สวัสดีปีใหม่พี่ๆน้องๆทุกท่านนะครับ กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของปีนี้และเป็นกระทู้ที่ 101 ที่ผมตั้งในพันทิป ผมเองตั้งใจว่าจะเขียนเล่าเรื่องราวของมีคมให้ชาวพันทิปฟังซักร้อยกระทู้ ตอนนี้ผมทำได้สำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้แล้ว ใช้เวลาประมาณเดือนเศษๆนิดหน่อย ผมนำเสนอเรื่องราวและแง่มุมในส่วนที่คนทั่วๆไปไม่ค่อยได้รับรู้หรือทำความเข้าใจกับมัน จริงๆแล้วมันก็เป็นเรื่องธรรมดาๆครับ มันเป็นของมันอย่างนั้น แค่ไม่มีใครเอามาเล่าให้กันฟัง
ผมได้ทำแล้วขอบคุณพี่ๆน้องๆทุกท่านที่ติดตามอ่านและแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนพูดคุยกันเสมอๆ ถ้าใครยังไม่ได้อ่านกระทู้เก่าๆอันไหน ลองกดเข้าไปดูที่ชื่อของผมได้มีเรื่องเกี่ยวกับของมีคมที่น่ารู้หลายเรื่อง
แปลกใจนิดหน่อยที่ระบบของเว็บพันทิปถอดกระทู้ของผมออกจากห้องหอศิลป์ คือยกเลิกแท็กศิลปหัตถกรรมของกระทู้ผมจนหมด
ถ้ามีดและกรรไกรยังเป็นศิลปหัตถกรรมไม่ได้จะให้เรียกว่าอะไร มันเป็นผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดไม่ต่างหรือยิ่งไปกว่าสินค้าแฮนด์เมดแบบไหนๆ
มาว่าถึงกรรไกรของเราต่อ
庄三郎 หรือ 庄三郎東鋏 ( โชซาบูโร่โทบาซามิ ) หรือเต็มๆเลยก็คือโตเกียว โชซาบูโร่ โทบาซามิ 東京庄三郎東鋏 หรือ โชซาบูโร่ซากุ 庄三郎作
กรรไกรที่ทำในยุคต้นๆของยี่ห้อนี้หรือทำภายในยุคของท่านมิอูระ โชซาบูโร่ที่หนึ่ง ส่วนมากเป็นกรรไกรตีมือนะครับ เพิ่งมาผลิตกึ่งอุตสาหกรรมตอนท้ายๆยุคของท่าน ตราประทับของโชซาบูโร่มีเยอะมาก เรียกว่าเป็นร้อยๆแบบ ถึงเราจะคิดว่าเหมือนๆกันแต่แยกรายละเอียดได้อีกมาก เหมือนโค้ดประจำรุ่น เป็นตัวบ่งบอกยุคสมัย
กรรไกรยี่ห้อนี้จัดว่าเป็นกรรไกรราชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในญี่ปุ่น มีมาเป็นร้อยปีนะครับ อาจจะหาวันเวลาที่แน่นอนไม่ได้ แต่ท่านมิอูระ三浦庄三郎 หรือท่านโชซาบูโร่ที่หนึ่งเกิดเมื่อปีพ.ศ. 2439 และเสียชีวิตในปี 2525 และท่านมิอูระหัดทำกรรไกรมาตั้งแต่เด็กๆ ท่านมิอูระจัดเป็นยอดฝีมืออีกท่านหนึ่งของวงการกรรไกร โดยท่านสืบสายวิชาของท่านอาจารย์ยากิชิ弥吉 ผ่านมาทางสายของท่านคาเนกิชิ 兼吉อีกที
มีพี่ๆน้องๆคุยกับผมเรื่องกรรไกร ท่านเหล่านั้นก็มีทั้งนักสะสม คนเล่นของ ช่างฝีมือ มือใหม่ หรือเป็นผู้สนใจกรรไกรในระดับเริ่มต้นคือไม่มีกรรไกรซักอันก็ยังมี ท่านเหล่านั้นมักจะถามว่าผมใช้กรรไกรยี่ห้ออะไรหรือกรรไกรยี่ห้อไหนที่น่าซื้อบ้าง ผมจะแนะนำยี่ห้อนี้ครับ โตเกียวโชซาบูโร่
ถ้าท่านเป็นมือใหม่การเริ่มต้นที่ดีก็เท่ากับเดินทางไปได้ครึ่งหนึ่งของจุดมุ่งหมาย การซื้อกรรไกรโตเกียวโชซาบูโร่นอกจากท่านจะได้กรรไกรหนึ่งอันท่านยังได้สิ่งที่แฝงมากับกรรไกรตัวนี้หลายอย่าง
ถ้าท่านเป็นช่างฝีมือหรือเป็นนักทำงานจุกๆจิกๆที่อยากได้กรรไกรดีๆเอาไว้ใช้บนโต๊ะทำงาน โชซาบูโร่ไม่อยู่หลังใครในเรื่องนี้ครับ มันใช้ดีมาก เท่าที่ผมเคยใช้กรรไกรญี่ปุ่นมาจำนวนหนึ่งยี่ห้อนี้ทำงานได้ดีทุกตัว ตัวที่สภาพดีๆคือผ่านการใช้งานมาเล็กน้อยทำงานได้ดีกว่าตัวใหม่ในกล่องหรือตัวที่ใหม่มากๆซะอีก
ถ้าท่านเป็นนักซื้อๆขายๆเครื่องมือ กรรไกรยี่ห้อนี้ก็พอจะซื้อมาแล้วขายออกไปทำกำไรได้ในระยะสั้นๆ มีสภาพคล่องของสินค้าสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกหลายชนิด
และถ้าท่านเป็นนักสะสม จะสะสมเครื่องมือหรือสะสมกรรไกร การเล่นหาสะสมกรรไกรโชซาบูโร่ มีรายละเอียดปลีกย่อยซับซ้อนและมีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่พอที่จะให้เราได้ทำการศึกษาค้นคว้า
กรรไกรที่ดีกว่าโตเกียวโชซาบูโร่มีไหม? มีครับ ที่ผมเองก็มี แต่มันค่อนข้างลำบากในการจัดหามาใช้งานหรือเก็บสะสม การเข้าถึงของได้ง่ายเป็นคุณสมบัติหลักๆที่ผมชอบและแนะนำกรรไกรยี่ห้อนี้ให้ทุกคน
โดยเฉพาะท่านที่นิยมกรรไกรญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมหรือกรรไกรจากสมาคมช่างทำกรรไกรญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่เรียกกันว่าโทบาซามิ กรรไกรยี่ห้อนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการศึกษาชิ้นงาน ลักษณะการทำงาน วัสดุ วิธีทำ ช่าง และจิตวิญญาณดั้งเดิมของช่างทำกรรไกร เริ่มได้ที่ยี่ห้อนี้ โตเกียวโชซาบูโร่เป็นกรรไกรจากสมาคมที่แพร่หลายหาซื้อได้ง่ายที่สุด
วันนี้มีมาให้ชมสามอันครับ มีสองอันเป็นกรรไกรสแตนเลส รุ่นSmooser ทำจากสแตนเลสเบอร์ GIN 3 หรือ Gingami3 ,silver paper steel , 銀三鋼 จินกาเนะ หรือจินซานโกะ อันนึงเก่าๆ ก็เป็นรุ่นธรรมดาแต่ว่าเก่ามาก การผลิตดิบๆต่างรุ่นมาตรฐานที่พบกันในปัจจุบัน
ฝากข้อมูลแผนผังของกรรไกรตะวันออกหรือโทบาซามิครับ
กรรไกรญี่ปุ่นในแบบกรรไกรราชาหรือกรรไกรตะวันออกที่เรียกว่าโทบาซามิ มีจุดเริ่มต้นมาจากท่านอาจารย์ ยากิชิ หรือ Yayoshi Kichi ซึ่งดัดแปลงกรรไกรตัดผ้าขนสัตว์ของฝรั่งให้เข้ากับรูปร่างและโลหะวิทยาแบบญี่ปุ่น และท่านอาจารย์ท่านนี้ก็มีศิษย์สืบทอดสายวิชา หลักๆก็ตามแผนผังหรือแผนภูมิที่ผมลงให้ชม ทั้งในหน้านี้และในรูปภาพ
弥吉┬長太郎┬長太郎┬長太郎
| | └長勝
| |
| ├正次郎
| ├留吉┬勝太郎
| | └正利
| ├長三郎
| └栄吉┬栄吉
| └忠吉┬常正(長十郎)─常正
| ├増太郎
| ├角三郎
| └和弘
├兼吉┬兼吉─兼吉
| ├豊太郎─豊太郎
| ├民太郎─平三郎─平三郎
| ├春常─ 一郎─ 一郎
| └庄三郎┬庄三郎
| ├久剛
| ├聡太郎
| └菊司
├作次郎─広太郎─千代之助─東正之助
├与三郎─与三郎
└秀吉┬甚五郎
├明(明作)
└正作
กรรไกรญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดสืบทอดวิชาการผลิตมาจากสายนี้ ถ้าเป็นยี่ห้อที่ตีตราสมาคมโทบาซามิ 東鋏 รับรองได้ว่ามาจากสายนี้ทุกคน ซึ่งสายหลักๆแล้วก็เริ่มแบ่งเป็นห้าสาย ตามจำนวนลูกศิษย์ของท่านยากิชิ ซึ่งสายหลักๆเลยก็คือสายของกรรไกรอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นคือสายโชทาโร่ 長太郎
ตามแผนผังหรือแผนภูมิช่างทำกรรไกรที่ผมลงให้ดู รวบรวมช่างหลักๆที่ผลิตกรรไกรของตัวเองแยกเป็นยี่ห้อๆออกไป ซึ่งกรรไกรพวกนี้ผมเองก็เห็นขายในบ้านเราอยู่เสมอๆ หลายท่านสอบถามผมว่าจะเล่นหากรรไกรหรือเลือกกรรไกรยังไง ตอบอย่างกว้างๆคือถ้าจะซื้อไว้ใช้ก็ซื้อโชซาบุโร่ครับ ถ้าจะเก็บไว้ศึกษาหรือสะสมก็ให้ยึดแผนผังการสืบสายวิชานี่ให้ดีครับ เป็นหลักในการเล่นหาหรือเลือกสรรได้ โดยส่วนตัวผมเองใช้กรรไกรโชซาบูโร่กับกรรไกรคิยะแดนจูโร่ กรรไกรยี่ห้ออื่นก็ศึกษาไปเรื่อยๆครับ ยังไงก็แล้วแต่ถ้ามีตราโทบาซามิก็จัดว่าเป็นของดี คือผ่านการผลิตตามกรรมวิธีดั้งเดิม
Yayoshi ┬ Chotaro ┬ Chotaro ┬ Chotaro | | Nagakatsu | | | ├ Shojiro | ├ Rumiyoshi ┬ Katsutaro | | └ Masatoshi | ├ Chozaburo | └ Eikichi ┬ Shojo Yoshiyoshi | └ Tadashi Yoshiyoshi | ├Kakusaburo | └Kazuhiro├Kanekichi┬Kaneyoshi─Kaneyoshi | ├Toyotaro─Toyotaro | ├ Mintaro ─Heisaburo─ Heizaburo | ├ Spring Tsune ─ Ichiro ─ Ichiro | └ Shozaburo | Shozaburo | · sotaro | └ Kikutsukasa ├ Sakujiro ─ Hirotaro ─ Chiyo Koresuke ─ Shonosuke Azuma ├ Yosaburo ─ Yosaburo └ Hideyoshi ┬ Jingoro ├ Akira (Akirasaku)
弥吉┬長太郎┬長太郎┬長太郎 | | └長勝 | | | ├正次郎 | ├留吉┬勝太郎 | | └正利 | ├長三郎 | └栄吉┬栄吉 | └忠吉┬常正(長十郎)─常正 | ├増太郎 | ├角三郎 | └和弘 ├兼吉┬兼吉─兼吉 | ├豊太郎─豊太郎 | ├民太郎─平三郎─平三郎 | ├春常─ 一郎─ 一郎 | └庄三郎┬庄三郎 | ├久剛 | ├聡太郎ー二代目・聡太郎 | └菊司 ├作次郎─広太郎─千代之助─東正之助 ├与三郎─与三郎 └秀吉┬甚五郎 ├明(明作) └正作
กรรไกรตัดผ้าจากสำนักโตเกียวโชซาบูโร่ 東京庄三郎 กรรไกรที่ได้รับความนิยมสูงสุดในญี่ปุ่น
ผมได้ทำแล้วขอบคุณพี่ๆน้องๆทุกท่านที่ติดตามอ่านและแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนพูดคุยกันเสมอๆ ถ้าใครยังไม่ได้อ่านกระทู้เก่าๆอันไหน ลองกดเข้าไปดูที่ชื่อของผมได้มีเรื่องเกี่ยวกับของมีคมที่น่ารู้หลายเรื่อง
แปลกใจนิดหน่อยที่ระบบของเว็บพันทิปถอดกระทู้ของผมออกจากห้องหอศิลป์ คือยกเลิกแท็กศิลปหัตถกรรมของกระทู้ผมจนหมด
ถ้ามีดและกรรไกรยังเป็นศิลปหัตถกรรมไม่ได้จะให้เรียกว่าอะไร มันเป็นผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดไม่ต่างหรือยิ่งไปกว่าสินค้าแฮนด์เมดแบบไหนๆ
มาว่าถึงกรรไกรของเราต่อ
庄三郎 หรือ 庄三郎東鋏 ( โชซาบูโร่โทบาซามิ ) หรือเต็มๆเลยก็คือโตเกียว โชซาบูโร่ โทบาซามิ 東京庄三郎東鋏 หรือ โชซาบูโร่ซากุ 庄三郎作
กรรไกรที่ทำในยุคต้นๆของยี่ห้อนี้หรือทำภายในยุคของท่านมิอูระ โชซาบูโร่ที่หนึ่ง ส่วนมากเป็นกรรไกรตีมือนะครับ เพิ่งมาผลิตกึ่งอุตสาหกรรมตอนท้ายๆยุคของท่าน ตราประทับของโชซาบูโร่มีเยอะมาก เรียกว่าเป็นร้อยๆแบบ ถึงเราจะคิดว่าเหมือนๆกันแต่แยกรายละเอียดได้อีกมาก เหมือนโค้ดประจำรุ่น เป็นตัวบ่งบอกยุคสมัย
กรรไกรยี่ห้อนี้จัดว่าเป็นกรรไกรราชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในญี่ปุ่น มีมาเป็นร้อยปีนะครับ อาจจะหาวันเวลาที่แน่นอนไม่ได้ แต่ท่านมิอูระ三浦庄三郎 หรือท่านโชซาบูโร่ที่หนึ่งเกิดเมื่อปีพ.ศ. 2439 และเสียชีวิตในปี 2525 และท่านมิอูระหัดทำกรรไกรมาตั้งแต่เด็กๆ ท่านมิอูระจัดเป็นยอดฝีมืออีกท่านหนึ่งของวงการกรรไกร โดยท่านสืบสายวิชาของท่านอาจารย์ยากิชิ弥吉 ผ่านมาทางสายของท่านคาเนกิชิ 兼吉อีกที
มีพี่ๆน้องๆคุยกับผมเรื่องกรรไกร ท่านเหล่านั้นก็มีทั้งนักสะสม คนเล่นของ ช่างฝีมือ มือใหม่ หรือเป็นผู้สนใจกรรไกรในระดับเริ่มต้นคือไม่มีกรรไกรซักอันก็ยังมี ท่านเหล่านั้นมักจะถามว่าผมใช้กรรไกรยี่ห้ออะไรหรือกรรไกรยี่ห้อไหนที่น่าซื้อบ้าง ผมจะแนะนำยี่ห้อนี้ครับ โตเกียวโชซาบูโร่
ถ้าท่านเป็นมือใหม่การเริ่มต้นที่ดีก็เท่ากับเดินทางไปได้ครึ่งหนึ่งของจุดมุ่งหมาย การซื้อกรรไกรโตเกียวโชซาบูโร่นอกจากท่านจะได้กรรไกรหนึ่งอันท่านยังได้สิ่งที่แฝงมากับกรรไกรตัวนี้หลายอย่าง
ถ้าท่านเป็นช่างฝีมือหรือเป็นนักทำงานจุกๆจิกๆที่อยากได้กรรไกรดีๆเอาไว้ใช้บนโต๊ะทำงาน โชซาบูโร่ไม่อยู่หลังใครในเรื่องนี้ครับ มันใช้ดีมาก เท่าที่ผมเคยใช้กรรไกรญี่ปุ่นมาจำนวนหนึ่งยี่ห้อนี้ทำงานได้ดีทุกตัว ตัวที่สภาพดีๆคือผ่านการใช้งานมาเล็กน้อยทำงานได้ดีกว่าตัวใหม่ในกล่องหรือตัวที่ใหม่มากๆซะอีก
ถ้าท่านเป็นนักซื้อๆขายๆเครื่องมือ กรรไกรยี่ห้อนี้ก็พอจะซื้อมาแล้วขายออกไปทำกำไรได้ในระยะสั้นๆ มีสภาพคล่องของสินค้าสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกหลายชนิด
และถ้าท่านเป็นนักสะสม จะสะสมเครื่องมือหรือสะสมกรรไกร การเล่นหาสะสมกรรไกรโชซาบูโร่ มีรายละเอียดปลีกย่อยซับซ้อนและมีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่พอที่จะให้เราได้ทำการศึกษาค้นคว้า
กรรไกรที่ดีกว่าโตเกียวโชซาบูโร่มีไหม? มีครับ ที่ผมเองก็มี แต่มันค่อนข้างลำบากในการจัดหามาใช้งานหรือเก็บสะสม การเข้าถึงของได้ง่ายเป็นคุณสมบัติหลักๆที่ผมชอบและแนะนำกรรไกรยี่ห้อนี้ให้ทุกคน
โดยเฉพาะท่านที่นิยมกรรไกรญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมหรือกรรไกรจากสมาคมช่างทำกรรไกรญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่เรียกกันว่าโทบาซามิ กรรไกรยี่ห้อนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการศึกษาชิ้นงาน ลักษณะการทำงาน วัสดุ วิธีทำ ช่าง และจิตวิญญาณดั้งเดิมของช่างทำกรรไกร เริ่มได้ที่ยี่ห้อนี้ โตเกียวโชซาบูโร่เป็นกรรไกรจากสมาคมที่แพร่หลายหาซื้อได้ง่ายที่สุด
วันนี้มีมาให้ชมสามอันครับ มีสองอันเป็นกรรไกรสแตนเลส รุ่นSmooser ทำจากสแตนเลสเบอร์ GIN 3 หรือ Gingami3 ,silver paper steel , 銀三鋼 จินกาเนะ หรือจินซานโกะ อันนึงเก่าๆ ก็เป็นรุ่นธรรมดาแต่ว่าเก่ามาก การผลิตดิบๆต่างรุ่นมาตรฐานที่พบกันในปัจจุบัน
ฝากข้อมูลแผนผังของกรรไกรตะวันออกหรือโทบาซามิครับ
กรรไกรญี่ปุ่นในแบบกรรไกรราชาหรือกรรไกรตะวันออกที่เรียกว่าโทบาซามิ มีจุดเริ่มต้นมาจากท่านอาจารย์ ยากิชิ หรือ Yayoshi Kichi ซึ่งดัดแปลงกรรไกรตัดผ้าขนสัตว์ของฝรั่งให้เข้ากับรูปร่างและโลหะวิทยาแบบญี่ปุ่น และท่านอาจารย์ท่านนี้ก็มีศิษย์สืบทอดสายวิชา หลักๆก็ตามแผนผังหรือแผนภูมิที่ผมลงให้ชม ทั้งในหน้านี้และในรูปภาพ
弥吉┬長太郎┬長太郎┬長太郎
| | └長勝
| |
| ├正次郎
| ├留吉┬勝太郎
| | └正利
| ├長三郎
| └栄吉┬栄吉
| └忠吉┬常正(長十郎)─常正
| ├増太郎
| ├角三郎
| └和弘
├兼吉┬兼吉─兼吉
| ├豊太郎─豊太郎
| ├民太郎─平三郎─平三郎
| ├春常─ 一郎─ 一郎
| └庄三郎┬庄三郎
| ├久剛
| ├聡太郎
| └菊司
├作次郎─広太郎─千代之助─東正之助
├与三郎─与三郎
└秀吉┬甚五郎
├明(明作)
└正作
กรรไกรญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดสืบทอดวิชาการผลิตมาจากสายนี้ ถ้าเป็นยี่ห้อที่ตีตราสมาคมโทบาซามิ 東鋏 รับรองได้ว่ามาจากสายนี้ทุกคน ซึ่งสายหลักๆแล้วก็เริ่มแบ่งเป็นห้าสาย ตามจำนวนลูกศิษย์ของท่านยากิชิ ซึ่งสายหลักๆเลยก็คือสายของกรรไกรอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นคือสายโชทาโร่ 長太郎
ตามแผนผังหรือแผนภูมิช่างทำกรรไกรที่ผมลงให้ดู รวบรวมช่างหลักๆที่ผลิตกรรไกรของตัวเองแยกเป็นยี่ห้อๆออกไป ซึ่งกรรไกรพวกนี้ผมเองก็เห็นขายในบ้านเราอยู่เสมอๆ หลายท่านสอบถามผมว่าจะเล่นหากรรไกรหรือเลือกกรรไกรยังไง ตอบอย่างกว้างๆคือถ้าจะซื้อไว้ใช้ก็ซื้อโชซาบุโร่ครับ ถ้าจะเก็บไว้ศึกษาหรือสะสมก็ให้ยึดแผนผังการสืบสายวิชานี่ให้ดีครับ เป็นหลักในการเล่นหาหรือเลือกสรรได้ โดยส่วนตัวผมเองใช้กรรไกรโชซาบูโร่กับกรรไกรคิยะแดนจูโร่ กรรไกรยี่ห้ออื่นก็ศึกษาไปเรื่อยๆครับ ยังไงก็แล้วแต่ถ้ามีตราโทบาซามิก็จัดว่าเป็นของดี คือผ่านการผลิตตามกรรมวิธีดั้งเดิม
Yayoshi ┬ Chotaro ┬ Chotaro ┬ Chotaro | | Nagakatsu | | | ├ Shojiro | ├ Rumiyoshi ┬ Katsutaro | | └ Masatoshi | ├ Chozaburo | └ Eikichi ┬ Shojo Yoshiyoshi | └ Tadashi Yoshiyoshi | ├Kakusaburo | └Kazuhiro├Kanekichi┬Kaneyoshi─Kaneyoshi | ├Toyotaro─Toyotaro | ├ Mintaro ─Heisaburo─ Heizaburo | ├ Spring Tsune ─ Ichiro ─ Ichiro | └ Shozaburo | Shozaburo | · sotaro | └ Kikutsukasa ├ Sakujiro ─ Hirotaro ─ Chiyo Koresuke ─ Shonosuke Azuma ├ Yosaburo ─ Yosaburo └ Hideyoshi ┬ Jingoro ├ Akira (Akirasaku)
弥吉┬長太郎┬長太郎┬長太郎 | | └長勝 | | | ├正次郎 | ├留吉┬勝太郎 | | └正利 | ├長三郎 | └栄吉┬栄吉 | └忠吉┬常正(長十郎)─常正 | ├増太郎 | ├角三郎 | └和弘 ├兼吉┬兼吉─兼吉 | ├豊太郎─豊太郎 | ├民太郎─平三郎─平三郎 | ├春常─ 一郎─ 一郎 | └庄三郎┬庄三郎 | ├久剛 | ├聡太郎ー二代目・聡太郎 | └菊司 ├作次郎─広太郎─千代之助─東正之助 ├与三郎─与三郎 └秀吉┬甚五郎 ├明(明作) └正作