คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
พอจะเข้าใจสิ่งที่คุณถาม แต่เขียนแบบนี้ล่อรถทัวร์ไปหน่อย ขอตอบตามความเข้าใจผมยังงี้ถูกไหม คือครอบครัวที่ไม่สนใจกระแส คือเน้นให้ลูกเรียนใกล้บ้านง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องติว ไม่ต้องแข่งขันอะไรมากมาย จะเป็นยังไงกันบ้าง?
บังเอิญผมมีเพื่อนที่คิดแบบนี้พอดีเลยขอเล่าสู่กันฟังละกัน
เพื่อนคนที่ว่า ต่อต้านการแข่งขันเข้าโรงเรียนดัง ไม่อยากให้ลูกเสียเวลาไปติว ไม่ต้องการให้ลูกเดินทางไปโรงเรียนดังที่อยู่ไกล ๆ เลยเน้นความง่ายเข้าว่า คือให้ลูกเรียนอะไรก็ได้ที่สะดวกที่สุด ตอนเด็ก ให้เรียนหน้าปากซอย โตขึ้นมาหน่อย ให้เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน
ส่วนผมเน้นทางสายกลาง เลือกโรงเรียนที่พอจะมั่นใจว่ามีคุณภาพ แต่เดินทางไม่ไกลมาก มีติวบ้าง มีสอบแข่งขันบ้าง แต่ไม่มากเกินไป
ผ่านมาสิบกว่าปี สรุปว่าเพื่อนผมต้องเปลี่ยนแนวทางกลางคัน เพราะพบว่าโรงเรียนที่คิดว่าลูกจะเรียนอย่างสบายนั้นมันห่วยกว่าที่คิด และห่วยทั้งครูและนักเรียน จนทำให้ลูกไม่มีความสุข สุดท้ายต้องลาออกกลางเทอมเพราะทนไม่ได้กับตรรกะความคิดของครูและพฤติกรรมของเพื่อน
หลังจากนั้นก็เปลี่ยนแนวคิด ยอมเอาลูกเข้าโรงเรียนดัง ยอมหาเส้นสายเพื่อฝากลูกเข้ากลางเทอม ซึ่งกลายเป็นความคิดที่ถูกทางเพราะลูกมีความสุขขึ้น เรียนดีขึ้น จนล่าสุดสอบเข้ามหาวิทยาลัยคณะที่ต้องการได้
ส่วนลูกผมไม่ขอเปรียบเทียบ เอาเป็นว่าพอไปได้ ไม่ได้เก่งเลิศเลอแต่ก็มั่นใจว่ามีอนาคตดีพอสมควร
เขียนแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนธรรมดา ๆ ไม่มีชื่อเสียงจะห่วยเหมือนกันทุกที่ อย่าเหมารวมแบบนั้น แค่จะบอกว่าการเรียนโรงเรียนธรรมดา ๆ มันมี “ความเสี่ยง” ที่จะเจอครูห่วย ๆ และนักเรียนที่มาตรฐานต่ำมาฉุดให้ลูกเราตกต่ำไปด้วย
ไอ้ประโยคที่ว่า “โรงเรียนไหนก็เหมือนกัน“ จึงไม่ใช่ความจริง
บังเอิญผมมีเพื่อนที่คิดแบบนี้พอดีเลยขอเล่าสู่กันฟังละกัน
เพื่อนคนที่ว่า ต่อต้านการแข่งขันเข้าโรงเรียนดัง ไม่อยากให้ลูกเสียเวลาไปติว ไม่ต้องการให้ลูกเดินทางไปโรงเรียนดังที่อยู่ไกล ๆ เลยเน้นความง่ายเข้าว่า คือให้ลูกเรียนอะไรก็ได้ที่สะดวกที่สุด ตอนเด็ก ให้เรียนหน้าปากซอย โตขึ้นมาหน่อย ให้เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน
ส่วนผมเน้นทางสายกลาง เลือกโรงเรียนที่พอจะมั่นใจว่ามีคุณภาพ แต่เดินทางไม่ไกลมาก มีติวบ้าง มีสอบแข่งขันบ้าง แต่ไม่มากเกินไป
ผ่านมาสิบกว่าปี สรุปว่าเพื่อนผมต้องเปลี่ยนแนวทางกลางคัน เพราะพบว่าโรงเรียนที่คิดว่าลูกจะเรียนอย่างสบายนั้นมันห่วยกว่าที่คิด และห่วยทั้งครูและนักเรียน จนทำให้ลูกไม่มีความสุข สุดท้ายต้องลาออกกลางเทอมเพราะทนไม่ได้กับตรรกะความคิดของครูและพฤติกรรมของเพื่อน
หลังจากนั้นก็เปลี่ยนแนวคิด ยอมเอาลูกเข้าโรงเรียนดัง ยอมหาเส้นสายเพื่อฝากลูกเข้ากลางเทอม ซึ่งกลายเป็นความคิดที่ถูกทางเพราะลูกมีความสุขขึ้น เรียนดีขึ้น จนล่าสุดสอบเข้ามหาวิทยาลัยคณะที่ต้องการได้
ส่วนลูกผมไม่ขอเปรียบเทียบ เอาเป็นว่าพอไปได้ ไม่ได้เก่งเลิศเลอแต่ก็มั่นใจว่ามีอนาคตดีพอสมควร
เขียนแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนธรรมดา ๆ ไม่มีชื่อเสียงจะห่วยเหมือนกันทุกที่ อย่าเหมารวมแบบนั้น แค่จะบอกว่าการเรียนโรงเรียนธรรมดา ๆ มันมี “ความเสี่ยง” ที่จะเจอครูห่วย ๆ และนักเรียนที่มาตรฐานต่ำมาฉุดให้ลูกเราตกต่ำไปด้วย
ไอ้ประโยคที่ว่า “โรงเรียนไหนก็เหมือนกัน“ จึงไม่ใช่ความจริง
แสดงความคิดเห็น
คนที่ชอบบอกเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน บอกครอบครัวสนับสนุนลูกดีๆคือตามใจเด็ก แล้วชีวิตคนพูดเป็นไงมั้งคะ
เรียนรร.เทศบาล รรใกล้บ้านพอ พวกเอกชน สอบรรรัฐท็อปส์ๆ ไม่ต้องไปสอบ
บอกครอบครัวสนับสนุนลูกดีว่าขยะ
พ่อแม่ให้เงิน คอนโดสภาพดี เด็กโฟกัสเรียนอย่างเดียวเต็มที่ บอกว่าตามใจเด็กเสียคน ให้ลำบากมั้ง พื้นฐานครอบครัวไม่สำคัญ ไม่สนับสนุน อยากกินของดีไปหาเงินเอาเอง
ชีวิตคนพูด คนคิด เป็นไงมั้งคะ