หากเราจะกล่าวว่า คนที่ต้นทุนดีกว่า นอกจากมีเงินที่มากกว่าแล้ว ยังมีโอกาสที่ดีกว่าในการเข้าถึงความรู้ดีๆอีกด้วย ดังนั้นในสังคมทุนนิยมที่ทุกคนต้องแข่งขันและพัฒนาตัวเอง เรามักพบเจอปัญหาของการกระจายทรัพยากรที่จำกัดและไม่เท่าเทียม คนที่ต้นทุนดีกว่าสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้มากกว่าและดีกว่า ขณะที่คนที่ต้นทุนน้อยกว่าเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้น้อยกว่าและแย่กว่า แล้วความไม่เท่าเทียมนี้ทำให้เกิดคำถามที่ว่า: คนที่ต้นทุนน้อยกว่าจะสามารถพัฒนาตัวเองและแข่งขันกับคนที่ต้นทุนมากกว่าได้อย่างไร จริงอยู่ว่ามีความรู้ฟรีในโลกออนไลน์ แต่คนที่ต้นทุนดีกว่าสามารถเข้าถึงความรู้ที่ฟรีและไม่ฟรีได้ ทำให้คนที่ต้นทุนน้อยกว่าเสียเปรียบอยู่ดี แล้วแบบนี้เราควรทำอย่างไร
มีคำถามทางจริยธรรมที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ ระหว่างผลประโยชน์กับความถูกต้อง เราควรเลือกสิ่งใด ในสถานการณ์ทั่วไป หากเราเลือกได้ เราคงอยากเลือกสิ่งที่ถูกต้องและมีผลประโยชน์สูงสุดแน่นอน แต่ในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดและเราต้องเอาตัวรอด การคำนึงถึงกฏหมายและศีลธรรมยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ในมุมมองแบบ Utilitarianism ได้เสนอทางออกไว้ว่า หากสิ่งที่ทำก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ศีลธรรมและความถูกต้องสามารถเป็นสิ่งที่ละเลยได้
กลับมาที่ประเด็นของเรา
หากคนต้นทุนน้อยต้องการเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาตัวเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันและเอาตัวรอดได้ แต่สิ่งที่ขวางกั้นโอกาสนั้นคือปัญหาด้านเงินทุน เราจึงมีอีกทางเลือกหนึ่งคือการเข้าถึงความรู้ฟรี
นอกจากการเข้าถึงความรู้ฟรีที่หาได้ทั่วๆไป ยังมีการเข้าถึงความรู้ฟรีอีกแบบหนึ่งที่อาจเป็นทางออกของปัญหาของเราได้ คือ การใช้บริการจาก Shadow Library เพื่อเข้าถึงความรู้ฟรีที่มาจากการ Piracy สิ่งนี้สามารถแก้ปัญหาความเท่าเทียมของการศึกษาระดับบุคคลได้หรือไม่
เคยมีคำกล่าวที่ว่า "Anything that is free is a great choice for a poor man"
ในปัจจุบัน การใช้บริการจาก Shadow Library ไม่ใช่แค่เพียงหนังสือหรืองานวิจัยเท่านั้นที่เราเข้าถึงได้ แต่บางเว็บสามารถเข้าถึงวิดิโอการสอนและเนื้อหาในคลาสเรียนของมหาวิทยาลัยระดับโลกได้เลย เหมือนเป็น MIT OCW แบบใต้ดินก็ว่าได้ หรือหากมีหนังสือที่จะเข้า Amazon Book ในเดือนหน้า ก็มีให้โหลดฟรีแล้วในบางเว็บไซต์ ดังนั้น เพียงแค่คุณเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เราก็สามารถเข้าถึงโอกาสนี้ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพื่อเข้าถึงการศึกษา เพราะการศึกษาควรเป็นสิ่งที่เท่าเทียมและให้โอกาสสำหรับทุกคน Shadow Library จึงเป็นสิ่งที่ลดความเหลื่อมล้ำนี้ได้
หากเรามองแบบ Utilitarianism เราคงไม่คิดอะไรมากมายในการเข้าถึงการศึกษาด้วยวิธีแบบนี้ อีกทั้งระบบการศึกษาคงยากที่จะเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาระดับภาคบังคับ ระดับอุดมศึกษา และระดับ Long-Life Learning ดังนั้นทางเลือกของ Shadow Library จึงสามารถแก้ปัญหาได้บ้าง แต่ก็ทิ้งคำถามทางศีลธรรมและความถูกต้องเช่นกัน เพราะการสนับสนุน Piracy ทำให้ผู้ผลิตขาดรายได้ และนั้นอาจทำให้ไม่มีใครอยากลงทุนลงแรงสร้างความรู้มาให้เราศึกษาในอนาคต อีกทั้งยังผิดกฏหมายอีกด้วย
ทุกท่านมีมุมมองเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง ลองมา dialectics กันได้ครับ.
*ไม่ตั้งเล่นๆ กลับมาอ่านแน่นอน
*มีการศึกษาข้อมูล อ่านหนังสือ และลองตอบคำถามเองแล้ว แต่อยากลอง dialectics เฉยๆ
* Playing devil's advocate means to argue or present the opinions of the opposite side even though the person doesn't agree with the opinion they are presenting.
*Universal Declaration of Human Rights Article 19
Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers.
ว่าด้วยปัญหาด้านความเท่าเทียมของการศึกษา และการ Piracy เพื่อความเท่าเทียม
มีคำถามทางจริยธรรมที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ ระหว่างผลประโยชน์กับความถูกต้อง เราควรเลือกสิ่งใด ในสถานการณ์ทั่วไป หากเราเลือกได้ เราคงอยากเลือกสิ่งที่ถูกต้องและมีผลประโยชน์สูงสุดแน่นอน แต่ในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดและเราต้องเอาตัวรอด การคำนึงถึงกฏหมายและศีลธรรมยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ในมุมมองแบบ Utilitarianism ได้เสนอทางออกไว้ว่า หากสิ่งที่ทำก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ศีลธรรมและความถูกต้องสามารถเป็นสิ่งที่ละเลยได้
กลับมาที่ประเด็นของเรา
หากคนต้นทุนน้อยต้องการเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาตัวเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันและเอาตัวรอดได้ แต่สิ่งที่ขวางกั้นโอกาสนั้นคือปัญหาด้านเงินทุน เราจึงมีอีกทางเลือกหนึ่งคือการเข้าถึงความรู้ฟรี
นอกจากการเข้าถึงความรู้ฟรีที่หาได้ทั่วๆไป ยังมีการเข้าถึงความรู้ฟรีอีกแบบหนึ่งที่อาจเป็นทางออกของปัญหาของเราได้ คือ การใช้บริการจาก Shadow Library เพื่อเข้าถึงความรู้ฟรีที่มาจากการ Piracy สิ่งนี้สามารถแก้ปัญหาความเท่าเทียมของการศึกษาระดับบุคคลได้หรือไม่
เคยมีคำกล่าวที่ว่า "Anything that is free is a great choice for a poor man"
ในปัจจุบัน การใช้บริการจาก Shadow Library ไม่ใช่แค่เพียงหนังสือหรืองานวิจัยเท่านั้นที่เราเข้าถึงได้ แต่บางเว็บสามารถเข้าถึงวิดิโอการสอนและเนื้อหาในคลาสเรียนของมหาวิทยาลัยระดับโลกได้เลย เหมือนเป็น MIT OCW แบบใต้ดินก็ว่าได้ หรือหากมีหนังสือที่จะเข้า Amazon Book ในเดือนหน้า ก็มีให้โหลดฟรีแล้วในบางเว็บไซต์ ดังนั้น เพียงแค่คุณเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เราก็สามารถเข้าถึงโอกาสนี้ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพื่อเข้าถึงการศึกษา เพราะการศึกษาควรเป็นสิ่งที่เท่าเทียมและให้โอกาสสำหรับทุกคน Shadow Library จึงเป็นสิ่งที่ลดความเหลื่อมล้ำนี้ได้
หากเรามองแบบ Utilitarianism เราคงไม่คิดอะไรมากมายในการเข้าถึงการศึกษาด้วยวิธีแบบนี้ อีกทั้งระบบการศึกษาคงยากที่จะเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาระดับภาคบังคับ ระดับอุดมศึกษา และระดับ Long-Life Learning ดังนั้นทางเลือกของ Shadow Library จึงสามารถแก้ปัญหาได้บ้าง แต่ก็ทิ้งคำถามทางศีลธรรมและความถูกต้องเช่นกัน เพราะการสนับสนุน Piracy ทำให้ผู้ผลิตขาดรายได้ และนั้นอาจทำให้ไม่มีใครอยากลงทุนลงแรงสร้างความรู้มาให้เราศึกษาในอนาคต อีกทั้งยังผิดกฏหมายอีกด้วย
ทุกท่านมีมุมมองเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง ลองมา dialectics กันได้ครับ.
*ไม่ตั้งเล่นๆ กลับมาอ่านแน่นอน
*มีการศึกษาข้อมูล อ่านหนังสือ และลองตอบคำถามเองแล้ว แต่อยากลอง dialectics เฉยๆ
* Playing devil's advocate means to argue or present the opinions of the opposite side even though the person doesn't agree with the opinion they are presenting.
*Universal Declaration of Human Rights Article 19
Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers.