[CR] ทริป อินเดีย 20 วัน เดินทางไปยังเมือง Aurangabad - Ellora Caves ( EP.6 )

กระทู้รีวิว
เมือง Aurangabad - Ellora Caves

#ตื่นเช้าวันนี้ 08.00 น. ก่อนออกเดินทางจัดอาหารเช้าสักหน่อยไม่ได้ถ่ายลงเรย 555 อาหารแต่ละมื้อก็จะประมาณนี้ มีแต่แป้งกับซอสผงมาซาร่าและมันบดอาหารก็ไม่แพงถ้าไม่ได้กินที่โรงแรมนะครับ

#เรียกตุ๊กๆไปส่งที่ Bus Stand เพื่อไปยังถ้ำ Ellora Caves ถามคนแถวนั้นเอาครับว่าต้องขึ้นคนไหน ค่ารถถ้าจำไม่ผิด 80 รูปี นั่งไปเกือบ 1 ชั่วโมง

Ellora Caves

ถ้ำเอลโลร่า ( Ellora Caves) เป็นถ้ำที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์โดยเจาะภูเขาหิน ถ้ำ 3 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และศาสนาเชน ตั้งอยู่ที่เมืองออรังคาบาด รัฐมหาราช เป็นถ้ำเก่าแก่ที่สุดคือเป็นถ้ำของศาสนาพุทธนิกายมหายานสร้างประมาณ ค.ศ. 550 – 750 ถ้ำเอลโลร่าได้ถูกยกเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกในปี 1983




‘ถ้ำเอลโลรา’ เป็นหมู่ศาสนสถานและวิหารเจาะหิน (Rock-cut) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประกอบด้วยงานศิลปะและโบราณสถานของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาไชนะหรือเชน ทั้งหมดสร้างขึ้นโดยการเจาะเข้าไปในหน้าผาหินบะซอลต์ในหมู่เทือกเขาจารนันทรี

มีการค้นพบถ้ำมากกว่า 100 แห่ง แต่ปัจจุบันมีเพียง 34 แห่งที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม ถ้ำเอลโลราแบ่งเป็น 3 กลุ่มศาสนา กลุ่มพุทธกับฮินดูเรียงเป็นแถวใกล้ ๆ กัน แต่กลุ่มถ้ำเชนจะแยกออกมา ประกอบด้วยวิหารถ้ำศาสนาพุทธ 12 แห่ง ฮินดู 17 แห่ง และเชน 5 แห่ง ภายในแต่ละวิหารเจาะหินเป็นการแสดงถึงศิลปกรรมและความเชื่อ สร้างในช่วง พ.ศ. 1200 – 1600 ที่มีกษัตริย์ฮินดูปกครอง





ถ้ำของแต่ละศาสนาสร้างไม่ห่างไกลกัน แสดงถึงความสามัคคีของผู้คนต่างศาสนาในสมัยนั้น ซึ่งมีข้อสังเกตว่า แม้จะมีกษัตริย์ฮินดูเป็นผู้ปกครอง แต่ทั้งชาวพุทธ ฮินดู และเชน ต่างอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติในบางยุค แต่บางยุคชาวพุทธก็โดนชาวฮินดูบุกทำลายเช่นกัน

วิหารแต่ละกลุ่มแสดงถึงเทพเจ้าและตำนานที่แพร่หลายในช่วงนั้น ทั้งหมดสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ราชตระกุฏะ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1296 – 1525) สร้างถ้ำฮินดูและพุทธบางส่วน และราชวงศ์ยาดาวะ (ราว พ.ศ. 1730 – 1860) สร้างถ้ำเชนหลายแห่ง โดยถ้ำแต่ละแห่งได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ขุนนาง ราชวงศ์ พ่อค้า และคนร่ำรวยในภูมิภาค

























พวกเขาใช้เวลาสร้างนับร้อยปี ขุดหินน้ำหนัก 250,000 ตันจากภูเขาออกมา โครงสร้างเป็นกลุ่มวิหารอิสระหลายระดับ ครอบคลุมพื้นที่ 2 เท่าของขนาดวิหารพาร์เธนอนในเอเธนส์ คาดว่าแรงงานได้ขุดเอาหินออกไปประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์ฟุต จนเกิดโบราณสถานหินที่มีความลึก 50 สูง 30 กว้าง 33 เมตร ถือเป็นสถาปัตยกรรมเจาะหินก้อนเดียว (Single Monolithic Rock Excavation) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่ามหาวิหารไกรลาส มีรูปร่างเหมือนรถม้า สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ และมีประติมากรรมที่แสดงถึงเทพเจ้าฮินดูต่าง ๆ

มหาวิหารไกรลาสได้รับแรงบันดาลใจจากภูเขาไกรลาส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระอิศวร มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับวัดฮินดูอื่น ๆ โดยมีประตูทางเข้า วิหารหลักหลายชั้นล้อมรอบด้วยศาลสักการะจำนวนมาก ซึ่งจัดวางตามหลักการสถาปัตยกรรมแบบสี่เหลี่ยมของชาวฮินดู มีรูปปั้นแกะสลักเรื่องราวของพระอิศวรและพระแม่ปารวตีในปางต่าง ๆ อาทิ การร่ายรำของพระอิศวร และยังมีรูปปั้นแกะสลักของเทพอื่น ๆ อาทิ พระวิษณุ พระอินทร์ อัคนี วายุ สุริยะ และพระพิฆเนศ โดยแต่ละแห่งล้อมรอบด้วยพื้นที่สำหรับเดินเวียนรอบ ซึ่งประดิษฐานลึงคโยนี และมียอดแหลมทรงภูเขาไกรลาส และอย่าลืมว่า มหาวิหารทั้งหมดนี้แกะสลักจากหินก้อนเดียว

“มีการใช้แรงงานมหาศาลเจาะตัดภูเขาจรานันทรีจากแนวขอบภูเขา รวมพื้นที่ราว 4,000 ตารางเมตร ตัดเปิดเนื้อหินลงมาสลักเสลาให้กลายเป็นมหาวิหารเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นมหาเทวาลัยถวายบูชาแก่ศิวะมหาเทพ ช่วงเวลาของการขุดสร้างมหาเทวาลัยและโถงถ้ำอื่น ๆ รวม 17 แห่งนี้ อยู่ในช่วงราว พ.ศ. 1300 – 1450”






ศาสนาเชน ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) เป็นศาสนาเก่าแก่ของอินเดีย เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้ง 6 ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเชื่อว่ามีศาสดาเรียกว่า ‘ตีรถังกร’ อยู่ด้วยกัน 24 องค์ในจักรวาลปัจจุบัน องค์แรกคือพระอาทินาถ และองค์สุดท้ายคือพระมหาวีระ

เอกลักษณ์ของรูปแกะสลักเชนคือการเปลื้องผ้า แสดงถึงการไม่ยึดติดและความแก่กล้าในการปฏิบัติ ผู้เขียนสังเกตว่าในถ้ำเชนมีศาสดาหลายอิริยาบถ ปางยืน ปางนั่งดูมีรูปร่างคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ให้สังเกตว่าไม่มีจีวรคลุมตัว












ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่วิหารถ้ำเอลโลราตกต่ำ ร้างพระภิกษุสงฆ์ ขณะที่วัดถ้ำฮินดูกลับเฟื่องฟูขึ้นมา เพราะชาวฮินดูในช่วงนั้นไม่ค่อยปลื้มชาวพุทธที่เป็นชนกลุ่มน้อย และนักบวชพราหมณ์ยังเข้าทุบทำลายรูปเคารพทั้งหมด เพื่อปิดกั้นการกราบไหว้บูชาของผู้คนอย่างเด็ดขาด

เมื่อวิหารถ้ำเอลโลราไร้ภิกษุสงฆ์พำนัก คนท้องถิ่นเข้ายึดครองเป็นที่พักอาศัยถาวรตลอดมา เป็นที่พำนักของนักเดินทางไกล ซึ่งก่อความเสียหายต่อเนื่องมานานหลายศตวรรษ จากการปรับสภาพถ้ำเพื่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หลังจากถ้ำวัดพุทธถูกทิ้งร้าง ผู้เขียนสังเกตว่า วัดถ้ำพุทธหลายแห่งบริเวณพื้นหินจะถูกฝนให้เป็นหลุม เป็นที่บดแป้งบ้าง ทำอาหารอื่น ๆ บ้าง หลุมเล่นลูกหิน หลุมครกตามพื้นถ้ำ ไปจนถึงเจาะรูตามผนังเสาสำหรับการร้อยผูกเชือกโยง
เวลาต่อมาหลังจากนั้น เมื่อราชวงศ์จากมุสลิมมาปกครองอินเดีย ได้พยายามบุกเข้าเผาทำลายถ้ำเหล่านี้  แต่เนื่องจากโบราณสถานมีจำนวนมหาศาลและแข็งเป็นหิน ส่วนใหญ่จึงพอจะรอดพ้นจากการถูกทำลาย ทุกวันนี้ตามกำแพง เพดานหิน ยังมีรอยคราบดำจากไฟไหม้











ชื่อสินค้า:   ทริป 20 วัน ตะลุยอินเดีย
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่