“จีวรดอกพิกุล” ที่พระสงฆ์ไทยเคยนุ่งห่มในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ดูละครเรื่อง “คุณพี่เจ้าขาดิฉันเป็นห่านมิใช่หงส์” ตอนที่ ๒ ที่ออกอากาศเมื่อวานนี้ แล้วมีฉากพระสงฆ์นุ่งห่มด้วยจีวรลายแปลก ๆ แล้วหลายคนสงสัยว่า ห่มแบบนี้จริง ๆ เหรอ อยากบอกว่า “มีจริง ๆ” และเป็นที่นิยมนุ่งห่มในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย เรียกจีวรแบบนี้ว่า “จีวรดอกพิกุล”
ครั้งหนึ่ง “พระสงฆ์ไทย” เคยห่มจีวรที่มีลวดลายดอกไม้ หรือ “จีวรลายดอก” เป็น ดอกพิกุล พบมากในพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พบหลักฐานจากภาพถ่ายร่วมสมัย รวมถึงธรรมเนียมการสร้างพระพุทธรูปครองจีวรลายดอก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของศิลปกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การห่มจีวรลายดอกพิกุลนั้นเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เนื่องจากราชสำนักมีธรรมเนียมการถวายผ้าจีวรที่มีลวดลายดอกไม้แด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ดังปรากฏใน จดหมายเหตุบัญชีผ้าพระกฐินและผ้าไตร จ.ศ. ๑๑๘๗
ว่ากันว่า การถวายจีวรลายดอกอาจมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยพระพุทธเจ้าประทานอนุญาตเฉพาะลายดอกไม้ขนาดเล็ก สีสันไม่ฉูดฉาด หรือไม่เป็นลายแวววาว
“จีวรลายดอก” ที่นิยมถวายให้พระสงฆ์ในสมัยนั้น จะใช้ผ้าราคาสูงนำเข้าจากแคว้นเบงกอล ในอนุทวีปอินเดีย (ปัจจุบันคือ บังกลาเทศ) เป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางละเอียด ทอเป็นลายดอกไม้-ดอกพิกุลขนาดเล็กทั้งผืน เรียกว่า “ผ้าย่ำตะหนี่” (Jamdani-ภาษาเปอร์เซีย) หรือย่ำตานี/ย่านตานี นำมาตัดเย็บและย้อมน้ำฝาดตามพระวินัย ก่อนนำถวายพระสงฆ์
สมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา ยังมีความนิยมสร้างพระพุทธรูปและพระพุทธสาวกให้นุ่งห่มจีวรลายดอก คือถอดแบบมาจากการนุ่งห่มของพระสงฆ์สมัยนั้น มีการครองจีวรลายดอกหลายรูปแบบ ทั้งลายดอกพิกุล ลายใบเทศ และลายพุ่มข้าวบิณฑ์
อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าธรรมเนียมการถวายผ้าแพรมีลายแด่พระพุทธรูป มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แล้ว เพียงแต่มานิยมแพร่หลายมากขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ จากธรรมเนียมการถวายจีวรลายดอกแก่พระสงฆ์นั่นเอง
การถวายจีวรลายดอกแด่พระสงฆ์ เสื่อมความนิยมลงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อลดทอนความหรูหราฟุ่มเฟือย สอดคล้องกับพระราชนิยมในการสร้างพระพุทธรูปที่ได้เปลี่ยนไปในทางเสมือนจริงตามแนวสัจนิยม เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีเพียงพระเถระชั้นผู้ใหญ่บางรูปในกรุงเทพฯ เท่านั้น ที่ยังนิยมครองจีวรลายดอกพิกุลอยู่ และท้ายที่สุด “เทรนด์” ดังกล่าวก็หายไป
แต่เรายังพบการสร้างพระพุทธรูปหรือพระพุทธสาวกที่ครอง “จีวรลายดอก” ในสกุลช่างราชสำนัก และงานพุทธศิลป์ตามวัดหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์อยู่ ทั้งกลายเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะไม่พบในงานศิลปกรรมสมัยอื่นของไทย
บรรณานุกรม
ธนกฤต ก้องเวหา. “จีวรดอกพิกุล” เทรนด์จีวรลายดอก “พระสงฆ์ไทย” ยุคต้นรัตนโกสินทร์.
https://www.silpa-mag.com/culture/article_134423. (๒๔ มกราคม ๒๕๖๘)
ที่มา : โบราณนานมา
"จีวรลายดอกพิกุล"💛คุณพี่เจ้าขา...🧡🤎
“จีวรดอกพิกุล” ที่พระสงฆ์ไทยเคยนุ่งห่มในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ดูละครเรื่อง “คุณพี่เจ้าขาดิฉันเป็นห่านมิใช่หงส์” ตอนที่ ๒ ที่ออกอากาศเมื่อวานนี้ แล้วมีฉากพระสงฆ์นุ่งห่มด้วยจีวรลายแปลก ๆ แล้วหลายคนสงสัยว่า ห่มแบบนี้จริง ๆ เหรอ อยากบอกว่า “มีจริง ๆ” และเป็นที่นิยมนุ่งห่มในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย เรียกจีวรแบบนี้ว่า “จีวรดอกพิกุล”
ครั้งหนึ่ง “พระสงฆ์ไทย” เคยห่มจีวรที่มีลวดลายดอกไม้ หรือ “จีวรลายดอก” เป็น ดอกพิกุล พบมากในพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พบหลักฐานจากภาพถ่ายร่วมสมัย รวมถึงธรรมเนียมการสร้างพระพุทธรูปครองจีวรลายดอก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของศิลปกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การห่มจีวรลายดอกพิกุลนั้นเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เนื่องจากราชสำนักมีธรรมเนียมการถวายผ้าจีวรที่มีลวดลายดอกไม้แด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ดังปรากฏใน จดหมายเหตุบัญชีผ้าพระกฐินและผ้าไตร จ.ศ. ๑๑๘๗
ว่ากันว่า การถวายจีวรลายดอกอาจมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยพระพุทธเจ้าประทานอนุญาตเฉพาะลายดอกไม้ขนาดเล็ก สีสันไม่ฉูดฉาด หรือไม่เป็นลายแวววาว
“จีวรลายดอก” ที่นิยมถวายให้พระสงฆ์ในสมัยนั้น จะใช้ผ้าราคาสูงนำเข้าจากแคว้นเบงกอล ในอนุทวีปอินเดีย (ปัจจุบันคือ บังกลาเทศ) เป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางละเอียด ทอเป็นลายดอกไม้-ดอกพิกุลขนาดเล็กทั้งผืน เรียกว่า “ผ้าย่ำตะหนี่” (Jamdani-ภาษาเปอร์เซีย) หรือย่ำตานี/ย่านตานี นำมาตัดเย็บและย้อมน้ำฝาดตามพระวินัย ก่อนนำถวายพระสงฆ์
สมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา ยังมีความนิยมสร้างพระพุทธรูปและพระพุทธสาวกให้นุ่งห่มจีวรลายดอก คือถอดแบบมาจากการนุ่งห่มของพระสงฆ์สมัยนั้น มีการครองจีวรลายดอกหลายรูปแบบ ทั้งลายดอกพิกุล ลายใบเทศ และลายพุ่มข้าวบิณฑ์
อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าธรรมเนียมการถวายผ้าแพรมีลายแด่พระพุทธรูป มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แล้ว เพียงแต่มานิยมแพร่หลายมากขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ จากธรรมเนียมการถวายจีวรลายดอกแก่พระสงฆ์นั่นเอง
การถวายจีวรลายดอกแด่พระสงฆ์ เสื่อมความนิยมลงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อลดทอนความหรูหราฟุ่มเฟือย สอดคล้องกับพระราชนิยมในการสร้างพระพุทธรูปที่ได้เปลี่ยนไปในทางเสมือนจริงตามแนวสัจนิยม เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีเพียงพระเถระชั้นผู้ใหญ่บางรูปในกรุงเทพฯ เท่านั้น ที่ยังนิยมครองจีวรลายดอกพิกุลอยู่ และท้ายที่สุด “เทรนด์” ดังกล่าวก็หายไป
แต่เรายังพบการสร้างพระพุทธรูปหรือพระพุทธสาวกที่ครอง “จีวรลายดอก” ในสกุลช่างราชสำนัก และงานพุทธศิลป์ตามวัดหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์อยู่ ทั้งกลายเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะไม่พบในงานศิลปกรรมสมัยอื่นของไทย
บรรณานุกรม
ธนกฤต ก้องเวหา. “จีวรดอกพิกุล” เทรนด์จีวรลายดอก “พระสงฆ์ไทย” ยุคต้นรัตนโกสินทร์. https://www.silpa-mag.com/culture/article_134423. (๒๔ มกราคม ๒๕๖๘)
ที่มา : โบราณนานมา