มิเชลอาชญากรหนุ่ม ลักเล็กขโมยน้อย ชิงทรัพย์วิ่งราวทำหมดอะไรก็ได้ที่เป็นมิจฉาชีพเจ้าตัวไม่เลือกทั้งนั้น
แต่วันนึงหลังขโมยรถยนต์คนอื่นมา มิเชลดันไปสังหารตำรวจที่ติดตามตัวเขา นั่นทำให้ชายหนุ่มต้องหนีหัวซุกหัวซุน
แต่ก็นั่นล่ะ ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกเข็ดสักเท่าไหร่
มิเชลเข้ามาในปารีสอีกครั้งเพื่อพบกับ แพทริเซีย นักศึกษาสาวอเมริกันที่มาฝึกงานที่ New York Herald Tribune ..
เจ้าตัวพยายามเกลี้ยกล่อมให้แพทริเซียไปใช้ชีวิตกับเขาที่อิตาลี (ก็คือกะจะหนียาวๆไปเลยล่ะ)
แพทริเซียลังเลอยู่ว่าตัวเองจะเอาอย่างไรต่อไปดี...
Breathless (ในชื่อฝรั่งเศส: À bout de soufflé...) เป็นภาพยนตร์แนวอาชญากรรม
เขียนบทและกำกับโดย Jean-Luc Godard 1 ในหนังที่สร้างแรงกระเพื่อมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตามมา
เหมือนเป็นแม่แบบให้กับวงการภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน (French New Wave)
French New Wave คือแนวการทำหนังรูปแบบใหม่ ฉีกกฎเดิมๆ ของหนังสมัยก่อน
มีความกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆมากมาย ในยุค 1950 การรวมกันของคนรักหนังที่ไม่มีทุนมากนัก
แน่ล่ะทำแบบแหวกแนวสมัยนั้นก็ยากที่จะหานายทุนที่พร้อมจะให้การสนับสนุน
ซึ่งตัวของ Jean-Luc Godard ผู้กำกับเรื่องนี้ คือ 1 ในผู้ที่เป็นผู้นำของคลื่นลูกนี้
ด้วยการดึงดูดความสนใจอย่างมากด้วยสไตล์ภาพที่โดดเด่น.. การใช้การตัดต่อแบบกระโดด (Jump Cut) ที่ไม่ธรรมดา..
การหันหน้ามาคุยกับกล้อง.. รวมถึงการถ่ายแบบ Hand-Held ที่ทำให้คนดูเหมือนได้ติดตามตัวละครตังนั้นแบบใกล้ชิด
องค์ประกอบต่างๆทำให้หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งเงินทั้งกล่อง หลังจากที่ลงทุนไปเพียงแค่ 80,000 เหรียญสหรัฐฯเท่านั้น
แวบนึงผมมีความรู้สึกเข้ามาว่ามีบางอย่างของความสัมพันธ์ของคนคู่นี้ที่คล้ายๆกับ Bonnie and Clyde มหาโจรยุค 1930 ของสหรัฐฯ
แต่ก็แค่นั้นล่ะครับ ไม่ได้อะไรหรอก มันคงเป็นชั่วขณะที่การกระทำของแพทริเซีย
ที่ทำให้ผมนึกไปถึงตัวของบอนนี่ในช่วงเวลาที่คลั่งไคล้ในทุกการกระทำของไคลด์แฟนหนุ่มอย่างมาก
แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องผิดมหันต์ยังไงก็ตามที
ที่สิ่งที่คล้ายและมันทัชใจคนดูก็คือคาแรคเตอร์ครับ หาก Bonnie and Clyde คือตัวแทนของความอิสระเสรี (ในทางร้าย)
ของคนรุ่นใหม่หลังยุคเศรษฐกิจถดถอยของอเมริกาช่วงปี 1930
ด้านของ มิเชล กับ แพทริเซีย ก็กลายเป็น Iconic ของวัยรุ่นที่มาได้จังหวะพอเหมาะพอเจาะอย่างยิ่ง
ในยุคบุปผาชนเบ่งบาน (เริ่มทศวรรษที่ 60) ในเรื่องของเสรีภาพในการดำรงชีวิตที่ไม่ยึดติดกับกรอบ ขนบธรรมเนียมประเพณี
ซึ่งคาแรคเตอร์ที่ว่าของมิเชลนั้น มันโดดเด่นมากในเรื่องความเป็นอิสระ (แต่ไม่เป็นแนวฮิปปี้)
จนทำให้วัยรุ่นฝรั่งเศสในช่วงนั้นทำท่าทางยียวนคล้ายๆกับมิเชลกันไปหมด (ต้องไปดูเองว่า คาแรคเตอร์ของมิเชลนั้นเป็นยังไง)
เอาจริงตัวมิเชลที่นำแสดงโดย Jean-Paul Belmondo เขาไม่ได้ดูหล่อเลยนะครับ
แต่เจ้าตัวมีเสน่ห์บางอย่างที่ดึงดูดคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี
ตัวของมิเชลเป็นโจรกระจอกชิงทรัพย์ไม่เลือกไม่ว่าจะอะไร ใช้ชีวิตโดยไม่มีจุดหมาย
(ซึ่งเราจะไม่รู้ตื้นลึกหนาบางอะไรของเขาที่ผ่านมาทั้งสิ้น) จนกระทั่งมาเจอกับแพทริเซียนางเอกของเรา
อารมณ์มิเชลจึงเหมือนกับว่าอยากหยุดทุกอย่างไว้ที่เธอคนนี้ล่ะ
ขณะที่แพทริเซีย (รับบทโดย Jean Seberg นักแสดงสาวสวยชาวอเมริกันที่จากไปก่อนวัยอันควรในปี 1979 อายุเพียงแค่ 40 เท่านั้น)
หญิงสาวสวยผู้โดนมิเชลตกเข้าให้ แพทริเซียเป็นนักเขียนสาว (ขายหนังสือพิมพ์ด้วย) ที่มีความฝัน มีความมั่นใจสูง
เป้าหมายในชีวิตก็แรงกล้า ซึ่งต่างจากมิเชลราวฟ้ากับเหว แพทริเซียมีอนาคตที่ดีรออยู่แน่ ส่วนมิเชลมืดมิดแทบไม่มีอะไรดี
ผมว่าคนที่เรียนทางด้านภาพยนตร์น่าจะได้ชมหนังเรื่องนี้กันทุกคนนะครับ
เพราะถือว่าเป็น 1 ในภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งเป็นรากฐานของวงการหนังในยุคต่อๆมา
และที่สำคัญก็คือมันมีนัยยะต่างๆ ซ่อนอยู่ให้ไปขยายความกันอีกเพียบ
โดยฉากที่ถือว่ายอดเยี่ยมสำหรับผมมีหลายฉากเหลือเกินที่อยากพูดถึง ทั้งการถ่ายทำภาพมุมสูง
ในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ณ กรุงปารีสเวลานั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้กำกับคนนี้ทำได้จริงๆ
ปัจจุบันนี้ไม่มีทางที่ใครจะทำแบบนั้นได้แน่ เพราะมันเสี่ยงมาก (ไปดูเองว่าเหตุการณ์ที่ว่าคืออะไร)
รวมถึงฉากสนทนาพาทีระหว่างมิเชลกับแพทริเซียในห้องนอนที่ต่างฝ่ายต่างพูดถึงความต้องการ ความสนใจของตน
ซึ่งมันก็ดูเหมือนประโยคที่คนรักกันพูดกันโดยปกติไม่ได้แปลกอะไร
แต่ที่มันเด็ดก็คือฉากที่ว่านั้น Godard แค่บรีฟกับนักแสดงทั้งสองให้ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของตัวละครนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร ..
และที่เหลือคือไม่มีบทครับ!! ทุกอย่างด้นสดและก็ปล่อยให้มันไหลลื่นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการเทคเลย
เรียกได้ว่าสวมวิญญาณเป็นคนคนนั้นจริงๆ!!
นี่ยังไม่นับความดีงามของฉากต่างๆในกรุงปารีสย้อนไปเมื่อ 65 ปีที่แล้ว เราได้เห็นบ้านเมืองของเขาเวลานั้น
อีกทั้งการแต่งตัว สไตล์ต่างๆที่ดูแล้วมันเท่ห์เหลือเกินสมเป็นเมืองแห่งแฟชั่น
รวมถึงใบปิดหนังที่อาร์ตและสวยมาก ควรค่าที่คนรักหนังจะเอาไปติดฝาบ้านอย่างยิ่ง..
จึงไม่แปลกใจเลยที่ผลการสำรวจคนในยุคหลังจากนั้นไม่ว่าจะสถาบันไหนก็ต่างยกให้ Breathless
เป็น 1 ในหนังอาชญากรรมที่คลาสสิคและดีที่สุดเรื่องนึงเท่าที่โลกนี้เคยมีมา
อ้อ.. ส่วนประโยคที่ผมใช้บนหัวกระทู้ จริงๆคิดนานนะครับว่าจะเอาความหมายของชื่อเรื่องตรงๆเลยดีมั้ย
แต่ประโยคนี้มันโดนใจผมเหลือเกิน เลยขอยกไว้เป็นหัวเรื่องเลยล่ะกัน ต้องไปดูเอาว่ามันเป็นอะไรยังไง อยากให้ได้ชมจริงๆ ครับ ^^
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== Breathless (1960) เมื่อฉันทำเรื่องร้ายๆกับคุณได้ นั่นหมายความว่าฉันไม่ได้รักคุณ...==
มิเชลอาชญากรหนุ่ม ลักเล็กขโมยน้อย ชิงทรัพย์วิ่งราวทำหมดอะไรก็ได้ที่เป็นมิจฉาชีพเจ้าตัวไม่เลือกทั้งนั้น
แต่วันนึงหลังขโมยรถยนต์คนอื่นมา มิเชลดันไปสังหารตำรวจที่ติดตามตัวเขา นั่นทำให้ชายหนุ่มต้องหนีหัวซุกหัวซุน
แต่ก็นั่นล่ะ ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกเข็ดสักเท่าไหร่
มิเชลเข้ามาในปารีสอีกครั้งเพื่อพบกับ แพทริเซีย นักศึกษาสาวอเมริกันที่มาฝึกงานที่ New York Herald Tribune ..
เจ้าตัวพยายามเกลี้ยกล่อมให้แพทริเซียไปใช้ชีวิตกับเขาที่อิตาลี (ก็คือกะจะหนียาวๆไปเลยล่ะ)
แพทริเซียลังเลอยู่ว่าตัวเองจะเอาอย่างไรต่อไปดี...
Breathless (ในชื่อฝรั่งเศส: À bout de soufflé...) เป็นภาพยนตร์แนวอาชญากรรม
เขียนบทและกำกับโดย Jean-Luc Godard 1 ในหนังที่สร้างแรงกระเพื่อมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตามมา
เหมือนเป็นแม่แบบให้กับวงการภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน (French New Wave)
French New Wave คือแนวการทำหนังรูปแบบใหม่ ฉีกกฎเดิมๆ ของหนังสมัยก่อน
มีความกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆมากมาย ในยุค 1950 การรวมกันของคนรักหนังที่ไม่มีทุนมากนัก
แน่ล่ะทำแบบแหวกแนวสมัยนั้นก็ยากที่จะหานายทุนที่พร้อมจะให้การสนับสนุน
ซึ่งตัวของ Jean-Luc Godard ผู้กำกับเรื่องนี้ คือ 1 ในผู้ที่เป็นผู้นำของคลื่นลูกนี้
ด้วยการดึงดูดความสนใจอย่างมากด้วยสไตล์ภาพที่โดดเด่น.. การใช้การตัดต่อแบบกระโดด (Jump Cut) ที่ไม่ธรรมดา..
การหันหน้ามาคุยกับกล้อง.. รวมถึงการถ่ายแบบ Hand-Held ที่ทำให้คนดูเหมือนได้ติดตามตัวละครตังนั้นแบบใกล้ชิด
องค์ประกอบต่างๆทำให้หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งเงินทั้งกล่อง หลังจากที่ลงทุนไปเพียงแค่ 80,000 เหรียญสหรัฐฯเท่านั้น
แวบนึงผมมีความรู้สึกเข้ามาว่ามีบางอย่างของความสัมพันธ์ของคนคู่นี้ที่คล้ายๆกับ Bonnie and Clyde มหาโจรยุค 1930 ของสหรัฐฯ
แต่ก็แค่นั้นล่ะครับ ไม่ได้อะไรหรอก มันคงเป็นชั่วขณะที่การกระทำของแพทริเซีย
ที่ทำให้ผมนึกไปถึงตัวของบอนนี่ในช่วงเวลาที่คลั่งไคล้ในทุกการกระทำของไคลด์แฟนหนุ่มอย่างมาก
แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องผิดมหันต์ยังไงก็ตามที
ที่สิ่งที่คล้ายและมันทัชใจคนดูก็คือคาแรคเตอร์ครับ หาก Bonnie and Clyde คือตัวแทนของความอิสระเสรี (ในทางร้าย)
ของคนรุ่นใหม่หลังยุคเศรษฐกิจถดถอยของอเมริกาช่วงปี 1930
ด้านของ มิเชล กับ แพทริเซีย ก็กลายเป็น Iconic ของวัยรุ่นที่มาได้จังหวะพอเหมาะพอเจาะอย่างยิ่ง
ในยุคบุปผาชนเบ่งบาน (เริ่มทศวรรษที่ 60) ในเรื่องของเสรีภาพในการดำรงชีวิตที่ไม่ยึดติดกับกรอบ ขนบธรรมเนียมประเพณี
ซึ่งคาแรคเตอร์ที่ว่าของมิเชลนั้น มันโดดเด่นมากในเรื่องความเป็นอิสระ (แต่ไม่เป็นแนวฮิปปี้)
จนทำให้วัยรุ่นฝรั่งเศสในช่วงนั้นทำท่าทางยียวนคล้ายๆกับมิเชลกันไปหมด (ต้องไปดูเองว่า คาแรคเตอร์ของมิเชลนั้นเป็นยังไง)
เอาจริงตัวมิเชลที่นำแสดงโดย Jean-Paul Belmondo เขาไม่ได้ดูหล่อเลยนะครับ
แต่เจ้าตัวมีเสน่ห์บางอย่างที่ดึงดูดคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี
ตัวของมิเชลเป็นโจรกระจอกชิงทรัพย์ไม่เลือกไม่ว่าจะอะไร ใช้ชีวิตโดยไม่มีจุดหมาย
(ซึ่งเราจะไม่รู้ตื้นลึกหนาบางอะไรของเขาที่ผ่านมาทั้งสิ้น) จนกระทั่งมาเจอกับแพทริเซียนางเอกของเรา
อารมณ์มิเชลจึงเหมือนกับว่าอยากหยุดทุกอย่างไว้ที่เธอคนนี้ล่ะ
ขณะที่แพทริเซีย (รับบทโดย Jean Seberg นักแสดงสาวสวยชาวอเมริกันที่จากไปก่อนวัยอันควรในปี 1979 อายุเพียงแค่ 40 เท่านั้น)
หญิงสาวสวยผู้โดนมิเชลตกเข้าให้ แพทริเซียเป็นนักเขียนสาว (ขายหนังสือพิมพ์ด้วย) ที่มีความฝัน มีความมั่นใจสูง
เป้าหมายในชีวิตก็แรงกล้า ซึ่งต่างจากมิเชลราวฟ้ากับเหว แพทริเซียมีอนาคตที่ดีรออยู่แน่ ส่วนมิเชลมืดมิดแทบไม่มีอะไรดี
ผมว่าคนที่เรียนทางด้านภาพยนตร์น่าจะได้ชมหนังเรื่องนี้กันทุกคนนะครับ
เพราะถือว่าเป็น 1 ในภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งเป็นรากฐานของวงการหนังในยุคต่อๆมา
และที่สำคัญก็คือมันมีนัยยะต่างๆ ซ่อนอยู่ให้ไปขยายความกันอีกเพียบ
โดยฉากที่ถือว่ายอดเยี่ยมสำหรับผมมีหลายฉากเหลือเกินที่อยากพูดถึง ทั้งการถ่ายทำภาพมุมสูง
ในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ณ กรุงปารีสเวลานั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้กำกับคนนี้ทำได้จริงๆ
ปัจจุบันนี้ไม่มีทางที่ใครจะทำแบบนั้นได้แน่ เพราะมันเสี่ยงมาก (ไปดูเองว่าเหตุการณ์ที่ว่าคืออะไร)
รวมถึงฉากสนทนาพาทีระหว่างมิเชลกับแพทริเซียในห้องนอนที่ต่างฝ่ายต่างพูดถึงความต้องการ ความสนใจของตน
ซึ่งมันก็ดูเหมือนประโยคที่คนรักกันพูดกันโดยปกติไม่ได้แปลกอะไร
แต่ที่มันเด็ดก็คือฉากที่ว่านั้น Godard แค่บรีฟกับนักแสดงทั้งสองให้ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของตัวละครนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร ..
และที่เหลือคือไม่มีบทครับ!! ทุกอย่างด้นสดและก็ปล่อยให้มันไหลลื่นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการเทคเลย
เรียกได้ว่าสวมวิญญาณเป็นคนคนนั้นจริงๆ!!
นี่ยังไม่นับความดีงามของฉากต่างๆในกรุงปารีสย้อนไปเมื่อ 65 ปีที่แล้ว เราได้เห็นบ้านเมืองของเขาเวลานั้น
อีกทั้งการแต่งตัว สไตล์ต่างๆที่ดูแล้วมันเท่ห์เหลือเกินสมเป็นเมืองแห่งแฟชั่น
รวมถึงใบปิดหนังที่อาร์ตและสวยมาก ควรค่าที่คนรักหนังจะเอาไปติดฝาบ้านอย่างยิ่ง..
จึงไม่แปลกใจเลยที่ผลการสำรวจคนในยุคหลังจากนั้นไม่ว่าจะสถาบันไหนก็ต่างยกให้ Breathless
เป็น 1 ในหนังอาชญากรรมที่คลาสสิคและดีที่สุดเรื่องนึงเท่าที่โลกนี้เคยมีมา
อ้อ.. ส่วนประโยคที่ผมใช้บนหัวกระทู้ จริงๆคิดนานนะครับว่าจะเอาความหมายของชื่อเรื่องตรงๆเลยดีมั้ย
แต่ประโยคนี้มันโดนใจผมเหลือเกิน เลยขอยกไว้เป็นหัวเรื่องเลยล่ะกัน ต้องไปดูเอาว่ามันเป็นอะไรยังไง อยากให้ได้ชมจริงๆ ครับ ^^
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===