ธิษะณา โวยคลองติด ถ.บรรทัดทอง เหม็นเน่า ปล่อยน้ำเสีย กทม.ไร้วิธีจัดการ
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9457371
สส.พรรคประชาชน เปิดคลิปสำรวจคลองใกล้ ถ.บรรทัดทอง แหล่งท่องเที่ยวฮิต ร้านค้าปล่อยน้ำเสีย ไร้การติดบ่อดักไขมัน ทำคลองเน่าเหม็น ขยะเพียบ
บรรทัดทอง กลายเป็นถนนสายสำคัญใน กทม.อีกสาย ที่กลายเป็นแหล่งรวมอาหารนานาชนิด ที่ฮิตติดลมบนจนทำให้คนแห่ไปเที่ยว ไปกิน ไปชิมกันแน่นขนัด แต่ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาตามมา
โดย น.ส.
ธิษะณา ชุณหะวัณ (แก้วตา) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 2 “พรรคประชาชนได้ออกมาโพสต์คลิปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจากการสำรวจคลองย่านดังกล่าวพร้อมระบุว่า
“
สำรวจสภาพคลองติดกับถนนบรรทัดทองมีสภาพเน่าเหม็นกว่าเดิม (จากครั้งที่แล้วไปร้องเรียนกับสำนักระบายน้ำ กทม.) มาจากการที่ผู้ประกอบการปล่อยปละละเลย และทิ้งสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารลงในคลอง โดยที่ไม่ติดบ่อดักไขมัน
หลังจากที่ดิฉันได้ร้องเรียนไปยังสำนักระบายน้ำและสำนักงานเขตปทุมวันไปยังผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการทำนุบำรุงทางด้านสิ่งแวดล้อมในคลอง ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใดชาวบ้านต้องทนกับกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะในหน้าร้อนพอน้ำในคลองแห้งจะส่งกลิ่นเหม็นที่เป็นมลภาวะทางอากาศมากยิ่งขึ้น
ดิฉันจะทำหนังสือไปยังสำนักระบายน้ำและสำนักสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงสำนักงานเขตปทุมวันอีกครั้งในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเหม็นที่มาจากผลกระทบของการปล่อยมลภาวะทางน้ำลงคลองโดยผู้ประกอบการ
ดิฉันต้องขอความอนุเคราะห์ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการย่านถนนบรรทัดทอง ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยรอบไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ”.
https://www.facebook.com/watch/?ref=embed_video&v=1629947277553549
อยุธยาน้ำเริ่มลด! ชุมชนวัดจุฬามณียังท่วมถึงคอ ชาวบ้านลำบากต้องใช้เรือเข้าออก
https://www.dailynews.co.th/news/3969523/
สถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำเริ่มลดลงหลังเขื่อนเจ้าพระยาทยอยปรับลดการระบายน้ำ ขณะที่ชุมชนวัดจุฬามณียังท่วมถึงคอ ชาวบ้านลำบากต้องใช้เรือเข้าออก ซึ่งชุมชนนี้น้ำท่วมทุกปีแล้วแต่จะมากหรือน้อย.
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขื่อนเจ้าพระยาทยอยปรับลดการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองต่างๆ ที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มลดระดับลง
ที่ชุมชนหลังวัดจุฬามณี หมู่ที่ 7 ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่า ระดับน้ำลดลงประมาณ 5-10 เซนติเมตร บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมทั้งหมด ระดับน้ำยังท่วมสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านแสดงวัดระดับน้ำให้เห็นว่าน้ำยังคงท่วมสูงถึงระดับคอ
นาง
บังเอิญ ภู่สำเภา อายุ 63 ปี เล่าว่า ชุมชนน้ำท่วมทุกปีแล้วแต่จะมากหรือน้อย ระดับน้ำเริ่มลงแล้ว ยังคงได้รับความเดือดร้อนต้องใช้เรือในการเข้าออก บางบ้านไม่มีเรือก็ต้องเดินลุยน้ำไปถึงถนนสายหลักจะเข้าไปค่อยๆ ลึกลงไปทางริมแม่น้ำ ทำให้บ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำจะถูกท่วมหนักกว่า
เกษตรฯ ชง ก.ช.ภ.อ ช่วยเหลือเกษตรกรด้านพืช ประสบภัยน้ำท่วม 917 ล้านบาท
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1148969
กรมส่งเสริมการเกษตร สำรวจความเสียหายด้านพืชจากภัยพิบัติ คืบหน้า 85% เป็นเสียหายสิ้นเชิง 6 แสนไร่ อยู่ระหว่างการช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 79,623 ราย วงเงิน 917ล้านบาท
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่าจากสถานการณ์อุทกภัย และปริมาณฝนที่ตกมาก ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นช่วงภัยที่เกิดในช่วง 14 กรกฎาคม – 27 กันยายน 2567
กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการลดระยะเวลาขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรรวดเร็วยิ่งขึ้น จากเดิมไม่เกิน 90 วัน เหลือไม่เกิน65 วัน
และได้สั่งการให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติงานและบูรณาการการทำงานในพื้นที่ให้สามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ทันสถานการณ์ ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการสำรวจความเสียหายแล้ว คิดเป็น 85.16 % และอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย คิดเป็น 14.84 % เนื่องจากยังมีน้ำท่วมขังและบางพื้นที่เกิดกรณีน้ำหลากซ้ำ
ทั้งนี้มีการช่วยเหลือเกษตรกรเสร็จสิ้นแล้ว คิดเป็นพื้นที่เสียหาย จำนวน 12,825.50 ไร่ วงเงินช่วยเหลือ 18,855,691.75 บาท อยู่ระหว่างการช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 79,623 ราย คิดเป็นพื้นที่เสียหาย จำนวน 644,876. ไร่ วงเงินช่วยเหลือ 917,331,001.75 บาท
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) จำนวน 8 จังหวัด และพร้อมเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)จำนวน 21 จังหวัด
โดยคาดว่าจะสามารถสำรวจให้แล้วเสร็จ และพร้อมจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ช.ภ.อ. ได้ครบถ้วน ภายในปลายเดือนตุลาคมนี้ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือให้สามารถใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดหรือในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564
โดยเกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย โดยจะได้รับความช่วยเหลือครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท ซึ่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการมีวงเงินทดรองราชการในการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือ
JJNY : ธิษะณาโวยคลองบรรทัดทองเหม็นเน่า│อยุธยาน้ำเริ่มลด! ยังท่วมถึงคอ│เกษตรฯ ชงก.ช.ภ.อช่วย│อิหร่านยืนยันพร้อมหนุนเลบานอน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9457371
สส.พรรคประชาชน เปิดคลิปสำรวจคลองใกล้ ถ.บรรทัดทอง แหล่งท่องเที่ยวฮิต ร้านค้าปล่อยน้ำเสีย ไร้การติดบ่อดักไขมัน ทำคลองเน่าเหม็น ขยะเพียบ
บรรทัดทอง กลายเป็นถนนสายสำคัญใน กทม.อีกสาย ที่กลายเป็นแหล่งรวมอาหารนานาชนิด ที่ฮิตติดลมบนจนทำให้คนแห่ไปเที่ยว ไปกิน ไปชิมกันแน่นขนัด แต่ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาตามมา
โดย น.ส.ธิษะณา ชุณหะวัณ (แก้วตา) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 2 “พรรคประชาชนได้ออกมาโพสต์คลิปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจากการสำรวจคลองย่านดังกล่าวพร้อมระบุว่า
“สำรวจสภาพคลองติดกับถนนบรรทัดทองมีสภาพเน่าเหม็นกว่าเดิม (จากครั้งที่แล้วไปร้องเรียนกับสำนักระบายน้ำ กทม.) มาจากการที่ผู้ประกอบการปล่อยปละละเลย และทิ้งสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารลงในคลอง โดยที่ไม่ติดบ่อดักไขมัน
หลังจากที่ดิฉันได้ร้องเรียนไปยังสำนักระบายน้ำและสำนักงานเขตปทุมวันไปยังผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการทำนุบำรุงทางด้านสิ่งแวดล้อมในคลอง ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใดชาวบ้านต้องทนกับกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะในหน้าร้อนพอน้ำในคลองแห้งจะส่งกลิ่นเหม็นที่เป็นมลภาวะทางอากาศมากยิ่งขึ้น
ดิฉันจะทำหนังสือไปยังสำนักระบายน้ำและสำนักสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงสำนักงานเขตปทุมวันอีกครั้งในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเหม็นที่มาจากผลกระทบของการปล่อยมลภาวะทางน้ำลงคลองโดยผู้ประกอบการ
ดิฉันต้องขอความอนุเคราะห์ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการย่านถนนบรรทัดทอง ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยรอบไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ”.
https://www.facebook.com/watch/?ref=embed_video&v=1629947277553549
อยุธยาน้ำเริ่มลด! ชุมชนวัดจุฬามณียังท่วมถึงคอ ชาวบ้านลำบากต้องใช้เรือเข้าออก
https://www.dailynews.co.th/news/3969523/
สถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำเริ่มลดลงหลังเขื่อนเจ้าพระยาทยอยปรับลดการระบายน้ำ ขณะที่ชุมชนวัดจุฬามณียังท่วมถึงคอ ชาวบ้านลำบากต้องใช้เรือเข้าออก ซึ่งชุมชนนี้น้ำท่วมทุกปีแล้วแต่จะมากหรือน้อย.
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขื่อนเจ้าพระยาทยอยปรับลดการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองต่างๆ ที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มลดระดับลง
ที่ชุมชนหลังวัดจุฬามณี หมู่ที่ 7 ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่า ระดับน้ำลดลงประมาณ 5-10 เซนติเมตร บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมทั้งหมด ระดับน้ำยังท่วมสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านแสดงวัดระดับน้ำให้เห็นว่าน้ำยังคงท่วมสูงถึงระดับคอ
นางบังเอิญ ภู่สำเภา อายุ 63 ปี เล่าว่า ชุมชนน้ำท่วมทุกปีแล้วแต่จะมากหรือน้อย ระดับน้ำเริ่มลงแล้ว ยังคงได้รับความเดือดร้อนต้องใช้เรือในการเข้าออก บางบ้านไม่มีเรือก็ต้องเดินลุยน้ำไปถึงถนนสายหลักจะเข้าไปค่อยๆ ลึกลงไปทางริมแม่น้ำ ทำให้บ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำจะถูกท่วมหนักกว่า
เกษตรฯ ชง ก.ช.ภ.อ ช่วยเหลือเกษตรกรด้านพืช ประสบภัยน้ำท่วม 917 ล้านบาท
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1148969
กรมส่งเสริมการเกษตร สำรวจความเสียหายด้านพืชจากภัยพิบัติ คืบหน้า 85% เป็นเสียหายสิ้นเชิง 6 แสนไร่ อยู่ระหว่างการช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 79,623 ราย วงเงิน 917ล้านบาท
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่าจากสถานการณ์อุทกภัย และปริมาณฝนที่ตกมาก ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นช่วงภัยที่เกิดในช่วง 14 กรกฎาคม – 27 กันยายน 2567
กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการลดระยะเวลาขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรรวดเร็วยิ่งขึ้น จากเดิมไม่เกิน 90 วัน เหลือไม่เกิน65 วัน
และได้สั่งการให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติงานและบูรณาการการทำงานในพื้นที่ให้สามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ทันสถานการณ์ ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการสำรวจความเสียหายแล้ว คิดเป็น 85.16 % และอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย คิดเป็น 14.84 % เนื่องจากยังมีน้ำท่วมขังและบางพื้นที่เกิดกรณีน้ำหลากซ้ำ
ทั้งนี้มีการช่วยเหลือเกษตรกรเสร็จสิ้นแล้ว คิดเป็นพื้นที่เสียหาย จำนวน 12,825.50 ไร่ วงเงินช่วยเหลือ 18,855,691.75 บาท อยู่ระหว่างการช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 79,623 ราย คิดเป็นพื้นที่เสียหาย จำนวน 644,876. ไร่ วงเงินช่วยเหลือ 917,331,001.75 บาท
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) จำนวน 8 จังหวัด และพร้อมเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)จำนวน 21 จังหวัด
โดยคาดว่าจะสามารถสำรวจให้แล้วเสร็จ และพร้อมจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ช.ภ.อ. ได้ครบถ้วน ภายในปลายเดือนตุลาคมนี้ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือให้สามารถใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดหรือในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564
โดยเกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย โดยจะได้รับความช่วยเหลือครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท ซึ่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการมีวงเงินทดรองราชการในการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือ