เรตติ้งทีวีเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่กำไรคือเป้าหมายที่แท้จริง

ช่วงนี้เห็นหลายคนพูดถึงเรตติ้งของช่องทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะช่อง 7 ที่ตอนนี้เรตติ้งรวมตกลงมาเป็นอันดับ 2 (ซึ่งเท่าที่ดูเรตติ้งรวมก็ไม่ค่อยต่างกันมากนัก) หรือโดนแซงในบางหมวดหมู่ โดยเฉพาะในแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่ส่วนในส่วนนอกเขตเทศบาลช่อง 7 ยังครองแชมป์อยู่ได้ในกลุ่มผู้ชมทีวีกลุ่มนี้อยู่

อยากจะบอกว่าเรตติ้งก็เป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่กำไรคือเป้าหมายที่แท้จริง
หลายคนอาจสงสัยว่า "เรตติ้งตกแล้วจะไปรอดไหม?" หรือ "ทำไมบางช่องเรตติ้งไม่สูง แต่กลับทำกำไรได้ดี?" จริง ๆ แล้วธุรกิจทีวีไม่ได้วัดผลแค่เรตติ้งอย่างเดียว เพราะเรตติ้งสูงไม่ได้การันตีรายได้เสมอไป สิ่งที่ผู้บริหารช่องต้องคิดมากกว่านั้น คือการควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมและหารายได้จากช่องทางอื่น ๆ

เรตติ้งและรายได้ กับสิ่งที่ต้องพิจารณา
จากข้อมูลที่กล่าวถึง ช่อง 7 อาจจะประสบปัญหาในการรักษาความนิยมในบางหมวดหมู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ช่อง 7 ยังคงครองอันดับ 1 ในส่วนของผู้ชมโทรทัศน์ในเขตพื้นที่นอกเทศบาล ซึ่งสะท้อนถึงกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีความจงรักภักดีต่อช่องอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาพรวมในแพลตฟอร์มอื่นจะลดลง แต่ก็มีการปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องตัวอย่างเช่น การปรับกลยุทธ์ของช่อง 7 ในการนำรายการมวย "One Lumpinee" ลงหลังข่าววันศุกร์แทนละคร เป็นการลดต้นทุนการผลิตที่สูงในขณะที่ยังสามารถสร้างเรตติ้งที่ดีได้ รายการประเภทนี้อาจเป็นการเช่าเวลาที่ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการผลิตละครที่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้กลยุทธ์ลดต้นทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร ถ้าหากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ยุคที่ละครฟอร์มใหญ่ยังเป็นที่นิยม ช่องใหญ่ ๆ มักทุ่มงบมหาศาลเพื่อผลิตละครหวังเรตติ้งสูง ๆ แต่ปัจจุบัน คนดูเริ่มเปลี่ยนไป เสพคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือสตรีมมิงมากขึ้น ทำให้การลงทุนแบบสมัยก่อนเริ่มไม่คุ้มค่า เพราะถึงแม้จะได้เรตติ้งสูง แต่ถ้ารายได้จากโฆษณาไม่เพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่จ่ายไป ช่องก็อาจจะขาดทุนได้

ธุรกิจทีวีกับจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่
ในยุคที่การแข่งขันของทีวีดิจิทัลเปลี่ยนไปจากเดิม ความสำเร็จของธุรกิจทีวีไม่ได้วัดกันแค่ "ใครมีเรตติ้งสูงกว่า" แต่เป็นเรื่องของ "ใครบริหารต้นทุนได้ดีกว่า" การผลิตละครฟอร์มใหญ่หรือการดึงตัวนักแสดงเบอร์ใหญ่แบบที่เคยทำในอดีต อาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมอีกต่อไป เพราะนอกจากจะใช้ต้นทุนสูงแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล ช่องทีวีหลายแห่งหันมาให้ความสำคัญกับการปรับตัวในเชิงธุรกิจมากขึ้น เช่น การควบคุมต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และการหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงิน ข้อมูลจาก Marketeer Online รายได้ทีวีดิจิทัลประจำปี 2566 ระบุว่าช่อง 8 ที่มีเรตติ้งอันดับ 8 แต่สามารถสร้างรายได้ติดอันดับ Top 5 ในปี 2566 ถึงแม้จะไม่ได้เรตติ้งสูงมากเมื่อเทียบกับช่องใหญ่ ๆ แต่ช่อง 8 กลับทำกำไรติดอันดับต้น ๆ ได้ เพราะบริหารต้นทุนได้ดี เน้นทำคอนเทนต์เจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะทาง ไม่ได้แข่งกับช่องอื่นตรง ๆ แต่เลือกเดินเกมอีกแนวที่ทำให้ได้กำไรสูงสุดนี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่าในโลกธุรกิจ เรตติ้งอาจจะสำคัญในแง่ของความนิยม แต่สิ่งที่ผู้บริหารต้องโฟกัสมากกว่าคือ “กำไร” และกำไรนั้นมาจากการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพที่สุดแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนและทรัพยากรมีความสำคัญมากกว่าตัวเลขเรตติ้งเพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับอัมรินทร์ทีวีที่เรตติ้งอันดับ 7 แต่สามารถทำกำไรติดอันดับ 4 ได้

มุมมองต่อช่อง 7
สำหรับช่อง 7 ที่มีภาพลักษณ์เป็นกลางและให้ความสำคัญกับคุณธรรม การเลือกที่จะไม่แข่งขันในรูปแบบเดียวกับช่องอื่น เช่น การดึงดาราหรือทีมงานจากช่องอื่นๆ ซึ่งอาจสะท้อนถึงการมุ่งเน้นในคุณค่าทางจริยธรรม เช่นเดียวกับรายการข่าวที่มีภาพลักษณ์เป็นกลาง ตลอดจนการรักษามาตรฐานในการผลิตคอนเทนต์ที่ให้ความรู้และความบันเทิงอย่างเหมาะสม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่