เหตุผลที่ไม่ควรบีบริดสีดวงจนแตก วิธีรักษาอย่างถูกต้อง


ริดสีดวงทวาร เป็นปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่กระตุ้นให้เกิดความดันในช่องท้อง เช่น การเบ่งอุจจาระบ่อยๆ แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่สามารถสร้างความเจ็บปวดและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่น้อย

ริดสีดวงทวารคืออะไร?
ริดสีดวงทวารเกิดจาก หลอดเลือดดำบริเวณลำไส้ใหญ่และทวารหนักโป่งพอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก
ริดสีดวงทวารภายใน: เกิดเหนือรูทวารประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก มักไม่เจ็บปวด แต่มีเลือดออกระหว่างขับถ่าย
ริดสีดวงทวารภายนอก: เกิดบริเวณปากทวารหนัก สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ มักมีอาการปวดและเลือดออก

บีบริดสีดวงทวารให้แตกได้ไหม?
คำตอบคือไม่ควรทำเด็ดขาด การบีบริดสีดวงให้แตกไม่ใช่ทางออกของการรักษา แต่อาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น
เลือดออกมากเกินควบคุม ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเสียเลือด แผลเปิด เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณทวารหนัก
ภาวะแทรกซ้อน เช่น  การอักเสบหรือติดเชื้อในกระแสเลือด

อาการของริดสีดวงทวาร
แม้บางคนจะไม่มีอาการชัดเจน แต่ผู้ที่มีริดสีดวงทวารมักพบอาการต่อไปนี้
-ปวดบริเวณทวารหนักหรือปวดร้าวไปหลัง
-มีเลือดออกขณะขับถ่าย
-ทวารหนักบวม หรือมีก้อนเนื้อนูน
-อาการคัน ระคายเคือง หรือแสบบริเวณทวารหนัก
หากมีเลือดออกจำนวนมากหรือปวดรุนแรง ควรพบแพทย์ทันที

การรักษาริดสีดวงทวาร
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
-แช่น้ำอุ่น วันละ 15 นาที เพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด
-รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
-หลีกเลี่ยงการเบ่ง ขณะขับถ่าย และอย่านั่งห้องน้ำนานเกินไป
-ใช้ยาเหน็บริดสีดวงหรือครีมลดอาการอักเสบ ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
การรักษาทางการแพทย์
-การฉีดยา เพื่อให้หลอดเลือดที่โป่งพองหดตัวลง
-การรัดยาง วิธีนี้ไม่เจ็บมากนัก และก้อนริดสีดวงจะหลุดไปเองใน 1-2 สัปดาห์
-การผ่าตัด สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เลเซอร์หรืออินฟาเรด

การป้องกันริดสีดวงทวาร
ป้องกันการเกิดริดสีดวงด้วยวิธีง่ายๆ
รับประทานอาหารที่มี กากใยสูง เช่น มะละกอ กล้วย และบล็อคโคลี
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้อุจจาระนุ่ม
หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระ และเบ่งขณะขับถ่าย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย

การบีบริดสีดวงให้แตกไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง หากมีอาการริดสีดวง ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างถูกวิธี และปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
สุขภาพดีเริ่มต้นที่การดูแลตัวเอง หมั่นสังเกตอาการ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อห่างไกลจากโรคริดสีดวงทวารอย่างยั่งยืน!

อ่านเพิ่มเติม ที่ HDcare Blog
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่