มาม่า เผยคนไทยติดกับดัก ‘รายจ่าย’ ชี้ไม่ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ‘บะหมี่’ ยังขายดี





มาม่า เผยคนไทยติดกับดัก ‘รายจ่าย’ ชี้ไม่ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ‘บะหมี่’ ยังขายดี

มาม่า เผยคนไทยติดกับดัก ‘รายจ่าย’ ชี้ไม่ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ‘บะหมี่’ ยังขายดี

เมื่อวันที่ 21 พฤศิจกายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บนเวทีสัมมนา “THAILAND 2025 โอกาส-ความหวัง-ความจริง” จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ โดย นายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวในหัวข้อ “โอกาส-ธุรกิจ-คนรุ่นใหม่” ว่าปัจจุบันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถึง 50 ปี ยังเป็นอัพเทรนด์ แม้ยอดบริโภคต่อคนจะไม่โตเร็วเหมือนสมัยก่อน 

เมื่อ 2 ปีก่อน คนไทยบริโภค 52 ซองต่อคนต่อปี ล่าสุด 55 ซองต่อคนต่อปี คงต้องดูว่ายังจำเป็นต้องสร้างโปรดักส์ใหม่ๆ ออกมามากขนาดไหน ในเมื่อธุรกิจหลักยังไม่ได้อยู่ในช่วงดาวน์เทรนด์ ยังต้องโฟกัสจุดเดิมก่อน แต่ก็ต้องเปิดเซ็กชั่นใหม่ออกมาด้วย ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถูกจำกัดเรื่องราคา ใน 25 ปี การปรับราคาขายรวม 3 ครั้ง ในปี 2541 ปี 2551 ล่าสุดปี 2565 ขึ้นครั้งละ 1 บาทต่อซอง

“ช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมาจะมีบะหมี่สำเร็จรูปจากเกาหลีและต่างชาติเข้ามาตีตลาด ขาย 35 บาท 45 บาท และกินส่วนแบ่งตลาดไปมาก แต่ทางกลับกัน เราเห็นวิกฤตเป็นโอกาส เห็นการทำลายกำแพงราคาของบะหมี่ที่ถูกจำกัด 6 บาท 7 บาท คนไม่ยอมกินบะหมี่ราคาแพงกว่านี้เลย เราเคยออกบะหมี่โอเรียลทัลคิทเช่น ขาย 13-14 บาท ขายไม่ได้ ไม่โต เพราะถูกสินค้าต่างประเทศเข้ามาทลายกำแพง เราเลยรีแบรนด์ใหม่เป็น ‘มาม่าโอเค’ ขายราคา 15 บาท และได้รับความนิยม มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 10% เพราะถูกบะหมี่เกาหลีทลายเพดานราคาไปแล้ว

วันนี้มาม่าโอเคไม่ใช่สินค้าของแพงนะ เป็นสินค้าคุณภาพเดียวกับต่างชาติเลย และคนรุ่นใหม่ชอบ เพราะแม้จะเป็นบะหมี่พรีเมียม แต่ราคาเข้าถึงง่าย และกำลังทำให้คนอายุ 30 กว่าๆ รู้จักมากขึ้น รวมถึงเปิดร้านมาม่าสเตชั่นด้วยที่อาร์ซีเอ ขายดีมาก” นายพันธ์กล่าว

นายพันธ์กล่าวว่า ปัจจุบันมาม่ามีส่วนแบ่งการตลาดมากสุด เพราะในธุรกิจมีผู้ประกอบการน้อยราย เป็นธุรกิจที่โหดร้าย เพราะกำไรน้อย และยากการบริหารต้นทุนให้มีกำไร มาม่าเป็นบริษัทหนึ่งที่ทำธุรกิจอยู่ได้และกำไรอัตราค่อนข้าง คุมต้นทุนได้ค่อนข้างดี เป็นจุดแข็งในการทำธุรกิจ และเป็นความท้าทายในการควบคุมต้นทุนให้ดี จะทำให้มีกำลังไปต่อสู้กับยอดขาย รวมถึงการรักษากระแสเงินสด

“ถามว่ากลัวไหมถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นแล้วคนจะไม่มาซื้อมาม่า ผมไม่กลัวเลย เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีแค่ไหน คนอยู่ในระดับลูกค้าหลักของมาม่าก็ไม่รวยขึ้น เพราะติดกับดักรายจ่าย ผมมองว่าตอนนี้คนมีรายได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะรายจ่ายรออยู่ ยิ่งรายได้เพิ่มยิ่งเป็นหนี้เพิ่ม อยากให้รัฐทำเศรษฐกิจดีขึ้น รวมถึงอยากให้มีการให้ความรู้เรื่องการออมด้วย ขณะเดียวกันปัญหาต่างๆ ยังไม่ได้ถูกแก้อย่างเป็นระบบ เช่น การศึกษา คอร์รัปชั่น คอลเซ็นเตอร์ เป็นต้น” นายพันธ์กล่าว

นายพันธ์กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาของมาม่าคือสร้างคนไม่ทัน เด็กใหม่ๆ ไม่ได้อยากมาทำงานบริษัทแล้ว ต้องสร้างบรรยากาศความน่าทำงาน เราไม่เคยติด 1 ใน 50 บริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากมาทำงาน เคยสัมภาษณ์เด็กๆ ถามว่าเวิร์คฟรอมโฮมได้หรือไม่

ข่าวจาก : มติชนออนไลน์

https://www.matichon.co.th/economy/news_4912806
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่