ชี้ช่องโหว่แก้ปัญหา วิกฤตฝุ่น PM2.5
https://www.matichon.co.th/politics/news_5017926
ชี้ช่องโหว่แก้ปัญหา วิกฤตฝุ่น PM2.5
หมายเหตุ –
ความเห็นนักวิชาการต่อกรณีการแก้ปัญหาสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่ขณะนี้เกิดความรุนแรงปกคลุมทั่วพื้นที่ 50 เขตของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพื้นที่ต่างๆ ทั้งภาคเหนือ จากสาเหตุมากมาย โดยเฉพาะเป็นฝีมือของคนทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน
สุรัตน์ บัวเลิศ
อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ม าตรการเร่งด่วนของรัฐบาลให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้า รถเมล์ฟรี เพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 คิดว่ามีผลน้อย คนไม่เปลี่ยนพฤติกรรม การกำหนดมาตรการตามงานวิจัยของผม เวลาที่ทำไม่ใช่แยกกันทำ ต้องทำอย่างมีขั้นตอน เหมือนปรุงอาหาร ต้องต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่ไก่ใส่หมู ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนให้คนมาใช้ขนส่งสาธารณะ คำถามก่อนหน้านั้นมีมาตรการอะไรก่อนหรือไม่ เช่น ต้องสัมพันธ์กับ Work from Home ต้องสัมพันธ์กันหลายอย่างก่อนขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ถึงจะได้ประสิทธิผลในการลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว อย่างที่สองมีมาตรการระยะสั้นได้แค่บางเรื่องเท่านั้น กับมาตรการระยะยาว สิ่งที่น่าทำที่สุดคือไปที่ต้นตอฝุ่น คือเรื่องของการเผาด้านนอก ณ วันนี้ยังเห็นอยู่ว่ามีการเผาอุตลุดไปหมด
ในช่วงเวลานี้ที่ค่าฝุ่นสูงเพราะมีเผาชีวมวลอย่างมาก ฝุ่นในกรุงเทพฯ ที่ผมศึกษามา ถ้าไม่มีฝุ่นด้านนอกมาเติม เกิดอินเวอร์ชั่นแล้วมีฝุ่นด้านใน ค่าฝุ่นจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 มคก./ลบ.ม. ทุกวันนี้ที่เห็นตัวเลขเป็นร้อยหมายความว่ามีฝุ่นในกรุงเทพฯ บวกกับด้านนอกเข้ามาถึงแตะระดับ 100 มคก./ลบ.ม. ต้องแก้ที่ตัวปัญหาจริงๆ ให้ได้ก่อน
สำหรับการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ต้นตอจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ในระยะสั้น คงทำอะไรไม่ได้นอกจากแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดของการเผา ส่วนระยะยาว ในเมื่อเป็นวาระแห่งชาติ ทุกอย่างเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกคนต้องร่วมกัน ทำไมไม่มี KPI ให้แต่ละกระทรวงให้ลดปริมาณฝุ่น มีแต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่มี KPI ลดฝุ่น แต่ ทส.ไม่ได้มีหน้าที่ไปบังคับใคร กระทรวงที่มีหน้าที่ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอื่นๆ ในเมื่อไม่มี KPI ให้ลดฝุ่นกระทรวงเหล่านั้นจะทำเฉพาะข้อสั่งการตามช่วงเวลา แต่ไม่มีแผนระยะยาว อย่างที่สอง การมี KPI จะสามารถบูรณาการได้อย่างแท้จริง เพราะวันนี้งานของรัฐบาล หน่วยงานราชการ ไม่ได้บูรณาการอย่างแท้จริง ต้องมี KPI ร่วมกันถึงจะบูรณาการกันได้
การแก้ปัญหาการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) มองว่า กต.ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะไปช่วยทำให้เขาเปลี่ยน ลด เลิก การปลูกพืชไร่ที่ต้องอาศัยการเผา ความร่วมมือที่ส่งให้จะช่วยให้คนในประเทศเพื่อนบ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เผา ในอดีตการแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากเพื่อนบ้านใช้หลักการคล้ายๆ กับประเทศจีน สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ ที่มีการแชร์ข้อมูลร่วมกัน แต่กลุ่มประเทศและเกษตรกรเหล่านั้นบริบทต่างกับเพื่อนบ้านของไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเพาะปลูกอยู่เยอะ อะไรที่เขาทำได้เขาก็ทำ เผาได้ก็เผา รูปแบบของความช่วยเหลือจึงไม่เหมือนกันกับประเทศเหล่านั้น กต.ต้องเข้าไปมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ ยกตัวอย่าง มูลนิธิชัยพัฒนา ได้ไปช่วยที่ประเทศลาวให้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจที่ยืนต้น เช่น กาแฟ พืชพวกนี้เขาดูแลและไม่เผา จะช่วยให้เพื่อนบ้านของเราปลูกพืชชนิดไม่เผาแล้วเขาจะดูแลไม่ให้เกิดไฟไหม้ด้วย ความร่วมมือแบบนี้ควรจะออกไป กต.มีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ทำไมไม่ผลักดันโครงการดีๆ แบบนี้ออกไปช่วยเพื่อนบ้านเรา อันนี้เป็น KPI ของ กต.
ในช่วงเวลาที่มีปัญหาเรื่องสภาพอากาศ ผมยังเชื่อว่าแก้ไม่ได้ แต่เราไปแก้ได้เรื่องของการเผา การปลดปล่อย ช่วงเวลาที่มีลักษณะอากาศปิด ต้องมีแผนชัดเจนในช่วงเวลานั้นต้องทำอะไร ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่กระทรวงต่างๆ ต้องทำงานกันอย่างหนัก อันที่สอง สภาพอากาศปิด ผมถือว่าเป็นภัยพิบัติ ในทางวิชาการแล้วแก้ไม่ได้ แต่แจ้งเตือนให้ประชาชนพร้อมรับมือ ให้หน่วยงานพร้อมดำเนินการตามแผน ต้องมีแผนให้เรียบร้อย ไม่ใช่ว่าพอเกิดเรื่องทีก็ประกาศที ทั้งนี้ มีการพยายามทำเรื่องฝุ่นให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติได้ แต่ขั้นตอนการทำงานไม่ได้เป็นอัตโนมัติ ทุกอย่างรอคำสั่งหมด สมมุติกรมอุตุนิยมวิทยาบอกว่าช่วงนี้อากาศปิด ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือมีแผนที่เกี่ยวข้องต้องลงมือดำเนินการโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่มารอให้นายกรัฐมนตรีสั่งอีกที เจ้ากระทรวงสั่งอีกทีหนึ่ง
สมมุติใครสักคนประกาศเตือนภัยมาแล้ว ทุกคนต้องปฏิบัติตามแผนโดยอัตโนมัติ ตอนนี้ก็ไม่มีแผนชัดเจนว่าใครทำอะไรช่วงไหน จะมีก็ต่อเมื่อนายกฯสั่ง เจ้ากระทรวงสั่ง ผมพูดมา 10 ปีแล้วก็ยังเป็นเหมือนเดิม ณ วันนี้ยังไม่เคยมีแผนอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น
เจน ชาญณรงค์
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
เมื่อกล่าวถึง 6 มาตรการที่รัฐบาลออกมาในขณะนี้คือ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ทันการณ์แล้ว และวิธีการที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 มีรายละเอียดเยอะมากในร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ส.ส.ในสภาและต่อด้วย ส.ว. ต้องรอไปอีก แต่เป็นเรื่องที่ควรเร่งทำ
ตอนนี้ฝุ่นในกรุงเทพมหานครอีกไม่นานจะลดลง เพราะลมเริ่มตีกัน ผลัดกันแพ้ชนะอยู่ระหว่างลมตะวันตกเฉียงเหนือกับลมตะวันตกเฉียงใต้ ลมแปรปรวนมาก สภาพตอนนี้คือพบฝุ่นจากการเผาทั่วไป ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านและรอบๆ กรุงเทพฯ ก็จะมีลมพัดผ่านเมืองไปลงอ่าวไทย แต่ก็จะพัดย้อนกลับมาอีก แต่พรุ่งนี้ฝุ่นในกรุงเทพฯก็จะลดลงและหมดไป แต่พอลมหนาวมาอีกรอบก็จะเจออีกครั้ง มันมีหลายกลไกมากที่ทำให้เกิดฝุ่น การที่รัฐบาลออกมาตรการมา 6 ข้อ ใน 4-5 ข้อ เป็นการแก้ปลายเหตุเพื่อให้พ้นๆ ไปเท่านั้น
สิ่งสำคัญคือปีหน้าก็จะกลับมาเหมือนเดิมอีก คือรู้มาตั้งแต่วันที่ 17 มกราคมแล้วว่า วันที่ 20-23 มกราคม อากาศจะแย่ แต่ทำได้แค่ประกาศ WFH เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ขั้นสำคัญคือต้องลดการเผาให้ได้ จะบรรเทาปัญหาที่ต้นตอ แต่นี่ปล่อยปละละเลยการเผาในที่โล่ง รัฐบาลต้องรีบสนับสนุนกฎหมายอากาศสะอาดให้ผ่านสภาโดยเร็ว ประชาชนทุกภาคส่วนต้องช่วยกันส่งเสียง
สำหรับภาคเหนือ เพิ่งเปิดม่านการแสดง ปัญหาลมพัดฝุ่นจากภาคกลางและอีสานไปภาคเหนือไม่ข้ามมาสูงมากนัก แต่มาจากไฟป่า ตอนนี้ภาคเหนือตอนล่างคือ ตากและลำพูน มีพื้นที่ป่ารอบเขื่อนภูมิพล เป็นแหล่งไฟใหญ่ ทั้งอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น และป่าสงวนแห่งชาติแม่พริก รอบเขื่อนภูมิพล ต้องกวดขันเพิ่มขึ้นเพราะส่งผลใหญ่มาสู่เชียงใหม่ ปีที่แล้วมีการทดลองให้เห็นว่าทำได้สำเร็จ ลดการเผาลงได้พอควร จุดสำคัญคือการเข้าถึงตัวคนเผา เราไม่ได้ไปจับ แต่เข้าให้ถึงเพื่อไปดูว่าเขาใช้ชีวิตอย่างไร มีคนอีกมากที่พร้อมจะช่วย ต้องทำให้คนเผากลายเป็นนักอนุรักษ์ให้ได้
เรื่องนี้ทำได้และมีคนพร้อมจะช่วยเหลือจำนวนมาก ขอแค่ทำความเข้าใจว่าเขาเผาทำไม จะช่วยชีวิตความเป็นอยู่เขาอย่างไร ต้องมาคุยกันให้รู้เรื่อง แต่ปัจจุบันการทำงานของภาครัฐคือรอดับไฟ ทราบดีว่าไม่ได้ผลและมีการชิงเผากันเยอะมาก
ปัจจุบันภาคเหนือมี 14 คลัสเตอร์ใหญ่ หากกฎหมายอากาศสะอาดออกมาใช้ก็จะช่วยกันเฝ้าระวังให้มากขึ้น การทำงานข้ามกระทรวงก็จะส่งผลและเกิดขึ้นได้ มีคนนำที่ชัดเจน วันนี้ปัญหาของรัฐบาลคือ ทำงานข้ามกระทรวงกันไม่ได้ สั่งการไปแล้วไม่มีการติดตามผล หากเป็นเอกชนคือเจ๊ง
ปัญหาลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะของเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงไม่เกี่ยว มันเป็นเรื่องของคน หากไม่จุดไฟก็ไม่มีฝุ่น ไม่มีไฟให้ดับ นี่คือต้นตอของปัญหา ต้องใช้งบประมาณออกมาดับไฟ อาจจะไม่ถูกใจหลายคนที่ชอบใช้งบ การเผาทำได้หากควบคุมไฟได้ การชิงเผาพื้นที่จำเป็นที่อ้าง 10 ไร่ แต่ทุกครั้งปล่อยลามไปเป็นพัน เป็นหมื่นไร่ หรือล้านไร่เป็นการเผาที่ไร้สาระ ปล่อยลุกลาม เละเทะและไม่มีคนควบคุม การชิงเผาจึงน่าห่วง หากทำให้ถูกก็เผาได้ คือไฟต้องดับให้หมดก่อน 20.00 น. แต่ที่ผ่านมาทำไม่ได้และไม่ทำ ปล่อยไหม้ลาม 3 วัน
จากนี้ไปข้อมูลการอนุญาตให้ชิงเผาต้องโปร่งใส ชัดเจน จะเผาตอนไหน สามารถติดตามดูได้ ต้องไม่เห็นไฟลามยาวไปจนตี 2 หรือจนเช้าแล้วลามไปอีก 2 วัน ความหวังคือกฎหมายอากาศสะอาดจะช่วยทำให้เกิดความชัดเจนตรงนี้
ปีนี้ภาคอีสานกับภาคเหนือยังต้องทนฤดูฝุ่นอีกยาวไกลไปถึงต้นเดือนพฤษภาคมเลย สิ่งที่เราควรทำในอนาคต หากรู้ว่าลมฟ้าอากาศจะไม่เป็นใจ คือลดการเผาใน 3-5 วันนั้นลง แต่ตอนนี้ไม่มีใครเชื่อมเหตุและผล มาสั่งงานไฟไหม้ฟาง ให้นโยบายแล้วก็ไม่ติดตามว่าปฏิบัติไปได้แค่ไหนแล้ว พร้อมหรือยัง ติดปัญหาอะไรบ้าง ถ้าตามติด ตามไปดูในพื้นที่ด้วยจะดีกว่านี้มาก
วีระ หวังสัจจะโชค
อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
หากพูดถึงฝุ่น PM2.5 จะเห็นในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา หลังหน้าหนาวจะเกิดฝุ่นพิษ ภายใต้อากาศไม่ดีอันดับแรกที่ต้องวิเคราะห์คือปัญหาเกิดมาจากไหนกลายเป็นว่าสังคมไทยจะโยนความผิดให้กับเกษตรกรก่อน มองว่ามีการเผาผลผลิต เผาตอซังข้าว เผาอ้อยเพื่อขาย แต่จริงๆ แล้วการเผาของเกษตรกรลดลงไปอย่างมาก เพราะกติกาการบังคับ ไม่ว่าจะเป็นการไม่รับซื้ออ้อยที่มีการเผา ทั้งมันสำปะหลังและข้าว ในระบบดาวเทียมเห็นรอยเผา เรียกว่า Burn Scar ก็จะไม่ให้กลุ่มผู้รับซื้ออย่างโรงสีไปซื้อ จากข้อมูลวิชาการพบว่าฝุ่นไม่ได้เกิดมาจากเกษตรกร
ฝุ่นพิษ PM2.5 มาจากปัญหา 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.ระบบขนส่งและอุตสาหกรรมที่ปล่อยควันดำ 2.เรื่องของสภาพอากาศหลังฤดูหนาวจะมีฝุ่นสะสมสูงกว่าสภาพอากาศปกติ และ 3.ปรากฏการณ์การเผาสินค้าเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน มาจากกลุ่มทุนในประเทศไทยทำข้อตกลงซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเพื่อนบ้านที่ไม่มีกติกาเรื่องการเผา ถ้ามองตามแผนที่ทางอากาศ พื้นที่เผาจะอยู่รอบๆ ประเทศไทย
รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาในทุกวันนี้ไม่แตกต่างจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการแก้ปัญหาทีละจุด รัฐบาลควรใช้นโยบายที่กระทบกับโครงสร้างนำไปสู่ปัญหาฝุ่น ระยะสั้นต้องใช้นโยบายเร่งด่วน เช่น WFH ลดการใช้รถยนต์ หรือมีอุปกรณ์ฟอกอากาศครัวเรือน แต่ระยะยาวจะพูดถึงโครงสร้างของระบบอุตสาหกรรมการเกษตร ทำข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งที่ช่วงการหาเสียงการเลือกตั้งปี 2566 แทบจะทุกพรรคการเมือง บอกเมื่อไหร่ก็ตามที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมคุยประเทศเพื่อนบ้าน ประสานงานให้หยุดเผา แต่วันนี้ยังไม่เห็นปรากฏการณ์นั้น การให้หยุดเผาเท่ากับผู้รับซื้อในประเทศไทยจะเสียโอกาส
ถามว่ารัฐบาลพร้อมขัดแย้งกับกลุ่มนายทุนที่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ ต้องวัดใจกันว่ารัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จะกล้าทำในสิ่งที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นในระยะยาวแค่ไหน อย่างการแก้ไขปัญหาฝุ่นระยะสั้น รัฐบาลปล่อยให้กลุ่มเอกชน รวมถึงหน่วยงานมีอิสระตัดสินใจแล้วไปโฟกัสเฉพาะหัวเมืองหลักเท่านั้น อย่างกรุงเทพฯและเชียงใหม่ แต่จังหวัดอื่นๆ ถูกหลงลืม อย่างจังหวัดที่มีปัญหาฝุ่น เช่น อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ทั้งที่ประชาชนส่วนนี้ได้รับผลกระทบเหมือนกัน
ต้องยอมรับว่าในเชิงสภาพแวดล้อมยังมีสภาพฝุ่นสะสมเพิ่มมากขึ้นช่วงฤดูหนาว แต่เราสามารถควบคุมได้จากการป้องกันการปล่อยควันพิษจากการขนส่งและอุตสาหกรรมการกำจัด การเผาพวกชีวมวล อย่างเช่น กากใบไม้หญ้าแห้งพวกนี้ การเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มทุนภายในประเทศ ว่าถ้าคุณไม่รับสินค้าในประเทศที่มีการเผา ก็จะต้องไม่รับซื้อสินค้าที่เผามาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย จะมาบังคับเพียงเฉพาะเกษตรกรไทยอย่างเดียวได้อย่างไร
JJNY : ชี้ช่องโหว่แก้ปัญหา วิกฤตฝุ่น PM2.5│เผยงานวิจัย ฝุ่นพิษ PM2.5│ลมมาช่วยแล้ว!ชี้ฝุ่นดีขึ้น│“ทรัมป์” ป่วนค่าเงินบาท
https://www.matichon.co.th/politics/news_5017926
ชี้ช่องโหว่แก้ปัญหา วิกฤตฝุ่น PM2.5
หมายเหตุ – ความเห็นนักวิชาการต่อกรณีการแก้ปัญหาสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่ขณะนี้เกิดความรุนแรงปกคลุมทั่วพื้นที่ 50 เขตของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพื้นที่ต่างๆ ทั้งภาคเหนือ จากสาเหตุมากมาย โดยเฉพาะเป็นฝีมือของคนทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน
อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ม าตรการเร่งด่วนของรัฐบาลให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้า รถเมล์ฟรี เพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 คิดว่ามีผลน้อย คนไม่เปลี่ยนพฤติกรรม การกำหนดมาตรการตามงานวิจัยของผม เวลาที่ทำไม่ใช่แยกกันทำ ต้องทำอย่างมีขั้นตอน เหมือนปรุงอาหาร ต้องต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่ไก่ใส่หมู ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนให้คนมาใช้ขนส่งสาธารณะ คำถามก่อนหน้านั้นมีมาตรการอะไรก่อนหรือไม่ เช่น ต้องสัมพันธ์กับ Work from Home ต้องสัมพันธ์กันหลายอย่างก่อนขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ถึงจะได้ประสิทธิผลในการลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว อย่างที่สองมีมาตรการระยะสั้นได้แค่บางเรื่องเท่านั้น กับมาตรการระยะยาว สิ่งที่น่าทำที่สุดคือไปที่ต้นตอฝุ่น คือเรื่องของการเผาด้านนอก ณ วันนี้ยังเห็นอยู่ว่ามีการเผาอุตลุดไปหมด
ในช่วงเวลานี้ที่ค่าฝุ่นสูงเพราะมีเผาชีวมวลอย่างมาก ฝุ่นในกรุงเทพฯ ที่ผมศึกษามา ถ้าไม่มีฝุ่นด้านนอกมาเติม เกิดอินเวอร์ชั่นแล้วมีฝุ่นด้านใน ค่าฝุ่นจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 มคก./ลบ.ม. ทุกวันนี้ที่เห็นตัวเลขเป็นร้อยหมายความว่ามีฝุ่นในกรุงเทพฯ บวกกับด้านนอกเข้ามาถึงแตะระดับ 100 มคก./ลบ.ม. ต้องแก้ที่ตัวปัญหาจริงๆ ให้ได้ก่อน
สำหรับการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ต้นตอจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ในระยะสั้น คงทำอะไรไม่ได้นอกจากแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดของการเผา ส่วนระยะยาว ในเมื่อเป็นวาระแห่งชาติ ทุกอย่างเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกคนต้องร่วมกัน ทำไมไม่มี KPI ให้แต่ละกระทรวงให้ลดปริมาณฝุ่น มีแต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่มี KPI ลดฝุ่น แต่ ทส.ไม่ได้มีหน้าที่ไปบังคับใคร กระทรวงที่มีหน้าที่ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอื่นๆ ในเมื่อไม่มี KPI ให้ลดฝุ่นกระทรวงเหล่านั้นจะทำเฉพาะข้อสั่งการตามช่วงเวลา แต่ไม่มีแผนระยะยาว อย่างที่สอง การมี KPI จะสามารถบูรณาการได้อย่างแท้จริง เพราะวันนี้งานของรัฐบาล หน่วยงานราชการ ไม่ได้บูรณาการอย่างแท้จริง ต้องมี KPI ร่วมกันถึงจะบูรณาการกันได้
การแก้ปัญหาการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) มองว่า กต.ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะไปช่วยทำให้เขาเปลี่ยน ลด เลิก การปลูกพืชไร่ที่ต้องอาศัยการเผา ความร่วมมือที่ส่งให้จะช่วยให้คนในประเทศเพื่อนบ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เผา ในอดีตการแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากเพื่อนบ้านใช้หลักการคล้ายๆ กับประเทศจีน สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ ที่มีการแชร์ข้อมูลร่วมกัน แต่กลุ่มประเทศและเกษตรกรเหล่านั้นบริบทต่างกับเพื่อนบ้านของไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเพาะปลูกอยู่เยอะ อะไรที่เขาทำได้เขาก็ทำ เผาได้ก็เผา รูปแบบของความช่วยเหลือจึงไม่เหมือนกันกับประเทศเหล่านั้น กต.ต้องเข้าไปมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ ยกตัวอย่าง มูลนิธิชัยพัฒนา ได้ไปช่วยที่ประเทศลาวให้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจที่ยืนต้น เช่น กาแฟ พืชพวกนี้เขาดูแลและไม่เผา จะช่วยให้เพื่อนบ้านของเราปลูกพืชชนิดไม่เผาแล้วเขาจะดูแลไม่ให้เกิดไฟไหม้ด้วย ความร่วมมือแบบนี้ควรจะออกไป กต.มีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ทำไมไม่ผลักดันโครงการดีๆ แบบนี้ออกไปช่วยเพื่อนบ้านเรา อันนี้เป็น KPI ของ กต.
ในช่วงเวลาที่มีปัญหาเรื่องสภาพอากาศ ผมยังเชื่อว่าแก้ไม่ได้ แต่เราไปแก้ได้เรื่องของการเผา การปลดปล่อย ช่วงเวลาที่มีลักษณะอากาศปิด ต้องมีแผนชัดเจนในช่วงเวลานั้นต้องทำอะไร ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่กระทรวงต่างๆ ต้องทำงานกันอย่างหนัก อันที่สอง สภาพอากาศปิด ผมถือว่าเป็นภัยพิบัติ ในทางวิชาการแล้วแก้ไม่ได้ แต่แจ้งเตือนให้ประชาชนพร้อมรับมือ ให้หน่วยงานพร้อมดำเนินการตามแผน ต้องมีแผนให้เรียบร้อย ไม่ใช่ว่าพอเกิดเรื่องทีก็ประกาศที ทั้งนี้ มีการพยายามทำเรื่องฝุ่นให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติได้ แต่ขั้นตอนการทำงานไม่ได้เป็นอัตโนมัติ ทุกอย่างรอคำสั่งหมด สมมุติกรมอุตุนิยมวิทยาบอกว่าช่วงนี้อากาศปิด ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือมีแผนที่เกี่ยวข้องต้องลงมือดำเนินการโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่มารอให้นายกรัฐมนตรีสั่งอีกที เจ้ากระทรวงสั่งอีกทีหนึ่ง
สมมุติใครสักคนประกาศเตือนภัยมาแล้ว ทุกคนต้องปฏิบัติตามแผนโดยอัตโนมัติ ตอนนี้ก็ไม่มีแผนชัดเจนว่าใครทำอะไรช่วงไหน จะมีก็ต่อเมื่อนายกฯสั่ง เจ้ากระทรวงสั่ง ผมพูดมา 10 ปีแล้วก็ยังเป็นเหมือนเดิม ณ วันนี้ยังไม่เคยมีแผนอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
ตอนนี้ฝุ่นในกรุงเทพมหานครอีกไม่นานจะลดลง เพราะลมเริ่มตีกัน ผลัดกันแพ้ชนะอยู่ระหว่างลมตะวันตกเฉียงเหนือกับลมตะวันตกเฉียงใต้ ลมแปรปรวนมาก สภาพตอนนี้คือพบฝุ่นจากการเผาทั่วไป ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านและรอบๆ กรุงเทพฯ ก็จะมีลมพัดผ่านเมืองไปลงอ่าวไทย แต่ก็จะพัดย้อนกลับมาอีก แต่พรุ่งนี้ฝุ่นในกรุงเทพฯก็จะลดลงและหมดไป แต่พอลมหนาวมาอีกรอบก็จะเจออีกครั้ง มันมีหลายกลไกมากที่ทำให้เกิดฝุ่น การที่รัฐบาลออกมาตรการมา 6 ข้อ ใน 4-5 ข้อ เป็นการแก้ปลายเหตุเพื่อให้พ้นๆ ไปเท่านั้น
สิ่งสำคัญคือปีหน้าก็จะกลับมาเหมือนเดิมอีก คือรู้มาตั้งแต่วันที่ 17 มกราคมแล้วว่า วันที่ 20-23 มกราคม อากาศจะแย่ แต่ทำได้แค่ประกาศ WFH เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ขั้นสำคัญคือต้องลดการเผาให้ได้ จะบรรเทาปัญหาที่ต้นตอ แต่นี่ปล่อยปละละเลยการเผาในที่โล่ง รัฐบาลต้องรีบสนับสนุนกฎหมายอากาศสะอาดให้ผ่านสภาโดยเร็ว ประชาชนทุกภาคส่วนต้องช่วยกันส่งเสียง
สำหรับภาคเหนือ เพิ่งเปิดม่านการแสดง ปัญหาลมพัดฝุ่นจากภาคกลางและอีสานไปภาคเหนือไม่ข้ามมาสูงมากนัก แต่มาจากไฟป่า ตอนนี้ภาคเหนือตอนล่างคือ ตากและลำพูน มีพื้นที่ป่ารอบเขื่อนภูมิพล เป็นแหล่งไฟใหญ่ ทั้งอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น และป่าสงวนแห่งชาติแม่พริก รอบเขื่อนภูมิพล ต้องกวดขันเพิ่มขึ้นเพราะส่งผลใหญ่มาสู่เชียงใหม่ ปีที่แล้วมีการทดลองให้เห็นว่าทำได้สำเร็จ ลดการเผาลงได้พอควร จุดสำคัญคือการเข้าถึงตัวคนเผา เราไม่ได้ไปจับ แต่เข้าให้ถึงเพื่อไปดูว่าเขาใช้ชีวิตอย่างไร มีคนอีกมากที่พร้อมจะช่วย ต้องทำให้คนเผากลายเป็นนักอนุรักษ์ให้ได้
เรื่องนี้ทำได้และมีคนพร้อมจะช่วยเหลือจำนวนมาก ขอแค่ทำความเข้าใจว่าเขาเผาทำไม จะช่วยชีวิตความเป็นอยู่เขาอย่างไร ต้องมาคุยกันให้รู้เรื่อง แต่ปัจจุบันการทำงานของภาครัฐคือรอดับไฟ ทราบดีว่าไม่ได้ผลและมีการชิงเผากันเยอะมาก
ปัจจุบันภาคเหนือมี 14 คลัสเตอร์ใหญ่ หากกฎหมายอากาศสะอาดออกมาใช้ก็จะช่วยกันเฝ้าระวังให้มากขึ้น การทำงานข้ามกระทรวงก็จะส่งผลและเกิดขึ้นได้ มีคนนำที่ชัดเจน วันนี้ปัญหาของรัฐบาลคือ ทำงานข้ามกระทรวงกันไม่ได้ สั่งการไปแล้วไม่มีการติดตามผล หากเป็นเอกชนคือเจ๊ง
ปัญหาลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะของเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงไม่เกี่ยว มันเป็นเรื่องของคน หากไม่จุดไฟก็ไม่มีฝุ่น ไม่มีไฟให้ดับ นี่คือต้นตอของปัญหา ต้องใช้งบประมาณออกมาดับไฟ อาจจะไม่ถูกใจหลายคนที่ชอบใช้งบ การเผาทำได้หากควบคุมไฟได้ การชิงเผาพื้นที่จำเป็นที่อ้าง 10 ไร่ แต่ทุกครั้งปล่อยลามไปเป็นพัน เป็นหมื่นไร่ หรือล้านไร่เป็นการเผาที่ไร้สาระ ปล่อยลุกลาม เละเทะและไม่มีคนควบคุม การชิงเผาจึงน่าห่วง หากทำให้ถูกก็เผาได้ คือไฟต้องดับให้หมดก่อน 20.00 น. แต่ที่ผ่านมาทำไม่ได้และไม่ทำ ปล่อยไหม้ลาม 3 วัน
จากนี้ไปข้อมูลการอนุญาตให้ชิงเผาต้องโปร่งใส ชัดเจน จะเผาตอนไหน สามารถติดตามดูได้ ต้องไม่เห็นไฟลามยาวไปจนตี 2 หรือจนเช้าแล้วลามไปอีก 2 วัน ความหวังคือกฎหมายอากาศสะอาดจะช่วยทำให้เกิดความชัดเจนตรงนี้
ปีนี้ภาคอีสานกับภาคเหนือยังต้องทนฤดูฝุ่นอีกยาวไกลไปถึงต้นเดือนพฤษภาคมเลย สิ่งที่เราควรทำในอนาคต หากรู้ว่าลมฟ้าอากาศจะไม่เป็นใจ คือลดการเผาใน 3-5 วันนั้นลง แต่ตอนนี้ไม่มีใครเชื่อมเหตุและผล มาสั่งงานไฟไหม้ฟาง ให้นโยบายแล้วก็ไม่ติดตามว่าปฏิบัติไปได้แค่ไหนแล้ว พร้อมหรือยัง ติดปัญหาอะไรบ้าง ถ้าตามติด ตามไปดูในพื้นที่ด้วยจะดีกว่านี้มาก
อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
หากพูดถึงฝุ่น PM2.5 จะเห็นในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา หลังหน้าหนาวจะเกิดฝุ่นพิษ ภายใต้อากาศไม่ดีอันดับแรกที่ต้องวิเคราะห์คือปัญหาเกิดมาจากไหนกลายเป็นว่าสังคมไทยจะโยนความผิดให้กับเกษตรกรก่อน มองว่ามีการเผาผลผลิต เผาตอซังข้าว เผาอ้อยเพื่อขาย แต่จริงๆ แล้วการเผาของเกษตรกรลดลงไปอย่างมาก เพราะกติกาการบังคับ ไม่ว่าจะเป็นการไม่รับซื้ออ้อยที่มีการเผา ทั้งมันสำปะหลังและข้าว ในระบบดาวเทียมเห็นรอยเผา เรียกว่า Burn Scar ก็จะไม่ให้กลุ่มผู้รับซื้ออย่างโรงสีไปซื้อ จากข้อมูลวิชาการพบว่าฝุ่นไม่ได้เกิดมาจากเกษตรกร
ฝุ่นพิษ PM2.5 มาจากปัญหา 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.ระบบขนส่งและอุตสาหกรรมที่ปล่อยควันดำ 2.เรื่องของสภาพอากาศหลังฤดูหนาวจะมีฝุ่นสะสมสูงกว่าสภาพอากาศปกติ และ 3.ปรากฏการณ์การเผาสินค้าเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน มาจากกลุ่มทุนในประเทศไทยทำข้อตกลงซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเพื่อนบ้านที่ไม่มีกติกาเรื่องการเผา ถ้ามองตามแผนที่ทางอากาศ พื้นที่เผาจะอยู่รอบๆ ประเทศไทย
รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาในทุกวันนี้ไม่แตกต่างจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการแก้ปัญหาทีละจุด รัฐบาลควรใช้นโยบายที่กระทบกับโครงสร้างนำไปสู่ปัญหาฝุ่น ระยะสั้นต้องใช้นโยบายเร่งด่วน เช่น WFH ลดการใช้รถยนต์ หรือมีอุปกรณ์ฟอกอากาศครัวเรือน แต่ระยะยาวจะพูดถึงโครงสร้างของระบบอุตสาหกรรมการเกษตร ทำข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งที่ช่วงการหาเสียงการเลือกตั้งปี 2566 แทบจะทุกพรรคการเมือง บอกเมื่อไหร่ก็ตามที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมคุยประเทศเพื่อนบ้าน ประสานงานให้หยุดเผา แต่วันนี้ยังไม่เห็นปรากฏการณ์นั้น การให้หยุดเผาเท่ากับผู้รับซื้อในประเทศไทยจะเสียโอกาส
ถามว่ารัฐบาลพร้อมขัดแย้งกับกลุ่มนายทุนที่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ ต้องวัดใจกันว่ารัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จะกล้าทำในสิ่งที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นในระยะยาวแค่ไหน อย่างการแก้ไขปัญหาฝุ่นระยะสั้น รัฐบาลปล่อยให้กลุ่มเอกชน รวมถึงหน่วยงานมีอิสระตัดสินใจแล้วไปโฟกัสเฉพาะหัวเมืองหลักเท่านั้น อย่างกรุงเทพฯและเชียงใหม่ แต่จังหวัดอื่นๆ ถูกหลงลืม อย่างจังหวัดที่มีปัญหาฝุ่น เช่น อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ทั้งที่ประชาชนส่วนนี้ได้รับผลกระทบเหมือนกัน
ต้องยอมรับว่าในเชิงสภาพแวดล้อมยังมีสภาพฝุ่นสะสมเพิ่มมากขึ้นช่วงฤดูหนาว แต่เราสามารถควบคุมได้จากการป้องกันการปล่อยควันพิษจากการขนส่งและอุตสาหกรรมการกำจัด การเผาพวกชีวมวล อย่างเช่น กากใบไม้หญ้าแห้งพวกนี้ การเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มทุนภายในประเทศ ว่าถ้าคุณไม่รับสินค้าในประเทศที่มีการเผา ก็จะต้องไม่รับซื้อสินค้าที่เผามาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย จะมาบังคับเพียงเฉพาะเกษตรกรไทยอย่างเดียวได้อย่างไร