ผลการล้างDPF ของ Benz C300 Bluetech

วันนี้ขอแชร์ข้อมูลการล้างท่อ DOC และท่อ DPF ของรถเบนซ์ C300 Bluetech Diesel มาให้ชมกันครับ
ก่อนอื่น DOC & DPF, SCR คืออะไร ?
-DOC คือ Diesel Oxidation Catalyst (ช่างบ้านเราจะเรียกกันว่า ท่อแคต)
-DPF คือ Diesel Particulate Filter (ตัวกรองเขม่าดำและไอเสีย)
-SCR คือ Selective Catalytic Reduction จะขอกล่าวถึงในช่วงท้ายๆละกัน
ในรถเครื่องดีเซลรุ่นใหม่ๆ มักจะต้องมี ท่อ2ท่อนี้ เพื่อทำหน้าที่กรองเขม่าดำ(ในท่อ DOC)และเผาเขม่าดำ(ในท่อDPF)
ในรถดีเซลบางรุ่น จะรวมท่อ DOC และ DPF รวมไว้ในท่อเดียวกัน ท่อก็จะยาวๆหน่อย เช่นของMazda CX5 Diesel ที่จะรวมท่อทั้ง2 เข้าด้วยกัน แต่ในรถเบนซ์มีทั้งรวม 2 ท่อเข้าด้วยกัน และแยกท่อเป็นส่วนๆ
คัน C300 Bluetech Diesel คันนี้จะแยกออกเป็น 2 ท่อ ราคาท่อละประมาณ 85,xxx.-(ราคานี้ได้ส่วนลด 25%แล้ว) ราคารวม2ท่อก็คูณ2 เข้าไป เป็น 170,xxx.-
ส่วนท่อDPF ของเบนซ์รุ่น GLE350 Diesel นั้น จะรวมท่อทั้ง2 เข้าไว้เป็นท่อเดียว ราคาเบิกห้าง อันละ 248,900.-บาท(ราคายังไม่มีส่วนลด)
เจ้าของรถทั้ง2คัน นำรถเข้าศูนย์ เมื่อscan ด้วยcompueter  แล้วพบว่า ท่อตันสนิท ทางศูนย์บริการจึงได้ทำการเสนอราคาท่อใหม่แก่ เจ้าของรถทั้ง2คัน ปรากฎว่าใครก็ตามที่ได้ยินราคาท่อDPF ของห้างแล้ว ก็คงตาเหลือกแทบถลนออกมานอกเบ้า ท่านเจ้าของรถจึงหาข้อมูลอย่างจ้าละหวั่นและพบว่ามีบริการล้างท่อDPF ด้วยเครื่องล้างและน้ำยาสลายผลึกขี้เถ้าโดยเฉพาะ จึงรีบติดต่อมานัดและทำการล้าง
ข้อมูลเบื้องต้น
-Benz C300 Bluetech Diesel
-รถวิ่งไปแล้ว 25x,xxx กม ไม่เคยล้างท่อDPF มาก่อนเลย
-Code  ฟ้องว่า P0420 หมายถึงท่อDPF ตัน
-ท่อ DOC และ DPF แยกกันเป็นเอกเทศ
ผลการล้างท่อ : ติดตามชมสภาพของเศษสิ่งสกปรกและเศษเขม่าดำและเศษขี้เถ้าแดง
สภาพท่อก่อนล้างที่เต็มไปด้วยเขม่าดำ จับหนาเตอะ

สภาพน้ำดำมะเมื่อมที่อยู่ในแทงค์ ดำเหมือนสีน้ำมันดิบ Crude Oil กันเลยทีเดียว

ภาพนี้คือเศษเขม่าดำ และ ขี้เถ้าซัลเฟต(มีสภาพเป็นผลึกแข็งสีแดง จะจับอยู่ตามรูต่างๆในท่อDPF อันเป็นสาเหตุแห่งการอุดตัน)
ปริมาณขี้เถ้าโคลนนี้ หนาเกือบๆ 1ข้อนิ้วมือ ซึ่งนับว่าหนาและเยอะมากแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งท่านเจ้าของรถซึ่งยืนดูการล้างด้วยตนเองนั้น ถึงกับอึ้งในปริมาณของขี้โคลนที่ถูกน้ำยาสลายและชะล้างออกมา

ภาพนี้เป็นสภาพของท่อที่ล้างเสร็จแล้ว มีสภาพใสปิ๊งเลย เมื่อนำเอา Blower  แรงสูงลองเป่าผ่านดู ปรากฎว่าลมสามารถระบายออกมาได้อย่างดีเยี่ยม

หลังจากเป่าแห้งและประกอบท่อกลับเข้าตัวรถ ก็ได้เวลาที่เจ้าของรถ ทำการทดสอบผลการล้างด้วยตัวเอง โดยมีช่างล้างท่อนั่งประกบไปด้วย
ผลของการล้าง :
-เจ้าของรถบอกว่า อัตราเร่งดีมาก  คันเร่งเบามากเหมือนรถใหม่
-กลิ่นไอเสียท้ายรถ ไม่เหม็นรุนแรงเหมือนเมื่อตอนท่อตัน
-เมื่อขับไปสักระยะหนึ่ง เครื่องหมาย Engine ที่โชว์อยู่ก็ดับหายไปแล้ว(เมื่อมีการขับทดสอบเครื่องยนต์นั้น
เครื่องยนต์ก็มีการ learning  ไปในตัว เมื่อ ecu ประมวลผลแล้วว่าท่อไม่ตันแล้ว เครื่องหมาย engine ก็ดับไปเองโดยไม่ต้องไปทำการลบโค้ด)

ท่านเจ้าของรถรู้สึกดึใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้อัตราเร่งกลับคืนมา อีกทั้งยังได้ประหยัดเงินแสน(ประมาณ 17x,xxxX ในราคาเพียงหลักพันเท่านั้น)
คราวนี้กลับมาดูเรื่อง SCR  กันบ้าง SCR คืออะไร ? ทำหน้าที่อะไร ?
-SCR คือ Selective Catalytic Reduction คือระบบควบคุมการปล่อยมลพิษขั้นสูงที่ช่วยลดการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) จากท่อไอเสียให้เหลือเกือบศูนย์ในยานยนต์ ท่อนี้จะทำงานร่วมกับ DEF (Diesel Exhuase Fluid) บ้านเรามักเรียกกันว่า Adblue คือเป็นยูเรียน้ำ ที่ทำหน้าที่เกิดปฎิกิริยากับ NOx, CO(คาร์บอนมอน็อคไซด์) ช่วยลดความเป็นพิษของไนโตรเจนออกไซด์ ให้เป็นน้ำ H2O และคาร์บอนไดออกไซด์ CO2
มีช่างเครื่องยนต์จำนวนมากๆ และเจ้าของรถจำนวนมาก ที่เข้าใจคลาดเคลื่อนไปแบบออกทะเลเลย ว่า Adblue นี้ช่วยลดการตันของท่อDPF ขอให้ท่านดูรูปประกอบครับ

จากรูป จะเห็นว่าท่อ SCR อยู่เกือบท้ายสุด ก่อนหม้อพักปลายท่อ และจะเห็นว่า Adblue นั้น จะอยู่หน้าท่อSCR และอยู่หลังท่อ DPF โดยที่ท่อ DOC(Diesel Oxidation Catalyst) แยกคนละส่วนกับท่อ DPF(Diesel Particulate Filter)
-Adblue จะถูกฉีดเข้าไปทำปฎิกิริยา หลังจากที่ไอเสียได้ผ่านท่อ DPF มาแล้ว 
ดังนั้น Adblue นั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ในการทำให้เกิดการอุดตันหรือไม่อุดตันของท่อ DPF เลย มันมีหน้าที่แค่เข้าไปทำปฎิกิริยากับ NOx และ CO ในท่อ SCR  เท่านั้น
หวังว่าข้อมูลเบื้องต้นนี้จะทำให้ผู้อ่าน มีความเข้าใจในเครื่องยนต์ดีเซลสมัยใหม่ได้ และจะได้เพิ่มการบำรุงรักษารถยนต์ของท่านได้ตามสมควรกันนะครับ
Credit :  รูปภาพของระบบท่อไอเสียข้างต้นนั้น ก็ขอยืมมาจากในเน็ตครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่