เนื่องด้วยเดือน สิงหาคม 2566 ผมได้ไปรับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างย่านพระรามเก้ามาราคา 15 ล้านบาท จากผู้ขายฝากชื่อนางสาวเอ
มีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งจะต้องไถ่ถอนในเดือน สิงหาคม 2567 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
ผ่านการติดต่อกับนายหน้าบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งก็ทำธุรกรรมที่สำนักงานที่ดินอย่างถูกต้อง และผู้ขายฝากก็ชำระดอกเบี้ยรายเดือนตามปกติ
พอถึงเดือน สิงหาคม 2567 ทางนางสาวเอก็ติดต่อมาขอไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดตามปกติ
เมื่อไปยังสำนักงานที่ดินพบว่านางสาวเอได้มีการโอนสิทธิ์ไถ่ถอนการขายฝากให้นายบี ซึ่งนางสาวเอและนายบีได้ทำธุรกรรมถูกต้องที่สำนักงานที่ดิน
ทางนายบีจึงเป็นผู้ทำธุรกรรมไถ่ถอนขายฝากกับผมที่สำนักงานที่ดิน และทำธุรกรรมกันเรียบร้อยทุกประการและผมได้รับเช็คเงินสดเรียบร้อย
ภายหลังผมทราบจากทนายของนายซีว่า นางสาวเอไปตกลงขายที่ดินแปลงนี้และแปลงข้างเคียงให้กับนายซี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567
โดยนายซีได้วางเงินมัดจำไว้หนึ่งล้านบาท แต่นางสาวเอกลับไม่ไปทำธุรกรรมขายที่ดินให้นายซี
และกลับไปขายที่ดินให้นายบีซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิ์ไถ่ถอนการขายฝากแทน
นายซีจึงฟ้องร้องนางสาวเอ นายบี และผม โดยหาว่าผมสมรู้ร่วมคิดในการโอนที่ดินแปลงนี้ให้บุคคลที่สามเพื่อไม่ให้ที่ดินแปลงนี้ถูกขายให้นายซี
โดยให้ร่วมกันชดใช้เงินมัดจำ หนึ่งล้านบาท และเงินค่าเสียโอกาสของเขาอีกห้าสิบล้านบาท รวมถึงการขอให้เพิกถอนธุรกรรมไถ่ถอนขายฝากทั้งหมด
แต่ผมไม่ได้เป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพียงแค่ให้นายบีไถ่ถอนการขายฝากคืนได้ เพราะนางสาวเอโอนสิทธิ์ไถ่ถอนให้นายบีไปแล้ว
รวมถึงไม่รู้ถึงการตกลงซื้อขายที่ดินนี้ด้วย ทั้งระหว่าง นางสาวเอ กับนายบี หรือถึงกับนายซี
แบบนี้ผมมีโอกาสแพ้คดีนี้แค่ไหนครับ ลองถามทนายแล้วเขาบอกว่าเราสู้ยังไงก็ชนะเพราะเราไม่ได้ขาย เป็นแค่การไถ่ถอนอย่างถูกต้องตามหน้าที่
แต่ก็ยังแอบไม่สบายใจนิดหน่อยครับ เผื่อที่นี่จะมีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายและมีประสบการณ์ทางด้านนี้ครับ
ผมถูกฟ้องแพ่งจากการรับซื้อฝากที่ดินครับ
มีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งจะต้องไถ่ถอนในเดือน สิงหาคม 2567 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
ผ่านการติดต่อกับนายหน้าบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งก็ทำธุรกรรมที่สำนักงานที่ดินอย่างถูกต้อง และผู้ขายฝากก็ชำระดอกเบี้ยรายเดือนตามปกติ
พอถึงเดือน สิงหาคม 2567 ทางนางสาวเอก็ติดต่อมาขอไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดตามปกติ
เมื่อไปยังสำนักงานที่ดินพบว่านางสาวเอได้มีการโอนสิทธิ์ไถ่ถอนการขายฝากให้นายบี ซึ่งนางสาวเอและนายบีได้ทำธุรกรรมถูกต้องที่สำนักงานที่ดิน
ทางนายบีจึงเป็นผู้ทำธุรกรรมไถ่ถอนขายฝากกับผมที่สำนักงานที่ดิน และทำธุรกรรมกันเรียบร้อยทุกประการและผมได้รับเช็คเงินสดเรียบร้อย
ภายหลังผมทราบจากทนายของนายซีว่า นางสาวเอไปตกลงขายที่ดินแปลงนี้และแปลงข้างเคียงให้กับนายซี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567
โดยนายซีได้วางเงินมัดจำไว้หนึ่งล้านบาท แต่นางสาวเอกลับไม่ไปทำธุรกรรมขายที่ดินให้นายซี
และกลับไปขายที่ดินให้นายบีซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิ์ไถ่ถอนการขายฝากแทน
นายซีจึงฟ้องร้องนางสาวเอ นายบี และผม โดยหาว่าผมสมรู้ร่วมคิดในการโอนที่ดินแปลงนี้ให้บุคคลที่สามเพื่อไม่ให้ที่ดินแปลงนี้ถูกขายให้นายซี
โดยให้ร่วมกันชดใช้เงินมัดจำ หนึ่งล้านบาท และเงินค่าเสียโอกาสของเขาอีกห้าสิบล้านบาท รวมถึงการขอให้เพิกถอนธุรกรรมไถ่ถอนขายฝากทั้งหมด
แต่ผมไม่ได้เป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพียงแค่ให้นายบีไถ่ถอนการขายฝากคืนได้ เพราะนางสาวเอโอนสิทธิ์ไถ่ถอนให้นายบีไปแล้ว
รวมถึงไม่รู้ถึงการตกลงซื้อขายที่ดินนี้ด้วย ทั้งระหว่าง นางสาวเอ กับนายบี หรือถึงกับนายซี
แบบนี้ผมมีโอกาสแพ้คดีนี้แค่ไหนครับ ลองถามทนายแล้วเขาบอกว่าเราสู้ยังไงก็ชนะเพราะเราไม่ได้ขาย เป็นแค่การไถ่ถอนอย่างถูกต้องตามหน้าที่
แต่ก็ยังแอบไม่สบายใจนิดหน่อยครับ เผื่อที่นี่จะมีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายและมีประสบการณ์ทางด้านนี้ครับ