ดูตอนจบ เรานึกถึงคำพูดของอาจารย์ท่านหนึ่ง
ตอนเรียนวิชาวิจารณ์ภาพยนต์ เราได้คะแนนสูงเสมอ
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ 8.5 เต็ม 10 เราแปลกใจมาก ก็เราพยายามมาก ๆ เลย
อาจารย์เขียนแนวๆ ว่า
"
อย่าใส่ทุกอย่างที่รู้ ลงไปในงานชิ้นเดียว"
บ่อยครั้ง ที่เราจะทำอะไร แม้แต่ทำอาหาร เรามักจะนึกถึงประโยคนี้
เพราะในวันรุ่งขึ้น เราก็มีอาหารจานใหม่ ที่ต้องทำ และสนุกกับตีมใหม่ได้
แน่นอนว่า ชื่อเรื่อง Never Enough
สิ่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยตา ว่าลงทุนสูง ทุ่มทุนแต่งตัว หรือ ฉากอลังห์
แต่ เราคาดหวัง Feeling เวลาเราเข้าถึงความตระหนักรู้
ที่ story หนึ่งเรื่อง พาเราให้เข้าถึงประตูสว่าง 1 บาน
โดยสามารถที่จะคุมโทนความเรียบง่าย ตั้งแต่ต้นจนจบ
แน่นอนในเรื่องนี้ ผู้ชมรู้ ตัวละครใดคือ ผู้ชนะ
แต่ละคร กลับผลักตัวเองมาอยู่จุดเสี่ยงต่อความพ่ายแพ้
เพราะทำลายระบบตรรกะที่สร้างไว้ตั้งแต่ต้นที่ ว่า
ละครเรื่องนี้ กำลังล้อเล่นกับระบบความเชื่อเดิม
เข้าใจว่า ยังต้องการเอาใจคนดู สายมู ความเชื่อเรื่องโลกหลังความตาย
แต่ยิ่งเอาใจ จะยิ่งไม่อาจกวาดคนดูกลุ่มไหนเป็นหลัก
ทั้งสายวิทย์ สายศิลป์ และสายมู
ส่วนดี เห็นด้วยที่ มานะป่วย ตะวันดูแล
ทางออกนี้ make sense เพื่อนไม่เคยทิ้งกัน
แต่จบที่แต่งงาน ตัวละครมีความสุข แต่เราไม่รู้สึกอินแบบเพลง Moonlit Floor
อยากให้ปรัชญาความมานะ ตาย เจ็บ แต่อยู่ในความทรงจำของผู้ชม
นักแสดง ได้โชว์ศักยภาพทางการแสดง ที่ปราณีตถึงนาทีสุดท้าย
และส่งตัวละครได้ถึงศักยภาพความยิ่งใหญ่ สร้างความสะเทือนใจ แม้เขาจะเป็นคนธรรมดา
เป็นตัวอย่าง ให้เราได้เห็นผลของชีวิต จากความเชื่อที่ยึดมั่นและวิธีล่าฝันของตัวละคร
ซึ่งเต็มไปด้วยปมที่เขาต้องแลกอย่างน่าสงสาร อยู่หลายครั้ง
ควรให้เวลากับการตายของตัวละครทุกตัว
เพราะการตาย คือ บทเรียนสำคัญ
ที่ผู้สูญเสีย ได้รับรู้และเรียนรู้จากประสพการณ์
ว่ากันว่า การยอมรับการตายได้ คือ ส่วนหนึ่งของการเติบโต
เมื่อเขาคือคนที่คุณรัก เขาคือคนที่คุณพึ่งพา 1. ทางความรู้สึก
2. ทางกายภาพ 3. ทางการเงิน จึงต้องดูแลตัวเองมากขึ้นเมื่อไม่มีเขา
สุดท้าย อย่ากลัวความขม ยิ่งอายุมาก ยิ่งต้องกินของขม อย่างชาเขียว
เมื่อตอนสุดท้าย ขมน้อย เติมความหวาน
ทำให้ละครเรื่องนี้ ที่ควรเป็นน้ำสมุนไพรเสียรสชาติและคุณค่าไป
อาจต้องเลือก ระหว่าง ทำให้คนดูฝันดี กับ ทำให้ตระหนักรู้ ว่า สังคมโหดร้าย
มนุษย์ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้อยู่ในนั้น น่าเห็นใจ โดยเฉพาะ เด็กกำพร้า
ซึ่งไม่มีต้นทุนชีวิต เรื่องอาจเปิดประเด็นให้ชัดไปเลย
ความกดดันทางสังคมทำให้สู้จนเสียสุขภาพในสงครามเศรษฐกิจ
ทุกๆ ชัยชนะ ต้องแลกด้วยบางสิ่ง จึงจะได้มา
แล้วก็จบสวย ที่มีการตั้งมูลนิธิ เพราะเรื่องนี้ มีประเด็นปัญหาเด็กและเยาวชน
และการตั้งคำถามเกี่ยวกับการเติบโต เพื่ออยู่รอดในสังคมที่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง
การวางเป้าหมาย ต้องไม่มากมายเกินไป
ไม่ควรใจดี จนเสียรูปทรง หากว่า
มีเป้าหมายเดียว ประเด็นอื่น ก็จะได้เป็นเรื่องรอง
เพื่อที่ตอนปิดประเด็น/ปิดเรื่อง จะได้มีน้ำหนัก มี impact ที่สะเทือนต่อระบบคิดของผู้ชม
ไม่ว่าละครเรื่องนั้น จะเป็นละครรัก หรือ กระชากหน้ากากสังคม
กลายเป็นที่นิยมได้ ถ้าทำถึง
การเขียนบท ต้องใช้เวลา ทั้งค้นคว้า และอภิปราย
ซึ่งในประเทศที่ส่งออกสื่อบันเทิง ถือเป็นหัวใจหลักที่ต้องลงทุน
ส่องรายได้ของนักเขียนบทซีรีย์-ภาพยนตร์เกาหลี อาชีพระดับจีเนียส
https://ppantip.com/topic/42935639
โลกหมุนรอบตัวเธอ... ความมานะอาจไม่นำไปสู่ชัยชนะเสมอไป
ตอนเรียนวิชาวิจารณ์ภาพยนต์ เราได้คะแนนสูงเสมอ
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ 8.5 เต็ม 10 เราแปลกใจมาก ก็เราพยายามมาก ๆ เลย
อาจารย์เขียนแนวๆ ว่า
"อย่าใส่ทุกอย่างที่รู้ ลงไปในงานชิ้นเดียว"
บ่อยครั้ง ที่เราจะทำอะไร แม้แต่ทำอาหาร เรามักจะนึกถึงประโยคนี้
เพราะในวันรุ่งขึ้น เราก็มีอาหารจานใหม่ ที่ต้องทำ และสนุกกับตีมใหม่ได้
แน่นอนว่า ชื่อเรื่อง Never Enough
สิ่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยตา ว่าลงทุนสูง ทุ่มทุนแต่งตัว หรือ ฉากอลังห์
แต่ เราคาดหวัง Feeling เวลาเราเข้าถึงความตระหนักรู้
ที่ story หนึ่งเรื่อง พาเราให้เข้าถึงประตูสว่าง 1 บาน
โดยสามารถที่จะคุมโทนความเรียบง่าย ตั้งแต่ต้นจนจบ
แน่นอนในเรื่องนี้ ผู้ชมรู้ ตัวละครใดคือ ผู้ชนะ
แต่ละคร กลับผลักตัวเองมาอยู่จุดเสี่ยงต่อความพ่ายแพ้
เพราะทำลายระบบตรรกะที่สร้างไว้ตั้งแต่ต้นที่ ว่า
ละครเรื่องนี้ กำลังล้อเล่นกับระบบความเชื่อเดิม
เข้าใจว่า ยังต้องการเอาใจคนดู สายมู ความเชื่อเรื่องโลกหลังความตาย
แต่ยิ่งเอาใจ จะยิ่งไม่อาจกวาดคนดูกลุ่มไหนเป็นหลัก
ทั้งสายวิทย์ สายศิลป์ และสายมู
ส่วนดี เห็นด้วยที่ มานะป่วย ตะวันดูแล
ทางออกนี้ make sense เพื่อนไม่เคยทิ้งกัน
แต่จบที่แต่งงาน ตัวละครมีความสุข แต่เราไม่รู้สึกอินแบบเพลง Moonlit Floor
อยากให้ปรัชญาความมานะ ตาย เจ็บ แต่อยู่ในความทรงจำของผู้ชม
นักแสดง ได้โชว์ศักยภาพทางการแสดง ที่ปราณีตถึงนาทีสุดท้าย
และส่งตัวละครได้ถึงศักยภาพความยิ่งใหญ่ สร้างความสะเทือนใจ แม้เขาจะเป็นคนธรรมดา
เป็นตัวอย่าง ให้เราได้เห็นผลของชีวิต จากความเชื่อที่ยึดมั่นและวิธีล่าฝันของตัวละคร
ซึ่งเต็มไปด้วยปมที่เขาต้องแลกอย่างน่าสงสาร อยู่หลายครั้ง
ควรให้เวลากับการตายของตัวละครทุกตัว
เพราะการตาย คือ บทเรียนสำคัญ
ที่ผู้สูญเสีย ได้รับรู้และเรียนรู้จากประสพการณ์
ว่ากันว่า การยอมรับการตายได้ คือ ส่วนหนึ่งของการเติบโต
เมื่อเขาคือคนที่คุณรัก เขาคือคนที่คุณพึ่งพา 1. ทางความรู้สึก
2. ทางกายภาพ 3. ทางการเงิน จึงต้องดูแลตัวเองมากขึ้นเมื่อไม่มีเขา
สุดท้าย อย่ากลัวความขม ยิ่งอายุมาก ยิ่งต้องกินของขม อย่างชาเขียว
เมื่อตอนสุดท้าย ขมน้อย เติมความหวาน
ทำให้ละครเรื่องนี้ ที่ควรเป็นน้ำสมุนไพรเสียรสชาติและคุณค่าไป
อาจต้องเลือก ระหว่าง ทำให้คนดูฝันดี กับ ทำให้ตระหนักรู้ ว่า สังคมโหดร้าย
มนุษย์ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้อยู่ในนั้น น่าเห็นใจ โดยเฉพาะ เด็กกำพร้า
ซึ่งไม่มีต้นทุนชีวิต เรื่องอาจเปิดประเด็นให้ชัดไปเลย
ความกดดันทางสังคมทำให้สู้จนเสียสุขภาพในสงครามเศรษฐกิจ
ทุกๆ ชัยชนะ ต้องแลกด้วยบางสิ่ง จึงจะได้มา
แล้วก็จบสวย ที่มีการตั้งมูลนิธิ เพราะเรื่องนี้ มีประเด็นปัญหาเด็กและเยาวชน
และการตั้งคำถามเกี่ยวกับการเติบโต เพื่ออยู่รอดในสังคมที่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง
การวางเป้าหมาย ต้องไม่มากมายเกินไป
ไม่ควรใจดี จนเสียรูปทรง หากว่า
มีเป้าหมายเดียว ประเด็นอื่น ก็จะได้เป็นเรื่องรอง
เพื่อที่ตอนปิดประเด็น/ปิดเรื่อง จะได้มีน้ำหนัก มี impact ที่สะเทือนต่อระบบคิดของผู้ชม
ไม่ว่าละครเรื่องนั้น จะเป็นละครรัก หรือ กระชากหน้ากากสังคม
กลายเป็นที่นิยมได้ ถ้าทำถึง
การเขียนบท ต้องใช้เวลา ทั้งค้นคว้า และอภิปราย
ซึ่งในประเทศที่ส่งออกสื่อบันเทิง ถือเป็นหัวใจหลักที่ต้องลงทุน
ส่องรายได้ของนักเขียนบทซีรีย์-ภาพยนตร์เกาหลี อาชีพระดับจีเนียส
https://ppantip.com/topic/42935639