลาย ๆ เรื่อง เช่น การขอย้ายท่าเรือคลองเตย การเก็บภาษีรถเก่าควรเพิ่มไม่ใช่ลด ซึ่งกทม.อยากทำแต่ไม่มีอำนาจ.
จิสด้า เปิดข้อมูล จุดความร้อน กัมพูชา มากสุด 2,090 จุด ไทยไม่น้อย 1,033 จุด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9607578
จิสด้า เปิดข้อมูล จุดความร้อน กัมพูชา มากถึง 2,090 จุด ไทยไม่น้อย 1,033 จุด ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 331 จุด พื้นที่เกษตร 209 จุด
วันที่ 27 ม.ค.2568 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) โดย จิสด้า- GISTDA รายงานจาก ข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ระบบ VIIRS และจากข้อมูลดาวเทียมดวงอื่นๆ ของเมื่อวันที่ 26 ม.ค.2568 พบว่า ประเทศไทยมีจุดความร้อนรวม 1,033 จุด
ทั้งนี้ ข้อมูลจากดาวเทียมระบุว่าจุดความร้อนในประเทศไทยเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 331 จุด พื้นที่เกษตร 209 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 194 จุด พื้นที่ชุมชนและพื้นที่อื่นๆ 159 จุด พื้นที่เขต สปก. 128 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 12 จุด
ในขณะที่จุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านพบมากที่สุด
• กัมพูชา 2,090 จุด
• พม่า 478 จุด
• ลาว 345 จุด
• เวียดนาม 123 จุด
• มาเลเซีย 6 จุด
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ GISTDA ยังคงติดตาม วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่
ผู้สูงอายุคอตก! อดได้เงินหมื่นเพียบ เพราะลงทะเบียนติดตั้งแอป ‘ทางรัฐ’ ไม่เป็น
https://www.dailynews.co.th/news/4332511/
พบผู้สูงอายุหลายรายต่างผิดหวัง หลังเดินทางไปตรวจสอบเงินจำนวน 10,000 บาทกับธนาคาร ที่รัฐบาลโอนให้เฟส 2 เนื่องจากไม่ได้ลงทะเบียน เพราะติดตั้งแอป "ทางรัฐ" ไม่เป็น นอกจากนี้ยังไม่มีโทรศัพท์ใช้อีกเพียบ
จากกรณี รัฐบาลประกาศว่าจะเริ่มโอนเงินสนับสนุนค่าครองชีพจำนวน 10,000 บาท เฟส 2 ให้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” และดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ โดยกำหนดวันที่ 27 ม.ค. 68 ตามที่ได้เสนอข่าวมาอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ธนาคารกรุงไทย สาขามีนบุรี น.ส.วนิดา เล็มบารอฮิม 68 ปี แม่ค้า เปิดเผยว่า วันนี้ตนเดินทางมาตรวจสอบว่าได้เงิน 10,000 บาท บัญชีหรือไม่ เนื่องจากทราบข่าวว่า ทางรัฐบาลมีการแจกเงิน 10,000 บาท ให้ผู้สูงอายุ แต่ปรากฏว่าไม่มียอดเงินเข้า เนื่องจากตนไม่ได้ลงทะเบียนแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ไว้ ซึ่งตนมองว่า รัฐบาลควรตรวจสอบว่าใครเป็นผู้สูงอายุ และโอนเงินเข้าไปเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช่นเดียวกันกับผู้สูงอายุอีกหลายคน ต่างผิดหวังเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้ลงทะเบียนและติดตั้งแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งสร้างความยุ่งยากสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่าหลายคนไม่ได้มีโทรศัพท์ใช้อีก
JJNY : ลมแรงพัด PM 2.5│จิสด้าเปิดข้อมูลจุดความร้อน│ผู้สูงอายุคอตก! อดได้เงินหมื่นเพียบ│วิกฤติอสังหาฯ ‘ฮ่องกง’ลามการเงิน
https://www.dailynews.co.th/news/4332465/
‘ชัชชาติ’ ร่าย 11 มาตรการทำแล้ว พร้อมชง 4 ข้อเสนอรัฐบาล ขอ"ดาบ' เพิ่มอำนาจกทม.จัดการฝุ่น
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวระหว่าง ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ณ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม เขตดินแดง โดยระบุ
เช้านี้ลมพัดแรง ไม่มีหมอกเหมือนวาน นี้ สาเหตุจากลมเปลี่ยนทิศเป็นลมจากทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมแห้งที่ไม่ได้เอาไอน้ำเข้ามา แต่พาฝุ่นมาด้วย และจากความแรงของลมก็พาฝุ่นที่สะสมในกทม. ออกไปด้วยเช่นกัน ทำให้สถานการณ์ฝุ่นกทม. ดีขึ้น ไม่มีสีแดง เป็นสีเหลืองและส้ม
“เป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่สัปดาห์ก่อน สำหรับรร.สังกัด กทม. เปิดเรียนทั้งหมด 437 แห่ง แต่ยังคงเฝ้าระวังตลอด โดยแนวโน้มสถานการณ์ฝุ่นจากนี้ ด้านการระบายอากาศ 2 วันนี้ยังคงดีอยู่ แต่จะแย่อีกครั้ง 29 -30 ม.ค.68 ส่วนจุดเผา ประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตะวันออกยังคงมีการเผาเยอะอยู่ ต้องเฝ้าระวังหากทิศทางลมพัดฝุ่นมาทาง กทม.”
ผู้ว่าฯ กทม. แนะช่องทางตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยผ่านแอปพลิเคชัน Air BKK หน้าหลักจะแสดงค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM 2.5 แต่หากจะดูค่าฝุ่นรายชั่วโมงสามารถเปิดดูได้ เหตุผลที่แสดงค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงเป็นหลัก เพราะค่าฝุ่นจะเหวี่ยงขึ้นลงไม่นิ่ง การใช้ค่าเฉลี่ยนจะกำหนดมาตรฐานในการรายงานได้ดีกว่า
สำหรับการตรวจควันดำรถ วันนี้(27 ม.ค.) เจ้าหน้าที่จะลงตรวจรถเมล์โดยไม่แจ้งล่วงหน้าอีก ที่ผ่านมาตรวจ 6 วันต่อสัปดาห์ตลอดทั้งปีไม่เคยหย่อน แต่แม้จะตรวจพบควันดำก็ทำได้แค่เพียงขอความร่วมมือ หากจะดำเนินการตามกฎหมายต้องนำเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกไปด้วย
“ต้องชี้แจงอีกครั้งว่า กทม. ไม่มีอำนาจจับรถ 6 ล้อขึ้นไป มีอำนาจแค่รถ 4 ล้อ ทั้งยังไม่สามารถสั่งหยุดรถได้ ทำได้เพียงติดสติกเกอร์และให้แก้ไขภายใน 30 วัน เป็นข้อจำกัดทางกฎหมายที่เราพยายามขออำนาจตรงนี้”
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า วานนี้ (26ม.ค.) ผู้ว่าฯกทม.ไลฟ์สดสรุปภาพรวมและมาตรการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พร้อม 4 ข้อเสนอแก้ไขต่อรัฐบาล ประกอบด้วย
1. Low Emission Zone (LEZ) เขตมลพิษต่ำ ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่เมืองชั้นใน จำกัดโซนการวิ่งรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไปที่ไม่ลงทะเบียนสีเขียว ห้ามเข้าพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษก รวมพื้นที่ 9 เขต และแนวถนนผ่าน 13 เขต ใครไม่ลงทะเบียนเข้ามาจะโดนปรับ เป็นการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ควบคุมรถเข้าพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
2. โครงการรถคันนี้ลดฝุ่น ซึ่งเป็นการร่วมลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง/ไส้ ครั้งนี้มีรถเข้าร่วมแล้ว 260,752 คัน จากเป้า 500,000 คัน โครงการนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมลดฝุ่นได้
3. ห้องเรียนปลอดฝุ่น ปี 67 ปรับปรุงทุกรร.ให้มีห้อง safe zone เป็นห้องใหญ่ที่ติดแอร์และเครื่องกรองอากาศ ส่วนห้องเรียนปลอดฝุ่นสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล รร.สังกัด กทม. จากทั้งหมด 437 แห่ง มีชั้นอนุบาล 429 แห่ง มีห้องเรียนอนุบาล 1,966 ห้อง ปรับปรุงเสร็จแล้ว 744 ห้อง และทำให้เสร็จทั้งหมดภายในปีนี้
4. เครือข่าย Work From Home (WFH) ปัจจุบันมีหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมกับ กทม. เป็นภาคีเครือข่าย WFH ประมาณเกือบ 100,000 คน จากประมาณ 155 บริษัท
5. รถอัดฟางให้ยืมฟรี เพื่อลดการเผาวัสดุทางการเกษตรและช่วยลดต้นทุน ปัจจุบันมีเกษตรกรจองแล้ว 2,000-3,000 ไร่ จากเขตหนองจอกและคลองสามวา
6. สนับสนุนทีมฝนหลวงช่วยฝุ่น กทม.
7. เปิดช่องทางร้องเรียน แจ้งการเตือนฝุ่น
8. การพยากรณ์ฝุ่นมี Air BKK ที่พัฒนามาหลายเวอร์ชัน คาดการณ์ได้ล่วงหน้าหลายวัน เพราะเซ็นเซอร์ที่ใช้ในแอปมีคุณภาพมาตรฐานสูงกว่าทั่วไป
9. ตรวจฝุ่นที่ต้นตอที่ผ่านมา
10. การปรับปรุงการจราจร พยายามสนับสนุนให้ใช้การเดินทางที่ไม่สร้างมลพิษ ทั้งใช้จักรยาน Bike Sharing ทำทางเท้าให้ดี เป้าระยะทาง 1,000 กม. ดำเนินการไปแล้ว 800 กม. รวมถึงการจราจรบนถนนที่ใช้ระบบ AI มาช่วยควบคุมมากขึ้น หากการจราจรดีขึ้นก็มีส่วนช่วยให้การสะสมของฝุ่นน้อยลง และ11.เพิ่มพื้นที่สีเขียว โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น ที่ ตอนนี้ปลูกไปแล้วกว่า 1.2 ล้านต้น และขยายเป้าเป็น 2 ล้าน
ส่วนแนวทางเสนอรัฐบาล เพื่อให้กทม.มีอำนาจแก้ปัญหาฝุ่น ได้แก่ 1.การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ตามหลัก PPP สิ่งที่ กทม. เคยเสนอรัฐบาลไปคือหลัก “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle) ซึ่ง กทม. ไม่มีอำนาจตรงนี้ ซึ่งอยู่ใน พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ
2. การลดค่าความทึบแสงของการตรวจรถยนต์ควันดำ ภายใต้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จาก 30 เป็น 10 หรือขอให้ท้องถิ่นกำหนดเอง ซึ่ง กทม. อยากตรวจให้เข้มข้นกว่า 30 เพราะต่ำกว่านั้นก็ก่อให้เกิดมลพิษ และ กทม. มีรถยนต์เป็นจำนวนมาก
3. เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการการจัดการกับรถควันดำ ภายใต้ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม เช่น ปรับจากการต้องแก้ไขภายใน 30 วัน เป็นแก้ไขทันที
4. ขอให้ กทม. เป็นเจ้าพนักงานภายใต้ พ.ร.บ.ขนส่งทางบกฯ เพื่อมีอำนาจในการตรวจรถ 6 ล้อขึ้นไป
ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ทั้งหมดนี้กทม. ยังไม่ได้รับตามข้อเสนอ เช่นเดียวกับปีที่แล้ว สภากทมฯเห็นชอบร่างข้อบัญญัติรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า โดยให้รถเมล์ทั้งหมดใน กทม. ต้องเป็นรถ EV ภายใน 7 ปี แต่กฤษฎีกาแจ้งว่า กทม. ไม่มีอำนาจในการออกข้อบัญญัติเพื่อกำหนดให้รถเมล์ใน กทม. เป็นรถไฟฟ้า และอีกหลาย ๆ เรื่อง เช่น การขอย้ายท่าเรือคลองเตย การเก็บภาษีรถเก่าควรเพิ่มไม่ใช่ลด ซึ่งกทม.อยากทำแต่ไม่มีอำนาจ.
จิสด้า เปิดข้อมูล จุดความร้อน กัมพูชา มากสุด 2,090 จุด ไทยไม่น้อย 1,033 จุด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9607578
จิสด้า เปิดข้อมูล จุดความร้อน กัมพูชา มากถึง 2,090 จุด ไทยไม่น้อย 1,033 จุด ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 331 จุด พื้นที่เกษตร 209 จุด
วันที่ 27 ม.ค.2568 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) โดย จิสด้า- GISTDA รายงานจาก ข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ระบบ VIIRS และจากข้อมูลดาวเทียมดวงอื่นๆ ของเมื่อวันที่ 26 ม.ค.2568 พบว่า ประเทศไทยมีจุดความร้อนรวม 1,033 จุด
ทั้งนี้ ข้อมูลจากดาวเทียมระบุว่าจุดความร้อนในประเทศไทยเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 331 จุด พื้นที่เกษตร 209 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 194 จุด พื้นที่ชุมชนและพื้นที่อื่นๆ 159 จุด พื้นที่เขต สปก. 128 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 12 จุด
ในขณะที่จุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านพบมากที่สุด
• กัมพูชา 2,090 จุด
• พม่า 478 จุด
• ลาว 345 จุด
• เวียดนาม 123 จุด
• มาเลเซีย 6 จุด
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ GISTDA ยังคงติดตาม วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่
ผู้สูงอายุคอตก! อดได้เงินหมื่นเพียบ เพราะลงทะเบียนติดตั้งแอป ‘ทางรัฐ’ ไม่เป็น
https://www.dailynews.co.th/news/4332511/
พบผู้สูงอายุหลายรายต่างผิดหวัง หลังเดินทางไปตรวจสอบเงินจำนวน 10,000 บาทกับธนาคาร ที่รัฐบาลโอนให้เฟส 2 เนื่องจากไม่ได้ลงทะเบียน เพราะติดตั้งแอป "ทางรัฐ" ไม่เป็น นอกจากนี้ยังไม่มีโทรศัพท์ใช้อีกเพียบ
จากกรณี รัฐบาลประกาศว่าจะเริ่มโอนเงินสนับสนุนค่าครองชีพจำนวน 10,000 บาท เฟส 2 ให้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” และดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ โดยกำหนดวันที่ 27 ม.ค. 68 ตามที่ได้เสนอข่าวมาอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ธนาคารกรุงไทย สาขามีนบุรี น.ส.วนิดา เล็มบารอฮิม 68 ปี แม่ค้า เปิดเผยว่า วันนี้ตนเดินทางมาตรวจสอบว่าได้เงิน 10,000 บาท บัญชีหรือไม่ เนื่องจากทราบข่าวว่า ทางรัฐบาลมีการแจกเงิน 10,000 บาท ให้ผู้สูงอายุ แต่ปรากฏว่าไม่มียอดเงินเข้า เนื่องจากตนไม่ได้ลงทะเบียนแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ไว้ ซึ่งตนมองว่า รัฐบาลควรตรวจสอบว่าใครเป็นผู้สูงอายุ และโอนเงินเข้าไปเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช่นเดียวกันกับผู้สูงอายุอีกหลายคน ต่างผิดหวังเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้ลงทะเบียนและติดตั้งแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งสร้างความยุ่งยากสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่าหลายคนไม่ได้มีโทรศัพท์ใช้อีก