กรณีของดิไอคอนกรุ๊ปที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจำนวนมากโดยการหลอกลวงให้คนเข้ามา “ลงทุน” ทำธุรกิจขายสินค้าแบบเครือข่ายที่จะสามารถทำเงินได้อย่างรวดเร็วจนร่ำรวยโดยมีคติพจน์ว่า “ขยันผิดที่ 10 ปี ก็ไม่รวย” นั้น ผมคิดว่าเป็นคำพูดมาตรฐานที่ถูกใช้ตลอดมาที่จะชักชวนให้คนเข้ามาร่วมทำงานหรือธุรกิจหรือลงทุนในสิ่งที่มักจะทำให้คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือคนคุมกิจกรรมรวยมาก
คนที่ตามมาก็อาจจะรวยบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ที่มาทีหลังสุดจะจน และบางครั้งก็หมดตัว เพราะสิ่งที่ทำนั้นจะมีลักษณะคล้าย “แชร์ลูกโซ่” ที่เอาเงินคนที่มาทีหลังมาจ่ายให้กับคนที่มาก่อน
ในฐานะของคนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความร่ำรวยระดับหนึ่งจากการที่เคยเป็นคนจนในวัยเด็กและคนชั้นกลางในช่วงวัยกลางคน ผมคิดว่าวิธีสร้างความร่ำรวยได้จริง ๆ นั้นมีอยู่ แต่คน ๆ นั้นจะต้องขยัน “ถูกที่” และก็ต้องใช้เวลาซัก 30 ปี ก่อนที่จะรวย
คำว่าขยันถูกที่นั้น ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย อาจจะเป็นงานประจำที่เราทำอยู่ แต่ต้องเป็นงานที่ให้รายได้ค่อนข้างแน่นอนและดีพอสมควร งานนั้น ซึ่งอาจจะมีหลายอย่างรวมถึงงานพิเศษด้วย สามารถทำรายได้ให้เราเพียงพอในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและมีเงินเหลือเก็บเฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเราจะนำมาลงทุนอย่างสม่ำเสมอในตลาดหุ้นที่จะกล่าวต่อไป
ในแต่ละปี เราจะต้องขยันหาเงินเพิ่มขึ้น อาจจะมาจากการทำงานหนักถ้าเราเป็นลูกจ้างบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้เงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้นและทำให้เรามีเงินเหลือเก็บเพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อเนื่องไปทุกปี นั่นคือ ปีที่ 2 เราต้องมีเงินเหลือเก็บและนำไปลงทุนในตลาดหุ้น 11,000 บาท ต่อเดือนโดยเฉลี่ย และปีที่ 3 ต้องเก็บเดือนละ12,100 บาท
ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี ที่เราทำงานอยู่ เช่นสมมุติว่าปีนี้เราอายุ 30 ปี เราก็จะเก็บเงินและนำมาลงทุนจนอายุ 60 ปีที่อาจจะเป็นเวลาที่เกษียณ ซึ่งคิดแล้วก็จะเท่ากับว่าเราเก็บเงินและนำไปลงทุนรวมกันประมาณเท่ากับ 20.7 ล้านบาท โดยที่ปีสุดท้ายเราเก็บเงินได้ถึง 1.9 ล้านบาท จากปีแรกที่เราเก็บได้เพียงปีละ 120,000 บาท
นั่นอาจจะฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ที่เราจะทำงานแล้วมีรายได้มากพอที่จะเก็บเงินได้ปีละถึงเกือบ 2 ล้านบาท แต่ถ้าลองมาประเมินหรือคำนวณดูก็รู้ว่ามันเป็นไปได้โดยเฉพาะถ้าเรา ขยันและตั้งใจทำงานพอต่อเนื่องไปอีก 30 ปี ซึ่งเวลานั้น เงินเกือบ 2 ล้านบาทที่จะต้องเก็บอาจจะไม่มากอย่างที่คิด ดังที่จะกล่าวต่อไป
สมมุติว่าวันนี้เรามีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และเราเก็บเดือนละ 10,000 บาท ตามโมเดลที่เรากำหนด ซึ่งจะทำให้เรามีเงินเก็บเพื่อลงทุนปีละ 120,000 บาท
เนื่องจากเราขยันถูกที่ เราสามารถสร้างรายได้หรือเงินเดือนเพิ่มปีละ 10% ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายหรือปีสุดท้าย เราก็จะมีเงินเดือนเดือนละ 523,482 บาท หรือปีละ 6.3 ล้านบาท ซึ่งการเก็บออมเพียง 1.9 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรง
หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่าจะทำได้ที่เงินเดือนหรือรายได้จะเพิ่มขึ้นมาได้ขนาดนั้น แต่ถ้าดูตัวเลขก็จะพบว่าเงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 17.4 เท่าในเวลา 30 ปี แต่ผมลองนึกถึงตัวเองที่เริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 ปี ด้วยเงินเดือน 3,000 บาท
แต่ในวันที่ผมเกษียณจากการทำงานเมื่อายุ 52 ปีในปี 2548 เป็นเวลาประมาณ 30 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายของผมนั้นมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 33 เท่า ดังนั้น ตัวเลขที่เห็นรายได้เดือนละกว่า 5 แสนบาทในอีก 30 ปีข้างหน้านั้น จึงเป็นไปได้ไม่ยากโดยเฉพาะถ้าเราขยันทำงานถูกที่
ว่าที่จริงเรื่องรายได้นั้นผมเองคิดว่าโอกาสที่เราจะทำเงินได้แบบนั้นจริง ๆ กลับไม่ยากเท่ากับการออมเงินให้ได้ตามที่กำหนด คือเริ่มจากเดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 120,000 บาท และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นปีละ 10% แบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ ต้องขยันและ “อดออม” ถ้าอยากจะรวย แต่แค่นั้นก็ยังไม่พอ เราต้องรู้จักการลงทุนให้ “ถูกที่” ด้วย
การลงทุนที่ถูกที่ก็คือการลงทุนในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบพื้นฐานที่สุด ไม่ลงทุนในทรัพย์สินอื่นที่ไม่มีพื้นฐานทางธุรกิจรองรับเช่น พวกเหรียญดิจิทัลต่าง ๆ นาฬิกา งานศิลปะหรือพระเครื่อง นอกจากนั้น ก็ควรจะหลีกเลี่ยงหลักทรัพย์อนุพันธ์ที่ซับซ้อนต่าง ๆ เช่น วอแรนต์และเครื่องมือทางการเงินที่เพิ่มความเสี่ยงโดยการกู้เงินมาลงทุนเพิ่ม เช่นการใช้มาร์จินซื้อขายหุ้น การทำบล็อกเทรด และการเทรดตราสารการเงินอย่างฟิวเจอร์และอ็อปชั่นต่าง ๆ เป็นต้น
ในกรณีที่เราไม่ได้มีความสามารถในการวิเคราะห์หุ้นเพียงพอ การลงทุนในกองทุนรวมที่มีการกระจายความเสี่ยงเพียงพอ เช่นกองทุนตลาดโดยรวม คือทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ลงทุนให้ “ถูกตลาด” นั่นก็คือ ต้องลงทุนในตลาดหุ้นที่ยังเติบโต เช่นในตลาดหุ้นของประเทศที่เศรษฐกิจยังเติบโตไปอีกอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป อย่างเช่นประเทศในอาเซียนเช่น เวียตนาม อินโดนีเซีย หรือประเทศอย่างอินเดีย เป็นต้น
หรือไม่ก็ลงทุนในตลาดหุ้นที่มีบริษัทระดับโลกจำนวนมากอย่างในตลาดหุ้นอเมริกา ซึ่งก็มักจะโตต่อไปได้อีกนานเพราะโลกก็น่าจะยังเติบโตต่อไปได้อีกนาน
ผลตอบแทนการลงทุนที่เราพอจะคาดหวังได้จากการลงทุนในดัชนีตลาดหุ้นที่ยังเติบโตตามเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วระดับ 6-7% ต่อปีก็คือประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น
แต่ถ้าเรามีความสามารถในการวิเคราะห์และเลือกหุ้นลงทุนเอง กลยุทธแบบหนึ่งที่อาจจะทำให้เราสร้างผลตอบแทนได้เกินปีละ 10% แบบทบต้นต่อเนื่องยาวนานก็คือการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีลักษณะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่เป็นบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่ดีเยี่ยมเป็นที่ต้องการและมีคู่แข่งน้อยมาก และความต้องการสินค้านั้นยังเติบโตไปอีกนาน โดยที่เราจะถือหุ้นของบริษัทเหล่านั้นประมาณ 6 ตัวตลอดเวลา
กล่าวโดยสรุปก็คือ เราต้องลงทุนให้ถูกที่ พยายามสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นโดยเฉลี่ยปีละ 10% เป็นเวลา 30 ปีจากเม็ดเงินที่เราออมและนำมาลงทุนต่อเนื่องทุกปี และไม่มีการถอนเงินมาใช้ เงินปันผลที่ได้รับและเงินที่ได้จากการขายหุ้นจะต้องนำกลับไปลงทุนในหุ้นเสมอ
ถ้าเราปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวทั้งหมดได้ พอถึงสิ้นปีที่ 30 และอาจจะเป็นวันที่เราเกษียณ เราจะมีเงินประมาณ 62.7 ล้านบาท จากเงินที่เราเก็บมาตลอดจำนวนประมาณ 20.7 ล้านบาท หรือมีเงินเพิ่มขึ้น 42 ล้านบาทจากการลงทุน
และนั่นก็คือความร่ำรวยที่โอกาสเป็นไปได้สูงเกิน 50% และถ้าพลาดก็ไม่เสียหายรุนแรง ความร่ำรวยอาจจะเหลือแค่ 40-50 ล้านบาท ซึ่งก็ยังเพียงพอที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุขตลอดไป เพราะเงิน 62.7 ล้านบาทในวันนั้น จะมีค่าประมาณ 34.6 ล้านบาทในวันนี้ถ้าคิดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะเพิ่มปีละ 2% ในอีก 30 ปีข้างหน้า
แน่นอนว่าหลายคนอาจจะทำไม่ได้ที่จะเก็บเงินได้ถึงเดือนละ 10,000 บาท ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกไม่น้อยที่สามารถเก็บได้มากกว่านั้น เช่นเดียวกัน การเพิ่มการออมปีละ 10% ไปทุกปีก็เป็นเรื่องที่อาจจะยากสำหรับหลายคน แต่สำหรับบางคนก็อาจจะง่าย เหตุผลคงเป็นเรื่องของความสามารถส่วนตัว แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันอาจจะอยู่ที่ความขยันและวินัยในการใช้จ่ายเงินด้วย
เช่นเดียวกับเรื่องของเงินเก็บที่อาจไม่เป็นไปตามแผน ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ อาจจะเพราะตลาดหุ้นที่เราเลือกเปลี่ยนแปลงไปในทางลบอย่างถาวร หรือหุ้นที่เราเลือกมีความผิดพลาดหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ ประเมินสถานะและความเป็นไปของตลาดและหุ้นที่ลงทุนเสมอ แต่อย่าตื่นเต้นตกใจกับความผันผวนที่เกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลา
เกมการลงทุนระยะยาวนั้น เราต้องเน้น “ภาพใหญ่” ซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ สิ่งสำคัญที่เราจะต้องทุ่มเทมากกว่าก็คือ การทำงานและเก็บออมที่จะเป็นจุดตั้งต้นที่จะทำให้เรารวย
2 พ.ย 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ้างอิง
https://www.blockdit.com/posts/6725c6d74d574fcf810811d0
ขยันถูกที่ 30 ปีจะรวย : โลกในมุมมองของ Value Investor โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
คนที่ตามมาก็อาจจะรวยบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ที่มาทีหลังสุดจะจน และบางครั้งก็หมดตัว เพราะสิ่งที่ทำนั้นจะมีลักษณะคล้าย “แชร์ลูกโซ่” ที่เอาเงินคนที่มาทีหลังมาจ่ายให้กับคนที่มาก่อน
ในฐานะของคนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความร่ำรวยระดับหนึ่งจากการที่เคยเป็นคนจนในวัยเด็กและคนชั้นกลางในช่วงวัยกลางคน ผมคิดว่าวิธีสร้างความร่ำรวยได้จริง ๆ นั้นมีอยู่ แต่คน ๆ นั้นจะต้องขยัน “ถูกที่” และก็ต้องใช้เวลาซัก 30 ปี ก่อนที่จะรวย
คำว่าขยันถูกที่นั้น ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย อาจจะเป็นงานประจำที่เราทำอยู่ แต่ต้องเป็นงานที่ให้รายได้ค่อนข้างแน่นอนและดีพอสมควร งานนั้น ซึ่งอาจจะมีหลายอย่างรวมถึงงานพิเศษด้วย สามารถทำรายได้ให้เราเพียงพอในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและมีเงินเหลือเก็บเฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเราจะนำมาลงทุนอย่างสม่ำเสมอในตลาดหุ้นที่จะกล่าวต่อไป
ในแต่ละปี เราจะต้องขยันหาเงินเพิ่มขึ้น อาจจะมาจากการทำงานหนักถ้าเราเป็นลูกจ้างบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้เงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้นและทำให้เรามีเงินเหลือเก็บเพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อเนื่องไปทุกปี นั่นคือ ปีที่ 2 เราต้องมีเงินเหลือเก็บและนำไปลงทุนในตลาดหุ้น 11,000 บาท ต่อเดือนโดยเฉลี่ย และปีที่ 3 ต้องเก็บเดือนละ12,100 บาท
ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี ที่เราทำงานอยู่ เช่นสมมุติว่าปีนี้เราอายุ 30 ปี เราก็จะเก็บเงินและนำมาลงทุนจนอายุ 60 ปีที่อาจจะเป็นเวลาที่เกษียณ ซึ่งคิดแล้วก็จะเท่ากับว่าเราเก็บเงินและนำไปลงทุนรวมกันประมาณเท่ากับ 20.7 ล้านบาท โดยที่ปีสุดท้ายเราเก็บเงินได้ถึง 1.9 ล้านบาท จากปีแรกที่เราเก็บได้เพียงปีละ 120,000 บาท
นั่นอาจจะฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ที่เราจะทำงานแล้วมีรายได้มากพอที่จะเก็บเงินได้ปีละถึงเกือบ 2 ล้านบาท แต่ถ้าลองมาประเมินหรือคำนวณดูก็รู้ว่ามันเป็นไปได้โดยเฉพาะถ้าเรา ขยันและตั้งใจทำงานพอต่อเนื่องไปอีก 30 ปี ซึ่งเวลานั้น เงินเกือบ 2 ล้านบาทที่จะต้องเก็บอาจจะไม่มากอย่างที่คิด ดังที่จะกล่าวต่อไป
สมมุติว่าวันนี้เรามีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และเราเก็บเดือนละ 10,000 บาท ตามโมเดลที่เรากำหนด ซึ่งจะทำให้เรามีเงินเก็บเพื่อลงทุนปีละ 120,000 บาท
เนื่องจากเราขยันถูกที่ เราสามารถสร้างรายได้หรือเงินเดือนเพิ่มปีละ 10% ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายหรือปีสุดท้าย เราก็จะมีเงินเดือนเดือนละ 523,482 บาท หรือปีละ 6.3 ล้านบาท ซึ่งการเก็บออมเพียง 1.9 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรง
หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่าจะทำได้ที่เงินเดือนหรือรายได้จะเพิ่มขึ้นมาได้ขนาดนั้น แต่ถ้าดูตัวเลขก็จะพบว่าเงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 17.4 เท่าในเวลา 30 ปี แต่ผมลองนึกถึงตัวเองที่เริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 ปี ด้วยเงินเดือน 3,000 บาท
แต่ในวันที่ผมเกษียณจากการทำงานเมื่อายุ 52 ปีในปี 2548 เป็นเวลาประมาณ 30 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายของผมนั้นมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 33 เท่า ดังนั้น ตัวเลขที่เห็นรายได้เดือนละกว่า 5 แสนบาทในอีก 30 ปีข้างหน้านั้น จึงเป็นไปได้ไม่ยากโดยเฉพาะถ้าเราขยันทำงานถูกที่
ว่าที่จริงเรื่องรายได้นั้นผมเองคิดว่าโอกาสที่เราจะทำเงินได้แบบนั้นจริง ๆ กลับไม่ยากเท่ากับการออมเงินให้ได้ตามที่กำหนด คือเริ่มจากเดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 120,000 บาท และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นปีละ 10% แบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ ต้องขยันและ “อดออม” ถ้าอยากจะรวย แต่แค่นั้นก็ยังไม่พอ เราต้องรู้จักการลงทุนให้ “ถูกที่” ด้วย
การลงทุนที่ถูกที่ก็คือการลงทุนในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบพื้นฐานที่สุด ไม่ลงทุนในทรัพย์สินอื่นที่ไม่มีพื้นฐานทางธุรกิจรองรับเช่น พวกเหรียญดิจิทัลต่าง ๆ นาฬิกา งานศิลปะหรือพระเครื่อง นอกจากนั้น ก็ควรจะหลีกเลี่ยงหลักทรัพย์อนุพันธ์ที่ซับซ้อนต่าง ๆ เช่น วอแรนต์และเครื่องมือทางการเงินที่เพิ่มความเสี่ยงโดยการกู้เงินมาลงทุนเพิ่ม เช่นการใช้มาร์จินซื้อขายหุ้น การทำบล็อกเทรด และการเทรดตราสารการเงินอย่างฟิวเจอร์และอ็อปชั่นต่าง ๆ เป็นต้น
ในกรณีที่เราไม่ได้มีความสามารถในการวิเคราะห์หุ้นเพียงพอ การลงทุนในกองทุนรวมที่มีการกระจายความเสี่ยงเพียงพอ เช่นกองทุนตลาดโดยรวม คือทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ลงทุนให้ “ถูกตลาด” นั่นก็คือ ต้องลงทุนในตลาดหุ้นที่ยังเติบโต เช่นในตลาดหุ้นของประเทศที่เศรษฐกิจยังเติบโตไปอีกอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป อย่างเช่นประเทศในอาเซียนเช่น เวียตนาม อินโดนีเซีย หรือประเทศอย่างอินเดีย เป็นต้น
หรือไม่ก็ลงทุนในตลาดหุ้นที่มีบริษัทระดับโลกจำนวนมากอย่างในตลาดหุ้นอเมริกา ซึ่งก็มักจะโตต่อไปได้อีกนานเพราะโลกก็น่าจะยังเติบโตต่อไปได้อีกนาน
ผลตอบแทนการลงทุนที่เราพอจะคาดหวังได้จากการลงทุนในดัชนีตลาดหุ้นที่ยังเติบโตตามเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วระดับ 6-7% ต่อปีก็คือประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น
แต่ถ้าเรามีความสามารถในการวิเคราะห์และเลือกหุ้นลงทุนเอง กลยุทธแบบหนึ่งที่อาจจะทำให้เราสร้างผลตอบแทนได้เกินปีละ 10% แบบทบต้นต่อเนื่องยาวนานก็คือการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีลักษณะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่เป็นบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่ดีเยี่ยมเป็นที่ต้องการและมีคู่แข่งน้อยมาก และความต้องการสินค้านั้นยังเติบโตไปอีกนาน โดยที่เราจะถือหุ้นของบริษัทเหล่านั้นประมาณ 6 ตัวตลอดเวลา
กล่าวโดยสรุปก็คือ เราต้องลงทุนให้ถูกที่ พยายามสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นโดยเฉลี่ยปีละ 10% เป็นเวลา 30 ปีจากเม็ดเงินที่เราออมและนำมาลงทุนต่อเนื่องทุกปี และไม่มีการถอนเงินมาใช้ เงินปันผลที่ได้รับและเงินที่ได้จากการขายหุ้นจะต้องนำกลับไปลงทุนในหุ้นเสมอ
ถ้าเราปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวทั้งหมดได้ พอถึงสิ้นปีที่ 30 และอาจจะเป็นวันที่เราเกษียณ เราจะมีเงินประมาณ 62.7 ล้านบาท จากเงินที่เราเก็บมาตลอดจำนวนประมาณ 20.7 ล้านบาท หรือมีเงินเพิ่มขึ้น 42 ล้านบาทจากการลงทุน
และนั่นก็คือความร่ำรวยที่โอกาสเป็นไปได้สูงเกิน 50% และถ้าพลาดก็ไม่เสียหายรุนแรง ความร่ำรวยอาจจะเหลือแค่ 40-50 ล้านบาท ซึ่งก็ยังเพียงพอที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุขตลอดไป เพราะเงิน 62.7 ล้านบาทในวันนั้น จะมีค่าประมาณ 34.6 ล้านบาทในวันนี้ถ้าคิดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะเพิ่มปีละ 2% ในอีก 30 ปีข้างหน้า
แน่นอนว่าหลายคนอาจจะทำไม่ได้ที่จะเก็บเงินได้ถึงเดือนละ 10,000 บาท ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกไม่น้อยที่สามารถเก็บได้มากกว่านั้น เช่นเดียวกัน การเพิ่มการออมปีละ 10% ไปทุกปีก็เป็นเรื่องที่อาจจะยากสำหรับหลายคน แต่สำหรับบางคนก็อาจจะง่าย เหตุผลคงเป็นเรื่องของความสามารถส่วนตัว แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันอาจจะอยู่ที่ความขยันและวินัยในการใช้จ่ายเงินด้วย
เช่นเดียวกับเรื่องของเงินเก็บที่อาจไม่เป็นไปตามแผน ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ อาจจะเพราะตลาดหุ้นที่เราเลือกเปลี่ยนแปลงไปในทางลบอย่างถาวร หรือหุ้นที่เราเลือกมีความผิดพลาดหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ ประเมินสถานะและความเป็นไปของตลาดและหุ้นที่ลงทุนเสมอ แต่อย่าตื่นเต้นตกใจกับความผันผวนที่เกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลา
เกมการลงทุนระยะยาวนั้น เราต้องเน้น “ภาพใหญ่” ซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ สิ่งสำคัญที่เราจะต้องทุ่มเทมากกว่าก็คือ การทำงานและเก็บออมที่จะเป็นจุดตั้งต้นที่จะทำให้เรารวย
2 พ.ย 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/6725c6d74d574fcf810811d0