สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
คือ ใครบอกไม่รู้นะ
แต่ ผมเห็น ทุก เจน ก็เรียกร้องเหมือนกันหมด
ไม่งั้น ประวัตศาสตร์แต่ละชาต จะมีนักศึกษา เป็นตัวเคลื่อนไหวทางการเมืองเหรอครับ ไม่ว่า จะฝรั่งเศส อังกฤษ จีน ก็นักศึกษา เด็กๆทั้งนั้น พวกนั้นน่ะ เจนไหน ก่อน เบบี้บูมด้วยซ้ำ คนทุกเจน อยู่ในวัยหนุ่มสาว ก็เรียกร้องทั้งนั้นแหล่ะ
ไม่ได้มี เจน Z นำหรอกนะ เรืองเรียกร้องสีทธ์น่ะ X Y เขาทำมาตั้ง 40 ปีแล้ว
แต่ ผมเห็น ทุก เจน ก็เรียกร้องเหมือนกันหมด
ไม่งั้น ประวัตศาสตร์แต่ละชาต จะมีนักศึกษา เป็นตัวเคลื่อนไหวทางการเมืองเหรอครับ ไม่ว่า จะฝรั่งเศส อังกฤษ จีน ก็นักศึกษา เด็กๆทั้งนั้น พวกนั้นน่ะ เจนไหน ก่อน เบบี้บูมด้วยซ้ำ คนทุกเจน อยู่ในวัยหนุ่มสาว ก็เรียกร้องทั้งนั้นแหล่ะ
ไม่ได้มี เจน Z นำหรอกนะ เรืองเรียกร้องสีทธ์น่ะ X Y เขาทำมาตั้ง 40 ปีแล้ว
ความคิดเห็นที่ 7
ทำงานเสร็จ กับ ทำงานสำเร็จ … ต่างกันอย่างไร ?

โดย อาจารย์อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
Cr. https://www.ftpi.or.th/2020/34170
_____
คนประเภทนี้ มีเยอะนะครับ ทำเป็นเล่นไป !
ผมยกตัวอย่างสัก 2-3 กรณี เผื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น
เมื่อสองวันก่อน ผมให้คนเอาของไปฝากที่บ้านคุณพ่อ เขากลับมารายงานว่าทำงานเสร็จเรียบร้อยตามที่สั่ง ผมถามว่า “คุณพ่อผมได้รับของแล้วใช่ไหม” เขาตอบว่า ไม่ทราบ แต่ฝากไว้แล้ว … งานเสร็จครับ แต่ไม่รู้สำเร็จหรือเปล่า
เมื่อต้นอาทิตย์ที่แล้ว ผมให้น้องที่ทำงาน โทรไปเลื่อนเวลาประชุมกับลูกค้าให้เร็วขึ้นอีกครึ่งชั่วโมงเพราะต้องขึ้นเครื่องไปต่างประเทศหลังจากนั้น ลูกน้องกลับมารายงานว่า “เรียบร้อยค่ะพี่” ผมถามว่าลูกค้าโอเคใช่ไหม เธอตอบว่า “น่าจะโอเคนะคะ พอดีหนูโทรไปแต่ลูกค้าไม่ได้รับสาย เลยฝากข้อความไว้แล้ว” … งานเสร็จ แต่ไม่รู้สำเร็จรึเปล่า
เมื่อวานผมมีประชุมทั้งวัน เลยให้ผู้ช่วยเอาเอกสารสำคัญไปยื่นที่สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ผ่านไปค่อนวัน ทางสถาบันโทรมาตามเอกสาร ผมถามคนที่ฝากให้นำไปส่ง ได้รับคำตอบว่า “ยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันเรียบร้อยแล้ว” ผมถามว่าเจ้าหน้าที่ชื่ออะไร คำตอบคือไม่รู้ ให้เอาไปส่ง ก็ส่งให้แล้ว จบ ! … จนถึงตอนนี้ ยังตามหาเอกสารนั้นไม่เจอเลย … งานเสร็จ แต่ไม่สำเร็จครับ
ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้าง
เดิมที ผมเคยบอกลูกน้องว่า ถ้าใครทำงานเสร็จ ก็กลับบ้านได้เลย ไม่ต้องรอจนถึงเวลาเลิกงาน ปรากฏว่าเละเลยครับ เพราะทุกคนทำงานเสร็จหมด ก็กลับบ้านหมด แต่งานส่วนใหญ่ที่ทำ ไม่สำเร็จครับ !
ทุกวันนี้ผมเปลี่ยนคำสั่งใหม่ เป็น “ใครทำงานสำเร็จ กลับบ้านได้” … ปรากฏว่าดึกดื่นยังนั่งกันหน้าสลอนเพราะงานเสร็จแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ … 555
ถ้าเจอแบบนี้ควรทำยังไง ?
1.
อธิบายความแตกต่างของคำว่า
“ทำงานเสร็จ” กับ “ทำงานสำเร็จ” ให้ฟัง
อย่าทึกทักเอาเองว่าเป็นเรื่องเบสิคที่ไม่จำเป็นต้องบอก เชื่อผมครับ คนแบบที่เล่าให้ฟังข้างต้นมีเยอะ ถ้าไม่อยากปวดหัว จงรีบชี้แจงแถลงไข ถ้าจะให้ดี ส่งบทความนี้ให้อ่านด้วย ก็ช่วยได้เยอะ
….
2.
เวลาสั่งงาน บอกให้ชัดเจนว่า
ผลสำเร็จที่ต้องการคืออะไร
อย่าบอกแค่สิ่งที่ต้องทำ แต่บอกผลสำเร็จที่อยากเห็น เช่น อย่าบอกแค่ว่า “ช่วยส่งอีเมลไปแจ้งลูกค้าให้หน่อย” แต่ให้บอกว่า “ช่วยส่งอีเมลไปแจ้งลูกค้า และติดตามให้แน่ใจด้วยว่า ลูกค้าได้อ่านอีเมลแล้ว” เป็นต้น
….
3.
ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี
อย่าเป็นคนทำงานเสร็จแต่ไม่สำเร็จ ซะเอง เพราะสิ่งที่ทำ ดังกว่าสิ่งที่พูด อย่าให้เด็กๆ ย้อนกลับมาได้ว่า “พี่ก็ทำงานเสร็จ แต่ไม่สำเร็จเหมือนกัน”
….

โดย อาจารย์อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
Cr. https://www.ftpi.or.th/2020/34170
_____
คนประเภทนี้ มีเยอะนะครับ ทำเป็นเล่นไป !
ผมยกตัวอย่างสัก 2-3 กรณี เผื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น
เมื่อสองวันก่อน ผมให้คนเอาของไปฝากที่บ้านคุณพ่อ เขากลับมารายงานว่าทำงานเสร็จเรียบร้อยตามที่สั่ง ผมถามว่า “คุณพ่อผมได้รับของแล้วใช่ไหม” เขาตอบว่า ไม่ทราบ แต่ฝากไว้แล้ว … งานเสร็จครับ แต่ไม่รู้สำเร็จหรือเปล่า
เมื่อต้นอาทิตย์ที่แล้ว ผมให้น้องที่ทำงาน โทรไปเลื่อนเวลาประชุมกับลูกค้าให้เร็วขึ้นอีกครึ่งชั่วโมงเพราะต้องขึ้นเครื่องไปต่างประเทศหลังจากนั้น ลูกน้องกลับมารายงานว่า “เรียบร้อยค่ะพี่” ผมถามว่าลูกค้าโอเคใช่ไหม เธอตอบว่า “น่าจะโอเคนะคะ พอดีหนูโทรไปแต่ลูกค้าไม่ได้รับสาย เลยฝากข้อความไว้แล้ว” … งานเสร็จ แต่ไม่รู้สำเร็จรึเปล่า
เมื่อวานผมมีประชุมทั้งวัน เลยให้ผู้ช่วยเอาเอกสารสำคัญไปยื่นที่สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ผ่านไปค่อนวัน ทางสถาบันโทรมาตามเอกสาร ผมถามคนที่ฝากให้นำไปส่ง ได้รับคำตอบว่า “ยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันเรียบร้อยแล้ว” ผมถามว่าเจ้าหน้าที่ชื่ออะไร คำตอบคือไม่รู้ ให้เอาไปส่ง ก็ส่งให้แล้ว จบ ! … จนถึงตอนนี้ ยังตามหาเอกสารนั้นไม่เจอเลย … งานเสร็จ แต่ไม่สำเร็จครับ
ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้าง
เดิมที ผมเคยบอกลูกน้องว่า ถ้าใครทำงานเสร็จ ก็กลับบ้านได้เลย ไม่ต้องรอจนถึงเวลาเลิกงาน ปรากฏว่าเละเลยครับ เพราะทุกคนทำงานเสร็จหมด ก็กลับบ้านหมด แต่งานส่วนใหญ่ที่ทำ ไม่สำเร็จครับ !
ทุกวันนี้ผมเปลี่ยนคำสั่งใหม่ เป็น “ใครทำงานสำเร็จ กลับบ้านได้” … ปรากฏว่าดึกดื่นยังนั่งกันหน้าสลอนเพราะงานเสร็จแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ … 555
ถ้าเจอแบบนี้ควรทำยังไง ?
1.
อธิบายความแตกต่างของคำว่า
“ทำงานเสร็จ” กับ “ทำงานสำเร็จ” ให้ฟัง
อย่าทึกทักเอาเองว่าเป็นเรื่องเบสิคที่ไม่จำเป็นต้องบอก เชื่อผมครับ คนแบบที่เล่าให้ฟังข้างต้นมีเยอะ ถ้าไม่อยากปวดหัว จงรีบชี้แจงแถลงไข ถ้าจะให้ดี ส่งบทความนี้ให้อ่านด้วย ก็ช่วยได้เยอะ
….
2.
เวลาสั่งงาน บอกให้ชัดเจนว่า
ผลสำเร็จที่ต้องการคืออะไร
อย่าบอกแค่สิ่งที่ต้องทำ แต่บอกผลสำเร็จที่อยากเห็น เช่น อย่าบอกแค่ว่า “ช่วยส่งอีเมลไปแจ้งลูกค้าให้หน่อย” แต่ให้บอกว่า “ช่วยส่งอีเมลไปแจ้งลูกค้า และติดตามให้แน่ใจด้วยว่า ลูกค้าได้อ่านอีเมลแล้ว” เป็นต้น
….
3.
ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี
อย่าเป็นคนทำงานเสร็จแต่ไม่สำเร็จ ซะเอง เพราะสิ่งที่ทำ ดังกว่าสิ่งที่พูด อย่าให้เด็กๆ ย้อนกลับมาได้ว่า “พี่ก็ทำงานเสร็จ แต่ไม่สำเร็จเหมือนกัน”
….

ความคิดเห็นที่ 14
มันต้องดูด้วยครับว่า
สิ่งที่เรียกร้อง กับ สวัสดิการบริษัท มันแมทชิ่งกันหรือเปล่า บางอย่าง gen Z เรียกร้องเยอะเกินไปจนแบบว่า เหมือนไม่ทำงาน แต่จ้างมาทำงานแค่ 50% ของเงินเดือน
สมมติ อะอย่างวงการ IT เรามีคน gen Z สนใจเยอะ แล้วก็คนย้ายสายงานเยอะใช่ไหม เพราะเหตุผลว่า เงินเดือนสูง start 40K Up ไรเงี้ย
ดั้งนั้นเวลาคนที่จะทำงานสายงานเนี้ย หรือ จบตรงเคยฝึกงานมา จะรู้ว่า การจะได้เงินเดือน 40K responsible มันต้องสูง ทักษะมันต้องสูง และ ต้องทำงานอย่างเต็มที่ปกติ 8 ชั่วโมง ใช่ไหมหละ
สมัยก่อนมันก็มีสมัยเราทำงานเมื่อ 10 ปีก่อน เรายังเป็นเด็กฝึกงาน เราได้เห็นเลยนะว่า วัฒนธรรมทำงานนอกเวลาจนติดเป็นนิสัยมันยังเยอะ จนเรามองว่า ตอนเนี้ยหลายบริษัทปรับตัว ปรับตามโควิด จนการทำงานของเรามันเปลี่ยนไป
จากเดิมที่เราเคยเขียน Code 100% ตอนเนี้ยเชื่อมะ เราเขียนแค่ 20-30% เอง งานหลักของเราจริงๆ เป็นการวิเคราะห์ business แล้วแปลงมันเป็น Code ผ่าน Ai generated code มากกว่าอีก เราแทบไม่เขียนเลย โดยรวมคืองานมันชิวสบายมากแล้วนะ
นั่นแหละมันถึง fair บริษัทก็มองว่า fair นะเออก็ให้เงินเดือนเท่านี้ แต่กลายเป็นว่า ยิ่งสบายยิ่งทำให้คนขาดความอดทน
เด็ก gen Z เรียกร้องให้ทำงานชิว train ให้เยอะหน่อยได้ไหมหนูไม่เก่ง หนูอ่อนทักษะ ซึ่ง มันค่อนข้างเยอะเกินไปครับไม่เหมาะสมกับเงินเดือนเลย
ไหนจะยังบอกว่า ตัวเองเป็นซึมเศร้า อ้างอินโทรเวริตปลอมๆ เพื่อให้ตัวเองได้ทำงานเงียบๆ คนเดียวแต่บริษัท ระบุไว้ชัดเจนเลยว่า คุณต้องมีความรับผิดชอบต่องานนะเราถึงจ้างมาสูงได้ตามคุณสมบัติที่ระบุไว้
ซึ่ง gen Y X อะเขาผ่านมาเขารู้ว่า เอองานกับความรับผิดชอบ มันต้องสมน้ำสมเนื้อจริงๆ
นั่นถึงเป็นปัญหาของ gen Z ที่ทำไมเขาถึงไม่อยากทำงานด้วย เพราะว่ามันเหนื่อยนะครับเรามาเทรนคน เราเสียเวลาสอนคนเยอะกว่าทำงานของตัวเอง ไม่สอนก็ไม่ได้
พอสอนแล้วไม่ทน อดทนไม่ได้ หิวเงินอีก ไปเชื่อ jump hopper ตามคลิปไวรัลอีก สุดท้ายทำงาน 1-2 ปีย้ายแล้ว คือ แบบเรารำคาญอะครับ บางทีเราเจอเด็ก gen Z คนอื่นที่ดีๆ มันก็ดีนะ แต่บางทีมันก็ไม่ได้ดีขนาดนั้นอะ มันเลยไม่น่าสอนหรือไม่ได้น่าเทรน
ก็จะเห็นเลยว่า บริษัท IT หลายคนกลับมาใช้รูปแบบแนวคิดเก่า หรีอ มองหาคนจบสายตรง และ มีความอดทน มีทักษะสูงพอตัวในการปั้น นอกนั้นคือพยายามไม่รับ
เพราะ เด็ก Gen Z เป็นเด็กที่มีนิสัยเหมือน ปรสิต นึกคำไม่ออก เราเรียกว่า เป็นเด็กในลัทธิดีกว่า เพราะ Gen Z จะชอบฟังไลฟ์โค้ช หรือ ไปฟังแนวคิดอะไรมาก็ไม่รู้ เต็มไปหมด แล้วชอบเอาแนวคิดพวกเนี้ย มาแพร่เชื้อในทีม ในองค์กรณ์ในวัฒนธรรม ซึ่ง นี่แหละปัญหา บางองค์กรณ์แนวคิดเขาดีอยู่แล้วครับ แต่ตัวเองอะเหมือนปรสิตที่เข้ามาเกาะ แล้วก็แพร่เชื้ออะไรไม่รู้ไปเรื่อย จนองค์กรณ์มันเปลี่ยน
IT เราเจอบ่อย เด็กเบียว ทำตัวทรงเบียวๆ หรือ ติ่ง หรือ คลั่ง 48 ไรเงี้ยอยากเป็นเดฟ อยากเทพ hacker แต่จริงๆ ห่วยแตกเลยแหละ แล้วก็เข้ามาแพร่เชื้อแนวคิดเบียวๆ มันเลยกลายเป็นว่า วงการ IT มันเสียภาพลักษณ์เลย
มันเหมือนกับที่หลายคนคิดอะว่า ทำไมวงการ IT มีแต่พวกตัวแปลกๆ ตัวประหลาดๆ เพราะ นี่แหละ คือ ภาพลักษณ์ไง ภาพลักษณ์แนวคิด ทัศนคติต่อองค์กรณ์สำคัญนะ
สิ่งที่เรียกร้อง กับ สวัสดิการบริษัท มันแมทชิ่งกันหรือเปล่า บางอย่าง gen Z เรียกร้องเยอะเกินไปจนแบบว่า เหมือนไม่ทำงาน แต่จ้างมาทำงานแค่ 50% ของเงินเดือน
สมมติ อะอย่างวงการ IT เรามีคน gen Z สนใจเยอะ แล้วก็คนย้ายสายงานเยอะใช่ไหม เพราะเหตุผลว่า เงินเดือนสูง start 40K Up ไรเงี้ย
ดั้งนั้นเวลาคนที่จะทำงานสายงานเนี้ย หรือ จบตรงเคยฝึกงานมา จะรู้ว่า การจะได้เงินเดือน 40K responsible มันต้องสูง ทักษะมันต้องสูง และ ต้องทำงานอย่างเต็มที่ปกติ 8 ชั่วโมง ใช่ไหมหละ
สมัยก่อนมันก็มีสมัยเราทำงานเมื่อ 10 ปีก่อน เรายังเป็นเด็กฝึกงาน เราได้เห็นเลยนะว่า วัฒนธรรมทำงานนอกเวลาจนติดเป็นนิสัยมันยังเยอะ จนเรามองว่า ตอนเนี้ยหลายบริษัทปรับตัว ปรับตามโควิด จนการทำงานของเรามันเปลี่ยนไป
จากเดิมที่เราเคยเขียน Code 100% ตอนเนี้ยเชื่อมะ เราเขียนแค่ 20-30% เอง งานหลักของเราจริงๆ เป็นการวิเคราะห์ business แล้วแปลงมันเป็น Code ผ่าน Ai generated code มากกว่าอีก เราแทบไม่เขียนเลย โดยรวมคืองานมันชิวสบายมากแล้วนะ
นั่นแหละมันถึง fair บริษัทก็มองว่า fair นะเออก็ให้เงินเดือนเท่านี้ แต่กลายเป็นว่า ยิ่งสบายยิ่งทำให้คนขาดความอดทน
เด็ก gen Z เรียกร้องให้ทำงานชิว train ให้เยอะหน่อยได้ไหมหนูไม่เก่ง หนูอ่อนทักษะ ซึ่ง มันค่อนข้างเยอะเกินไปครับไม่เหมาะสมกับเงินเดือนเลย
ไหนจะยังบอกว่า ตัวเองเป็นซึมเศร้า อ้างอินโทรเวริตปลอมๆ เพื่อให้ตัวเองได้ทำงานเงียบๆ คนเดียวแต่บริษัท ระบุไว้ชัดเจนเลยว่า คุณต้องมีความรับผิดชอบต่องานนะเราถึงจ้างมาสูงได้ตามคุณสมบัติที่ระบุไว้
ซึ่ง gen Y X อะเขาผ่านมาเขารู้ว่า เอองานกับความรับผิดชอบ มันต้องสมน้ำสมเนื้อจริงๆ
นั่นถึงเป็นปัญหาของ gen Z ที่ทำไมเขาถึงไม่อยากทำงานด้วย เพราะว่ามันเหนื่อยนะครับเรามาเทรนคน เราเสียเวลาสอนคนเยอะกว่าทำงานของตัวเอง ไม่สอนก็ไม่ได้
พอสอนแล้วไม่ทน อดทนไม่ได้ หิวเงินอีก ไปเชื่อ jump hopper ตามคลิปไวรัลอีก สุดท้ายทำงาน 1-2 ปีย้ายแล้ว คือ แบบเรารำคาญอะครับ บางทีเราเจอเด็ก gen Z คนอื่นที่ดีๆ มันก็ดีนะ แต่บางทีมันก็ไม่ได้ดีขนาดนั้นอะ มันเลยไม่น่าสอนหรือไม่ได้น่าเทรน
ก็จะเห็นเลยว่า บริษัท IT หลายคนกลับมาใช้รูปแบบแนวคิดเก่า หรีอ มองหาคนจบสายตรง และ มีความอดทน มีทักษะสูงพอตัวในการปั้น นอกนั้นคือพยายามไม่รับ
เพราะ เด็ก Gen Z เป็นเด็กที่มีนิสัยเหมือน ปรสิต นึกคำไม่ออก เราเรียกว่า เป็นเด็กในลัทธิดีกว่า เพราะ Gen Z จะชอบฟังไลฟ์โค้ช หรือ ไปฟังแนวคิดอะไรมาก็ไม่รู้ เต็มไปหมด แล้วชอบเอาแนวคิดพวกเนี้ย มาแพร่เชื้อในทีม ในองค์กรณ์ในวัฒนธรรม ซึ่ง นี่แหละปัญหา บางองค์กรณ์แนวคิดเขาดีอยู่แล้วครับ แต่ตัวเองอะเหมือนปรสิตที่เข้ามาเกาะ แล้วก็แพร่เชื้ออะไรไม่รู้ไปเรื่อย จนองค์กรณ์มันเปลี่ยน
IT เราเจอบ่อย เด็กเบียว ทำตัวทรงเบียวๆ หรือ ติ่ง หรือ คลั่ง 48 ไรเงี้ยอยากเป็นเดฟ อยากเทพ hacker แต่จริงๆ ห่วยแตกเลยแหละ แล้วก็เข้ามาแพร่เชื้อแนวคิดเบียวๆ มันเลยกลายเป็นว่า วงการ IT มันเสียภาพลักษณ์เลย
มันเหมือนกับที่หลายคนคิดอะว่า ทำไมวงการ IT มีแต่พวกตัวแปลกๆ ตัวประหลาดๆ เพราะ นี่แหละ คือ ภาพลักษณ์ไง ภาพลักษณ์แนวคิด ทัศนคติต่อองค์กรณ์สำคัญนะ
ความคิดเห็นที่ 16
ใช่ครับ มันเป็นสิทธิ์ แต่อย่าลืมว่า ทัศนคติก็เป็นเรื่องสำคัญ เผลอๆจะสำคัญกว่าด้วย
การทำงานในองค์กร มันเป็นการทำงานแบบทีม ไม่ใช่ทำคนเดียว เพื่อมุ่งความสำเร็จต่อองค์กร คุณอยากกลับ 5 โมงเป๊งก็กลับได้ แต่งานไม่เสร็จ คนอื่นๆยังหน้าดำคร่ำเครียดเข็นงานให้ออกให้ได้ คุณก็กลับได้ครับ ไม่ผิด แต่องค์กรก็มีสิทธิ์ที่จะไม่เอาคนแบบคุณมาร่วมงานด้วยเหมือนกัน
ผมว่าปัญหาของคน gen นี้คือ ทัศนคติ ประเภท ตรูถูกอยู่คนเดียว คนอื่นผิดหมด อะไรที่มันค้านกับสิ่งที่โดนล้างสมองมา คือผิดหมด ดูจากกระทู้ที่ตั้ง คำถามที่ใช้ก็รู้แล้ว ถ้าคิดว่าอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาใคร ผมสนับสนุนนะครับ เอาตามที่เราเห็นว่าใช่ไปเลย ไม่ต้องเป็นสัตว์สังคม ไม่ต้องแคร์แดมกับทีม เอาความสะดวกของตัวเองเป็นที่ตั้งครับ ถ้าคิดว่าเก่งจริง รู้มาก เสรีภาพเต็มเหนี่ยว เอาเลยครับ
คนยุคก่อน เขาก็สนในะครับ เรื่องเงิน เรื่องสิทธิ์ เพียงแต่เขา value สิ่งที่เขาได้จากการทำงาน เขา value ความสำเร็จที่เขาได้จากการทำงาน เขา value การทำงานหนักและผลของมัน เขาไม่เชื่อเรื่องรวยข้ามคืน หรือ ทำอะไรง่ายๆ ทำน้อยๆผลตอบแทนเยอะๆครับ ทัศนคติที่ต่างกัน มันก็จะเชื่อในเรื่องที่ต่างกันแบบนี้แหละ ผมอาจจะไดโนเสาร์ครับ แต่ผมโอเคกับผลของมันที่ผมเป็นอยู่ทุกวันนี้ครับ
การทำงานในองค์กร มันเป็นการทำงานแบบทีม ไม่ใช่ทำคนเดียว เพื่อมุ่งความสำเร็จต่อองค์กร คุณอยากกลับ 5 โมงเป๊งก็กลับได้ แต่งานไม่เสร็จ คนอื่นๆยังหน้าดำคร่ำเครียดเข็นงานให้ออกให้ได้ คุณก็กลับได้ครับ ไม่ผิด แต่องค์กรก็มีสิทธิ์ที่จะไม่เอาคนแบบคุณมาร่วมงานด้วยเหมือนกัน
ผมว่าปัญหาของคน gen นี้คือ ทัศนคติ ประเภท ตรูถูกอยู่คนเดียว คนอื่นผิดหมด อะไรที่มันค้านกับสิ่งที่โดนล้างสมองมา คือผิดหมด ดูจากกระทู้ที่ตั้ง คำถามที่ใช้ก็รู้แล้ว ถ้าคิดว่าอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาใคร ผมสนับสนุนนะครับ เอาตามที่เราเห็นว่าใช่ไปเลย ไม่ต้องเป็นสัตว์สังคม ไม่ต้องแคร์แดมกับทีม เอาความสะดวกของตัวเองเป็นที่ตั้งครับ ถ้าคิดว่าเก่งจริง รู้มาก เสรีภาพเต็มเหนี่ยว เอาเลยครับ
คนยุคก่อน เขาก็สนในะครับ เรื่องเงิน เรื่องสิทธิ์ เพียงแต่เขา value สิ่งที่เขาได้จากการทำงาน เขา value ความสำเร็จที่เขาได้จากการทำงาน เขา value การทำงานหนักและผลของมัน เขาไม่เชื่อเรื่องรวยข้ามคืน หรือ ทำอะไรง่ายๆ ทำน้อยๆผลตอบแทนเยอะๆครับ ทัศนคติที่ต่างกัน มันก็จะเชื่อในเรื่องที่ต่างกันแบบนี้แหละ ผมอาจจะไดโนเสาร์ครับ แต่ผมโอเคกับผลของมันที่ผมเป็นอยู่ทุกวันนี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
มีคนว่า Gen Z ชอบเรียกร้องสิทธิในที่ทำงาน เอาจริงนะ มันเป็นสิทธิที่เขาต้องได้อยู่แล้วป่ะ
แต่องค์กรไม่ชอบคนที่เรียกร้องสิทธิมาก เพราะดูเรื่องมาก หัวหมอ
แต่ก็สิทธิ์ของเค้าอะ เช่น เค้ามีสิทธิหยุดลาวันจนครบ ใช้วันหยุดหมด ครบ ในทุกปี
เขามีสิทธิไม่ทำงานให้ หรือ ปิดโทรศัพท์ในวันหยุด
หรือ ไม่ทำงานให้หลังเลิกงาน
เค้ามีสิทธิ์กลับตรงเวลาเป๊ง หรือ เข้างานตรงเวลาเป๊ะ
หากไม่มาสายก็ไม่ผิด ตามกฏ หรือ
เลิกงานวางงานทุกอย่างลงทันที ก็ไม่ผิด เพราะหมดเวลาแล้ว
คือ ผมสังเกต คนรุ่นก่อนๆบอก สมัยชั้นมาทำงานใหม่ๆ
ชั้นกลับบ้านสองทุ่ม หรือ มาถึงที่ทำงาน6โมง
ชั้นยังแก้งาน ตามงานในวันหยุดให้
การปิดโทรศัพท์หรือไม่ตอบไลน์ คือ การเสียมารยาท
ชั้นต้องเปิดตลอดเผื่อเจ้านายโทรมา แม้โทรมา 4-5 ทุ่ม ให้มาทำงานก็ต้องทำ
ชั้นไม่เคยลาหยุดพักร้อน ลาป่วย ลากิจ เลยสักวัน
คือ คุณไม่รู้จักสิทธิที่ตัวเองจะได้เอง
ยอมโดนกดหัวใช้งานแม้ในวันหยุดเอง
ผมว่า ไม่ใช่เรื่องการหัวหมอ เรื่องมาก มันคือสิทธิของเค้า