ขึ้นเงินเดือนสิ! แรงงานไทย 64% บอกจะทำงานได้ดีขึ้นถ้าได้ค่าตอบแทนเพิ่ม ผลวิจัยเผย แรงงานพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงแต่กังวล ‘เร็วเกินไป’
ท่ามกลางภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่เพียงเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ยังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย ทั้งนี้ ซีอีโอในประเทศไทยต่างพยายามเร่งดำเนินการพลิกโฉมองค์กรของตน เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว ในขณะเดียวกันกำลังแรงงานไทยก็แสดงความรู้สึกทั้งตื่นเต้นและกังวลกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
เป็นที่มาที่ทำให้ PwC ประเทศไทย สำรวจความหวังและความกังวลของกำลังแรงงานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2567 โดยมีการแยกรายงานที่เจาะเฉพาะประเทศไทยผ่านการรวบรวมความคิดเห็นของแรงงานไทยจำนวน 1,000 คน และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ รวมทั้งทัศนคติของแรงงานไทยดังกล่าวในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แรงงานไทยมากถึง 90% รู้สึกพร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับวิธีการทำงานใหม่ๆ และเติบโตในหน้าที่การงานของตน (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 75%) ในขณะที่มากกว่าครึ่ง (62%) เชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมกันมากเกินไป (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 59%)
แม้ว่าแรงงานไทยพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาก็รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้พวกเขามีความกังวลเพิ่มขึ้น โดย 79% เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ทำงานในปีที่ผ่านมามากกว่าช่วง 12 เดือนก่อนหน้า (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 68%)
สำหรับแรงงานไทยนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อความพึงพอใจในงานคือ การได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม การได้ทำงานที่มีคุณค่าและมีความหมาย รวมถึงการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้แรงงานไทยยังให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น (73%) และงานที่ท้าทาย (62%)
แรงงานไทย 64% กล่าวว่า การได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้นจะช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 57%) ตามมาด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ดีขึ้น (58%) โอกาสในการก้าวหน้า (58%) และสุดท้ายคือความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (56%)
อย่างไรก็ตาม รายงานของ PwC ประเทศไทย ระบุว่า แรงงานไทยต้องเร่งพัฒนาทักษะ โดย 56% เห็นด้วยว่าโอกาสในการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่หรือ ลาออกจากงาน (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 48%)
ขณะที่ 48% ยอมรับว่างานของตนจะต้องเปลี่ยนแปลงทักษะภายใน 5 ปีข้างหน้า (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 44%) ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่แรงงานไทยจะต้องพัฒนาทักษะเชิงรุก
ที่มา: THE STANDARD WEALTH
แล้วเพื่อนหล่ะ คิอย่างไรกันบ้าง หากบริษัท ปรับเงินให้สูงขึ้น จะมีกำลังใจทำงานเพิ่มมากขึ้นกันไหมครับ
ขึ้นเงินเดือนสิ! แรงงานไทย 64% บอกจะทำงานได้ดีขึ้นถ้าได้ค่าตอบแทนเพิ่ม
ท่ามกลางภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่เพียงเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ยังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย ทั้งนี้ ซีอีโอในประเทศไทยต่างพยายามเร่งดำเนินการพลิกโฉมองค์กรของตน เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว ในขณะเดียวกันกำลังแรงงานไทยก็แสดงความรู้สึกทั้งตื่นเต้นและกังวลกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
เป็นที่มาที่ทำให้ PwC ประเทศไทย สำรวจความหวังและความกังวลของกำลังแรงงานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2567 โดยมีการแยกรายงานที่เจาะเฉพาะประเทศไทยผ่านการรวบรวมความคิดเห็นของแรงงานไทยจำนวน 1,000 คน และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ รวมทั้งทัศนคติของแรงงานไทยดังกล่าวในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าแรงงานไทยพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาก็รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้พวกเขามีความกังวลเพิ่มขึ้น โดย 79% เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ทำงานในปีที่ผ่านมามากกว่าช่วง 12 เดือนก่อนหน้า (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 68%)
สำหรับแรงงานไทยนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อความพึงพอใจในงานคือ การได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม การได้ทำงานที่มีคุณค่าและมีความหมาย รวมถึงการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้แรงงานไทยยังให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น (73%) และงานที่ท้าทาย (62%)
แรงงานไทย 64% กล่าวว่า การได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้นจะช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 57%) ตามมาด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ดีขึ้น (58%) โอกาสในการก้าวหน้า (58%) และสุดท้ายคือความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (56%)
อย่างไรก็ตาม รายงานของ PwC ประเทศไทย ระบุว่า แรงงานไทยต้องเร่งพัฒนาทักษะ โดย 56% เห็นด้วยว่าโอกาสในการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่หรือ ลาออกจากงาน (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 48%)
ขณะที่ 48% ยอมรับว่างานของตนจะต้องเปลี่ยนแปลงทักษะภายใน 5 ปีข้างหน้า (เทียบกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ 44%) ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่แรงงานไทยจะต้องพัฒนาทักษะเชิงรุก