เห็นช่วงนี้มีการจ้างงาน outsource กันมากขึ้น จขกท เคยมี ปสกมาบ้าง เลยจะมาแชร์ ปสก ในบางส่วนที่ไปเจอมาแล้วคิดว่าไม่ดี (อันที่ดีก็มี แต่ยังไม่คุยในตอนนี้นะ )
งาน outsource ที่เจอ คือเป็นการจ้างงานจาก A ให้ไปทำงานที่ B เราจะเป็นพนักงานที่ A
Job description ต้องมีความชัดเจน ถ้าบอกไม่ได้ ไม่สามารถเขียนออกมาได้ ให้ระวัง
อาจเจอว่าบริษัท A บอกเราอย่างนึง เพื่อให้ได้คน แต่พอไปทำงานจริงที่ บริษัท B งานเป็นอีกอย่าง ทำให้การทำงานมีปัญหา
การที่ บริษัท A จะส่งคนไป เขาต้องมีสัญญากับ B เขาต้องรู้ว่า ส่งคนไปทำอะไร เพราะโดยหลักการ B จ้าง A ให้หาคนให้ ก็ต้องหวังให้ A คัดคนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมอยู่แล้ว การที่ A บอกว่าไม่รู้ว่าทาง B ให้ไปทำอะไร อันนี้ผิดปกติ
สัญญากำหนดระยะเวลา เช่น 12 เดือน แต่มีข้อระบุการสิ้นสุดสัญญาก่อนได้ เช่น ขอทดลองงาน 119 วัน
อันนี้ให้ลูกจ้างถือว่าเป็นสัญญาจ้างงานปกติ เป็นการเขียนสัญญา่จ้างงานที่จงใจทำให้สับสน ถ้ามีการเลิกข้าง นับอายุงานปกติ การเลิกจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และ มิสิทธิได้รับเงินชดเชย หากทำงานตั้งแต่ 120 วัน ถึงเลิกจ้างตามระยะเวลาในสัญญาก็ต้องจ่ายเงินชดเชย
เคยเจอบางที่ รับ outsource บอกสัญญายาวไปก่อน แต่ไม่ได้กะจ้างเต็มระยะเวลา กะให้อยู่ไม่ถึง 4 เดือน แล้วเอาออก หาคนใหม่มาเสียบวนๆไป
ครบสัญญาแล้วมีการต่อสัญญาทำงานที่ B ไปเรื่อยๆ
ต้องดูลักษณะงานแล้วถามตัวเองว่า ทำไมเขาถึงจ้างไปเรื่อยๆ ตัวอย่าง ถ้างานเป็นงานโครงการ โครงการจบ งานก็จบ
ระยะเวลาที่ต้องการ outsource ขึ้นกับระยะเวลาของสัญญาระหว่าง A กับ B ดังนั้น ถ้าสัญญาระหว่าง A กับ B จบ จะไปจ้าง outsource ต่อได้อย่างไร
และอาจลองสังเกตหลังจากเข้างานไป โดยสังเกตว่า มี Outsource ใน บริษัท B เท่าไหร่ การต่อสัญญา outsource ไปเรื่อยๆ เกิดขึ้นจริงไหม และเป็นเงื่อนไขที่ดีหรือไม่ บางครั้งการต่อสัญญาก็มาด้วยการขอจ่ายเงินที่ลดลง
ครบสัญญาแล้วให้เป็นพนักงานประจำ บริษัท B
อันนี้ จขกท เคยเจอตั้งแต่ตอนคุยกับบริษัท A ตอนเขามาติดต่องาน ก่อนสัมภาษณ์จริง บอกได้เลยว่า ไม่น่าเชื่อสุดๆ
มันจะเป็นไปได้ไง บริษัท B เขาให้ A หาคนไปทำงานแบบจ้างชั่วคราว แล้วทำไมถึงจะได้เป็นพนักงานของ B หลังจบสัญญาล่ะ
การโอนพนักงานข้ามนิติบุคคลกัน ต้องมีการนับอายุงานต่อให้ด้วย ถ้ากรณีพนักงานชั่วคราวแล้วย้ายไปเป็นพนักงานประจำมักเกิดจากการจ้างงานที่ บริษัท B ตั้งแต่ต้นมากกว่า
พวกกฎระเบียบต่างๆ บางทีก็จะมีข้อแปลกที่ตั้งเกินกฎหมายแรงงานและ หวังกันไปเองว่าลูกจ้างจะรู้ไม่ทัน อันนี้เจอทั้งงานที่เป็นประจำและสัญญาจ้างชั้วคราว
ใบลาออกที่แอบแฝงมาในรูปแบบของ formต่างๆ ตอนจบสัญญา
ช่วงที่จบสัญญา หรือ เลิกจ้างกัน ให้ระวังเอกสารที่บริษัท A ต้องการให้กรอก บางทีจะมาในรูปแบบของ Off boarding , ใบ survey , ใบ transfer งาน บางครั้งจะมีคำว่า ลาออก ผสมอยู่ในเอกสารด้วย เช่น เนื่องจากข้าพเข้าได้ทำการลาออก จึงขอส่งมอบเอกสารนี้ ..... ถ้าไม่ได้จะลาออก ไม่ต้องกรอกฟอร์มเขา
หากต้องการส่งมอบงาน ให้เขียนเมลตั้งต้นจากเราดีกว่า
เงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนเดือนสุดท้าย
อันนี้ทราบจากเพื่อนที่ทำงานเป็น outsource พอเดิอนสุดท้าย จะจบสัญญา แต่ยังไม่ยอมเขียนform offboarding/ transfer document list (ข้างในมีตำว่าลาออก) เลยตั้งเงื่อนไข ว่าถ้าไม่เขียน fom offboarding จะไม่จ่ายเงินเดือนเดือนสุดท้ายจนกว่าจะได้เอกสารนี้ และถือเป็นกฎระเบียนที่ต้องทำตาม
เคสนี้ ก็ไปจบกันที่สวัสดิการแรงงาน ต้องจ่ายเงืนเดือน ค่าชดเชย และ ดอกเบี้ยไปด้วยเลย
พนักงาน outsource ก็ลูกจ้างธรรมดาๆ มาทำงาน ก็หวังจะได้ทำงานตามที่คุยกัน ไม่เอาเปรียบกัน
เพื่อนๆเคยเจอแบบไหนกันบ้าง เรามาพูดคุยกัน
ชวนแชร์ ปสก เรื่องงาน Outsource
งาน outsource ที่เจอ คือเป็นการจ้างงานจาก A ให้ไปทำงานที่ B เราจะเป็นพนักงานที่ A
Job description ต้องมีความชัดเจน ถ้าบอกไม่ได้ ไม่สามารถเขียนออกมาได้ ให้ระวัง
อาจเจอว่าบริษัท A บอกเราอย่างนึง เพื่อให้ได้คน แต่พอไปทำงานจริงที่ บริษัท B งานเป็นอีกอย่าง ทำให้การทำงานมีปัญหา
การที่ บริษัท A จะส่งคนไป เขาต้องมีสัญญากับ B เขาต้องรู้ว่า ส่งคนไปทำอะไร เพราะโดยหลักการ B จ้าง A ให้หาคนให้ ก็ต้องหวังให้ A คัดคนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมอยู่แล้ว การที่ A บอกว่าไม่รู้ว่าทาง B ให้ไปทำอะไร อันนี้ผิดปกติ
สัญญากำหนดระยะเวลา เช่น 12 เดือน แต่มีข้อระบุการสิ้นสุดสัญญาก่อนได้ เช่น ขอทดลองงาน 119 วัน
อันนี้ให้ลูกจ้างถือว่าเป็นสัญญาจ้างงานปกติ เป็นการเขียนสัญญา่จ้างงานที่จงใจทำให้สับสน ถ้ามีการเลิกข้าง นับอายุงานปกติ การเลิกจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และ มิสิทธิได้รับเงินชดเชย หากทำงานตั้งแต่ 120 วัน ถึงเลิกจ้างตามระยะเวลาในสัญญาก็ต้องจ่ายเงินชดเชย
เคยเจอบางที่ รับ outsource บอกสัญญายาวไปก่อน แต่ไม่ได้กะจ้างเต็มระยะเวลา กะให้อยู่ไม่ถึง 4 เดือน แล้วเอาออก หาคนใหม่มาเสียบวนๆไป
ครบสัญญาแล้วมีการต่อสัญญาทำงานที่ B ไปเรื่อยๆ
ต้องดูลักษณะงานแล้วถามตัวเองว่า ทำไมเขาถึงจ้างไปเรื่อยๆ ตัวอย่าง ถ้างานเป็นงานโครงการ โครงการจบ งานก็จบ
ระยะเวลาที่ต้องการ outsource ขึ้นกับระยะเวลาของสัญญาระหว่าง A กับ B ดังนั้น ถ้าสัญญาระหว่าง A กับ B จบ จะไปจ้าง outsource ต่อได้อย่างไร
และอาจลองสังเกตหลังจากเข้างานไป โดยสังเกตว่า มี Outsource ใน บริษัท B เท่าไหร่ การต่อสัญญา outsource ไปเรื่อยๆ เกิดขึ้นจริงไหม และเป็นเงื่อนไขที่ดีหรือไม่ บางครั้งการต่อสัญญาก็มาด้วยการขอจ่ายเงินที่ลดลง
ครบสัญญาแล้วให้เป็นพนักงานประจำ บริษัท B
อันนี้ จขกท เคยเจอตั้งแต่ตอนคุยกับบริษัท A ตอนเขามาติดต่องาน ก่อนสัมภาษณ์จริง บอกได้เลยว่า ไม่น่าเชื่อสุดๆ
มันจะเป็นไปได้ไง บริษัท B เขาให้ A หาคนไปทำงานแบบจ้างชั่วคราว แล้วทำไมถึงจะได้เป็นพนักงานของ B หลังจบสัญญาล่ะ
การโอนพนักงานข้ามนิติบุคคลกัน ต้องมีการนับอายุงานต่อให้ด้วย ถ้ากรณีพนักงานชั่วคราวแล้วย้ายไปเป็นพนักงานประจำมักเกิดจากการจ้างงานที่ บริษัท B ตั้งแต่ต้นมากกว่า
พวกกฎระเบียบต่างๆ บางทีก็จะมีข้อแปลกที่ตั้งเกินกฎหมายแรงงานและ หวังกันไปเองว่าลูกจ้างจะรู้ไม่ทัน อันนี้เจอทั้งงานที่เป็นประจำและสัญญาจ้างชั้วคราว
ใบลาออกที่แอบแฝงมาในรูปแบบของ formต่างๆ ตอนจบสัญญา
ช่วงที่จบสัญญา หรือ เลิกจ้างกัน ให้ระวังเอกสารที่บริษัท A ต้องการให้กรอก บางทีจะมาในรูปแบบของ Off boarding , ใบ survey , ใบ transfer งาน บางครั้งจะมีคำว่า ลาออก ผสมอยู่ในเอกสารด้วย เช่น เนื่องจากข้าพเข้าได้ทำการลาออก จึงขอส่งมอบเอกสารนี้ ..... ถ้าไม่ได้จะลาออก ไม่ต้องกรอกฟอร์มเขา
หากต้องการส่งมอบงาน ให้เขียนเมลตั้งต้นจากเราดีกว่า
เงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนเดือนสุดท้าย
อันนี้ทราบจากเพื่อนที่ทำงานเป็น outsource พอเดิอนสุดท้าย จะจบสัญญา แต่ยังไม่ยอมเขียนform offboarding/ transfer document list (ข้างในมีตำว่าลาออก) เลยตั้งเงื่อนไข ว่าถ้าไม่เขียน fom offboarding จะไม่จ่ายเงินเดือนเดือนสุดท้ายจนกว่าจะได้เอกสารนี้ และถือเป็นกฎระเบียนที่ต้องทำตาม
เคสนี้ ก็ไปจบกันที่สวัสดิการแรงงาน ต้องจ่ายเงืนเดือน ค่าชดเชย และ ดอกเบี้ยไปด้วยเลย
พนักงาน outsource ก็ลูกจ้างธรรมดาๆ มาทำงาน ก็หวังจะได้ทำงานตามที่คุยกัน ไม่เอาเปรียบกัน
เพื่อนๆเคยเจอแบบไหนกันบ้าง เรามาพูดคุยกัน