ถ้าใครที่ติดตามกระทู้ของ JobThai Tips จะเห็นว่าในช่วงนี้เราพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาชีพที่น่าสนใจ ซึ่งกระทู้นี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักอาชีพสาย E-Commerce Marketing กับคุณแตงไทย ญาณิกา ฉายากุล Head of E-Commerce Marketing - LINE ประเทศไทย
E-Commerce คืออะไร
E-Commerce คือการซื้อขายของผ่านออนไลน์ ซึ่งต้องมีผู้ซื้อและผู้ขายในการที่ทำให้สองคนนี้มาเจอกันและเกิดธุรกรรมบางอย่างก็จะเรียกว่า E-Commerce ค่ะ
ช่วยอธิบายความแตกต่างของ E-commerce Marketing กับ Digital Marketing หน่อย
จริง ๆ แล้วศาสตร์แม่เลยก็คือศาสตร์ของ Marketing เนอะ Marketing คือการทำการตลาดอะไรอย่างหนึ่งที่ทำให้นักการตลาดหรือ Marketer นำเสนอคุณค่าอะไรบางอย่างหรือว่า สินค้า ผลิตภัณฑ์ ให้กับผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายของเรา ส่วน E-Commerce Marketing มันก็เกิดต่อมาจาก Digital Marketing ในยุคที่เรามีอินเทอร์เน็ต มีเทคโนโลยี มีสื่อต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ รวมถึงสื่อ Social Network นะคะ ก็มีการพัฒนาต่อมาเป็น Digital Marketing หลังจากนั้น E-Commerce Marketing ก็เกิดขึ้นเพราะว่ามีการซื้อ-ขายของกันผ่านสื่อออนไลน์ นักการตลาดจะต้องปรับตัว ว่าเราจะทำยังไงให้สินค้าหรือบริการของเรา มันถูกขายได้ในโลกออนไลน์
อยากรู้จักงาน E-Commerce ให้มากขึ้น สามารถดูสัมภาษณ์คุณแตงไทยในรายการ Career Unlock แบบเต็ม ๆ ได้ที่ >
คลิก <
เห็นภาพคำว่า E-Commerce แล้ว ถ้าเจาะในแง่ของการทำงาน สโคปงานของ E-Commerce เป็นยังไงบ้าง
สโคปงานของ E-Commerce ถ้าเกิดในที่ที่แตงไทยอยู่ เราจะดูแลแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า LINE SHOPPING ซึ่งจะรวมร้านค้ามากมาย ทั้งร้านค้าแบรนด์ใหญ่ รวมถึงร้านค้าขนาดย่อมเข้ามาในระบบ แล้วหน้าที่ของ Marketing หรือ E-Commerce Marketing ในที่นี่ ก็คือเราทำหน้าที่ในการนำเสนอแพลตฟอร์มตัว LINE SHOPPING ให้กับผู้บริโภค ก็คือผู้ใช้งาน LINE ซึ่งตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 53 ล้านคน เรามีเป้าหมายที่จะทำให้ซื้อ-ขายของผ่าน LINE ได้ง่ายขึ้น
ในทีม E-Commerce มีตำแหน่งอะไรบ้าง
จริง ๆ แล้วทีม E-Commerce เป็นทีมที่ใหญ่มากนะคะ ทีมแรกจะเป็น Strategic Planning จะทำหน้าที่ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลในการหา Insight ของผู้ใช้ ทีมที่สองจะเป็นทีม Campaign Planning ทำหน้าที่ในการคิดแคมเปญว่าในเดือนนี้เราจะมีแคมเปญอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทีมถัดมาก็จะเป็น Branding and Content SNS จะทำหน้าที่ในการดูขาที่เป็นงาน Creative วางแผนการสื่อสาร รวมถึงงาน Production ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทีมที่สี่จะเป็นทีม Merchandising and Service Operation จะทำหน้าที่ในการดูแพลตฟอร์ม LINE SHOPPING Homepage หรือหน้า Campaign Landing และหน้า Wallet ของ LINE โดยที่เขาจะทำหน้าที่ในการเลือกสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นำมาเสนอให้ทุกคนรู้สึกว้าวแล้วก็อยากช้อปกัน ทีมสุดท้ายก็จะเป็นทีม Media Operation หรือว่าในบริษัทอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นทีม Digital Marketing หรือทีม Performance Marketing ทีมนี้เขาก็จะทำหน้าที่ดูว่าจะใช้สื่อและโฆษณายังไง หรือใช้ช่องทางไหนในการเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดค่ะ
ความท้าทายของการทำงาน E-Commerce Marketing เป็นยังไงบ้าง
แตงไทยมองว่าความท้าทายของการทำ E-Commerce Marketing เรียกว่าท้าทายมาก แต่ว่าขอแบ่งออกมาเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ แล้วกันนะคะ ส่วนแรกเลยคือเรื่องของ Phasing เพราะว่าตลาดของ E-Commerce มันเพิ่งเกิดขึ้นเนอะ มีคู่แข่งเจ้าใหญ่ ๆ มากมาย แล้วทุกคนแข่งขันกันรุนแรง เพราะว่าตลาดมันกำลังโต การขยับตัวหรือทำกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ มันต้องเกิดขึ้นเร็วมาก ความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นความท้าทายแรกที่เจอ
ความท้าทายที่สองคือเรื่องของการทำให้บริการหรือแพลตฟอร์มของเรามีความแตกต่างในสายตาของผู้บริโภค ซึ่งจริง ๆ แล้ว LINE SHOPPING เองเนี่ย เราวาง Position ตัวเองอยู่ในตลาด Social Commerce เพราะอย่างที่บอกไปเลยว่า LINE คือแอปฯ ที่ทุกคนใช้ในการแชท เพราะฉะนั้นเราก็ต้องการสร้างความแตกต่าง ทำยังไงเราถึงต่างกับแพลตฟอร์มอื่นที่อาจจะเน้นเรื่องของการสร้างแพลตฟอร์มแล้วก็ให้ส่วนลดลูกค้า ทำยังไงเราถึงจะนำเสนอมุมมองที่แตกต่าง การนำเสนอสินค้าที่เป็นเทรนด์ หรือว่าสินค้าที่เราเลือกมาแล้ว หรือว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ที่เราให้กับผู้ใช้งาน เช่น LINE POINTS นอกจากจะใช้เป็นส่วนลดในแพลตฟอร์มได้ มันก็อาจจะใช้ข้ามแพลตฟอร์ม หรือใช้กับบริการอื่นของ LINE ได้ เช่น ซื้อ Sticker ซื้อ Theme หรือเติมเงินบัตร BTS นอกจากนี้ก็คือเรื่องของความใกล้ชิดกันระหว่างคนซื้อกับคนขาย ที่เราอยากนำเสนอให้มันแตกต่าง ไม่ได้เป็นคนที่มาคนแรกของตลาด เพราะฉะนั้นเราก็ต้องทำจุดนี้ให้มันแข็งให้ได้มากที่สุด
ส่วนที่สามก็คือการที่เรา Mix กันระหว่าง Performance-driven แล้วก็ Creative อีกส่วนนึงที่ Marketing ลืมไม่ได้เลยก็คือความคิดสร้างสรรค์ เพราะว่ามันเป็นเสน่ห์ของการทำ Marketing ทำยังไงให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายของเราจะสนใจเรา เขามีความต้องการอะไร แล้วเราไปตอบโจทย์ความต้องการอะไรเขาได้บ้าง เพราะฉะนั้นมันต้องมีความสมดุลกันระหว่างผลงานและความคิดสร้างสรรค์
ถ้าอยากจะทำงาน E-Commerce Marketing ต้องมีการเตรียมตัวยังไงบ้าง
สิ่งที่แตงไทยคิดว่าสำคัญที่สุดก็คือการรู้จักตลาด คนที่จะมาสมัครงานในตำแหน่งนี้จะต้องมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาด เกี่ยวกับผู้เล่นในตลาด หรือว่าคู่แข่งขันในตลาด แล้วก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า อันนี้แตงไทยคิดว่าสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมตัวมา เป็นไอเดียแล้วกันว่าจะสมัครในตำแหน่งไหน แล้วมีไอเดียในการที่จะพัฒนาตัวแพลตฟอร์ม หรือว่าในมุมมองของกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบไหน ยังไง
คนที่อยากจะสมัครงานในสายนี้ควรจะมี Skill Set ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill เป็นยังไงบ้าง
สิ่งแรกที่คนทำงาน Marketing ทุกคนต้องมีแตงไทยคิดว่าก็คือเรื่องของการทำงานเป็นทีม สิ่งที่สองก็จะเป็นทักษะในการสื่อสารซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะว่าการที่เราเป็นนักการตลาด เราต้องการที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงทั้งสื่อ การสื่อสาร หรือว่ากิจกรรมที่เราต้องสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานต่อจากเราหรือว่าผู้บริโภค ทุกคนต้องเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ส่วนทักษะอื่น ๆ แตงไทยคิดว่ามันเป็นไปตามแต่ละตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น Planning เขาอาจจะต้องมี Hard Skill พวก Analytics Tools ที่ต้องใช้งานให้เป็น แล้วก็ในเรื่องของ Soft Skill มันก็จะต้องเป็นเรื่องการคิดโดยใช้เหตุผล หรือว่าเรื่องของ Data Analysis ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ต้องทำให้เป็น ส่วนที่ทำงานในฝั่งของ Creative ทักษะที่เขาต้องมีคือทักษะความคิดสร้างสรรค์ แล้วก็ Hard Skill ที่เขาอาจจะจำเป็นที่จะต้องมีมันก็จะเป็นเรื่องของ Multimedia หรือว่า Design Tools นะคะที่ต้องใช้งานให้เป็น
สำหรับคนที่อยากจะสมัครงานในสายงานนี้ ต้องเตรียมตัวสมัครงานยังไงบ้าง
จริง ๆ แล้วเรซูเม่ที่แตงไทยคิดว่าเป็นเรซูเม่ที่ดี ควรมีเนื้อหาที่อ่านกระชับ แล้วก็เข้าใจง่ายว่าประสบการณ์ของแต่ละคนเป็นมายังไง มีทักษะอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร อันนี้สำคัญมาก เพราะหลาย ๆ คนก็จะหว่านมาหมด เขียนมาหมด ทุกสิ่งที่ฉันมี แต่ไม่ได้เจาะลงไปว่าตำแหน่งนี้ ฉันสมัครอะไรอยู่ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ควรทำ แล้วก็เรื่องของสิ่งที่เคยทำสำเร็จเหมือนกัน ถ้าสมมติว่าเราเคยทำแคมเปญ เราเคยทำโปรเจกต์ หรือเราเคยขับเคลื่อนอะไรบางอย่างให้กับงานที่เราเคยทำก็ควรที่จะใส่ลงมา ให้คนที่คัดรู้สึกว้าว อีกส่วนนึงก็จะเป็นเรื่องของ Hard Skills อย่างเช่น Analytics Tools ใช้ Google Analytics เป็นไหม ทำ SQL เป็นไหม R หรือ Python มีอะไรใส่มา เรื่องของ Social Media Management Tools ใช้งาน Facebook Ads Manager เป็นไหม Instagram หรือ Google มีความรู้มากน้อยขนาดไหน แล้วก็อาจจะเป็นขาของความคิดสร้างสรรค์ละ พวก Multimedia แล้วก็ Design Tools โปรแกรมต่าง ๆ
เวลาที่มาสัมภาษณ์งานกับพี่แตงไทยจะเจอคำถามประมาณไหน
จริง ๆ เจอคำถามค่อนข้างหลากหลาย เพราะแตงไทยค่อนข้างวัดในหลาย ๆ เรื่อง นอกจากวัดเรื่องของความรู้หรือทักษะว่าเขาเข้ากับตำแหน่งนั้นไหม เราก็วัดเรื่องของทัศนคติเหมือนกัน คนที่จะมาสมัครทุกคนก็จะต้องเตรียมตัวทั้งสองส่วนนี้มา ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยที่เคยสัมภาษณ์มาแล้วเอ๊ะ เหมือนเราถามว่าจุดเด่นของผู้สมัครคืออะไร น้องก็ใสมาก ทุกที่ถามเหมือนกันหมดเลยค่ะ แต่ว่าหนูก็ไม่รู้เหมือนกัน อ้าว จบ ซึ่งเรื่องของจุดแข็งหรือจุดอ่อน มันเป็นคำถามพื้นฐานมาก ๆ ที่การสัมภาษณ์งานต้องมี เพราะฉะนั้นอะไรแบบนี้ต้องเตรียมตัวไว้เลย ห้ามตกม้าตาย
ส่วนคำถามที่แตงไทยชอบถาม เป็นตัวที่ชูเลยว่าคนนี้โดดเด่นกว่าคนอื่นรึเปล่า ก็จะเป็นคำถามว่ารู้จัก LINE SHOPPING ไหม แล้วเขามีไอเดียยังไงบ้างในการพัฒนา หรือมองในมุมมองของตำแหน่งที่เขาจะเข้ามาทำเขาอยากทำอะไรก่อน ซึ่งถ้าข้อนี้ตอบได้ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ถ้าสมมติถามว่ารู้จัก LINE SHOPPING ไหมลองใช้งานแล้วหรือยัง แล้วตอบว่ายัง ยังไม่ได้ใช้ ยังไม่ค่อยรู้จักเลย ไม่ได้ทำการบ้านมา อันนั้นก็คือจบ แตงไทยก็จะอีกสิบนาทีก็ตัดจบละ ไม่สัมภาษณ์ต่อ
มีวิธีมองผู้สมัครยังไงว่าคนนี้โดดเด่น เผื่อคนที่อยากทำงานในสายนี้ เขาจะได้เอาเคล็ดลับตรงนี้ไปใช้ได้
มันคือเรื่องของความมั่นใจ นักการตลาดทุกคนต้องมีความมั่นใจในความคิดของตัวเอง กระบวนความคิดของเขา มันจะสะท้อนออกมาเป็นคำตอบที่เขาตอบเรา ถ้าเขาตอบแบบตรงจุด เขาบอกที่มาที่ไปได้ ว่าทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ อันนี้แตงไทยมองว่าคนนี้จะโดดเด่นมาก ในบรรดาผู้สมัครที่สัมภาษณ์ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น สมมติเราให้โจทย์เขาไปว่า ไปคิดมาว่าแคมเปญของ LINE SHOPPING ควรมีอะไรบ้าง ด้วยงบประมาณที่เราให้ไป ถ้าคนที่กลับมา เขากลับมาแค่ว่า ฉันจะทำแคมเปญนี้ 1, 2, 3, 4 อันนี้ก็คือเฉย ๆ แต่ถ้าเขาไปศึกษามาว่าตลาดเป็นแบบนี้ คู่แข่งเป็นแบบนี้ แล้วเขามองว่าจุดแข็งของ LINE SHOPPING หรือว่า LINE เป็นยังไง เขามีวิธีการคิดว่าความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปยังไง หรือมีที่มาที่ไปยังไง แล้วเขาวิเคราะห์ว่า กลุ่มเป้าหมายของ LINE SHOPPING คือใคร ก็จะโดดเด่นจากคนอื่นที่แค่บอกว่า คิดว่าจะทำอะไร 1, 2, 3, 4 แต่ไม่มีที่มาที่ไป
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจอยากจะรู้จักกับงาน E-Commerce Marketing ที่ LINE ให้มากขึ้น ไปฟังสัมภาษณ์แบบเต็ม ๆ ในรายการ Career Unlock >
คลิก <
งาน E-Commerce Marketing ที่ LINE ทำอะไรบ้างคะ?
E-Commerce คือการซื้อขายของผ่านออนไลน์ ซึ่งต้องมีผู้ซื้อและผู้ขายในการที่ทำให้สองคนนี้มาเจอกันและเกิดธุรกรรมบางอย่างก็จะเรียกว่า E-Commerce ค่ะ
จริง ๆ แล้วศาสตร์แม่เลยก็คือศาสตร์ของ Marketing เนอะ Marketing คือการทำการตลาดอะไรอย่างหนึ่งที่ทำให้นักการตลาดหรือ Marketer นำเสนอคุณค่าอะไรบางอย่างหรือว่า สินค้า ผลิตภัณฑ์ ให้กับผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายของเรา ส่วน E-Commerce Marketing มันก็เกิดต่อมาจาก Digital Marketing ในยุคที่เรามีอินเทอร์เน็ต มีเทคโนโลยี มีสื่อต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ รวมถึงสื่อ Social Network นะคะ ก็มีการพัฒนาต่อมาเป็น Digital Marketing หลังจากนั้น E-Commerce Marketing ก็เกิดขึ้นเพราะว่ามีการซื้อ-ขายของกันผ่านสื่อออนไลน์ นักการตลาดจะต้องปรับตัว ว่าเราจะทำยังไงให้สินค้าหรือบริการของเรา มันถูกขายได้ในโลกออนไลน์
สโคปงานของ E-Commerce ถ้าเกิดในที่ที่แตงไทยอยู่ เราจะดูแลแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า LINE SHOPPING ซึ่งจะรวมร้านค้ามากมาย ทั้งร้านค้าแบรนด์ใหญ่ รวมถึงร้านค้าขนาดย่อมเข้ามาในระบบ แล้วหน้าที่ของ Marketing หรือ E-Commerce Marketing ในที่นี่ ก็คือเราทำหน้าที่ในการนำเสนอแพลตฟอร์มตัว LINE SHOPPING ให้กับผู้บริโภค ก็คือผู้ใช้งาน LINE ซึ่งตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 53 ล้านคน เรามีเป้าหมายที่จะทำให้ซื้อ-ขายของผ่าน LINE ได้ง่ายขึ้น
ในทีม E-Commerce มีตำแหน่งอะไรบ้าง
จริง ๆ แล้วทีม E-Commerce เป็นทีมที่ใหญ่มากนะคะ ทีมแรกจะเป็น Strategic Planning จะทำหน้าที่ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลในการหา Insight ของผู้ใช้ ทีมที่สองจะเป็นทีม Campaign Planning ทำหน้าที่ในการคิดแคมเปญว่าในเดือนนี้เราจะมีแคมเปญอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทีมถัดมาก็จะเป็น Branding and Content SNS จะทำหน้าที่ในการดูขาที่เป็นงาน Creative วางแผนการสื่อสาร รวมถึงงาน Production ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทีมที่สี่จะเป็นทีม Merchandising and Service Operation จะทำหน้าที่ในการดูแพลตฟอร์ม LINE SHOPPING Homepage หรือหน้า Campaign Landing และหน้า Wallet ของ LINE โดยที่เขาจะทำหน้าที่ในการเลือกสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นำมาเสนอให้ทุกคนรู้สึกว้าวแล้วก็อยากช้อปกัน ทีมสุดท้ายก็จะเป็นทีม Media Operation หรือว่าในบริษัทอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นทีม Digital Marketing หรือทีม Performance Marketing ทีมนี้เขาก็จะทำหน้าที่ดูว่าจะใช้สื่อและโฆษณายังไง หรือใช้ช่องทางไหนในการเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดค่ะ
แตงไทยมองว่าความท้าทายของการทำ E-Commerce Marketing เรียกว่าท้าทายมาก แต่ว่าขอแบ่งออกมาเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ แล้วกันนะคะ ส่วนแรกเลยคือเรื่องของ Phasing เพราะว่าตลาดของ E-Commerce มันเพิ่งเกิดขึ้นเนอะ มีคู่แข่งเจ้าใหญ่ ๆ มากมาย แล้วทุกคนแข่งขันกันรุนแรง เพราะว่าตลาดมันกำลังโต การขยับตัวหรือทำกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ มันต้องเกิดขึ้นเร็วมาก ความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นความท้าทายแรกที่เจอ
ความท้าทายที่สองคือเรื่องของการทำให้บริการหรือแพลตฟอร์มของเรามีความแตกต่างในสายตาของผู้บริโภค ซึ่งจริง ๆ แล้ว LINE SHOPPING เองเนี่ย เราวาง Position ตัวเองอยู่ในตลาด Social Commerce เพราะอย่างที่บอกไปเลยว่า LINE คือแอปฯ ที่ทุกคนใช้ในการแชท เพราะฉะนั้นเราก็ต้องการสร้างความแตกต่าง ทำยังไงเราถึงต่างกับแพลตฟอร์มอื่นที่อาจจะเน้นเรื่องของการสร้างแพลตฟอร์มแล้วก็ให้ส่วนลดลูกค้า ทำยังไงเราถึงจะนำเสนอมุมมองที่แตกต่าง การนำเสนอสินค้าที่เป็นเทรนด์ หรือว่าสินค้าที่เราเลือกมาแล้ว หรือว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ที่เราให้กับผู้ใช้งาน เช่น LINE POINTS นอกจากจะใช้เป็นส่วนลดในแพลตฟอร์มได้ มันก็อาจจะใช้ข้ามแพลตฟอร์ม หรือใช้กับบริการอื่นของ LINE ได้ เช่น ซื้อ Sticker ซื้อ Theme หรือเติมเงินบัตร BTS นอกจากนี้ก็คือเรื่องของความใกล้ชิดกันระหว่างคนซื้อกับคนขาย ที่เราอยากนำเสนอให้มันแตกต่าง ไม่ได้เป็นคนที่มาคนแรกของตลาด เพราะฉะนั้นเราก็ต้องทำจุดนี้ให้มันแข็งให้ได้มากที่สุด
ส่วนที่สามก็คือการที่เรา Mix กันระหว่าง Performance-driven แล้วก็ Creative อีกส่วนนึงที่ Marketing ลืมไม่ได้เลยก็คือความคิดสร้างสรรค์ เพราะว่ามันเป็นเสน่ห์ของการทำ Marketing ทำยังไงให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายของเราจะสนใจเรา เขามีความต้องการอะไร แล้วเราไปตอบโจทย์ความต้องการอะไรเขาได้บ้าง เพราะฉะนั้นมันต้องมีความสมดุลกันระหว่างผลงานและความคิดสร้างสรรค์
สิ่งที่แตงไทยคิดว่าสำคัญที่สุดก็คือการรู้จักตลาด คนที่จะมาสมัครงานในตำแหน่งนี้จะต้องมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาด เกี่ยวกับผู้เล่นในตลาด หรือว่าคู่แข่งขันในตลาด แล้วก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า อันนี้แตงไทยคิดว่าสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมตัวมา เป็นไอเดียแล้วกันว่าจะสมัครในตำแหน่งไหน แล้วมีไอเดียในการที่จะพัฒนาตัวแพลตฟอร์ม หรือว่าในมุมมองของกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบไหน ยังไง
คนที่อยากจะสมัครงานในสายนี้ควรจะมี Skill Set ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill เป็นยังไงบ้าง
สิ่งแรกที่คนทำงาน Marketing ทุกคนต้องมีแตงไทยคิดว่าก็คือเรื่องของการทำงานเป็นทีม สิ่งที่สองก็จะเป็นทักษะในการสื่อสารซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะว่าการที่เราเป็นนักการตลาด เราต้องการที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงทั้งสื่อ การสื่อสาร หรือว่ากิจกรรมที่เราต้องสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานต่อจากเราหรือว่าผู้บริโภค ทุกคนต้องเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ส่วนทักษะอื่น ๆ แตงไทยคิดว่ามันเป็นไปตามแต่ละตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น Planning เขาอาจจะต้องมี Hard Skill พวก Analytics Tools ที่ต้องใช้งานให้เป็น แล้วก็ในเรื่องของ Soft Skill มันก็จะต้องเป็นเรื่องการคิดโดยใช้เหตุผล หรือว่าเรื่องของ Data Analysis ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ต้องทำให้เป็น ส่วนที่ทำงานในฝั่งของ Creative ทักษะที่เขาต้องมีคือทักษะความคิดสร้างสรรค์ แล้วก็ Hard Skill ที่เขาอาจจะจำเป็นที่จะต้องมีมันก็จะเป็นเรื่องของ Multimedia หรือว่า Design Tools นะคะที่ต้องใช้งานให้เป็น
สำหรับคนที่อยากจะสมัครงานในสายงานนี้ ต้องเตรียมตัวสมัครงานยังไงบ้าง
จริง ๆ แล้วเรซูเม่ที่แตงไทยคิดว่าเป็นเรซูเม่ที่ดี ควรมีเนื้อหาที่อ่านกระชับ แล้วก็เข้าใจง่ายว่าประสบการณ์ของแต่ละคนเป็นมายังไง มีทักษะอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร อันนี้สำคัญมาก เพราะหลาย ๆ คนก็จะหว่านมาหมด เขียนมาหมด ทุกสิ่งที่ฉันมี แต่ไม่ได้เจาะลงไปว่าตำแหน่งนี้ ฉันสมัครอะไรอยู่ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ควรทำ แล้วก็เรื่องของสิ่งที่เคยทำสำเร็จเหมือนกัน ถ้าสมมติว่าเราเคยทำแคมเปญ เราเคยทำโปรเจกต์ หรือเราเคยขับเคลื่อนอะไรบางอย่างให้กับงานที่เราเคยทำก็ควรที่จะใส่ลงมา ให้คนที่คัดรู้สึกว้าว อีกส่วนนึงก็จะเป็นเรื่องของ Hard Skills อย่างเช่น Analytics Tools ใช้ Google Analytics เป็นไหม ทำ SQL เป็นไหม R หรือ Python มีอะไรใส่มา เรื่องของ Social Media Management Tools ใช้งาน Facebook Ads Manager เป็นไหม Instagram หรือ Google มีความรู้มากน้อยขนาดไหน แล้วก็อาจจะเป็นขาของความคิดสร้างสรรค์ละ พวก Multimedia แล้วก็ Design Tools โปรแกรมต่าง ๆ
จริง ๆ เจอคำถามค่อนข้างหลากหลาย เพราะแตงไทยค่อนข้างวัดในหลาย ๆ เรื่อง นอกจากวัดเรื่องของความรู้หรือทักษะว่าเขาเข้ากับตำแหน่งนั้นไหม เราก็วัดเรื่องของทัศนคติเหมือนกัน คนที่จะมาสมัครทุกคนก็จะต้องเตรียมตัวทั้งสองส่วนนี้มา ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยที่เคยสัมภาษณ์มาแล้วเอ๊ะ เหมือนเราถามว่าจุดเด่นของผู้สมัครคืออะไร น้องก็ใสมาก ทุกที่ถามเหมือนกันหมดเลยค่ะ แต่ว่าหนูก็ไม่รู้เหมือนกัน อ้าว จบ ซึ่งเรื่องของจุดแข็งหรือจุดอ่อน มันเป็นคำถามพื้นฐานมาก ๆ ที่การสัมภาษณ์งานต้องมี เพราะฉะนั้นอะไรแบบนี้ต้องเตรียมตัวไว้เลย ห้ามตกม้าตาย
ส่วนคำถามที่แตงไทยชอบถาม เป็นตัวที่ชูเลยว่าคนนี้โดดเด่นกว่าคนอื่นรึเปล่า ก็จะเป็นคำถามว่ารู้จัก LINE SHOPPING ไหม แล้วเขามีไอเดียยังไงบ้างในการพัฒนา หรือมองในมุมมองของตำแหน่งที่เขาจะเข้ามาทำเขาอยากทำอะไรก่อน ซึ่งถ้าข้อนี้ตอบได้ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ถ้าสมมติถามว่ารู้จัก LINE SHOPPING ไหมลองใช้งานแล้วหรือยัง แล้วตอบว่ายัง ยังไม่ได้ใช้ ยังไม่ค่อยรู้จักเลย ไม่ได้ทำการบ้านมา อันนั้นก็คือจบ แตงไทยก็จะอีกสิบนาทีก็ตัดจบละ ไม่สัมภาษณ์ต่อ
มีวิธีมองผู้สมัครยังไงว่าคนนี้โดดเด่น เผื่อคนที่อยากทำงานในสายนี้ เขาจะได้เอาเคล็ดลับตรงนี้ไปใช้ได้
มันคือเรื่องของความมั่นใจ นักการตลาดทุกคนต้องมีความมั่นใจในความคิดของตัวเอง กระบวนความคิดของเขา มันจะสะท้อนออกมาเป็นคำตอบที่เขาตอบเรา ถ้าเขาตอบแบบตรงจุด เขาบอกที่มาที่ไปได้ ว่าทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ อันนี้แตงไทยมองว่าคนนี้จะโดดเด่นมาก ในบรรดาผู้สมัครที่สัมภาษณ์ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น สมมติเราให้โจทย์เขาไปว่า ไปคิดมาว่าแคมเปญของ LINE SHOPPING ควรมีอะไรบ้าง ด้วยงบประมาณที่เราให้ไป ถ้าคนที่กลับมา เขากลับมาแค่ว่า ฉันจะทำแคมเปญนี้ 1, 2, 3, 4 อันนี้ก็คือเฉย ๆ แต่ถ้าเขาไปศึกษามาว่าตลาดเป็นแบบนี้ คู่แข่งเป็นแบบนี้ แล้วเขามองว่าจุดแข็งของ LINE SHOPPING หรือว่า LINE เป็นยังไง เขามีวิธีการคิดว่าความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปยังไง หรือมีที่มาที่ไปยังไง แล้วเขาวิเคราะห์ว่า กลุ่มเป้าหมายของ LINE SHOPPING คือใคร ก็จะโดดเด่นจากคนอื่นที่แค่บอกว่า คิดว่าจะทำอะไร 1, 2, 3, 4 แต่ไม่มีที่มาที่ไป
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจอยากจะรู้จักกับงาน E-Commerce Marketing ที่ LINE ให้มากขึ้น ไปฟังสัมภาษณ์แบบเต็ม ๆ ในรายการ Career Unlock > คลิก <