บทความและรูปมาจาก
https://thematter.co/science-tech/get-into-characters/146841 เป็นบทความอ่านก่อนมาตั้งกระทู้ที่แล้ว
https://ppantip.com/topic/43028867
เอามาแบ่งปันเพราะมีเพื่อนสมาชิกพันทิปขอหลักฐานเกี่ยวเรื่องนี้
ติดซีรีส์เรื่องนี้เหลือเกิน บอกตัวเองทุกคืนว่าขออีกตอนจะนอนแล้ว เมื่อเรื่องราวดำเนินมาถึงบทสุดท้าย ใจนึงก็อยากรู้เรื่องราวตอบจบ บทสรุปของเรื่องนี้ไวๆ แต่อีกใจก็ไม่อยากต้องจากตัวละครนี้ไปเลย เพราะเรานั้นอินกับตัวละครนี้เสียเหลือเกิน เวลาที่ดูซีรีส์ ภาพยนตร์ หรือแม้แต่คาแร็กเตอร์ในหนังสือ หรือเกมส์ เราจะอินกับตัวละครที่ชอบและดำดิ่งพร้อมกับตัวละครเหล่านั้น ราวกับเราอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับสมองของเราบ้างนะ ทำไมมันช่างอินได้ขนาดนี้
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอความรู้สึกนี้ เมื่อได้อินกับภาพยนตร์ ซีรีส์ หนังสือ หรือแม้แต่เกมที่มีเนื้อหาให้เราได้เสพระหว่างทาง หากถูกอกถูกใจขึ้นมา เราก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้จมหายลงไปในสิ่งนั้นแล้ว ราวกับเราอยู่ในเรื่องราวนั้นไปด้วย หรือบางคนชื่นชอบในตัวละคร มากเสียจนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งไปกับตัวละครนั้น เจอเหตุการณ์แบบนี้ ต้องรู้สึกแบบนี้แน่เลย แต่ถ้าเป็นอีกแบบ จะต้องเลือกทำแบบนี้แน่ๆ คิดแทนตัวละครนั้น ราวกับเป็นตัวเราเองที่ไปอยู่ในเรื่องราวนั้นแทน
เรื่องนี้ไม่ได้เป็นแค่ความชอบหรือความอินแบบฉาบฉวยอย่างที่เราคิด เพราะการที่เราชอบตัวละครใดมาๆ หรือดำดิ่งลงไปกับเนื้อหามากๆ สิ่งนี้สามารถสะท้อนตัวตนของเราได้ด้วยเช่นกัน และเป็นคำตอบว่าทำไมหนัง ซีรีส์ หรือหนังสือ ที่เราชื่นชอบ สามารถเป็นจุดเปลี่ยนบางอย่างให้กับชีวิตเราได้ มาดูงานวิจัยจาก Ohio State University และ University of Oregon ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอย่าง Social Cognitive and Affective Neuroscience โดยนำแฟนๆ จากซีรีส์ Game of Thrones มาแสกนดูความเคลื่อนไหวของสมองว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยเปรียบเทียบกันระหว่างในตอนที่พวกเขานึกถึงนิสัยของเพื่อนตัวเอง นิสัยของตัวละครในเรื่อง และนิสัยของตัวเอง
และที่สำคัญ ผู้เข้าร่วมการทดลองนั้น เป็นคนที่อินกับตัวละครที่ชอบมากๆ โดยเฉพาะในตอนที่ตัวละครโปรดของพวกเขาต้องตาย (และเรื่องนี้ตัวอย่างเยอะหน่อย เพราะตัวละครตายตลอดทาง) มาซูมดูการทดลองนี้กันใกล้ๆ ผู้วิจัยเริ่มจากการให้ผู้เข้าร่วมทดลองเนี่ย จัดอันดับความเหมือน ว่าตัวเองเนี่ย มีความใกล้เคียงใครที่สุด โดยเริ่มจากเพื่อน ไหนไล่มาซิ เพื่อนคนไหนมีอะไรเหมือนๆ กับเรามากเป็นอันดับ 1 2 3 4 ว่าไปเรื่อยๆ จนถึงอันดับสุดท้าย และต่อมาเป็นการให้คะแนนตัวละครจาก Game of Thrones แล้วทีนี้ ผู้เข้าร่วมการทดลองที่นั่งนึกถึงคนนั้นคนนี้ ก็จะถูกสแกนสมองด้วย fMRI โดยเน้นไปที่ส่วนหนึ่งของสมอง ที่มีชื่อยาวๆ และออกจะงงๆ หน่อยว่า ตรงกลางด้านล่างส่วนหน้าสมองกลีบหน้าผาก ซึ่งเจ้าส่วนนี้จะทำงานตอนที่เรานึกถึงเพื่อนและตัวเราเอง
ในระหว่างที่สแกนไปด้วย ก็ต้องตอบคำถามไปด้วย โดยผู้วิจัยจะหยิบยกตัวละคร เพื่อนเรา หรือแม้แต่ตัวเราเองขึ้นมาถามว่า คนนี้มีนิสัยดังนี้หรือไม่ ให้เราตอบแค่ ใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น ที่ต้องเป็นคำถามเกี่ยวกับลักษณะนิสัยนี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลองนั้น นึกถึงความรู้สึก ประสบการณ์ของตัวละครนั้น ว่าเขาเป็นแบบนั้นจริงมั้ยนะ หรือเป็นอีกแบบมากกว่า ซึ่งทำให้เกิดการจินตนาการถึงมุมมองที่ต่างออกไปจากความเป็นจริง หรือเข้าถึงประสบการณ์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นนั่นเอง
มาดูผลการทดลองกัน ในตอนที่ผู้เข้าร่วมการทดลองนึกถึงนิสัยของตัวเอง ว่าฉันมีนิสัยแบบนี้หรือไม่ สมองส่วนที่ชื่อยาวๆ นั้นทำงานสูงขึ้น แต่พอเป็นตัวละครทั่วไปกลับทำงานน้อยลง แต่พอพูดถึงตัวละครที่ชื่นชอบ หรือตัวละครที่เขาให้คะแนนว่ามีนิสัยที่ใกล้เคียงเขาที่สุด สมองจะกลับมาทำงานแบบดีดอีกครั้ง นอกจากนี้ จากการทดลอง พบว่าคนเราสามารถหยิบเอานิสัยใหม่ๆ จากตัวละครมาใส่ให้ตัวเองได้ด้วย
จึงเป็นคำตอบกลายๆ ว่าทำไมคนเราถึงสามารถมีหนัง ซีรีส์ หนังสือ หรือคาแร็กเตอร์ที่ประทับใจ เป็นจุดเปลี่ยนบางอย่างให้ตัวเอง เพราะตัวละครที่เราชื่นชอบนั้น มักจะเป็นตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับเรา หรือเป็นตัวละครที่เราอยากให้ตัวเราเองเป็นแบบนั้น มันจะเป็นภาพสะท้อนตัวตนของเราไปด้วย
ดร.ลีล่า แม็กเกฟี่ (Dr.Leela Magavi) ผู้เป็นจิตแพทย์ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า การที่คนเราชื่นชอบคาแร็กเตอร์ต่างๆ เนี่ย เปิดโอกาสให้เราได้จินตนาการถึงประสบการณ์ของตัวเองแบบที่มั่นใจมากขึ้นและใจดีกับตัวเองมากขึ้น เพราะเวลาเรารู้สึกเข้าถึงตัวละคร อุ๊ย ตัวนี้นิสัยเหมือนเราเลย หรือเราอยากเป็นคนแบบนี้จัง จะทำให้เราได้สำรวจนิสัยของตัวเองไปด้วย พร้อมกับนึกถึงตัวเองในเวอร์ชั่นใหม่ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกับตัวละครนั้น
สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ให้เข้าใจกันอีกที การที่เราชื่นชอบในตัวละครไหนมากๆ จนอินไปกับมันเนี่ย มันไม่ได้มีแค่ความรู้สึก เห้ย เจ๋งว่ะ แล้วจบไป แต่มันสามารถสะท้อนถึงตัวตนของเราได้ เพราะเรามักจะอินกับตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับเรา หรืออินกับตัวละครที่เราอยากเป็นแบบนั้น เหมือนกับดึงเอานิสัยบางอย่างของตัวละครมาไว้ในตัวเอง และเราเองก็มองหานิสัยที่เหมือนกันของเรากับตัวละครเช่นกัน เราเลยรู้สึกผูกพันกับตัวละครมากเสียจนบางครั้ง ไม่อยากให้เรื่องนี้จบลงเลย มันจึงเป็นการรู้จักตัวเองในมุมมองอื่นๆ ที่เราอาจจะเพิ่งค้นพบด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก
Verywellmind
Verywellmind #2
อินจนอยากไปทำความรู้จักเขา เมื่อวิทยาศาสตร์หาคำตอบว่าทำไมคนเราถึงผูกพันกับตัวละคร
https://ppantip.com/topic/43028867
เอามาแบ่งปันเพราะมีเพื่อนสมาชิกพันทิปขอหลักฐานเกี่ยวเรื่องนี้
ติดซีรีส์เรื่องนี้เหลือเกิน บอกตัวเองทุกคืนว่าขออีกตอนจะนอนแล้ว เมื่อเรื่องราวดำเนินมาถึงบทสุดท้าย ใจนึงก็อยากรู้เรื่องราวตอบจบ บทสรุปของเรื่องนี้ไวๆ แต่อีกใจก็ไม่อยากต้องจากตัวละครนี้ไปเลย เพราะเรานั้นอินกับตัวละครนี้เสียเหลือเกิน เวลาที่ดูซีรีส์ ภาพยนตร์ หรือแม้แต่คาแร็กเตอร์ในหนังสือ หรือเกมส์ เราจะอินกับตัวละครที่ชอบและดำดิ่งพร้อมกับตัวละครเหล่านั้น ราวกับเราอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับสมองของเราบ้างนะ ทำไมมันช่างอินได้ขนาดนี้
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอความรู้สึกนี้ เมื่อได้อินกับภาพยนตร์ ซีรีส์ หนังสือ หรือแม้แต่เกมที่มีเนื้อหาให้เราได้เสพระหว่างทาง หากถูกอกถูกใจขึ้นมา เราก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้จมหายลงไปในสิ่งนั้นแล้ว ราวกับเราอยู่ในเรื่องราวนั้นไปด้วย หรือบางคนชื่นชอบในตัวละคร มากเสียจนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งไปกับตัวละครนั้น เจอเหตุการณ์แบบนี้ ต้องรู้สึกแบบนี้แน่เลย แต่ถ้าเป็นอีกแบบ จะต้องเลือกทำแบบนี้แน่ๆ คิดแทนตัวละครนั้น ราวกับเป็นตัวเราเองที่ไปอยู่ในเรื่องราวนั้นแทน
เรื่องนี้ไม่ได้เป็นแค่ความชอบหรือความอินแบบฉาบฉวยอย่างที่เราคิด เพราะการที่เราชอบตัวละครใดมาๆ หรือดำดิ่งลงไปกับเนื้อหามากๆ สิ่งนี้สามารถสะท้อนตัวตนของเราได้ด้วยเช่นกัน และเป็นคำตอบว่าทำไมหนัง ซีรีส์ หรือหนังสือ ที่เราชื่นชอบ สามารถเป็นจุดเปลี่ยนบางอย่างให้กับชีวิตเราได้ มาดูงานวิจัยจาก Ohio State University และ University of Oregon ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอย่าง Social Cognitive and Affective Neuroscience โดยนำแฟนๆ จากซีรีส์ Game of Thrones มาแสกนดูความเคลื่อนไหวของสมองว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยเปรียบเทียบกันระหว่างในตอนที่พวกเขานึกถึงนิสัยของเพื่อนตัวเอง นิสัยของตัวละครในเรื่อง และนิสัยของตัวเอง
และที่สำคัญ ผู้เข้าร่วมการทดลองนั้น เป็นคนที่อินกับตัวละครที่ชอบมากๆ โดยเฉพาะในตอนที่ตัวละครโปรดของพวกเขาต้องตาย (และเรื่องนี้ตัวอย่างเยอะหน่อย เพราะตัวละครตายตลอดทาง) มาซูมดูการทดลองนี้กันใกล้ๆ ผู้วิจัยเริ่มจากการให้ผู้เข้าร่วมทดลองเนี่ย จัดอันดับความเหมือน ว่าตัวเองเนี่ย มีความใกล้เคียงใครที่สุด โดยเริ่มจากเพื่อน ไหนไล่มาซิ เพื่อนคนไหนมีอะไรเหมือนๆ กับเรามากเป็นอันดับ 1 2 3 4 ว่าไปเรื่อยๆ จนถึงอันดับสุดท้าย และต่อมาเป็นการให้คะแนนตัวละครจาก Game of Thrones แล้วทีนี้ ผู้เข้าร่วมการทดลองที่นั่งนึกถึงคนนั้นคนนี้ ก็จะถูกสแกนสมองด้วย fMRI โดยเน้นไปที่ส่วนหนึ่งของสมอง ที่มีชื่อยาวๆ และออกจะงงๆ หน่อยว่า ตรงกลางด้านล่างส่วนหน้าสมองกลีบหน้าผาก ซึ่งเจ้าส่วนนี้จะทำงานตอนที่เรานึกถึงเพื่อนและตัวเราเอง
ในระหว่างที่สแกนไปด้วย ก็ต้องตอบคำถามไปด้วย โดยผู้วิจัยจะหยิบยกตัวละคร เพื่อนเรา หรือแม้แต่ตัวเราเองขึ้นมาถามว่า คนนี้มีนิสัยดังนี้หรือไม่ ให้เราตอบแค่ ใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น ที่ต้องเป็นคำถามเกี่ยวกับลักษณะนิสัยนี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลองนั้น นึกถึงความรู้สึก ประสบการณ์ของตัวละครนั้น ว่าเขาเป็นแบบนั้นจริงมั้ยนะ หรือเป็นอีกแบบมากกว่า ซึ่งทำให้เกิดการจินตนาการถึงมุมมองที่ต่างออกไปจากความเป็นจริง หรือเข้าถึงประสบการณ์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นนั่นเอง
มาดูผลการทดลองกัน ในตอนที่ผู้เข้าร่วมการทดลองนึกถึงนิสัยของตัวเอง ว่าฉันมีนิสัยแบบนี้หรือไม่ สมองส่วนที่ชื่อยาวๆ นั้นทำงานสูงขึ้น แต่พอเป็นตัวละครทั่วไปกลับทำงานน้อยลง แต่พอพูดถึงตัวละครที่ชื่นชอบ หรือตัวละครที่เขาให้คะแนนว่ามีนิสัยที่ใกล้เคียงเขาที่สุด สมองจะกลับมาทำงานแบบดีดอีกครั้ง นอกจากนี้ จากการทดลอง พบว่าคนเราสามารถหยิบเอานิสัยใหม่ๆ จากตัวละครมาใส่ให้ตัวเองได้ด้วย
จึงเป็นคำตอบกลายๆ ว่าทำไมคนเราถึงสามารถมีหนัง ซีรีส์ หนังสือ หรือคาแร็กเตอร์ที่ประทับใจ เป็นจุดเปลี่ยนบางอย่างให้ตัวเอง เพราะตัวละครที่เราชื่นชอบนั้น มักจะเป็นตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับเรา หรือเป็นตัวละครที่เราอยากให้ตัวเราเองเป็นแบบนั้น มันจะเป็นภาพสะท้อนตัวตนของเราไปด้วย
ดร.ลีล่า แม็กเกฟี่ (Dr.Leela Magavi) ผู้เป็นจิตแพทย์ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า การที่คนเราชื่นชอบคาแร็กเตอร์ต่างๆ เนี่ย เปิดโอกาสให้เราได้จินตนาการถึงประสบการณ์ของตัวเองแบบที่มั่นใจมากขึ้นและใจดีกับตัวเองมากขึ้น เพราะเวลาเรารู้สึกเข้าถึงตัวละคร อุ๊ย ตัวนี้นิสัยเหมือนเราเลย หรือเราอยากเป็นคนแบบนี้จัง จะทำให้เราได้สำรวจนิสัยของตัวเองไปด้วย พร้อมกับนึกถึงตัวเองในเวอร์ชั่นใหม่ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกับตัวละครนั้น
สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ให้เข้าใจกันอีกที การที่เราชื่นชอบในตัวละครไหนมากๆ จนอินไปกับมันเนี่ย มันไม่ได้มีแค่ความรู้สึก เห้ย เจ๋งว่ะ แล้วจบไป แต่มันสามารถสะท้อนถึงตัวตนของเราได้ เพราะเรามักจะอินกับตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับเรา หรืออินกับตัวละครที่เราอยากเป็นแบบนั้น เหมือนกับดึงเอานิสัยบางอย่างของตัวละครมาไว้ในตัวเอง และเราเองก็มองหานิสัยที่เหมือนกันของเรากับตัวละครเช่นกัน เราเลยรู้สึกผูกพันกับตัวละครมากเสียจนบางครั้ง ไม่อยากให้เรื่องนี้จบลงเลย มันจึงเป็นการรู้จักตัวเองในมุมมองอื่นๆ ที่เราอาจจะเพิ่งค้นพบด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก
Verywellmind
Verywellmind #2