คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ไม่มีหลักฐานระบุชัดเจนครับ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ก็นำเสนอภาพเป็นเพียงขุนนางที่เป็น “ชายชู้”
เรื่องที่ว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ หรือเป็นพราหมณ์ อาศัยการตีความสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์เป็นหลักครับ
หนึ่งในการตีความที่มีมานานแล้วคือ ขุนวรวงศาธิราชอาจเป็นเชื้อพระวงศ์ราชนิกุล หรือเป็นญาติของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งเป็นการตีความของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยพิจารณาจากราชทินนาม “วรวงศาธิราช” (แปลว่า ‘ผู้มีวงศ์ตระกูลกษัตริย์อันประเสริฐ’) ว่าเป็นนามอย่างราชนิกุล
เรื่องนี้สอดคล้องกับหลักฐานดัตช์ที่ระบุว่าเมื่อพระเจ้าปราสาททองยังเป็นขุนนางในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมเคยมีราชทินนามใกล้เคียงกันคือ “ออกญาศรีวรวงศ์” โดยพระเจ้าปราสาททองเป็นราชินิกุลหรือพระญาติข้างพระมารดาของพระเจ้าทรงธรรม และภายหลังพระอนุชาของพระเจ้าปราสาททองก็ได้รับตำแหน่งเดียวกัน
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าที่พงศาวดารระบุว่าขุนวรวงศาธิราชเป็น “ข้าหลวงเดิม” ที่จริงเห็นจะเป็นญาติของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พิจารณาจากสถานะ “ข้าหลวงเดิม” ซึ่งหมายถึงผู้ที่เคยถวายงานรับใช้มาแต่ก่อน (มักใช้เรียกคนเก่าของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ก่อนครองราชย์) จึงมีข้อสันนิษฐานว่าขุนวรวงศาธิราชน่าจะรู้จักกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์มาก่อนเป็นเวลานานแล้ว
.
การตีความในเวลาต่อมาคือสมมติฐานของ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร ว่าด้วยตำแหน่งพระสนมเอกทั้งสี่ของอยุทธยาซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากแว่นแคว้นต่างๆ ของอยุทธยา (ส่วนใหญ่ไม่ได้มีหลักฐานชัดเจน) โดยตำแหน่ง “ท้าวศรีสุดาจันทร์” ถูกเสนอว่าอาจเป็นตำแหน่งพระสนมเอกเชื้อสายละโว้-อโยธยาซึ่งสืบราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) จึงนำมาสู่การตีความว่าขุนวรวงศาธิราชที่อาจเป็นญาติกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ น่าจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลในพระราชพงศาวดารเกี่ยวกับนายจัน น้องชายขุนวรวงศาธิราช ซึ่งภายหลังได้เป็นพระมหาอุปราช ว่าอาศัยอยู่ที่บ้านมหาโลก ซึ่งเป็นชื่อสถานที่บริเวณลำน้ำป่าสัก เส้นทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ของแว่นแคว้นละโว้โบราณที่เป็นต้นเค้าของราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดี (ปัจจุบันนิยมเรียกโดยสมมติว่าราชวงศ์ละโว้-อโยธยา) และยังมีวัดมหาโลกอยู่บริเวณหัวรอนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาใกล้แม่น้ำป่าสัก นำมาสู่สมมติฐานว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของกลุ่มการเมืองเชื้อสายละโว้-อโยธยา
อย่างไรก็ตาม การนับราชวงศ์ในบริบทรัฐไทยโบราณไม่ได้เคร่งครัดกับการยึดถือวงศ์ข้างบิดาเป็นหลัก ในทางปฏิบัติการมีเชื้อสายเกี่ยวดองกันก็นับว่าเป็นราชวงศ์เดียวกันได้ ดังที่ปรากฏในเอกสารต้นรัตนโกสินทร์ เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” นับกษัตริย์อยุทธยา 20 พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค (เว้นขุนวรวงศาธิราช) ว่า “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” ทั้งหมด
การแยกราชวงศ์ว่าเป็น ละโว้-อโยธยา หรือ สุพรรณภูมิ เพิ่งปรากฏมาแยกเรียกกันในสมัยหลัง ผู้เขียนเห็นว่าควรจะมองในแง่ของการแยกขั้วอำนาจทางการเมืองของกลุ่มนครรัฐช่วงต้นอยุทธยา มากกว่าการแยกเป็นคนละราชวงศ์ (ในบริบทของความหมายแบบโบราณ)
.
จดหมายเหตุ Peregrinação ของ ฟือร์เนา เม็งดึซ ปิงตู (Fernão Mendes Pinto) นักสำรวจชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาสยามในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช ระบุว่าน้องเขยของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ (คือนายจัน) กล่าวกันว่าเคยเป็นช่างตีเหล็ก (ferreyro) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ วิเคราะห์ว่า เทคโนโลยีผลิตเครื่องมือเหล็กในยุคนั้นต้องอาศัยผู้ชำนาญการที่สะสมสืบกันมานาน ไม่ใช่สิ่งที่ใครทำได้โดยง่าย ตระกูลของนายจันจึงไม่น่าใช่คนสามัญต่ำต้อย
.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาของ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) ที่เรียบเรียงใน ค.ศ. 1639 (พ.ศ. 2182) รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ให้ข้อมูลว่าขุนชินราชเป็น “sorcerer” (ตามฉบับพิมพ์ภาษาอังกฤษ) หมายถึง ผู้วิเศษ ผู้มีเวทมนตร์ พ่อมด หมอผี ทุกวันจะเข้าเฝ้าแปลนิทานโบราณและพงศาวดารต่างประเทศเป็นภาษาราชสำนักเล่าถวายแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และสมเด็จพระยอดฟ้า
ข้อมูลเหล่านี้ สะท้อนว่าขุนชินราชเป็นผู้มีความรู้ทางภาษาศาสตร์และอักษรศาสตร์ และไม่น่ามีชาติตระกูลต่ำ นำมาสู่การวิเคราะห์ว่า ขุนชินราชน่าจะเป็นผู้ประกอบพระราชพิธีในราชสำนัก เช่น กลุ่มพราหมณ์ปุโรหิต โดยกฎมณเฑียรบาลมาตรา 111 กล่าวถึง “พราหมณาจารยโยคีโภคีอาดารศรีวาจารพญารี” และกฎมณเฑียรบาลมาตรา 112 ระบุว่าพราหมณ์ผู้ใหญ่ที่ประกอบพระราชพิธีคือ พระมหาราชครู พระราชครู พระอาลักษณ์ พระโหราธิบดี พระศรีมโหสถ พระศรีศักดิ์ มีหน้าที่อย่างหนึ่งคือ “บังคับผู้ชุบโหมเวทมนตร”
นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม “หมอ” ผู้ประกอบพิธีกรรมในราชสำนัก เช่น หมอผีหลวง หมอสะเดาะเคราะห์ ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลมาตรา 138 ว่าเมื่อพระอัครมเหสีประสูติพระราชกุมาร “…หฤไทยราชภักดีเบีกหมอผีหลวง หลวงโขมดเอากะบานผีเสีย...ครั้นสมภพสนานแล้ว ลูกเธอรับยื่นแก่สนองพระโอษฐ ๆ ยื่นแก่แม่นม นาลิกา ๑ เบีกหมอปัตติเสดาะเคราะห์สนัดดึง...หมอเสดาะเคราะห์ ๒๐…”
.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ตั้งสมมติฐานว่า กลุ่มการเมืองฝ่ายแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชที่ขึ้นมามีอำนาจในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นกลุ่มที่จัดว่าเป็นผู้รู้พิธีกรรมราชสำนัก การบริหารการปกครอง และเทคโนโลยี ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดี ที่เสียอำนาจทางการเมืองไปให้กับราชวงศ์กษัตริย์เมืองสุพรรณภูมิ
พิเศษ ตั้งข้อสังเกตว่า กษัตริย์ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีไม่เคยถูกฆ่า ดังเช่นสมเด็จพระราเมศวรโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) แห่งสุพรรณภูมิ แล้วได้กลับไปครองเมืองลพบุรีที่เป็นฐานอำนาจเดิม ต่อมาสมเด็จพญารามโอรสพระราเมศวรถูกชิงราชสมบัติโดยสมเด็จพระนครอินทร์แห่งสุพรรณภูมิ ก็ถูกส่งไปอยู่เมืองปทาคูจาม จึงตีความว่าราชวงศ์นี้อาจถูกยกฐานะเป็นตระกูลศักดิ์สิทธิ์ เหมือนกับพราหมณ์ที่กฎหมายสมัยอยุทธยากำหนดไม่ให้รับโทษถึงขั้นประหาร ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีควรได้รับการเลี้ยงดูสืบมาให้อยู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรมในราชสำนัก โดยไม่ให้มีกำลังอำนาจใดๆ (แต่ยังมีเอกสารอื่นอย่างพงศาวดารของฟาน ฟลีต หรือสังคีติยวงศ์ที่ระบุว่ากษัตริย์ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีคือสมเด็จพญารามถูกสมเด็จพระนครอินทร์สำเร็จโทษ)
.
การตีความนี้จึงนำมาสู่การนำเสนอภาพขุนวรวงศาธิราชเป็นพราหมณ์ครั้งแรกในภาพยนตร์สุริโยไท (2544) ตามมาด้วยซีรีย์แม่หยัว (2567)
แต่การนำเสนอนี้จะนำมาสู่คำถามได้ว่า หากขุนวรวงศาธิราชเป็นวรรณะพราหมณ์ที่ได้รับการละเว้นโทษประหาร เหตุใดจึงถูกสำเร็จโทษ นอกจากนี้ยังมีเอกสารรุ่นหลังอย่างคำให้การชาวกรุงเก่าที่ให้ข้อมูลว่า “ขุนชินราชเกิดวันจันทร์ ตระกูลอำมาตย์” แทนที่จะระบุว่าเป็นตระกูลพราหมณ์ ดังนั้นเรื่องที่ว่าขุนวรวงศาธิราชเป็นพราหมณ์อาจยังคงต้องทบทวนอยู่
ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่อาจเป็นไปได้คือเป็นขุนนางที่มีเชื้อสายสกุลพราหมณ์ แต่ไม่ได้ถือเพศเป็นพราหมณ์แล้ว ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีสกุลขุนนางที่สืบเชื้อสายพราหมณ์อยู่หลายสกุล และข้าราชการเชื้อสายพราหมณ์บางคนยังได้รับมอบหมายให้มีส่วนในการประกอบพิธีกรรมของราชสำนักด้วย
แต่อย่างที่กล่าวคือ เรื่องขุนวรวงศาธิราชเป็นพราหมณ์ยังเป็นเพียงการตีความเท่านั้น
อ่านบทความเต็มที่ "การตีความเกี่ยวกับขุนวรวงศาธิราช - ชายชู้ เชื้อพระวงศ์ พราหมณ์ ราชบัณฑิต"
https://www.facebook.com/photo?fbid=899589668985665&set=a.545594077718561
เรื่องที่ว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ หรือเป็นพราหมณ์ อาศัยการตีความสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์เป็นหลักครับ
หนึ่งในการตีความที่มีมานานแล้วคือ ขุนวรวงศาธิราชอาจเป็นเชื้อพระวงศ์ราชนิกุล หรือเป็นญาติของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งเป็นการตีความของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยพิจารณาจากราชทินนาม “วรวงศาธิราช” (แปลว่า ‘ผู้มีวงศ์ตระกูลกษัตริย์อันประเสริฐ’) ว่าเป็นนามอย่างราชนิกุล
เรื่องนี้สอดคล้องกับหลักฐานดัตช์ที่ระบุว่าเมื่อพระเจ้าปราสาททองยังเป็นขุนนางในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมเคยมีราชทินนามใกล้เคียงกันคือ “ออกญาศรีวรวงศ์” โดยพระเจ้าปราสาททองเป็นราชินิกุลหรือพระญาติข้างพระมารดาของพระเจ้าทรงธรรม และภายหลังพระอนุชาของพระเจ้าปราสาททองก็ได้รับตำแหน่งเดียวกัน
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าที่พงศาวดารระบุว่าขุนวรวงศาธิราชเป็น “ข้าหลวงเดิม” ที่จริงเห็นจะเป็นญาติของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พิจารณาจากสถานะ “ข้าหลวงเดิม” ซึ่งหมายถึงผู้ที่เคยถวายงานรับใช้มาแต่ก่อน (มักใช้เรียกคนเก่าของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ก่อนครองราชย์) จึงมีข้อสันนิษฐานว่าขุนวรวงศาธิราชน่าจะรู้จักกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์มาก่อนเป็นเวลานานแล้ว
.
การตีความในเวลาต่อมาคือสมมติฐานของ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร ว่าด้วยตำแหน่งพระสนมเอกทั้งสี่ของอยุทธยาซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากแว่นแคว้นต่างๆ ของอยุทธยา (ส่วนใหญ่ไม่ได้มีหลักฐานชัดเจน) โดยตำแหน่ง “ท้าวศรีสุดาจันทร์” ถูกเสนอว่าอาจเป็นตำแหน่งพระสนมเอกเชื้อสายละโว้-อโยธยาซึ่งสืบราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) จึงนำมาสู่การตีความว่าขุนวรวงศาธิราชที่อาจเป็นญาติกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ น่าจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลในพระราชพงศาวดารเกี่ยวกับนายจัน น้องชายขุนวรวงศาธิราช ซึ่งภายหลังได้เป็นพระมหาอุปราช ว่าอาศัยอยู่ที่บ้านมหาโลก ซึ่งเป็นชื่อสถานที่บริเวณลำน้ำป่าสัก เส้นทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ของแว่นแคว้นละโว้โบราณที่เป็นต้นเค้าของราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดี (ปัจจุบันนิยมเรียกโดยสมมติว่าราชวงศ์ละโว้-อโยธยา) และยังมีวัดมหาโลกอยู่บริเวณหัวรอนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาใกล้แม่น้ำป่าสัก นำมาสู่สมมติฐานว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของกลุ่มการเมืองเชื้อสายละโว้-อโยธยา
อย่างไรก็ตาม การนับราชวงศ์ในบริบทรัฐไทยโบราณไม่ได้เคร่งครัดกับการยึดถือวงศ์ข้างบิดาเป็นหลัก ในทางปฏิบัติการมีเชื้อสายเกี่ยวดองกันก็นับว่าเป็นราชวงศ์เดียวกันได้ ดังที่ปรากฏในเอกสารต้นรัตนโกสินทร์ เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” นับกษัตริย์อยุทธยา 20 พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค (เว้นขุนวรวงศาธิราช) ว่า “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” ทั้งหมด
การแยกราชวงศ์ว่าเป็น ละโว้-อโยธยา หรือ สุพรรณภูมิ เพิ่งปรากฏมาแยกเรียกกันในสมัยหลัง ผู้เขียนเห็นว่าควรจะมองในแง่ของการแยกขั้วอำนาจทางการเมืองของกลุ่มนครรัฐช่วงต้นอยุทธยา มากกว่าการแยกเป็นคนละราชวงศ์ (ในบริบทของความหมายแบบโบราณ)
.
จดหมายเหตุ Peregrinação ของ ฟือร์เนา เม็งดึซ ปิงตู (Fernão Mendes Pinto) นักสำรวจชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาสยามในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช ระบุว่าน้องเขยของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ (คือนายจัน) กล่าวกันว่าเคยเป็นช่างตีเหล็ก (ferreyro) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ วิเคราะห์ว่า เทคโนโลยีผลิตเครื่องมือเหล็กในยุคนั้นต้องอาศัยผู้ชำนาญการที่สะสมสืบกันมานาน ไม่ใช่สิ่งที่ใครทำได้โดยง่าย ตระกูลของนายจันจึงไม่น่าใช่คนสามัญต่ำต้อย
.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาของ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) ที่เรียบเรียงใน ค.ศ. 1639 (พ.ศ. 2182) รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ให้ข้อมูลว่าขุนชินราชเป็น “sorcerer” (ตามฉบับพิมพ์ภาษาอังกฤษ) หมายถึง ผู้วิเศษ ผู้มีเวทมนตร์ พ่อมด หมอผี ทุกวันจะเข้าเฝ้าแปลนิทานโบราณและพงศาวดารต่างประเทศเป็นภาษาราชสำนักเล่าถวายแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และสมเด็จพระยอดฟ้า
ข้อมูลเหล่านี้ สะท้อนว่าขุนชินราชเป็นผู้มีความรู้ทางภาษาศาสตร์และอักษรศาสตร์ และไม่น่ามีชาติตระกูลต่ำ นำมาสู่การวิเคราะห์ว่า ขุนชินราชน่าจะเป็นผู้ประกอบพระราชพิธีในราชสำนัก เช่น กลุ่มพราหมณ์ปุโรหิต โดยกฎมณเฑียรบาลมาตรา 111 กล่าวถึง “พราหมณาจารยโยคีโภคีอาดารศรีวาจารพญารี” และกฎมณเฑียรบาลมาตรา 112 ระบุว่าพราหมณ์ผู้ใหญ่ที่ประกอบพระราชพิธีคือ พระมหาราชครู พระราชครู พระอาลักษณ์ พระโหราธิบดี พระศรีมโหสถ พระศรีศักดิ์ มีหน้าที่อย่างหนึ่งคือ “บังคับผู้ชุบโหมเวทมนตร”
นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม “หมอ” ผู้ประกอบพิธีกรรมในราชสำนัก เช่น หมอผีหลวง หมอสะเดาะเคราะห์ ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลมาตรา 138 ว่าเมื่อพระอัครมเหสีประสูติพระราชกุมาร “…หฤไทยราชภักดีเบีกหมอผีหลวง หลวงโขมดเอากะบานผีเสีย...ครั้นสมภพสนานแล้ว ลูกเธอรับยื่นแก่สนองพระโอษฐ ๆ ยื่นแก่แม่นม นาลิกา ๑ เบีกหมอปัตติเสดาะเคราะห์สนัดดึง...หมอเสดาะเคราะห์ ๒๐…”
.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ตั้งสมมติฐานว่า กลุ่มการเมืองฝ่ายแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชที่ขึ้นมามีอำนาจในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นกลุ่มที่จัดว่าเป็นผู้รู้พิธีกรรมราชสำนัก การบริหารการปกครอง และเทคโนโลยี ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดี ที่เสียอำนาจทางการเมืองไปให้กับราชวงศ์กษัตริย์เมืองสุพรรณภูมิ
พิเศษ ตั้งข้อสังเกตว่า กษัตริย์ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีไม่เคยถูกฆ่า ดังเช่นสมเด็จพระราเมศวรโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) แห่งสุพรรณภูมิ แล้วได้กลับไปครองเมืองลพบุรีที่เป็นฐานอำนาจเดิม ต่อมาสมเด็จพญารามโอรสพระราเมศวรถูกชิงราชสมบัติโดยสมเด็จพระนครอินทร์แห่งสุพรรณภูมิ ก็ถูกส่งไปอยู่เมืองปทาคูจาม จึงตีความว่าราชวงศ์นี้อาจถูกยกฐานะเป็นตระกูลศักดิ์สิทธิ์ เหมือนกับพราหมณ์ที่กฎหมายสมัยอยุทธยากำหนดไม่ให้รับโทษถึงขั้นประหาร ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีควรได้รับการเลี้ยงดูสืบมาให้อยู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรมในราชสำนัก โดยไม่ให้มีกำลังอำนาจใดๆ (แต่ยังมีเอกสารอื่นอย่างพงศาวดารของฟาน ฟลีต หรือสังคีติยวงศ์ที่ระบุว่ากษัตริย์ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีคือสมเด็จพญารามถูกสมเด็จพระนครอินทร์สำเร็จโทษ)
.
การตีความนี้จึงนำมาสู่การนำเสนอภาพขุนวรวงศาธิราชเป็นพราหมณ์ครั้งแรกในภาพยนตร์สุริโยไท (2544) ตามมาด้วยซีรีย์แม่หยัว (2567)
แต่การนำเสนอนี้จะนำมาสู่คำถามได้ว่า หากขุนวรวงศาธิราชเป็นวรรณะพราหมณ์ที่ได้รับการละเว้นโทษประหาร เหตุใดจึงถูกสำเร็จโทษ นอกจากนี้ยังมีเอกสารรุ่นหลังอย่างคำให้การชาวกรุงเก่าที่ให้ข้อมูลว่า “ขุนชินราชเกิดวันจันทร์ ตระกูลอำมาตย์” แทนที่จะระบุว่าเป็นตระกูลพราหมณ์ ดังนั้นเรื่องที่ว่าขุนวรวงศาธิราชเป็นพราหมณ์อาจยังคงต้องทบทวนอยู่
ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่อาจเป็นไปได้คือเป็นขุนนางที่มีเชื้อสายสกุลพราหมณ์ แต่ไม่ได้ถือเพศเป็นพราหมณ์แล้ว ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีสกุลขุนนางที่สืบเชื้อสายพราหมณ์อยู่หลายสกุล และข้าราชการเชื้อสายพราหมณ์บางคนยังได้รับมอบหมายให้มีส่วนในการประกอบพิธีกรรมของราชสำนักด้วย
แต่อย่างที่กล่าวคือ เรื่องขุนวรวงศาธิราชเป็นพราหมณ์ยังเป็นเพียงการตีความเท่านั้น
อ่านบทความเต็มที่ "การตีความเกี่ยวกับขุนวรวงศาธิราช - ชายชู้ เชื้อพระวงศ์ พราหมณ์ ราชบัณฑิต"
https://www.facebook.com/photo?fbid=899589668985665&set=a.545594077718561
แสดงความคิดเห็น
ขุนวรวงศาธิราช ตามประวัติศาสตร์จริงๆ สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด
การที่แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ ได้ลูกที่มีเชื้อสายละไว้ +สุพรรณภูมิ ขึ้นครงออโยธยา
ย่อมดีกว่าไม่ใช่หรือ ทำไมต้องเอาไปประสมกับสายพราหมณ์
อยากทราบว่าจริงๆแล้วเป็นมายังไง หรือเป็นเรื่องชิงรักหักสวาทมากกว่าเรื่องการเมือง