ร้านลิขสิทธิ์ของจริงมีแค่ 51 สาขา ร้านละเมิดลิขสิทธิ์ ทะลุหลักร้อย

พีคตรงที่ร้านลิขสิทธิ์ของจริงมีแค่ 51 สาขา
แต่ร้านละเมิดทะลุหลักร้อย เจ้าของแบรนด์เขาบริหารยังไง ถึงปล่อยให้ร้านละเมิดมีเยอะกว่า และ เอาชื่อแบรนด์ไปอ้าง

แบบนี้แสดงว่าร้านที่ละเมิดก็เคยเป็นร้านที่ถูกลิขสิทธิ์มาก่อน แล้วถูกถอนออกใช่มั้ยครับ 



(4 พ.ย.67) ร้านซับเวย์ประกาศ ถ้าลูกค้าจะอุดหนุนร้านซับเวย์ของแท้ให้สังเกตหน้าร้านมีเลขที่ร้านและเครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise หลังลูกค้าเจอเรื่องคุณภาพอาหาร วัตถุดิบขาด กระดาษห่อไม่มีพิมพ์ลาย ขนมปังไม่ใช่ของร้าน ซึ่งเป็นร้านที่ยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ไปกว่า 3 เดือนแล้ว ด้านลูกค้าถามใช่หน้าที่หรือ ควรเป็นหน้าที่ของบริษัทแม่ต้องปิดร้านเหล่านี้
.
จากกรณีที่ผู้ใช้งาน X (ทวิตเตอร์) ได้ออกมาแชร์ประสบการณ์การกินแซนด์วิชและสลัดบาร์จากร้านแฟรนไชส์ชื่อดังอย่าง Subway (ซับเวย์) ที่คุณภาพไม่เหมือนเดิม โดยพบว่า แซนด์วิชไม่ได้มาตรฐาน ,วัตถุดิบขาด ,กระดาษไม่มีลายซับเวย์ ,สีของบรรจุภัณฑ์เลอะติดขนมปัง ,คุณภาพอาหารด้อยลงอย่างมาก 
.
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก Subway Thailand ของร้านซับเวย์ (Subway) ร้านอาหารบริการด่วน (QSR) ประเภทแซนด์วิชและสลัด โพสต์ข้อความระบุว่า "เนื่องจากตอนนี้เราได้รับข้อร้องเรียนเรื่องคุณภาพอาหาร วัตถุดิบขาด กระดาษห่อไม่มีพิมพ์ลาย Subway กระดาษห่อลาย Subway สีเลอะติดอาหาร ขนมปังไม่ใช่ของ Subway และอื่นๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก จากการตรวจสอบพบว่าลูกค้าไปใช้บริการจากร้านซับเวย์ที่ถูกยกเลิกสิทธิแฟรนไชส์ไปตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. 2567 ไปแล้ว
.
ดังนั้น หากลูกค้าประสงค์ที่จะสั่งหรือซื้อซับเวย์ สามารถสังเกตหน้าร้านจะต้องมีเลขที่ร้านและเครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise จะเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้องพร้อมบริการตามปกติ มีอาหาร และวัตถุดิบครบทุกเมนู รวมทั้งอะโวคาโด มะกอก และอื่นๆ ถูกต้องตามมาตรฐานของซับเวย์ พร้อมกันนี้ บริษัทได้แนบรายชื่อสาขาที่เป็นร้านแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้อง และร้านที่ถูกยกเลิกสิทธิแฟรนไชส์มาพร้อมกันนี้"
.
สำหรับร้านซับเวย์ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้อง ประกอบด้วย 1. พัทยากลาง (ใกล้หาด) 2. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารระหว่างประเทศ 3. สุขุมวิท 23 4. เอาต์เลตมอลล์ พัทยา 5. สยาม พารากอน 6. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารภายในประเทศ (1) 7. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารภายในประเทศ (2) 8. สนามบินดอนเมือง ระหว่างประเทศ 9. ฟอร์จูนทาวน์ 10. บางจากสุขุมวิท 62 11. โรงเรียนนานาชาติ บางกอกพัฒนา 12. เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต 13. โรงพยาบาลเวชธานี 14. อมาติโอ ชิล ปาร์ค 15. ปั๊ม ปตท. เดอะ ดีล แจ้งวัฒนะ 16. หาดจอมเทียน 17. โรงพยาบาล เมคปาร์ค
.
18. มอเตอร์เวย์ (ขาเข้า) 19. สนามบินดอนเมือง อาคารเทอร์มินัล 2 ชั้น 1 20. เอ็มควอเทียร์ 21. สนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารภายในประเทศ 22. ฮาบิโตะ 23. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 แอร์ไซด์ 24. สนามบินเชียงใหม่-ชาร์เตอร์ 25. สนามบินภูเก็ต-บริเวณเช็กอิน 26. มอเตอร์เวย์ (ขาออก) 27. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 28. ไมค์ ช้อปปิ้งมอลล์ 29. ชาลีเพลส (ซอยบัวขาว) 30. คาลเท็กซ์ บางใหญ่ 31. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า 32. สนามบินสุวรรณภูมิ ภายในประเทศ 33. อาคารซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ 34. ตลาดรวมทรัพย์ 35. เทอร์มินอล 21 (อโศก) 36. ไทม์สแควร์
.
37. พีที รัชดาภิเษก 38. สนามบินดอนเมือง อาคารเทอร์มินัล 2 ชั้น 4 39. สนามบินสุวรรณภูมิ ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 40. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 41. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 42. ปั๊มบางจาก เกษตรนวมินทร์ 43. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse E) 44. ถนนเลียบหาดป่าตอง 45. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 อาคารใหม่ 1 46. เซ็นทรัล ฟลอเรสต้า 47. อ่าวนาง 48. นิมมานเหมินท์ ซอย 10 49. เมกา บางนา 50. ฮักมอลล์ ขอนแก่น และ 51. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse C)
.
ด้านชาวเน็ตต่างแสดงความคิดเห็นว่า สาขาที่ถูกยกเลิกไปแล้วทำไมใช้ชื่อร้านซับเวย์ได้ต่อครับ ทำไมไม่ยกเลิกทั้งหมดไปเลย บ้างก็เห็นว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ควรดำเนินการกับร้านที่ถูกยกเลิกลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ให้ลูกค้าได้รับสินค้าและการบริการที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน ทำให้เกิดความสับสนแบบนี้ อีกทั้งลูกค้าแยกแยะไม่ไหวว่าสาขาไหนยังถือลิขสิทธิ์สาขาไหนยกเลิกแล้ว เพราะยังมีฟูดดีลิเวอรีที่แยกแยะไม่ได้ด้วย ควรจะเป็นหน้าที่ของบริษัทแม่ต้องปิดร้านเหล่านี้ และฟ้องในเรื่องสิทธิการใช้แฟรนไชส์
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัท โกลัค จำกัด ประกาศว่า บริษัทฯ เป็นผู้ได้รับสิทธิในการให้และเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหารซับเวย์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย (Master Franchisee) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2567 เป็นต้นไป และบริษัท ฟู้ด เจนเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งเคยเป็นผู้รับแฟรนไชส์และดำเนินกิจการร้านซับเวย์นั้นได้สิ้นสุดการเป็นผู้รับแฟรนไชส์ร้านอาหารซับเวย์โดยสิ้นเชิงแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 2567 เป็นต้นไป โดยปัจจุบันมีสาขาที่เป็นผู้รับแฟรนไชส์และอยู่ภายใต้การดูแลในปัจจุบัน 51 สาขา และสาขาที่สิ้นสุดการเป็นผู้รับแฟรนไชส์ 105 สาขา
.
อนึ่ง ซับเวย์ได้ทำสัญญามาสเตอร์ แฟรนไชส์ ฉบับใหม่กับบริษัท โกลัค จำกัด ซึ่งมี บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เป็นผู้ถือหุ้นข้างมากในระดับผู้ถือหุ้นแท้จริง (Ultimate Shareholder) เพื่อขยายธุรกิจแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดย PTG ลงทุนผ่านบริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (GFA) ที่เป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นผ่านทางบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด 70% ส่วน น.ส.เพชรัตน์ อุทัยสาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์เดิมถือหุ้น 5% และ บริษัท ไลฟ์สไตล์ ฟู้ด จำกัด ที่ น.ส.เพชรัตน์เป็นกรรมการบริษัท ถือหุ้น 25%
https://www.facebook.com/share/p/MMNdPWLRyabs7gYk/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่