กระทู้นี้จะพูดถึงใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. สรุปข้อมูลสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการในปัจจุบัน (ปี 2567)
2. มีสวัสดิการข้าราชการแล้ว จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพหรือไม่ เท่าไหร่จึงจะเพียงพอ ไม่ซ้ำซ้อน เกินความจำเป็น
3. หากต้องเลือกประกันสุขภาพ ควรเลือกแบบไหน?
*************************
1. ข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นหลักประกันสุขภาพที่สามารถพึ่งพาได้ตลอดชีวิต สามารถเบิกได้ตามสิทธิอย่างไม่จำกัดตามระเบียบฯ ที่กำหนด เพียงแต่ต้องรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น (ดูเพิ่มเติมสถานพยาบาลของรัฐตามประกาศกระทรวงการคลัง)
สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ข้อมูลจากหนังสือแจ้งเวียนที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของทางราชการ จะพบว่า สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
ครอบคลุมในการรักษาทุกโรคและทุกวิธีการรักษาอันเป็นการรักษาทางการแพทย์ พูดง่ายๆ คือ เมื่อไปรักษาแล้ว คุณหมอสั่งให้มีการรักษาอย่างไร ก็จะสามารถใช้สิทธิการรักษาได้ตามนั้น เพียงแต่การรักษาดังกล่าวจะถูกจำกัดด้วยวงเงินตามที่ระเบียบทางราชการกำหนด ขอยกตัวอย่างหมวดที่น่าสนใจ ดังนี้
หมวดที่ 1 ค่าห้องรวมค่าอาหาร ห้องธรรมดาเบิกได้ไม่เกิน 400 บาท ห้องพิเศษ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท
หมวดที่ 2 ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ในหมวดนี้ หากเป็นข้อบ่งชี้การรักษาทางการแพทย์แม้จะมีจำนวนค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ก็สามารถเบิกได้ทั้งหมด เช่น เครื่องกระตุ้นสมองเส้นที่ 10 (Vagal Never Stimulator) สำหรับผู้ป่วยลมชัก สามารถเบิกได้ไม่เกิน 900,000 บาท ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า หากมีเทคโนยีทางการแพทย์ที่พัฒนาก้าวหน้าไปและมีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดีกว่า มีราคาแพงกว่าตามที่ระเบียบกำหนด จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนต่างที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม
หมวดที่ 3 ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด สำหรับกรณีการรักษามะเร็งด้วยยามุ่งเป้าและยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) สามารถเบิกได้โดยให้เบิกจ่ายจากต้นสังกัด (หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0416.2/ว375 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2567) การฟอกเลือดแบบ Online Hemodiafiltration (OL-HDF) เป็นเทคโนโลยีฟอกเลือดประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะต้องจ่ายจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนต่างที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม เป็นต้น
หมวดที่ 6 ค่าตรวจวินิจฉัยและค่ารังสีรักษา เช่น ค่า CT SCAN ค่า MRI เบิกได้ตั้งแต่ 1,000 – 16,000 บาทตามประเภทรายการ
หมวดที่ 13 ค่าบริการทันตกรรม
หมวดที่ 15 แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เช่นการฝังเข็ม การนวดเพื่อการบำบัดฟื้นฟู
(ค่าบริการทางอรรถบำบัด โดยภาพรวมสามารถเบิกได้ตามการรักษาและมีบางรายการอาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเล็กน้อย)
ข้อมูลการรอคิวของการรักษาจาก รพ.ของรัฐ กรณีอาการไม่ฉุกเฉิน
- ผ่าตัดส่องกล้อง ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี
- การทำ MRI หรือ CT-SCAN ประมาณ 3 – 5 เดือน
จากข้อมูลข้างต้นจะสรุปได้ว่า สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการสามารถพึ่งพาได้ตลอดชีวิต เพียงแต่ต้องรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือสถานพยาบาลของรัฐซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก มีค่ารักษาพยาบาลในวงเงินที่จำกัดตามที่ระเบียบราชการกำหนด และหากต้องการรักษาที่ใช้เทคโลยีในการรักษาชั้นสูงอาจจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่เกิดขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง : เว็บไซต์
https://www.nhso.go.th/lgo/download/9
มีสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ควรทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมหรือไม่
1. สรุปข้อมูลสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการในปัจจุบัน (ปี 2567)
2. มีสวัสดิการข้าราชการแล้ว จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพหรือไม่ เท่าไหร่จึงจะเพียงพอ ไม่ซ้ำซ้อน เกินความจำเป็น
3. หากต้องเลือกประกันสุขภาพ ควรเลือกแบบไหน?
*************************
1. ข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นหลักประกันสุขภาพที่สามารถพึ่งพาได้ตลอดชีวิต สามารถเบิกได้ตามสิทธิอย่างไม่จำกัดตามระเบียบฯ ที่กำหนด เพียงแต่ต้องรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น (ดูเพิ่มเติมสถานพยาบาลของรัฐตามประกาศกระทรวงการคลัง)
สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ข้อมูลจากหนังสือแจ้งเวียนที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของทางราชการ จะพบว่า สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการครอบคลุมในการรักษาทุกโรคและทุกวิธีการรักษาอันเป็นการรักษาทางการแพทย์ พูดง่ายๆ คือ เมื่อไปรักษาแล้ว คุณหมอสั่งให้มีการรักษาอย่างไร ก็จะสามารถใช้สิทธิการรักษาได้ตามนั้น เพียงแต่การรักษาดังกล่าวจะถูกจำกัดด้วยวงเงินตามที่ระเบียบทางราชการกำหนด ขอยกตัวอย่างหมวดที่น่าสนใจ ดังนี้
หมวดที่ 1 ค่าห้องรวมค่าอาหาร ห้องธรรมดาเบิกได้ไม่เกิน 400 บาท ห้องพิเศษ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท
หมวดที่ 2 ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ในหมวดนี้ หากเป็นข้อบ่งชี้การรักษาทางการแพทย์แม้จะมีจำนวนค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ก็สามารถเบิกได้ทั้งหมด เช่น เครื่องกระตุ้นสมองเส้นที่ 10 (Vagal Never Stimulator) สำหรับผู้ป่วยลมชัก สามารถเบิกได้ไม่เกิน 900,000 บาท ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า หากมีเทคโนยีทางการแพทย์ที่พัฒนาก้าวหน้าไปและมีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดีกว่า มีราคาแพงกว่าตามที่ระเบียบกำหนด จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนต่างที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม
หมวดที่ 3 ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด สำหรับกรณีการรักษามะเร็งด้วยยามุ่งเป้าและยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) สามารถเบิกได้โดยให้เบิกจ่ายจากต้นสังกัด (หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0416.2/ว375 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2567) การฟอกเลือดแบบ Online Hemodiafiltration (OL-HDF) เป็นเทคโนโลยีฟอกเลือดประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะต้องจ่ายจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนต่างที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม เป็นต้น
หมวดที่ 6 ค่าตรวจวินิจฉัยและค่ารังสีรักษา เช่น ค่า CT SCAN ค่า MRI เบิกได้ตั้งแต่ 1,000 – 16,000 บาทตามประเภทรายการ
หมวดที่ 13 ค่าบริการทันตกรรม
หมวดที่ 15 แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เช่นการฝังเข็ม การนวดเพื่อการบำบัดฟื้นฟู
(ค่าบริการทางอรรถบำบัด โดยภาพรวมสามารถเบิกได้ตามการรักษาและมีบางรายการอาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเล็กน้อย)
ข้อมูลการรอคิวของการรักษาจาก รพ.ของรัฐ กรณีอาการไม่ฉุกเฉิน
- ผ่าตัดส่องกล้อง ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี
- การทำ MRI หรือ CT-SCAN ประมาณ 3 – 5 เดือน
จากข้อมูลข้างต้นจะสรุปได้ว่า สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการสามารถพึ่งพาได้ตลอดชีวิต เพียงแต่ต้องรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือสถานพยาบาลของรัฐซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก มีค่ารักษาพยาบาลในวงเงินที่จำกัดตามที่ระเบียบราชการกำหนด และหากต้องการรักษาที่ใช้เทคโลยีในการรักษาชั้นสูงอาจจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่เกิดขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง : เว็บไซต์ https://www.nhso.go.th/lgo/download/9