คนไทยตั้งเป้าซื้อบ้านปีหน้า ไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยแพง เงินเก็บสวนทางราคาบ้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4812165
คนไทยตั้งเป้าซื้อบ้าน 1 ปีข้างหน้า ไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยแพง เงินเก็บสวนทางราคาบ้าน
แม้ภาครัฐจะขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านหน่วยงานในการกำกับของรัฐฯ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมาได้เร็วอย่างที่คาด
ทั้งนี้จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty)พบว่าภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 48% ขณะที่ความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยยังคงทรงตัวอยู่ที่ 63% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ออกมาเพิ่มเติมในเดือนเมษายน 2567 ยังไม่สามารถปลุกให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักได้ตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง
อย่างไรก็ดี ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 61% (จากเดิม 59% ในรอบก่อน) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการวางแผนทางการเงินมากขึ้น หลังจากเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ที่จำเป็นต้องซื้อบ้านในเวลานี้เรียนรู้ที่จะปรับแผนการใช้จ่ายและสร้างวินัยทางการเงินให้พร้อมยิ่งขึ้นก่อนที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย
ประกอบกับการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจึงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้ที่วางแผนซื้อบ้านเช่นกัน
โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่ในระดับสูง (49%) และสูงมาก (28%) มีเพียง 16% เท่านั้นที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยเหมาะสมแล้ว
นอกจากนี้สัดส่วนของผู้บริโภคที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ยังทรงตัวอยู่ที่ 13% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ออกมาเพิ่มเติมในปีนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์และช่วยแบ่งเบาภาระของคนซื้อบ้านได้มากเท่าที่ควร
นอกจากนี้ยังพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามฯ (50%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากรอบก่อนหน้าที่เป็น 44% นับเป็นสัญญาณบวกสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังต้องการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมในระยะเวลาอันใกล้ก่อนที่มาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนและลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นี้
ด้านสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยลดลงมาอยู่ที่ 10% (จากเดิม 14%) ขณะที่ผู้บริโภค 7% วางแผนจะรับมรดกที่อยู่อาศัยจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อ ส่วนอีก 32% ยังคงไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใดๆ ในเวลานี้
ขณะเดียวกันพบว่าในกลุ่มผู้บริโภคที่อยากซื้อที่อยู่อาศัย เกือบครึ่ง(47%) ตัดสินใจซื้อ เนื่องจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวที่มากขึ้น รองลงมา คือ ซื้อเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานเมื่อขยายครอบครัว 31% จะเห็นว่าสองอันดับแรกจะให้ความสำคัญไปที่การซื้อเพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยซื้อเพื่อการลงทุนในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 30% เนื่องจากการลงทุนในอสังหาฯ ถือเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ และมีดีมานด์ในตลาดอย่างต่อเนื่อง
ด้านความพร้อมทางการเงินพบว่าผู้วางแผนซื้อบ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้น โดย 1 ใน 3 ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัย (33%) เผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้ว ขณะที่เกือบครึ่ง (48%) สามารถเก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ครึ่งทางแล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมก่อนซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว คนหาบ้านจึงต้องปรับตัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยตนเองก่อน โดยมีเพียง 18% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเก็บเงินใด ๆ
ในขณะเดียวกันเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อ ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการเงินเป็นหลัก โดยมากกว่าครึ่ง (56%) เผยว่ามีเงินเก็บไม่พอที่จะซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ราคาบ้านที่สูงเกินไปทำให้เกือบ 2 ใน 5 (37%) ขอเลือกออมเงินแทน และ 36% มองไม่เห็นความจำเป็น/ความเร่งด่วนที่ต้องซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้เช่าส่วนใหญ่ยังคงกังวลเกี่ยวกับการบริหารสภาพคล่องทางการเงินในยุคที่แนวโน้มเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง จึงลดความเสี่ยงโดยหลีกเลี่ยงการซื้อที่อยู่อาศัย และหันมาเลือกเช่าซึ่งตอบโจทย์ทางการเงินและลดภาระค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า
ปัจจุบันมุมมองการเป็นเจ้าของที่อาศัยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปตามเทรนด์ Generation Rent ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตและไม่สร้างภาระทางการเงินในระยะยาวจากการซื้อที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีความคล่องตัวมากกว่าหากต้องการโยกย้ายในอนาคต
โดยผู้เช่าเกือบ 2 ใน 5 (39%) เผยว่าได้วางแผนเช่า 2 ปีก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยในภายหลัง ส่วน 29% มีความไม่แน่ใจว่าจะเช่าอีกนานแค่ไหน เนื่องจากยังต้องพิจารณาปัจจัยความพร้อมด้านอื่น ๆ อีกครั้ง ขณะที่ 5% เผยว่าตั้งใจจะเช่าอยู่ตลอดชีวิต
สำหรับอัตราค่าเช่าที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในหมู่ผู้เช่าอยู่ในช่วงไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน สัดส่วน 46% สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์การมองหาที่อยู่อาศัยให้เช่าที่มีราคาย่อมเยา ตอบโจทย์สถานะทางการเงินในยุคปัจจุบันเป็นหลัก รองลงมา คือ 5,001-10,000 บาท/เดือน และ 10,001-15,000 บาท/เดือน (สัดส่วน 32% และ 9% ตามลำดับ)
หนี้ครัวเรือน-ต้นทุนผลิตพุ่ง ดัชนี MPI ส.ค.หดตัว 1.91% ห่วงบาทแข็ง-น้ำท่วม-ขึ้นค่าแรง
https://siamrath.co.th/n/569322
สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) สิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 95.08 หดตัวร้อยละ 1.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ 8 เดือนแรก หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.55 หลังรับแรงกดดันจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน สินค้านำเข้าราคาถูกมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ต้นทุนภาคการผลิตปรับตัวขึ้น และราคาพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูง พร้อมปรับประมาณการปี 67 คาดดัชนี MPI หดตัวร้อยละ 1.0 – 0.0 และการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.5 แนะจับตาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินบาท สถานการณ์น้ำท่วม การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และการเลือกตั้งของสหรัฐ
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 นาง
วรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 95.08 หดตัวร้อยละ 1.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 58.30 ส่งผลให้ 8 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.55 และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 58.96 ขณะที่ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตยานยนต์ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 จากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ในระดับสูง รวมถึงสินค้านำเข้าราคาถูกมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลต่อผู้ประกอบการไทย ขณะเดียวกัน ต้นทุนภาคการผลิตปรับตัวขึ้นตามราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งภาวะดอกเบี้ยที่ทรงตัว และต้นทุนพลังงานจากราคาน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือ ทําให้การเดินทาง การจัดส่งสินค้า การค้าชายแดน และการผลิตชะงักลง โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งจําเป็นต้องหยุดดําเนินการ และสถานประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงต้องปิดตัวชั่วคราว
“จากตัวเลขดัชนี MPI 8 เดือนแรก ปี 2567 หดตัวร้อยละ 1.55 ส่งผลให้ สศอ. ปรับประมาณการ ปี 2567 คาดว่าดัชนี MPI หดตัวร้อยละ 1.0 – 0.0 และการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.5 โดยมีปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากสถานการณ์เงินเฟ้อของเศรษฐกิจโลกที่ลดลง ส่งผลนโยบายการเงินในหลาย ๆ ประเทศเริ่มผ่อนคลาย อัตราแลกเปลี่ยนจากค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐปรับตัวลดลง ส่งผลให้เงินทุนไหลออกมายังประเทศในแถบ ASEAN รวมถึงประเทศไทย โดยคาดว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวในช่วงนี้ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และส่งผลมายังภาคการผลิต โดยเฉพาะด้านอุปโภคและบริโภค เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า และเสื้อผ้า เป็นต้น รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วม กระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชากรในพื้นที่ และหากการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมเกิดขึ้นอย่างล่าช้า จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการผลิตในภูมิภาค นอกจากนี้ ค่าแรงขั้นต่ำที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 400 บาทจะกระทบต้นทุนการผลิตของผู้ประประกอบการ และการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา อาจจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางการรับมือกับนโยบายทางการค้าที่อาจเปลี่ยนแปลง” นางวรวรรณ กล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตเดือนสิงหาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
- สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.61 จากปลาทูน่ากระป๋องเป็นหลัก หลังราคาวัตถุดิบทูน่าปรับตัวลดลง โดยตลาดส่งออกขยายตัว ตามคำสั่งซื้อจากอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เพื่อเก็บเป็นสต๊อกสินค้าหลังปัญหาภูมิรัฐศาสตร์อาจส่งผลกระทบต่อการขนส่ง
- อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.40 จากอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป เป็นหลัก ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เช่น อเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ และแคนาดา ขณะที่อาหารปศุสัตว์สำเร็จรูปขยายตัวจาก แนวโน้มราคาจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.84 จาก Hard Disk Drive เป็นหลัก ตามความต้องการขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า รวมถึงความต้องการสินค้าทดแทนสินค้าที่หมดประกันและครบอายุการใช้งาน
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนสิงหาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
- ยานยนต์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.44 จากรถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็กเป็นหลัก ตามการหดตัวของตลาดในประเทศ จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ
- ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.84 จาก Integrated circuits (IC) เป็นหลัก โดยเป็นไปตามทิศทางความต้องการสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ยังฟื้นตัวช้ากว่าสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในกลุ่มอื่นๆ
- คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.54 จากผลิตภัณฑ์เสาเข็มคอนกรีตและพื้นสำเร็จรูปคอนกรีต เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ และความล่าช้าในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ รวมถึงผลกระทบจากน้ำท่วมบางพื้นที่
#หนี้ครัวเรือน #ข่าววันนี้ #ดัชนีMPI #บาทแข็ง #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์
JJNY : ไม่มั่นใจศก. ดอกเบี้ยแพง│MPI ส.ค.หดตัว 1.91%│ปชน.ขอพักผลักดันแก้รธน.│ยอดเสียชีวิตจากฝนตกหนักญี่ปุ่นเพิ่มเป็น 11คน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4812165
คนไทยตั้งเป้าซื้อบ้าน 1 ปีข้างหน้า ไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยแพง เงินเก็บสวนทางราคาบ้าน
แม้ภาครัฐจะขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านหน่วยงานในการกำกับของรัฐฯ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมาได้เร็วอย่างที่คาด
ทั้งนี้จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty)พบว่าภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 48% ขณะที่ความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยยังคงทรงตัวอยู่ที่ 63% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ออกมาเพิ่มเติมในเดือนเมษายน 2567 ยังไม่สามารถปลุกให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักได้ตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง
อย่างไรก็ดี ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 61% (จากเดิม 59% ในรอบก่อน) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการวางแผนทางการเงินมากขึ้น หลังจากเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ที่จำเป็นต้องซื้อบ้านในเวลานี้เรียนรู้ที่จะปรับแผนการใช้จ่ายและสร้างวินัยทางการเงินให้พร้อมยิ่งขึ้นก่อนที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย
ประกอบกับการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจึงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้ที่วางแผนซื้อบ้านเช่นกัน
โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่ในระดับสูง (49%) และสูงมาก (28%) มีเพียง 16% เท่านั้นที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยเหมาะสมแล้ว
นอกจากนี้สัดส่วนของผู้บริโภคที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ยังทรงตัวอยู่ที่ 13% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ออกมาเพิ่มเติมในปีนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์และช่วยแบ่งเบาภาระของคนซื้อบ้านได้มากเท่าที่ควร
นอกจากนี้ยังพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามฯ (50%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากรอบก่อนหน้าที่เป็น 44% นับเป็นสัญญาณบวกสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังต้องการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมในระยะเวลาอันใกล้ก่อนที่มาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนและลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นี้
ด้านสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยลดลงมาอยู่ที่ 10% (จากเดิม 14%) ขณะที่ผู้บริโภค 7% วางแผนจะรับมรดกที่อยู่อาศัยจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อ ส่วนอีก 32% ยังคงไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใดๆ ในเวลานี้
ขณะเดียวกันพบว่าในกลุ่มผู้บริโภคที่อยากซื้อที่อยู่อาศัย เกือบครึ่ง(47%) ตัดสินใจซื้อ เนื่องจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวที่มากขึ้น รองลงมา คือ ซื้อเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานเมื่อขยายครอบครัว 31% จะเห็นว่าสองอันดับแรกจะให้ความสำคัญไปที่การซื้อเพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยซื้อเพื่อการลงทุนในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 30% เนื่องจากการลงทุนในอสังหาฯ ถือเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ และมีดีมานด์ในตลาดอย่างต่อเนื่อง
ด้านความพร้อมทางการเงินพบว่าผู้วางแผนซื้อบ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้น โดย 1 ใน 3 ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัย (33%) เผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้ว ขณะที่เกือบครึ่ง (48%) สามารถเก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ครึ่งทางแล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมก่อนซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว คนหาบ้านจึงต้องปรับตัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยตนเองก่อน โดยมีเพียง 18% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเก็บเงินใด ๆ
ในขณะเดียวกันเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อ ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการเงินเป็นหลัก โดยมากกว่าครึ่ง (56%) เผยว่ามีเงินเก็บไม่พอที่จะซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ราคาบ้านที่สูงเกินไปทำให้เกือบ 2 ใน 5 (37%) ขอเลือกออมเงินแทน และ 36% มองไม่เห็นความจำเป็น/ความเร่งด่วนที่ต้องซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้เช่าส่วนใหญ่ยังคงกังวลเกี่ยวกับการบริหารสภาพคล่องทางการเงินในยุคที่แนวโน้มเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง จึงลดความเสี่ยงโดยหลีกเลี่ยงการซื้อที่อยู่อาศัย และหันมาเลือกเช่าซึ่งตอบโจทย์ทางการเงินและลดภาระค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า
ปัจจุบันมุมมองการเป็นเจ้าของที่อาศัยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปตามเทรนด์ Generation Rent ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตและไม่สร้างภาระทางการเงินในระยะยาวจากการซื้อที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีความคล่องตัวมากกว่าหากต้องการโยกย้ายในอนาคต
โดยผู้เช่าเกือบ 2 ใน 5 (39%) เผยว่าได้วางแผนเช่า 2 ปีก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยในภายหลัง ส่วน 29% มีความไม่แน่ใจว่าจะเช่าอีกนานแค่ไหน เนื่องจากยังต้องพิจารณาปัจจัยความพร้อมด้านอื่น ๆ อีกครั้ง ขณะที่ 5% เผยว่าตั้งใจจะเช่าอยู่ตลอดชีวิต
สำหรับอัตราค่าเช่าที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในหมู่ผู้เช่าอยู่ในช่วงไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน สัดส่วน 46% สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์การมองหาที่อยู่อาศัยให้เช่าที่มีราคาย่อมเยา ตอบโจทย์สถานะทางการเงินในยุคปัจจุบันเป็นหลัก รองลงมา คือ 5,001-10,000 บาท/เดือน และ 10,001-15,000 บาท/เดือน (สัดส่วน 32% และ 9% ตามลำดับ)
หนี้ครัวเรือน-ต้นทุนผลิตพุ่ง ดัชนี MPI ส.ค.หดตัว 1.91% ห่วงบาทแข็ง-น้ำท่วม-ขึ้นค่าแรง
https://siamrath.co.th/n/569322
สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) สิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 95.08 หดตัวร้อยละ 1.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ 8 เดือนแรก หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.55 หลังรับแรงกดดันจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน สินค้านำเข้าราคาถูกมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ต้นทุนภาคการผลิตปรับตัวขึ้น และราคาพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูง พร้อมปรับประมาณการปี 67 คาดดัชนี MPI หดตัวร้อยละ 1.0 – 0.0 และการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.5 แนะจับตาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินบาท สถานการณ์น้ำท่วม การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และการเลือกตั้งของสหรัฐ
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 95.08 หดตัวร้อยละ 1.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 58.30 ส่งผลให้ 8 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.55 และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 58.96 ขณะที่ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตยานยนต์ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 จากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ในระดับสูง รวมถึงสินค้านำเข้าราคาถูกมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลต่อผู้ประกอบการไทย ขณะเดียวกัน ต้นทุนภาคการผลิตปรับตัวขึ้นตามราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งภาวะดอกเบี้ยที่ทรงตัว และต้นทุนพลังงานจากราคาน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือ ทําให้การเดินทาง การจัดส่งสินค้า การค้าชายแดน และการผลิตชะงักลง โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งจําเป็นต้องหยุดดําเนินการ และสถานประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงต้องปิดตัวชั่วคราว
“จากตัวเลขดัชนี MPI 8 เดือนแรก ปี 2567 หดตัวร้อยละ 1.55 ส่งผลให้ สศอ. ปรับประมาณการ ปี 2567 คาดว่าดัชนี MPI หดตัวร้อยละ 1.0 – 0.0 และการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.5 โดยมีปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากสถานการณ์เงินเฟ้อของเศรษฐกิจโลกที่ลดลง ส่งผลนโยบายการเงินในหลาย ๆ ประเทศเริ่มผ่อนคลาย อัตราแลกเปลี่ยนจากค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐปรับตัวลดลง ส่งผลให้เงินทุนไหลออกมายังประเทศในแถบ ASEAN รวมถึงประเทศไทย โดยคาดว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวในช่วงนี้ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และส่งผลมายังภาคการผลิต โดยเฉพาะด้านอุปโภคและบริโภค เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า และเสื้อผ้า เป็นต้น รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วม กระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชากรในพื้นที่ และหากการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมเกิดขึ้นอย่างล่าช้า จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการผลิตในภูมิภาค นอกจากนี้ ค่าแรงขั้นต่ำที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 400 บาทจะกระทบต้นทุนการผลิตของผู้ประประกอบการ และการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา อาจจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางการรับมือกับนโยบายทางการค้าที่อาจเปลี่ยนแปลง” นางวรวรรณ กล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตเดือนสิงหาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
- สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.61 จากปลาทูน่ากระป๋องเป็นหลัก หลังราคาวัตถุดิบทูน่าปรับตัวลดลง โดยตลาดส่งออกขยายตัว ตามคำสั่งซื้อจากอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เพื่อเก็บเป็นสต๊อกสินค้าหลังปัญหาภูมิรัฐศาสตร์อาจส่งผลกระทบต่อการขนส่ง
- อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.40 จากอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป เป็นหลัก ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เช่น อเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ และแคนาดา ขณะที่อาหารปศุสัตว์สำเร็จรูปขยายตัวจาก แนวโน้มราคาจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.84 จาก Hard Disk Drive เป็นหลัก ตามความต้องการขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า รวมถึงความต้องการสินค้าทดแทนสินค้าที่หมดประกันและครบอายุการใช้งาน
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนสิงหาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
- ยานยนต์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.44 จากรถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็กเป็นหลัก ตามการหดตัวของตลาดในประเทศ จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ
- ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.84 จาก Integrated circuits (IC) เป็นหลัก โดยเป็นไปตามทิศทางความต้องการสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ยังฟื้นตัวช้ากว่าสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในกลุ่มอื่นๆ
- คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.54 จากผลิตภัณฑ์เสาเข็มคอนกรีตและพื้นสำเร็จรูปคอนกรีต เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ และความล่าช้าในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ รวมถึงผลกระทบจากน้ำท่วมบางพื้นที่
#หนี้ครัวเรือน #ข่าววันนี้ #ดัชนีMPI #บาทแข็ง #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์