มาต่อจาก Ep.1
https://ppantip.com/topic/43214639
คืนวันแรกเรานอนที่โคราช โรงแรมส้มโอเฮ้าส์
https://www.somohousehotel.com/th/index.php
ห้องพักสะดวกสบาย อาหารอร่อย คาราโอเกะดีงาม 555+ กินข้าวพูดคุยภาษานักธรณี ก่อนพักผ่อน เตรียมตัวเดินทางต่อวันที่ 2
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 วันนี้เราก็ไป 2 จุดศึกษาเช่นกัน (จะขอนับจุดศึกษาไล่รวมตั้งแต่วันแรกไปจนถึงวันสุดท้ายทั้งหมด 19 จุดศึกษาเลยนะคะ)
จุดศึกษาที่ 3 เหมืองเกลือพิมาย อ.พมาย จ.นครราชสีมา
เนื่องจากในภาคอีสานบ้านเรามีชั้นเกลือหินสลับกับชั้นหินทรายและหินโคลนที่มีความหนาถึง 600 เมตร ทำให้ภาคอีสานบ้านเราเป็นแหล่งผลิตเกลือขนาดใหญ่
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมภาคอีสานถึงมีเกลือ อยู่ไกลทะเลออกไปตั้งเยอะ ดังนั้น จขกท ก็จะขออนุญาตบรรยายการเกิดชั้นเกลือหินในภาคอีสานให้ได้อ่านกันพอสังเขปนะคะ เริ่มที่การกำเนิดแผ่นดินประเทศไทยของเรา จริงๆ แล้วพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันเกิดจากการชนกันของ 2 อนุทวีปเล็กๆ ได้แก่ อนุทวีปไซบูมาสุ (หรือฉาน-ไทย) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเมียนมาตะวันตกของไทย ยาวลงไปถึงตะวันตกของมาเลเซีย กับอนุทวีปอินโดจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ทางด้านตะวันออกของไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ และตะวันออกของมาเลเซีย
โดยก่อน 400 ล้านปีที่แล้ว แผ่นดินต้นกำเนิดของประเทศไทยฝั่งตะวันออกหรืออนุทวีปอินโดจีน เคยเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา (เป็นแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางใต้เส้นศูนย์สูตร) ได้แยกตัวออกมา และถูกดันให้เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องผ่านทะเลโบราณไปทางเหนือ ก่อนสิ้นยุคดีโวเนียน (ประมาณ 350 ล้านปีที่แล้ว) แผ่นธรณีมหาสมุทรด้านตะวันตก ได้มุดตัวลงใต้แผ่นธรณีอินโดจีน เกิดเป็นแนวหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง ต่อมาในยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส (ประมาณ 300 ล้านปีที่แล้ว) การมุดตัวของแผ่นธรณีมหาสมุทรยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและหยุดลง หลังจากการมุดตัวของแผ่นธรณีมหาสมุทรลงใต้แผ่นธรณีอินโดจีนหยุดลง แผ่นธรณีฉาน – ไทย ก็ได้แยกตัวจากกอนด์วานาและเคลื่อนที่ขึ้นเหนือจนเข้าใกล้ด้านตะวันตกของแผ่นธรณีอินโดจีน ช่วงกลางยุคสิ่งแวดล้อมระหว่างแผ่นธรณีทั้งสองมีสภาพเป็นทะเลที่สงบและอบอุ่น (ส่งผลให้ปัจจุบัน เราพบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในทะเลเป็นจำนวนมากตามแนวที่ 2 อนุทวีปชน ถ้าใครสนใจอยากเห็นด้วยตาตนเองแนะให้ไปเที่ยวที่ท้องทะเลดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์ จ.เพชรบูรณ์) เมื่อถึงปลายยุคเพอร์เมียนต้นยุคไทรแอสซิก (ประมาณ 250 ล้านปีที่แล้ว) เริ่มเกิดเทือกเขากลางมหาสมุทร ระหว่างแผ่นธรณีฉาน – ไทย กับแผ่นธรณีอินโดจีน ทำให้เกิดการมุดตัวของพื้นมหาสมุทรลงใต้แผ่นธรณีอินโดจีน เกิดการเคลื่อนที่เข้าหากันอย่างรวดเร็ว และเกิดภูเขาไฟปะทุรุนแรงตลอดแนวการมุดตัวทั้งสองฝั่ง ส่งผลให้พืชและสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ การเคลื่อนที่ชนกันำเนินต่อเนื่องไปจนกระทั่งอนุทวีปทั้ง 2 ชนกันอย่างสมบูรณ์ ทะเลปิดตัวลงในตอนปลายยุคไทรแอสซิก (ประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว)
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1342937X18302247
คลิปประกอบการกำเนิดแผ่นดินไทย
และระหว่างที่อนุทวีปไซบูมาสุกับอนุทวีปอินโดจีนเคลื่อนที่ชนกัน ทำให้เกิดการขังของน้ำทะลบางส่วนกระจายอยู่ในภาคอีสานที่อยู่ฝั่งอนุทวีปอินโดจีน และเมื่อน้ำระเหยไป เกลือในน้ำทะเลก็ตกผลึกสะสมตัวเกิดเป็นชั้นเกลือหินที่เราพบในปัจจุบัน
งานวิจัยที่ศึกษาการเกิดชั้นเกลือหินในภาคอีสาน Rattana et al.,2022
จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี พบว่าในภาคอีสานมีชั้นเกลือหินสลับกับชั้นหินทรายและหินโคลน และให้เป็นหมวดหินมหาสารคาม (Maha Sarakham Formation) โดยมีลำดับชั้นหินที่ปรกอบด้วยชั้นหิน 6 ชั้นจากล่างขึ้นบน ดังนั้น เกลือหินชั้นล่าง (Lower salt) ตะกอนสีแดงชั้นล่าง เกลือหินชั้นกลาง (Middle salt) ตะกอนสีแดงชั้นกลาง เกลือหินชั้นบน (Upper salt) และตะกอนสีแดงชั้นบน
จากแผนที่ธรณีวิทยาภาคอีสาน (ภาพด้านบน) และเห็นว่าภาคอีสานมีการกระจายตัวของหมวดหินมหาสารคามอยู่ 2 พื้นที่ใหญ่ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่ง ข้างล่าง เรียก "แอ่งโคราช" ข้างบน เรียก "แอ่งสกลนคร" ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตเกลือขนาดใหญ่ของประเทศไทย
บางพื้นที่มีการปะทุขึ้นมาของเกลือทำให้เห็นเป็นคราบขาวบนผิวดิน (ตามท้องนา 2 ข้างถนนหมายเลข 2 มองเห็นได้จากบนรถเลย เห็นชัดมาก) ชาวอีสานเรียกคราบเกลือสีขาวนี้ว่า "ขี้ทา" เกลือที่ปะปนอยู่ในดินนี้ทำให้เกิดปัญหาดินเค็ม หากละลายลงไปในน้ำบาดาลก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำบาดาลเค็ม แต่คราบขาวเหล่านี้ก็ถูกชาวบ้านนำไปใช้ประโยชน์โดยการผลิตเป็นเกลือสินเธาว์
กรรมวิธีผลิตเกลือสินเธาว์ของชาวอีสาน
เกริ่นไปยาวมากกกกก ที่นี้มาเข้าเรื่องของเราสักที 555+ จุดศึกษานี้เราจะได้ชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับบริษัท (บริษัท เกลือพิมาย จำกัด) และกระบวนการผลิตเกลือ ก่อนไปเข้าไปเยี่ยมชมไลน์การผลิตค่ะ
การนำเกลือออกมาจากชั้นหินของบริษัท เกลือพิมาย จำกัด ใช้วิธีที่เรียกว่า "การทำเหมืองละลาย" (solution mining)
การทำเหมืองละลาย (solution mining) เป็นการผลิตน้ำเกลือโดยอัดน้ำจืดลงไปเพื่อละลายเกลือหินในชั้นเกลือ น้ำเกลือที่ละลายออกมาจะถูกแรงดันย้อนขึ้นมาถึงปากบ่อ ก่อนจะทำการละลายเกลืออกมา จะมีการออกแบบโพรงเกลือเอาไว้ก่อนเพื่อป้องกันการถล่มหรือทรุดตัวของดินที่อยู่เหนือโพรงเกลือ และจะมีการควบคุมรูปร่างของโพรงไม่ให้ผิดแผน โดยใช้เทคนิค Leaching by blanket control
เมื่อละลายน้ำเกลือออกมาแล้ว น้ำเกลืออาจะมีสิ่งเจือปน เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟต ติดมาด้วย สิ่งเจือปนเหล่านี้ก็จะถูกกำจัดด้วยการเติมสารเคมีบางอย่างลงไป เพื่อให้สิ่งเจอปนตกตะกอนออกมา จนได้น้ำเกลือที่บริสุทธิ์ จากนั้นนำน้ำเกลือที่ได้นี้ไปเคี่ยว (evaporation) เมื่อน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากขึ้นจะเกิดการตกผลึกเป็นเม็ดเกลือไหลลงสู่เครื่องสะบัดแห้ง (centrifuge) ได้เกลือไหลลงสู่สายพายลำเลียงเกลือต่อไป
เกลือที่ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) เกลืออุตสาหกรรม จะมีความบริสุทธิ์ 99.9% และมีความชื้นไม่เกิน 2.5% ซึ่งถูกนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป เช่น โซดาไฟ สบู่ ยาปราบศัตรูพืช ผงซักฟอก พีวีซี เป็นต้น
2) เกลือบริโภค หรือเกลือประกอบอาหาร จะมีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.9% และมีความชื้นไม่เกิน 0.15%
อยากบอกว่าหลังจากดูวิดีทัศน์จบ มีคำถามจากพี่ๆ ผู้ร่วมทริปเยอะมากๆ จำได้ไม่หมด แต่มีคำถามที่น่าสนใจ (บังเอิญว่าสนใจอยู่เหมือนกัน) 3 คำถาม คือ
1. พื้นที่ที่ได้ปิดไม่มีการทำเหมืองแล้ว นำไปใช้ประโยชน์อย่างไรต่อ
- ปัจจุบันบริษัทได้มีการซื้อที่จากชาวบ้านเพิ่ม (ที่ไม่ใช่สัมปาทาน) มาทำเหมือง และเมื่อปิดแล้ว ก็ให้ชาวบ้านเช่าพื้นที่เพื่อทำการเกษตรกรรม (ดินไม่เค็มนะคะ เพราะละลายเกลือออกจากโพรงแล้วปั๊มขึ้น ไม่มีการปนเปื้อนของน้ำเกลือบนผิวดิน โพรงเกลืออยู่ลึกมากประมาณ 80 เมตร และมีการเว้นระยะจากเพดานโพรงเกลืออีก 25 เมตร)
2. พอละลายเกลืออกมาหมดแล้ว มีการเติมวัสดุอะไรลงไปทดแทน เพื่อป้องการทรุดตัวของพื้นที่
- ใช้พวกตะกอนปนเปื้อนแคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟต อัดกลับลงไป
3. เป็นไปได้มั้ยที่เราจะอัด carbondioxide ลงไปแทนที่เกลือที่ละลายออกมาแล้ว (เป็นการทำ CCUS; carbon capture utilization and storage คือเอาคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปเก็บใต้พื้นดิน ปัจจุบันจะอัดลงไปในชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมหลังจากนำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว **มีหลายวิธี*)
- โพรงเกลือในพื้นที่ที่บริษัททำอยู่ ใช้เป็นพื้นที่เก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ เพราะตื้นมาก โดยปกติหากจะอัดคาร์บอนได้ออกไซด์ลงไปต้องลึกไม่น้อยกว่า 700 เมตร
ภาพด้านบนเป็นภาพท่อในบ่อผลิต ท่อนี้เป็นท่อ 3 ชั้น ชั้นนอกสุดกรุด้วยซีเมนต์ให้ติดกับผนังหลุมเจาะ ชั้นกลางจะเป็นช่องที่ใช้อัดน้ำจืดลงไป และชั้นในสุดจะเป็นทางที่น้ำเกลือจะไหลย้อนขึ้นมา ในระหว่างท่อชั้นนอกกับชั้นกลางจะมีน้ำมันดีเซลลอยอยู่ด้านบนสุด ป้องกันการละลายเกลือบนเพดานโพรง เป็นการควบคุมรูปร่างของโพรงให้เหมาะสม (ถ้าละลายด้านบนเพดานโพรงจะถล่มลงมาได้) เทคนิคนี้ เรียกว่า "ฝาคลุมดีเซล" (Diesel blanket)
บ่อน้ำเกลือที่ละลายออกมาจากโพรงเกลือ
ห้องควบคุมการผลิต
ภูเขาเกลือที่ผ่านการสะบัดแห้งมาแล้ว กองนี้เป็นเกลืออุตสาหกรรม
สังเกตว่าเม็ดเลือยังมีความชื้นอยู่นิดนึง
จขกท. ประทับใจจุดศึกษานี้มาก เพราะเพิ่งอ่านหนังสือชื่อ "Salt A World History เกลือ ประวัติศาสตร์เครื่องปรุงเปลี่ยนโลก" ซึ่งเป็นหนังสือที่บอกให้รู้ว่าเกลือกับมนุษญืมีความเกี่ยวโยงกันมาอย่างยาวนาน บรรพบุรุษของเราใช้ประโยชน์จากเกลือมากมายมหาศาสล จนถึงทุกวันนี้บทบาทของก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง ซ้ำยังมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เราก็ใช้ประโยชน์จากเกลือได้มากขึ้น
หนังสือเกลือ ประวัติศาสตร์เครื่องปรุงเปลี่ยนโลก
วันที่ 2 แค่จุดแรก ก็ได้ความรู้แน่นๆ จุดถัดไปขอไปต่อในคอมเมนต์นะคะ ไม่ไหวแล้วววว
Geotrip ท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาภาคอีสาน Ep.2
คืนวันแรกเรานอนที่โคราช โรงแรมส้มโอเฮ้าส์ https://www.somohousehotel.com/th/index.php
ห้องพักสะดวกสบาย อาหารอร่อย คาราโอเกะดีงาม 555+ กินข้าวพูดคุยภาษานักธรณี ก่อนพักผ่อน เตรียมตัวเดินทางต่อวันที่ 2
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 วันนี้เราก็ไป 2 จุดศึกษาเช่นกัน (จะขอนับจุดศึกษาไล่รวมตั้งแต่วันแรกไปจนถึงวันสุดท้ายทั้งหมด 19 จุดศึกษาเลยนะคะ)
จุดศึกษาที่ 3 เหมืองเกลือพิมาย อ.พมาย จ.นครราชสีมา
เนื่องจากในภาคอีสานบ้านเรามีชั้นเกลือหินสลับกับชั้นหินทรายและหินโคลนที่มีความหนาถึง 600 เมตร ทำให้ภาคอีสานบ้านเราเป็นแหล่งผลิตเกลือขนาดใหญ่
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมภาคอีสานถึงมีเกลือ อยู่ไกลทะเลออกไปตั้งเยอะ ดังนั้น จขกท ก็จะขออนุญาตบรรยายการเกิดชั้นเกลือหินในภาคอีสานให้ได้อ่านกันพอสังเขปนะคะ เริ่มที่การกำเนิดแผ่นดินประเทศไทยของเรา จริงๆ แล้วพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันเกิดจากการชนกันของ 2 อนุทวีปเล็กๆ ได้แก่ อนุทวีปไซบูมาสุ (หรือฉาน-ไทย) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเมียนมาตะวันตกของไทย ยาวลงไปถึงตะวันตกของมาเลเซีย กับอนุทวีปอินโดจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ทางด้านตะวันออกของไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ และตะวันออกของมาเลเซีย
โดยก่อน 400 ล้านปีที่แล้ว แผ่นดินต้นกำเนิดของประเทศไทยฝั่งตะวันออกหรืออนุทวีปอินโดจีน เคยเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา (เป็นแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางใต้เส้นศูนย์สูตร) ได้แยกตัวออกมา และถูกดันให้เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องผ่านทะเลโบราณไปทางเหนือ ก่อนสิ้นยุคดีโวเนียน (ประมาณ 350 ล้านปีที่แล้ว) แผ่นธรณีมหาสมุทรด้านตะวันตก ได้มุดตัวลงใต้แผ่นธรณีอินโดจีน เกิดเป็นแนวหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง ต่อมาในยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส (ประมาณ 300 ล้านปีที่แล้ว) การมุดตัวของแผ่นธรณีมหาสมุทรยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและหยุดลง หลังจากการมุดตัวของแผ่นธรณีมหาสมุทรลงใต้แผ่นธรณีอินโดจีนหยุดลง แผ่นธรณีฉาน – ไทย ก็ได้แยกตัวจากกอนด์วานาและเคลื่อนที่ขึ้นเหนือจนเข้าใกล้ด้านตะวันตกของแผ่นธรณีอินโดจีน ช่วงกลางยุคสิ่งแวดล้อมระหว่างแผ่นธรณีทั้งสองมีสภาพเป็นทะเลที่สงบและอบอุ่น (ส่งผลให้ปัจจุบัน เราพบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในทะเลเป็นจำนวนมากตามแนวที่ 2 อนุทวีปชน ถ้าใครสนใจอยากเห็นด้วยตาตนเองแนะให้ไปเที่ยวที่ท้องทะเลดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์ จ.เพชรบูรณ์) เมื่อถึงปลายยุคเพอร์เมียนต้นยุคไทรแอสซิก (ประมาณ 250 ล้านปีที่แล้ว) เริ่มเกิดเทือกเขากลางมหาสมุทร ระหว่างแผ่นธรณีฉาน – ไทย กับแผ่นธรณีอินโดจีน ทำให้เกิดการมุดตัวของพื้นมหาสมุทรลงใต้แผ่นธรณีอินโดจีน เกิดการเคลื่อนที่เข้าหากันอย่างรวดเร็ว และเกิดภูเขาไฟปะทุรุนแรงตลอดแนวการมุดตัวทั้งสองฝั่ง ส่งผลให้พืชและสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ การเคลื่อนที่ชนกันำเนินต่อเนื่องไปจนกระทั่งอนุทวีปทั้ง 2 ชนกันอย่างสมบูรณ์ ทะเลปิดตัวลงในตอนปลายยุคไทรแอสซิก (ประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว)
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1342937X18302247
คลิปประกอบการกำเนิดแผ่นดินไทย
และระหว่างที่อนุทวีปไซบูมาสุกับอนุทวีปอินโดจีนเคลื่อนที่ชนกัน ทำให้เกิดการขังของน้ำทะลบางส่วนกระจายอยู่ในภาคอีสานที่อยู่ฝั่งอนุทวีปอินโดจีน และเมื่อน้ำระเหยไป เกลือในน้ำทะเลก็ตกผลึกสะสมตัวเกิดเป็นชั้นเกลือหินที่เราพบในปัจจุบัน
งานวิจัยที่ศึกษาการเกิดชั้นเกลือหินในภาคอีสาน Rattana et al.,2022
จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี พบว่าในภาคอีสานมีชั้นเกลือหินสลับกับชั้นหินทรายและหินโคลน และให้เป็นหมวดหินมหาสารคาม (Maha Sarakham Formation) โดยมีลำดับชั้นหินที่ปรกอบด้วยชั้นหิน 6 ชั้นจากล่างขึ้นบน ดังนั้น เกลือหินชั้นล่าง (Lower salt) ตะกอนสีแดงชั้นล่าง เกลือหินชั้นกลาง (Middle salt) ตะกอนสีแดงชั้นกลาง เกลือหินชั้นบน (Upper salt) และตะกอนสีแดงชั้นบน
จากแผนที่ธรณีวิทยาภาคอีสาน (ภาพด้านบน) และเห็นว่าภาคอีสานมีการกระจายตัวของหมวดหินมหาสารคามอยู่ 2 พื้นที่ใหญ่ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่ง ข้างล่าง เรียก "แอ่งโคราช" ข้างบน เรียก "แอ่งสกลนคร" ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตเกลือขนาดใหญ่ของประเทศไทย
บางพื้นที่มีการปะทุขึ้นมาของเกลือทำให้เห็นเป็นคราบขาวบนผิวดิน (ตามท้องนา 2 ข้างถนนหมายเลข 2 มองเห็นได้จากบนรถเลย เห็นชัดมาก) ชาวอีสานเรียกคราบเกลือสีขาวนี้ว่า "ขี้ทา" เกลือที่ปะปนอยู่ในดินนี้ทำให้เกิดปัญหาดินเค็ม หากละลายลงไปในน้ำบาดาลก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำบาดาลเค็ม แต่คราบขาวเหล่านี้ก็ถูกชาวบ้านนำไปใช้ประโยชน์โดยการผลิตเป็นเกลือสินเธาว์ กรรมวิธีผลิตเกลือสินเธาว์ของชาวอีสาน
เกริ่นไปยาวมากกกกก ที่นี้มาเข้าเรื่องของเราสักที 555+ จุดศึกษานี้เราจะได้ชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับบริษัท (บริษัท เกลือพิมาย จำกัด) และกระบวนการผลิตเกลือ ก่อนไปเข้าไปเยี่ยมชมไลน์การผลิตค่ะ
การนำเกลือออกมาจากชั้นหินของบริษัท เกลือพิมาย จำกัด ใช้วิธีที่เรียกว่า "การทำเหมืองละลาย" (solution mining)
การทำเหมืองละลาย (solution mining) เป็นการผลิตน้ำเกลือโดยอัดน้ำจืดลงไปเพื่อละลายเกลือหินในชั้นเกลือ น้ำเกลือที่ละลายออกมาจะถูกแรงดันย้อนขึ้นมาถึงปากบ่อ ก่อนจะทำการละลายเกลืออกมา จะมีการออกแบบโพรงเกลือเอาไว้ก่อนเพื่อป้องกันการถล่มหรือทรุดตัวของดินที่อยู่เหนือโพรงเกลือ และจะมีการควบคุมรูปร่างของโพรงไม่ให้ผิดแผน โดยใช้เทคนิค Leaching by blanket control
เมื่อละลายน้ำเกลือออกมาแล้ว น้ำเกลืออาจะมีสิ่งเจือปน เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟต ติดมาด้วย สิ่งเจือปนเหล่านี้ก็จะถูกกำจัดด้วยการเติมสารเคมีบางอย่างลงไป เพื่อให้สิ่งเจอปนตกตะกอนออกมา จนได้น้ำเกลือที่บริสุทธิ์ จากนั้นนำน้ำเกลือที่ได้นี้ไปเคี่ยว (evaporation) เมื่อน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากขึ้นจะเกิดการตกผลึกเป็นเม็ดเกลือไหลลงสู่เครื่องสะบัดแห้ง (centrifuge) ได้เกลือไหลลงสู่สายพายลำเลียงเกลือต่อไป
เกลือที่ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) เกลืออุตสาหกรรม จะมีความบริสุทธิ์ 99.9% และมีความชื้นไม่เกิน 2.5% ซึ่งถูกนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป เช่น โซดาไฟ สบู่ ยาปราบศัตรูพืช ผงซักฟอก พีวีซี เป็นต้น
2) เกลือบริโภค หรือเกลือประกอบอาหาร จะมีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.9% และมีความชื้นไม่เกิน 0.15%
อยากบอกว่าหลังจากดูวิดีทัศน์จบ มีคำถามจากพี่ๆ ผู้ร่วมทริปเยอะมากๆ จำได้ไม่หมด แต่มีคำถามที่น่าสนใจ (บังเอิญว่าสนใจอยู่เหมือนกัน) 3 คำถาม คือ
1. พื้นที่ที่ได้ปิดไม่มีการทำเหมืองแล้ว นำไปใช้ประโยชน์อย่างไรต่อ
- ปัจจุบันบริษัทได้มีการซื้อที่จากชาวบ้านเพิ่ม (ที่ไม่ใช่สัมปาทาน) มาทำเหมือง และเมื่อปิดแล้ว ก็ให้ชาวบ้านเช่าพื้นที่เพื่อทำการเกษตรกรรม (ดินไม่เค็มนะคะ เพราะละลายเกลือออกจากโพรงแล้วปั๊มขึ้น ไม่มีการปนเปื้อนของน้ำเกลือบนผิวดิน โพรงเกลืออยู่ลึกมากประมาณ 80 เมตร และมีการเว้นระยะจากเพดานโพรงเกลืออีก 25 เมตร)
2. พอละลายเกลืออกมาหมดแล้ว มีการเติมวัสดุอะไรลงไปทดแทน เพื่อป้องการทรุดตัวของพื้นที่
- ใช้พวกตะกอนปนเปื้อนแคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟต อัดกลับลงไป
3. เป็นไปได้มั้ยที่เราจะอัด carbondioxide ลงไปแทนที่เกลือที่ละลายออกมาแล้ว (เป็นการทำ CCUS; carbon capture utilization and storage คือเอาคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปเก็บใต้พื้นดิน ปัจจุบันจะอัดลงไปในชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมหลังจากนำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว **มีหลายวิธี*)
- โพรงเกลือในพื้นที่ที่บริษัททำอยู่ ใช้เป็นพื้นที่เก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ เพราะตื้นมาก โดยปกติหากจะอัดคาร์บอนได้ออกไซด์ลงไปต้องลึกไม่น้อยกว่า 700 เมตร
ภาพด้านบนเป็นภาพท่อในบ่อผลิต ท่อนี้เป็นท่อ 3 ชั้น ชั้นนอกสุดกรุด้วยซีเมนต์ให้ติดกับผนังหลุมเจาะ ชั้นกลางจะเป็นช่องที่ใช้อัดน้ำจืดลงไป และชั้นในสุดจะเป็นทางที่น้ำเกลือจะไหลย้อนขึ้นมา ในระหว่างท่อชั้นนอกกับชั้นกลางจะมีน้ำมันดีเซลลอยอยู่ด้านบนสุด ป้องกันการละลายเกลือบนเพดานโพรง เป็นการควบคุมรูปร่างของโพรงให้เหมาะสม (ถ้าละลายด้านบนเพดานโพรงจะถล่มลงมาได้) เทคนิคนี้ เรียกว่า "ฝาคลุมดีเซล" (Diesel blanket)
บ่อน้ำเกลือที่ละลายออกมาจากโพรงเกลือ
ห้องควบคุมการผลิต
ภูเขาเกลือที่ผ่านการสะบัดแห้งมาแล้ว กองนี้เป็นเกลืออุตสาหกรรม
สังเกตว่าเม็ดเลือยังมีความชื้นอยู่นิดนึง
จขกท. ประทับใจจุดศึกษานี้มาก เพราะเพิ่งอ่านหนังสือชื่อ "Salt A World History เกลือ ประวัติศาสตร์เครื่องปรุงเปลี่ยนโลก" ซึ่งเป็นหนังสือที่บอกให้รู้ว่าเกลือกับมนุษญืมีความเกี่ยวโยงกันมาอย่างยาวนาน บรรพบุรุษของเราใช้ประโยชน์จากเกลือมากมายมหาศาสล จนถึงทุกวันนี้บทบาทของก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง ซ้ำยังมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เราก็ใช้ประโยชน์จากเกลือได้มากขึ้น
หนังสือเกลือ ประวัติศาสตร์เครื่องปรุงเปลี่ยนโลก
วันที่ 2 แค่จุดแรก ก็ได้ความรู้แน่นๆ จุดถัดไปขอไปต่อในคอมเมนต์นะคะ ไม่ไหวแล้วววว