หลักการของ 「เกณฑ์โยค」

กระทู้สนทนา
เกณฑ์---โยค 

ดาวพระเคราะห์ต่างที่โคจรโดยรอบจักรราศีนอกจากส่งกระแสสัมพันธ์ถึงกันด้วยการอยู่ร่วมราศีกันหรือเล็งกันแล้ว ยังมีกฎของดาวพระเคราะห์หนึ่งที่สามารถส่งกระแสหรือส่งกำลังไปถึงพระเคราะห์อีกดาวหนึ่งได้ เรียกตามหลักโหราศาสตร์ไทยว่า 「เกณฑ์ 」

เกณฑ์ คือ การนับจากราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่ง ผลของการเกิดเกณฑ์ของดวงดาวนั้นจะส่งกระแสดีหรือชั่วขึ้นกับพระเคราะห์ดาวที่ส่งกำลังออกไป ถ้าเป็นดาวศุภเคราะห์ก็ให้ผลดีแต่ถ้าเป็นดาวบาปพระเคราะห์ก็ให้ผลร้าย โดยมีนิยามกฎการส่งกระแสของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ดังนี้

ดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์ ๓ และ ๑๐ แก่กัน ส่งกำลังถึงกันได้เพียง ๒๕ เปอร์เซ็นต์
ดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์ ๕ และ ๙ แก่กัน ส่งกำลังถึงกันได้เพียง ๕๐ เปอร์เซ็นต์
ดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์ ๔ และ ๘ แก่กัน ส่งกำลังถึงกันได้เพียง ๗๕ เปอร์เซ็นต์
ดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์ ๑ (กุมกัน) และ ๗ (เล็งกัน ) ส่งกำลังถึงกันได้เพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ 

แต่มีดาวเคราะห์พิเศษเพียงสามดวงที่มีกำลังส่งเกณฑ์ที่พิเศษกว่าดาวดวงอื่น ได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัส และอังคาร มีกำลังการส่งเกณฑ์ถึงกัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์     
ดาวเสาร์ส่งกำลังได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นเกณฑ์ ๓ และ ๑๐ 
ดาวพฤหัสส่งกำลังได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นเกณฑ์ ๕ และ ๙
ดาวอังคารส่งกำลังได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นเกณฑ์ ๔ และ ๘

 การเป็นเกณฑ์แก่กันของดาวพระเคราห์ ถ้าเป็นดาวศุภเคราะห์ส่งกระแสถึงดาวศุภเคราะห์ย่อมจัดเป็นเกณฑ์ที่ดีและให้ผลดี แต่ถ้าบาปพระเคราะห์ส่งกระแสถึงดาวบาปพระเคราห์ก็ให้ผลทำนองเกณฑ์ร้ายเสียส่วนมาก นอกจากดาวบาปพระเคราะห์นั้นสถิตย์อยู่ตำแหน่งที่ให้คุณคือเป็นเกษตรหรือุจจ์ ก็อาจส่งผลดีให้ได้
อาทิเช่นดาวอังคาร สถิตย์ในราศีเมษ เป็นพระเคราะห์ที่ครองในเรือนเกษตรแห่งตน โดยธรรมชาติอังคารนอกจากส่งกระแสในเรือนตนเอง (ราศีเมษ) ยังส่งกระแสเป็นเกณฑ์ ๗ (ราศีตุลย์) และยังสามารถส่งกระแสพิเศษคือเกณฑ์ ๔ (ราศีกรกฎ) และ เกณฑ์ ๘ (ราศีพิจิก-เป็นเรือนเกษตรแห่งตน) หากไปตรงกับภพใดเข้าจะต้องให้ความสำคัญกับภพนั้นอย่างมาก ๆ   
ดาวพฤหัสสถิตย์ในราศีกรกฎ เป็นพระเคราห์เรือนอุจจ์แห่งตน สามารถส่งเกณฑ์ ๕ (ตรีโกณฑ์-ราศีพิจิก) และเกณฑ์ ๙ (ตรีโกณฑ์-ราศีมีน) หากมีดาวพระเคราะห์ใดเข้าไปสถิตย์ในราศีดังกล่าวนี้จะต้องเพิ่มความสำคัญให้กับภพนั้นเพราะดาวพฤหัสเข้าครองราศีอุจจ์ 

ดาวเสาร์สถิตย์ในราศีพิจิก เป็นพระเคราห์เรือนราชาโชคแห่งตน สามารถส่งเกณฑ์ ๓ (ราศีมังกร-เกษตร) และเกณฑ์ ๑๐ (ราศีสิงห์) หากมีดาวพระเคราะห์ใดเข้าไปสถิตย์ในราศีดังกล่าวนี้จะต้องเพิ่มความสำคัญให้กับภพนั้นอย่างมาก

 สรุปกฏของการส่งกำลังดวงดาว (เกณฑ์)
***อาทิตย์ (๑) จันทร์ (๒) พุธ (๔) ศุกร์ (๖) ให้กำลังเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในภพที่ ๑ และ ภพที่ ๗ 
***อังคาร (๓) ให้กำลังเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในภพที่ ๑ ภพที่ ๔ ภพที่ ๗ และภพที่ ๘
***พฤหัส (๕) ให้กำลังเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในภพที่ ๑ ภพที่ ๕ ภพที่ ๗ และภพที่ ๙
***เสาร์ (๗) ให้กำลังเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในภพที่ ๑ ภพที่ ๓ ภพที่ ๗ และภพที่ ๑๐
****************************************************************************************************************************

โยค เป็นสัมพันธ์ของดาวพระเคราะห์ที่ครองร่วมกัน ให้ผลทางด้านดีและด้านร้าย ในการพิจารณาต้องอาศัยองศาดาวพระเคราะห์เป็นหลัก แบ่งการพิจารณาออกเป็นหลายประการดังนี้
๑. ดาวพระเคราะห์ที่อยู่ร่วมภายในราศีเดียวกัน มีองศาเท่ากัน หรือนวางค์เดียวกัน หรือจะอยู่เลื่อมกัน บวกลบไม่เกิน ๓ องศา ถือว่าได้ว่าทับกันสนิท แต่หากพ้นองศามากว่า ๓ องศา ก็ไม่นับว่ากุมกันสนิทคือไม่เป็นโยคแก่กัน 
ดาวศุภเคราะห์กุมดาวศุภเคราะห์ หรือดาวศุภเคราะห์โครจรเข้ากุมดาวศุภเคราะห์ ประเภทนี้ให้ผลดี
ดาวบาปเคราห์กุมดาวบาปเคราะห์ หรือดาวบาปเคราะห์โครจรเข้ากุมดาวบาปเคราห์ ประเภทนี้ให้ผลร้ายดาวศุภเคราะห์กุมดาวบาปเคราะห์ หรือดาวศุภเคราะห์โครจรเข้ากุมดาวบาปเคราะห์ ประเภทนี้ให้ผลร้าย
ดาวบาปเคราะห์กุมดาวศุภเคราะห์ หรือดาวบาปเคราะห์โครจรเข้ากุมดาวศุภเคราะห์ ประเภทนี้ให้ผลร้าย
ดาวประเภทศุภเคราห์ ได้แก่ ดาวจันทร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส ดาวเกตุ
ดาวบาปเคราะห์ ได้แก่ ดาวอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ราหู เนปจูน มฤตยู
การเข้ากุมกันของดาวพระเคราะห์ให้พึงระวังดาวอาทิตย์ (๑) มากที่สุด เพราะเมื่อโคจรเข้าทับดาวใดจะทำให้ดาวนั้นอับแสงถูกรัศมีของอาทิตย์บดบังไว้ เสมือนเราเงยหน้ามองท้องฟ้าในช่วงเวลากลางวัน นัยต์ตาของเราไม่สามารถมองดวงดาวบนท้องฟ้าได้ หรือในทำนองเดียวกัน วันที่ดาวจันทร์โคจรเข้าหาพระอาทิตย์ ก็จะเกิดเป็นวันที่พระจันทร์นี้ดับแสง ซึ่งในปฏิทินจะเรียกช่วงเวลานั้นว่า วันแรม 15 ค่ำ หรือ วันขึ้น 1 ค่ำ 
ดาวจันทร์ ดับ คือจันทร์เข้าไปกุมอาทิตย์เต็มที่มีระดับองศาใกล้กับดาวอาทิตย์ภายใน ๓ องศา มักเรียกจุดพิเศษนี้ว่า “จุดอามาวสี” ชะตาใดที่เกิดมาในช่วงที่จันทร์ดับ ชีวิตมักจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บรบกวนอยู่เสมอ ๆ เป็นบุคคลที่เลี้ยงยาก มักพลัดพลาดจากบิดามารดา เมื่อเติบโตในการหาเลี้ยงชีวิตมักต้องต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ อย่างหนัก จึงจะสามารถบันลุผลคุณงามความดีนี้ไปได้
 
อังคาร ดับ คืออังคารเข้าไปกุมอาทิตย์เต็มที่มีระดับองศาใกล้กับดาวอาทิตย์ภายใน ๓ องศา ดวงชะตาชายที่เกิดมาในช่วงจังหวะดาวอังคารดับ มักจะเป็นชะตาชายที่อ่อนแอขาดความอดทน มองโลกในแง่ร้าย ถ้าดวงชะตาหญิงที่เกิดมาจังหวะอังคารดับ ชีวิตคู่ครองไม่สมบูรณ์ มักอาภัพคู่ ยิ่งบุคคลเกิดมาในจังหวะที่ดาวจันทร์ดับและอังคารโคจรร่วมด้วย จะต้องระวังอุบัติเหตุให้มาก และเกิดการแตกดับด้วยอาการผิดปรกติ

พุธ ดับ ต้องพิจารณาออกเป็น 2 ประเด็น เนื่องจากพุธกับอาทิตย์อยู่ใกล้กันวงโคจรแคบห่างกันไม่เกิน ๒๘ องศา
๑. หากพุธโคจรปกติเดินเข้าอาทิตย์ ระยะใกล้กันภายในระยะ ๓ องศา ถือว่าพุธดับ เป็นพุธที่ให้โทษ ชะตาดังกล่าวจะเป็นพวกโกหกปลิ้นปล้อนเชื่อถือไม่ได้ มีความคิดเห็นผิด ๆ อยู่เสมอ ยิ่งพวกชะตาดาวพุธเป็นดาวที่สำคัญแก่ชะตา เช่นดาวเจ้าเรือนเกษตร เมื่อพุธดับ ดวงลักษณะนี้เข้าข่ายพวกอาชญากร
๒. หากพุธโคจรพักร หรือถอยหลังลงมาร่วมองศากับอาทิตย์ ถือว่าพุธนั้นดับเหมือนกันแต่ไม่ให้โทษ เพราะพุธนี้รัศมีการโคจรจะใกล้โลกมาก ดังนั้นชะตาจึงเป็นคนฉลาด เลห์เหลี่ยมชั้นเชิงสูง มีเชิงในการพูดจา ปฏิภาณไว้พริบปราดเปรื่องว่องไว

พฤหัส ดับ พฤหัสเข้าไปกุมอาทิตย์เต็มที่มีระดับองศาใกล้กับดาวอาทิตย์ภายใน ๓ องศา ซึ่งในปีหนึ่งจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ชะตาใดที่เกิดมาพฤหัสดับเป็นบุคคลที่อาภัพ ไร้ผู้ใหญ่อุปถัมภ์ ต้องสร้างพลังให้ตนเองอยู่เสมอ ทำสิ่งใด ๆ ที่ดีไม่ค่อยขึ้น เปรียบเสมือนคนทำดีแต่ต้องค่อยปิดทองหลังพระเสมอ ผลงานตนถูกคนอื่นเอาไปใช้

ศุกร์ ดับ พิจารณาเยี่ยงเดียวกับดาวพุธ เนื่องจากวงโคจรดาวศุกร์แคบ ไม่เกิน ๔๘ องศา เมื่อศุกร์โคจรปรกติแล้วเข้าร่วมกับอาทิตย์ ศุกร์ดับ ถือว่าชะตานั้นหาความสุขทางใจได้ยาก แม้มีเงินทองท่วมตัวก็เปล่าประโยชน์ มีความรักก็ไม่เหมือนปรกติแบบคนอื่นเขา หรือมีคู่ก็ต้องเคยผ่านมือคนอื่นมาก่อนแล้ว แต่ถ้าหาศุกร์นั้นเดินพักรถอยหลังแล้วร่วมราศีกับอาทิตย์ ศุกร์ดับ กับเป็นศุกร์ที่ให้คุณเพราะดาวศุกร์ใกล้โลก เป็นดวงชะตาเกิดมาชอบงานศิลปิน เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นบุคคลที่ชอบงานสังคม มีเสน่ห์นิยมดี

เสาร์ ดับ เสาร์เข้าไปกุมอาทิตย์เต็มที่มีระดับองศาใกล้กับดาวอาทิตย์ภายใน ๓ องศา ซึ่งในปีหนึ่งจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ชะตาใดที่เกิดมาเสาร์ดับเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ร้ายเสมอ นิสัยเฉื่อยชา ขี้ลังเล สุขภาพไม่ดี มักจะเป็นเหยื่อให้กับผู้อื่นเผาพลาญ หาความสุขกับชีวิตไม่ได้

ราหู กับ อาทิตย์ เมื่อดาวทั้งสองโคจรที่มีระดับองศาใกล้กันภายใน ๓ องศา ดวงชะตามักมีอุบัติเหตุขึ้นมาในจังหวะนี้ เป็นดวงชะตาร้อนที่อยู่ อยู่ที่ไหนไม่อดทน มีการเปลี่ยนที่ทำงานอยู่บ่อย อาภัพบิดา มักจะพลัดพรากจากกัน  

๒. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๓๐ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๒๗-๓๓ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็นดาวศุภเคราะห์หรือดาวบาปเคราห์ ถ้าเป็นดาวบาปเคราะห์ผลคุณก็บรรเทาลง แต่ถ้าเป็นดาวศุภเคราะห์ผลคุณก็เพิ่มขึ้น

๓. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๔๕ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๔๒-๔๘ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นดาวศุภเคราะห์หรือดาวบาปเคราห์ ถ้าเป็นดาวบาปเคราะห์ต่อดาวบาปเคราะห์ผลโทษจะรุนแรง แต่ถ้าเป็นดาวศุภเคราะห์ต่อศุภเคราะห์ผลโทษก็ลดลงไป

๔. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๖๐ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๕๗-๖๓ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ดี  

๕. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๗๒ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๖๙-๗๕ องศาเมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ดี  

๖. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๙๐ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๘๗-๙๓ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะเป็นไปในทางที่ไม่ดี ถ้าเป็นบาปเคราะห์ต่อบาปเคราะห์จะส่งผลรุนแรงให้มาก ลักษณะคล้ายกันกับเกณฑ์ ๔ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่ผลโยคเชิงมุมที่องศา ๙๐ องศาจะให้ผลรุนแรงกว่ามาก

๗. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๑๒๐ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๑๑๗-๑๒๓ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ดี ลักษณะคล้ายกันกับเกณฑ์ ๕ และ ๙ ที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ผลโยคเชิงมุมที่องศา ๙๐ องศาจะให้ผลรุนแรงที่พิเศษกว่ามาก ส่งผลอย่างแท้จริง

๘. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๑๓๕ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๑๓๒-๑๓๘ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ไม่ดี 

๙. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๑๔๔ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๑๔๑-๑๔๗ องศาเมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ดี  

๑๐. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๑๕๐ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๑๔๗-๑๕๓ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ไม่ดี 

๑๑. ดาวเคราะห์ที่มีกระแสร่วมกัน อยู่ห่างจากกัน ๑๘๐ องศา (บวกลบ 3 องศา ระหว่าง ๑๗๗-๑๘๓ องศา) เมื่อดาวโคจรเข้ามามีระยะเชิงมุมกับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ผลที่ได้จะบังเกิดเป็นในทางที่ไม่ดี 

======โยคที่จัดว่าให้ผลคุณ========  
ดาวพระเคราห์ที่มีระยะเชิงมุมห่างกัน ๓๐ องศา, ๖๐ องศา, ๗๒ องศา,๑๒๐ องศา และ ๑๔๔ องศา
แต่ที่ให้ผลดีอย่างแท้จริงนั้น โยคที่ทำมุม ๓๐ องศา, ๖๐ องศา และ ๑๒๐ องศา

======โยคที่จัดว่าให้ผลร้าย========  
ดาวพระเคราห์ที่มีระยะเชิงมุมห่างกัน ๔๕ องศา, ๙๐ องศา, ๑๓๕ องศา,๑๕๐ องศา และ ๑๘๐ องศา
แต่ที่ให้ผลร้ายอย่างแท้จริงนั้น โยคที่ทำมุม ๔๕ องศา, ๙๐ องศา และ ๑๘๐ องศา

หมายเหตุ ในการวัดเชิงมุมของดวงดาวที่สถิตย์นั้นสามารถวัดเดินไปข้างหน้าหรือวัดถอยไปข้างหลังได้ เมื่อวัดแล้วระยะเชิงมุมนั้นไม่ควรเกิน ๑๘๐ องศา อาทิเช่น เสาร์สถิตย์ราศีตุลย์ ๒๐ องศา และจันทร์สถิตย์ราศีกรกฏ ๑๘ องศา เสาร์สามารถส่งแรงเอื้อมตามกฎของเกณฑ์ ๑๐ อย่างเต็มที่ โดยนับราศีจักราศีไปข้างหน้า ในขณะเดียวกันเสาร์ยังส่งกำลังของการโยคที่มีระยะเชิงมุม ๙๐ องศาเมื่อทำการวัดองศาถอยหลัง ซึ่งจะส่งผลร้ายให้กับดาวจันทร์อย่างเต็มที่

 เครดิต : แนวทางการศึกษาโหร อ.เทพย์ สาริกบุตร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่