ธนาคารกลาง ,ETF ทองคำ ,CFTC ,COMEX แตกต่างกันอย่างไร

ตามหัวข้อเลยครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงความแตกต่างของการถือครองทองคำของสถาบันต่างๆ ซึ่งยังมีผลต่อการคาดการณ์แนวโน้มทองคำ

การติดตามข้อมูลการถือครองทองคำ ในปัจจุบัน มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่:
1. การถือครองทองคำของธนาคารกลาง
2. กองทุน ETF ทองคำ
3. ข้อมูลการถือครองจาก CFTC
4. ข้อมูลการถือครองทองคำใน COMEX แบบเรียลไทม์

แล้วทั้ง 4 ประเภทนี้ มีความแตกต่างอย่างไร?

1.การสำรองทองคำของธนาคารกลาง
การสำรองทองคำของธนาคารกลางทั่วโลก ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะจากการที่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า การซื้อทองคำของธนาคารกลาง เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

ทองคำสำรองทั่วโลก : ปริมาณทองคำการกระจายตามภูมิภาค
ทองคำที่ขุดขึ้นมาจากทั่วโลกส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาโดย ธนาคารกลาง และมีการถือครองทองคำรวมกันประมาณ 27,734.3 ตัน ซึ่งการถือครองทองคำของแต่ละภูมิภาค มีรายละเอียดดังนี้ :

1. ทวีปยุโรปตะวันตก ถือครองมากที่สุดที่ 10,733.58 ตัน
ยุโรปตะวันตกยังคงเป็นภูมิภาคที่มีปริมาณทองคำสำรองมากที่สุดในโลก ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในตลาดโลก

2. ทวีปอเมริกาเหนือ ถือครอง 8,133.46 ตัน 
แม้ว่า ประเทศแคนาดา จะไม่มีการสำรองทองคำ แต่ สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประเทศที่มีการสำรองทองคำมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ

3. ทวีปเอเชียตะวันออก ถือครองทองคำ 3,110.29 ตัน
ทวีปเอเชียตะวันออกเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีการสำรองทองคำจำนวนมาก โดยเฉพาะ จีน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการซื้อทองคำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง



แม้ว่า ธนาคารกลาง จะถือครองทองคำมากในแต่ละทวีป แต่เมื่อเปรียบเทียบกับทองคำใน กองทุน ETF ทองคำ (Gold ETF) ที่มีเพียง 3,207.2 ตัน จะเห็นได้ว่า การสำรองทองคำของธนาคารกลางทั่วโลก มีมากกว่าถึงเกือบ 8 เท่า นี่อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึง ความสำคัญของทองคำสำรองในระดับประเทศที่มีอิทธิพลต่อ ราคาทองคำ และ ตลาดการลงทุนทองคำ ทั่วโลก

การสำรองทองคำของธนาคารกลางและผลกระทบต่อตลาดทองคำ : 
การสำรองทองคำของธนาคารกลาง เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อ ราคาทองคำ และ ตลาดทองคำสปอต โดยการคำนวณมูลค่าของทองคำสำรองจะอ้างอิงจากราคาทองคำในตลาด LBMA (London Bullion Market Association) หรือราคาทองคำสปอต ณ สิ้นไตรมาส

หากการสำรองทองคำธนาคารกลางมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดทองคำ เเละการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจทำให้ราคาทองคำในตลาดโลกมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากทองคำถือเป็นสินทรัพย์สำรองที่มีความสำคัญมาก

อย่างไรก็ตาม มูลค่าของการสำรองทองคำของธนาคารกลาง ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยในแต่ละไตรมาส เนื่องจาก ข้อมูลจากสถิติเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (IFS) มีความล่าช้าในการเผยแพร่ข้อมูล ประมาณ 2 เดือน ซึ่งหมายความว่า ปริมาณการสำรองทองคำของธนาคารกลาง จะมีผลกระทบในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น

2.กองทุน ETF ทองคำ (GOLD ETF)
กองทุน ETF ทองคำ คือ การลงทุนในทองคำที่ซื้อขายได้เหมือนหุ้น ซึ่งอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในตลาดโลก และไม่จำเป็นต้องถือทองคำจริงอีกด้วย

โดยพื้นฐานแล้ว กองทุน ETF ทองคำ จะถือครองทองคำในรูปแบบของกองทุนเปิด (Open-End Fund), กองทุนปิด (Closed-End Fund) หรือกองทุนร่วม (Unit Trust) ซึ่งทำให้สามารถสะท้อนผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของ ราคาทองคำจริง ได้อย่างชัดเจน การลงทุนในทองคำผ่าน ETF จึงเป็นการสะท้อนสภาพของ ตลาดทองคำ ได้ดีและเป็นทางเลือกที่สะดวกสำหรับนักลงทุน

จากข้อมูลล่าสุด ทองคำในกองทุน ETF ทั่วโลก มีปริมาณรวมประมาณ 3,207.2 ตัน โดยกองทุน SPDR Gold ETF ถือเป็นกองทุน ETF ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีปริมาณทองคำที่ถือครองมากถึง 389.8 ตัน ซึ่งคิดเป็น 12% ของทองคำในกองทุน ETF ทั่วโลก นอกจากนี้ กองทุน ETF สามารถสะท้อนการเคลื่อนไหวของ ตลาดทองคำ ได้ดี เนื่องจากราคาทองคำใน ETF จะมีการเปลี่ยนแปลงตามความผันผวนของตลาดในเวลาจริง

ข้อดี:
กองทุน ETF ทองคำมีข้อดีในการสะท้อนการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำในตลาดทันที ซึ่งทำให้สามารถติดตามแนวโน้มของราคาทองคำได้แบบเรียลไทม์ นักลงทุนสามารถซื้อขาย ETF ทองคำ ได้ในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนหุ้นทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสะดวกสบายในการลงทุน เพราะไม่ต้องจัดเก็บทองคำจริง

ข้อเสีย:
กองทุน ETF ทองคำ อาจมีการหน่วงเวลาระหว่างการเปลี่ยนแปลงของทองคำจริงกับราคาทองคำในตลาด แต่ก็ยังถือว่ามีความรวดเร็วมากกว่าการดูข้อมูลซื้อทองคำของธนาคารกลาง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในกองทุน ETF ทองคำ ราคาทองคำก็จะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนั้นในเวลาอันรวดเร็ว

3.ข้อมูลการถือครองจาก CFTC
หลายคนที่เทรดทองคำ คงเคยได้ยินถึงชื่อ CFTC (Commodity Futures Trading Commission) ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลตลาดฟิวเจอร์สในสหรัฐอเมริกา CFTC จะทำการเผยแพร่ข้อมูลการถือครองทองคำในฟิวเจอร์สทุกสัปดาห์ โดยข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญในการติดตามแนวโน้มของตลาดทองคำและการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในอนาคต

การเผยแพร่ข้อมูล CFTC จะแยกประเภทของการถือครองทองคำในฟิวเจอร์สออกเป็น Long Position (ตำแหน่งซื้อ) และ Short Position (ตำแหน่งขาย) ซึ่งช่วยให้นักลงทุนและเทรดเดอร์ สามารถวิเคราะห์ทิศทางตลาดได้ชัดเจนขึ้น

Non-commercial Long Position คือ การถือครองทองคำในตำแหน่งซื้อ (Long) ของสถาบันการเงินและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งมักจะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในราคาทองคำที่มีแนวโน้มจะขึ้น

Non-commercial Short Position คือ การถือครองทองคำในตำแหน่งขาย (Short) ของสถาบันการเงินและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งมักจะเป็นสัญญาณของการคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะลดลง

การเข้าใจข้อมูลการถือครองทองคำของ CFTC สามารถช่วยให้คุณทำการตัดสินใจเทรดทองคำได้ดีขึ้น โดยการจับตามองการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง Long และ Short ของนักลงทุนระดับสถาบัน สามารถเป็นสัญญาณที่สำคัญในการทำนายการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในอนาคต


ข้อมูลจาก CFTC อาจจะอ่านยากบ้าง ซึ่งหลายสถาบัน หรือธนาคารมักทำรายงานสรุปให้เราเข้าใจง่ายขึ้น

ข้อมูลจาก CFTC  เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สะท้อนถึงการซื้อขายทองคำฟิวเจอร์ส ซึ่งมาจากตลาด COMEX (Chicago Mercantile Exchange) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการซื้อขายทองคำฟิวเจอร์สมากกว่า 70% จากทั่วโลก

ทองคำฟิวเจอร์ส เป็นการซื้อขายสัญญาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทองคำจริง ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องมีการส่งย้ายทองคำจริงๆ การเคลื่อนไหวในตลาดฟิวเจอร์สจึงสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ราคาทองคำในตลาดสปอต (ทองคำจริง) ซึ่งทำให้ข้อมูลจาก CFTC กลายเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับการติดตาม การเคลื่อนไหวของราคาทองคำ และสามารถช่วยในการวิเคราะห์ทิศทางราคาทองคำในอนาคต

การเคลื่อนไหวของราคาทองคำที่รวดเร็ว มักเกิดจากการเปิดสถานะซื้อขายแบบ Non-commercial (ไม่ใช่เชิงพาณิชย์) โดยสถาบันการเงินหรือกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งมีปริมาณการซื้อขายที่สูง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในระยะสั้นและสร้างความผันผวนในตลาด

ข้อจำกัดของข้อมูลจาก CFTC :
การรวบรวมข้อมูลจะเกิดขึ้นในวันอังคารและมีการเผยแพร่ในวันศุกร์ ดังนั้นในช่วงเวลานี้ ตำแหน่งการเทรด ของนักเก็งกำไรอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่เผยแพร่ล่าช้าอาจถูกนำไปใช้ทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงที่ข้อมูลยังไม่ออก ทำให้ผู้ที่ติดตามข้อมูลนี้อาจตกเป็นเหยื่อของการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทำไมข้อมูล CFTC ถึงสำคัญในการเทรดทองคำ :
การติดตามข้อมูลจาก CFTC ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของ ตลาดทองคำฟิวเจอร์ส และ ตลาดทองคำจริง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อทำนายการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในระยะสั้น รวมถึงการเข้าใจพฤติกรรมการเทรดของนักลงทุนใน ตลาดฟิวเจอร์สทองคำ ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาทองคำในตลาดทั่วโลก

4. ข้อมูลการถือครองทองคำใน COMEX แบบเรียลไทม์
ข้อมูลการถือครองทองคำจาก COMEX เป็นข้อมูลที่ได้รับการอัปเดตแบบ เรียลไทม์ ซึ่งแตกต่างจากข้อมูล CFTC ที่ใช้เวลาในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลจากสถาบันต่างๆ ภายในระยะเวลาหลายวัน ข้อมูล COMEX จึงสามารถสะท้อนการเคลื่อนไหวในตลาดทองคำได้อย่างทันที

ข้อดีของข้อมูลการถือครองทองคำจาก COMEX
1. ข้อมูลฟิวเจอร์สจะสะท้อนการเคลื่อนไหวของตำแหน่งการซื้อขายในตลาดฟิวเจอร์ส
ข้อมูลจาก COMEX ให้ภาพที่ชัดเจนของตำแหน่งการซื้อขายทองคำในตลาดฟิวเจอร์ส ซึ่งมักจะเกิดจากการเก็งกำไรในตลาด การมีข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้เทรดสามารถตัดสินใจได้แม่นยำยิ่งขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของราคาทองคำอย่างรวดเร็ว

2. ข้อมูลเรียลไทม์
ข้อได้เปรียบหลักของ ข้อมูล COMEX คือการอัปเดตใน เรียลไทม์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในตลาดราคาทองคำจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนั้นทันที ซึ่งช่วยให้ผู้เทรดสามารถตัดสินใจได้ทันเวลามากขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลที่มีความล่าช้าจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ

การเข้าถึงข้อมูล COMEX แบบเรียลไทม์ :
การเข้าถึงข้อมูล COMEX แบบเรียลไทม์นั้น มักจะจำกัดเฉพาะ ธนาคาร หรือ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ เท่านั้น การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้จึงไม่ง่ายสำหรับเทรดเดอร์ทั่วไป อย่างไรก็ตาม เราสามารถติดตามข้อมูล COMEX ได้ที่โบรกเกอร์ หรือธนาคารต่าง ๆ โดยปกติผมจะดูจาก โบรกเกอร์ EBC เป็นหลัก เนื่องจาก เป็นโบรกเกอร์ ที่ได้รับอนุญาตจาก FCA ของสหราชอาณาจักรและ ASIC ของออสเตรเลีย ที่สามารถให้บริการข้อมูลเหล่านี้แก่นักลงทุน

ความท้าทายในการประมวลผลข้อมูล COMEX :
เนื่องจากข้อมูล COMEX ที่อัปเดตในระดับ Tick-level (ทุกมิลลิวินาที) มีปริมาณสูงและต้องการระบบที่มี ประสิทธิภาพสูง สำหรับการประมวลผล ข้อมูลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างระบบที่สามารถรองรับการประมวลผลในระดับสูง โดยเฉพาะข้อมูลที่มีการอัปเดตในระดับมิลลิวินาที

3. การประมวลผล 
ข้อมูล Comex ของ EBC ไม่เพียงแค่แต่ให้ข้อมูลพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงฟังก์ชันเสริมต่างๆ เช่น การตรวจจับความไม่สมดุลในตลาด (Unbalance) และ POC (Point of Control) ซึ่งช่วยให้ผู้เทรดสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลาย และช่วยในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น


ข้างต้นที่กล่าวมานั้นคือ ความแตกต่างของการถือครองทองคำทั้ง 4 ประเภท
ซึ่งทั้ง 4 วิธีนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ในการใช้งานจริง เราสามารถเลือกใช้และปรับให้เหมาะสมกับความต้องการในการเทรดของเราได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่