หลายๆครั้ง เรามักเห็นการอ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของศาสนา
เหมือนจะมองว่า Science = Fact ก็ว่าได้
จากหลักการของ Epistemology
Knowledge is not just a true belief; it requires justification and must be tested or validated through evidence and reasoning
สิ่งใดจะเป็นวิทยาศาสตร์ คิดว่าอย่างน้อยต้องตรวจสอบได้ มีหลักฐาน มี Falsifiability ( ability to be proven false) ในการตรวจสอบ ตามแนวคิดของ Karl Popper
หรืออย่างเรื่องของ "All Swans are White"
Under verificationism, if no evidence is found for non-white swans, one might conclude that "all swans are white." This perspective can lead to a false sense of certainty, as it relies solely on observable evidence, potentially ignoring the possibility of unobserved cases.
Popperism On the other hand, Popper's approach emphasizes that a scientific claim must be open to falsification. Even if no black swans have been observed, the statement "All swans are white" remains inherently tentative because it can be proven false by a single counterexample. Popper acknowledges the possibility of unknown entities (like black swans) existing beyond current observations, maintaining that science is always provisional.
ดังนั้น เราจึงต้องสงสัย ตั้งคำถาม และตรวจสอบความถูกต้องของวิทยาศาตร์เสมอ แม้ด้วยความรู้และหลักฐานในปัจจุบันยังอธิบายไม่ได้ แต่ในอนาคตอาจมีความรู้และหลักฐานที่มากพอในการอธิบายและหักล้างได้
สิ่งที่ไม่มีคำอธิบาย อาจได้รับคำอธิบาย
สิ่งที่ผิด อาจกลายเป็นสิ่งที่ถูก
สิ่งที่ถูก อาจกลายเป็นสิ่งที่ผิด แล้วก็อาจจะถูกในเวลาต่อมา
สิ่งใดจะผิดหรือถูก ย่อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอด้วยความรู้และหลักฐานที่มากขึ้นในการอธิบาย
และบ่อยครั้ง ด้วยความรู้และหลักฐานที่จำกัด เราจึงสรุปว่าสิ่งใดถูกหรือผิดอย่างชัดเจนไม่ได้ แต่มันง่ายมากที่จะตอบว่าเรา"ไม่รู้" แล้วค้นหาต่อไป
นอกจากนี้ Gettier 's Problem ได้เสนอมุมมองว่า นอกเหนือจากการนำความเชื่อมาพิสูจน์ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และได้ผลลัพท์สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว ก็ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดกรณีที่เดาถูกหรือมั่วถูกด้วย
อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ วิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเสมอ
จากแนวคิดเรื่อง Paradigm Shift ที่นำเสนอมุมมองว่า เมื่อมนุษย์ค้นพบหลักฐานบางอย่าง การค้นพบนั้น ย่อมส่งผลให้เรามีความรู้ในการอธิบายสื่งต่างๆได้ในระดับหนึ่ง
เมื่อเวลาผ่านไป เราย่อมพบเจอบางสิ่งที่ความรู้เดิมอธิบายไม่ได้ เราจึงต้องค้นพบความรู้และหลักฐานใหม่ๆมาอธิบาย แล้วการค้นพบความรู้และหลักฐานใหม่ๆนี้ ย่อมส่งผลให้มุมมองแบบเดิมเปลี่ยนแปลงและพัฒนา เราจึงได้ข้อสรุปที่ดียิ่งขึ้น
แล้วเราก็วนวัฏจักรนี้ ค้นพบ —> มีความรู้—>ความรู้ตัน —>ค้นพบใหม่ —>ความรู้เปลี่ยนแปลงและพัฒนา
.
ดังนั้น วิทยาศาสตร์ ก็คือ กระบวนการทดสอบความเชื่อด้วยการใช้หลักฐานพิสูจน์ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ
วิทยาศาสตร์สามารถผิดพลาด เปลี่ยนแปลง และพัฒนาได้ ไม่ใช่ Absolute Truth ที่ตายตัวแน่นอน ขึ้นกับความรู้และหลักฐานที่มี
การที่ศาสนาอ้างอิงความเป็นวิทยาศาสตร์ จึงเป็นสิ่งที่เราควรคิดทบทวนและตรวจสอบ
การอ้างอิงถึงวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ทำให้ข้อมูลนั้นเป็นความจริงที่ถูกต้องที่สุดและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
มีคำกล่าวที่ว่า
"คนที่ไม่เชื่อว่าโลกกลม แล้วตั้งสมมติฐาน และพยายามพิสูจน์ แม้ว่าจะล้มเหลว ก็น่าจะมีแนวคิดและจิตใจเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าคนที่เชื่อว่าโลกกลมโดยไม่ตั้งคำถาม เชื่อตามสังคม เชื่อตามๆกัน เชื่อตามตำรา ฯลฯ"
ดังนั้นการที่เราได้คิด ได้ตั้งคำถาม ได้ตรวจสอบ ได้ท้าทาย ได้วิพากษ์วิจารณ์ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นความจริง ศาสนา หรือวิทยาศาสตร์ก็ตาม ก็จะทำให้เราได้พัฒนาข้อสรุปที่เข้าใกล้ความจริงที่ถูกต้องมากขึ้น
แต่ละท่านมีมุมมองอย่างไร ลอง dialectics ได้ครับ
.
.
*ไม่ตั้งเล่นๆ กลับมาอ่านแน่นอน
*มีการศึกษาข้อมูล อ่านหนังสือ และลองตอบคำถามเองแล้ว แต่อยากลอง dialectics เฉยๆ
* Playing devil's advocate means to argue or present the opinions of the opposite side even though the person doesn't agree with the opinion they are presenting.
ความเชื่อ vs วิทยาศาสตร์