FCD หรือ Foreign Currency Deposit คืออะไร? ในช่วงที่รัฐบาลไทยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี ก็ดูเหมือนว่า ธนาคารพาณิชย์จะคงอัตราดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์เฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 0.70% ต่อปี ในขณะที่ดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 1.80% ต่อปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร (อ้างอิง) ทำให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยยังคงต่ำอยู่ในตอนนี้ค่ะ
ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับบัญชีอีกประเภทหนึ่งที่ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจให้กับทุกคน อย่างบัญชี FCD โดย FCD คืออะไร? เปิดบัญชียังไง ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5.25% จริงไหม และที่สำคัญคุณน้าได้รวบรวม 7 ธนาคารที่มีการให้บริการบัญชี FCD อีกด้วย ห้ามพลาดในบทความนี้
*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนการลงทุนแต่อย่างใด อีกทั้งบัญชี FCD จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและควรโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
บัญชี FCD คืออะไร?
บัญชี FCD ย่อมาจาก Foreign Currency Deposit คือ บัญชีเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ สำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีความต้องการฝากเงินในสกุลเงินอื่น ๆ โดยบัญชี FCD มีสกุลเงินต่างประเทศให้เลือกหลากหลายถึง 15 สกุลเงิน ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์สหรัฐ (USD), เยน (JPY), ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD), ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP), หยวน (CNY) และสกุลเงินอื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับจุดเด่นของบัญชี FCD คือ ผู้ฝากเงินสามารถครองสกุลเงินอื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบแลกเปลี่ยนเงินตรา เพราะคุณสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินในเวลาใดก็ได้ และการฝากเงินบัญชี FCD ยังช่วยให้คุณสามารถเก็บสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้ การฝากเงินในบัญชี FCD ยังได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากทั่วไปอีกด้วย โดยบางธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5.25% ต่อปี
🔍 เกร็ดความรู้ ดอกเบี้ยที่ได้รับจาก FCD เสียภาษีไหม?
สำหรับดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชี FCD จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีบุคคลธรรมดา ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี แต่หากดอกเบี้ยเงินฝาก FCD เกิน คุณจะต้องเสียภาษี 15% สำหรับบุคคลธรรมดาตามที่กรมสรรพากรเป็นผู้กำหนดค่ะ
นอกจากนี้ เงินฝากและดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชี FCD ไม่ต้องเสียภาษี จนกว่าคุณจะแปลงเงินกลับมาเป็นสกุลเงินบาทนั่นเองค่ะ
บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงจริงไหม?
บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงจริงค่ะ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะได้รับอิทธิพลมาจากสกุลเงินตราต่างประเทศที่คุณเลือกฝากเงินค่ะ หากประเทศไหนมีการกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่า บัญชี FCD ก็จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 5.25% ทำให้หลาย ๆ ธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยในบัญชี FCD สูงสุดถึง 5.00% ต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ 2.50% เท่านั้น ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์นั่นเองค่ะ
อย่างไรก็ตาม บางธนาคารก็ให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไปนะคะ ดังนั้น คุณควรศึกษาเงื่อนไขให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนค่ะ
ประเภทบัญชี FCD มีอะไรบ้าง?
ประเภทบัญชี FCD มี 3 ประเภท ตามตารางด้านล่างนี้
FCD (Foreign Currency Deposit) เหมาะกับใคร?
นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ และต้องการกระจายความเสี่ยงจากความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยน
บุคคลธรรมดาทั่วไปที่ต้องการเก็บเงินเย็นไว้ใช้จ่ายในอนาคต
ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
ข้อดี-ข้อเสียของ FCD
ข้อดี
ลดความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยน
สามารถวางแผนเป้าหมายและคำนวณค่าใช้จ่ายในอนาคตได้
การทำธุรกรรมในต่างประเทศมีความสะดวกและรวดเร็ว
ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง
รองรับการให้บริการหลายสกุลเงิน
ข้อเสีย
มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด
ไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคบ.)
การเปิดบัญชี FCD มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง?
1. วางแผนเป้าหมายการลงทุนของคุณให้ดี ก่อนตัดสินใจเลือกประเภทบัญชีเงินฝาก FCD และสกุลเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ
2. ศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญชี FCD เนื่องจากแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน
3. ศึกษารายละเอียดการฝากเงินขั้นต่ำของแต่ละธนาคาร
4. ศึกษาค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการฝาก-ถอนเงิน, ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน หรือค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยอดเงินคงเหลือต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ เป็นต้น
5. ศึกษาความเสี่ยงด้านอัตราการแลกเปลี่ยน
FCD เปิดบัญชียังไง?
1. ศึกษาเงื่อนไขของแต่ละธนาคารและเลือกธนาคารที่ให้บริการ โดยในปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ให้เลือกหลายธนาคาร
2. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสมัครให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างชาติ เป็นต้น
3. เปิดบัญชี FCD กับธนาคารที่คุณให้ความสนใจ ซึ่งบางธนาคารสามารถสมัครผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของธนาคารได้
4. เลือกสกุลเงินที่คุณต้องการฝากเงิน
5. ศึกษาการฝากเงินขั้นต่ำตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด
ข้อควรรู้เกี่ยวกับบัญชี FCD
จากที่กล่าวไปข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ทุกธนาคารที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูง สำหรับบัญชี FCD และมาพร้อมกับการเก็บค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและพิจารณาเงื่อนไขก่อนว่า บัญชี FCD ที่คุณสนใจคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่นำไปลงทุนหรือไม่? เพื่อให้การลงทุนของคุณมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สรุปบัญชี FCD คืออะไร?
ทั้งหมดนี้ก็คือ บัญชี FCD หรือบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศค่ะ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอีกทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับใครที่ต้องการฝากเงินในรูปแบบของสกุลเงินต่างประเทศ โดยในแต่ละธนาคารก็จะให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน แต่เห็นได้ชัดว่า ประเภทบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือนจะให้อัตราดอกเบี้ยสูงเป็นพิเศษ ซึ่งสูงถึง 5.25% ต่อปี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบัญชี FCD จะให้อัตราดอกเบี้ยสูง แต่ก็มาพร้อมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม อีกทั้งบางธนาคารยังให้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับเงินฝากขั้นต่ำอีกด้วย ดังนั้น ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกฝากเงิน FCD ควรคำนวณถึงความเหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายให้ดีก่อนนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ
บัญชี FCD คืออะไร? ดอกเบี้ยสูง 5.25% จริงไหม!
ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับบัญชีอีกประเภทหนึ่งที่ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจให้กับทุกคน อย่างบัญชี FCD โดย FCD คืออะไร? เปิดบัญชียังไง ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5.25% จริงไหม และที่สำคัญคุณน้าได้รวบรวม 7 ธนาคารที่มีการให้บริการบัญชี FCD อีกด้วย ห้ามพลาดในบทความนี้
*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนการลงทุนแต่อย่างใด อีกทั้งบัญชี FCD จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและควรโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
บัญชี FCD คืออะไร?
บัญชี FCD ย่อมาจาก Foreign Currency Deposit คือ บัญชีเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ สำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีความต้องการฝากเงินในสกุลเงินอื่น ๆ โดยบัญชี FCD มีสกุลเงินต่างประเทศให้เลือกหลากหลายถึง 15 สกุลเงิน ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์สหรัฐ (USD), เยน (JPY), ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD), ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP), หยวน (CNY) และสกุลเงินอื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับจุดเด่นของบัญชี FCD คือ ผู้ฝากเงินสามารถครองสกุลเงินอื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบแลกเปลี่ยนเงินตรา เพราะคุณสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินในเวลาใดก็ได้ และการฝากเงินบัญชี FCD ยังช่วยให้คุณสามารถเก็บสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้ การฝากเงินในบัญชี FCD ยังได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากทั่วไปอีกด้วย โดยบางธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5.25% ต่อปี
🔍 เกร็ดความรู้ ดอกเบี้ยที่ได้รับจาก FCD เสียภาษีไหม?
สำหรับดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชี FCD จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีบุคคลธรรมดา ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี แต่หากดอกเบี้ยเงินฝาก FCD เกิน คุณจะต้องเสียภาษี 15% สำหรับบุคคลธรรมดาตามที่กรมสรรพากรเป็นผู้กำหนดค่ะ
นอกจากนี้ เงินฝากและดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชี FCD ไม่ต้องเสียภาษี จนกว่าคุณจะแปลงเงินกลับมาเป็นสกุลเงินบาทนั่นเองค่ะ
บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงจริงไหม?
บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงจริงค่ะ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะได้รับอิทธิพลมาจากสกุลเงินตราต่างประเทศที่คุณเลือกฝากเงินค่ะ หากประเทศไหนมีการกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่า บัญชี FCD ก็จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 5.25% ทำให้หลาย ๆ ธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยในบัญชี FCD สูงสุดถึง 5.00% ต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ 2.50% เท่านั้น ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์นั่นเองค่ะ
อย่างไรก็ตาม บางธนาคารก็ให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไปนะคะ ดังนั้น คุณควรศึกษาเงื่อนไขให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนค่ะ
ประเภทบัญชี FCD มีอะไรบ้าง?
ประเภทบัญชี FCD มี 3 ประเภท ตามตารางด้านล่างนี้
นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ และต้องการกระจายความเสี่ยงจากความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยน
บุคคลธรรมดาทั่วไปที่ต้องการเก็บเงินเย็นไว้ใช้จ่ายในอนาคต
ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
ข้อดี-ข้อเสียของ FCD
ข้อดี
ลดความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยน
สามารถวางแผนเป้าหมายและคำนวณค่าใช้จ่ายในอนาคตได้
การทำธุรกรรมในต่างประเทศมีความสะดวกและรวดเร็ว
ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง
รองรับการให้บริการหลายสกุลเงิน
ข้อเสีย
มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด
ไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคบ.)
การเปิดบัญชี FCD มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง?
1. วางแผนเป้าหมายการลงทุนของคุณให้ดี ก่อนตัดสินใจเลือกประเภทบัญชีเงินฝาก FCD และสกุลเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ
2. ศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญชี FCD เนื่องจากแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน
3. ศึกษารายละเอียดการฝากเงินขั้นต่ำของแต่ละธนาคาร
4. ศึกษาค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการฝาก-ถอนเงิน, ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน หรือค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยอดเงินคงเหลือต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ เป็นต้น
5. ศึกษาความเสี่ยงด้านอัตราการแลกเปลี่ยน
FCD เปิดบัญชียังไง?
1. ศึกษาเงื่อนไขของแต่ละธนาคารและเลือกธนาคารที่ให้บริการ โดยในปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ให้เลือกหลายธนาคาร
2. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสมัครให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างชาติ เป็นต้น
3. เปิดบัญชี FCD กับธนาคารที่คุณให้ความสนใจ ซึ่งบางธนาคารสามารถสมัครผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของธนาคารได้
4. เลือกสกุลเงินที่คุณต้องการฝากเงิน
5. ศึกษาการฝากเงินขั้นต่ำตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด
จากที่กล่าวไปข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ทุกธนาคารที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูง สำหรับบัญชี FCD และมาพร้อมกับการเก็บค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและพิจารณาเงื่อนไขก่อนว่า บัญชี FCD ที่คุณสนใจคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่นำไปลงทุนหรือไม่? เพื่อให้การลงทุนของคุณมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งหมดนี้ก็คือ บัญชี FCD หรือบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศค่ะ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอีกทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับใครที่ต้องการฝากเงินในรูปแบบของสกุลเงินต่างประเทศ โดยในแต่ละธนาคารก็จะให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน แต่เห็นได้ชัดว่า ประเภทบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือนจะให้อัตราดอกเบี้ยสูงเป็นพิเศษ ซึ่งสูงถึง 5.25% ต่อปี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบัญชี FCD จะให้อัตราดอกเบี้ยสูง แต่ก็มาพร้อมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม อีกทั้งบางธนาคารยังให้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับเงินฝากขั้นต่ำอีกด้วย ดังนั้น ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกฝากเงิน FCD ควรคำนวณถึงความเหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายให้ดีก่อนนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ