เกาหลีใต้ เริ่มใช้นโยบายทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ประชาชนมีเวลาว่างมากกว่าเดิม สร้างสมดุลให้ชีวิตพนักงานเพื่อแก้ไขปัญหาครอบครัวที่มีอัตราการเกิดต่ำ
หลายประเทศรวมทั้ง เกาหลีใต้ กำลังพิจารณาเริ่มใช้นโยบายทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาหลีใต้ขึ้นชื่อในเรื่องวัฒนธรรมการทำงานที่เข้มข้น พนักงานจึงต้องดิ้นรนรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลเกาหลีจึงเสนอให้บริษัทใช้นโยบายทำงานสูงสุดอยู่ที่ 69 ชั่วโมง เพื่อแก้ไขปัญหาอัตราการเกิดลดลง ช่วยให้ประชาชนมีเวลาว่างมากกว่าเดิม และจะมีลูกกันมากขึ้น
อัตราการเกิดของเกาหลีใต้ แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.70 ในช่วงไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว และคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรเกาหลีใต้ทั้งหมดจะลดลงจาก 52 ล้านคนในปัจจุบัน เหลือ 38 ล้านคนในปี 2070 ถ้าหากอัตราการเกิดยังต่ำแบบนี้ ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังพยายามคิดนโยบายทุกอย่าง ที่จะทำให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น
เริ่มใช้นโยบายทำงาน 4วัน/สัปดาห์ เมื่อใด?
สำนักข่าว Yonhap ของเกาหลีใต้ รายงานว่าการทดลองดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วจังหวัดคยองกี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ จังหวัดนี้ล้อมรอบกรุงโซลเมืองหลวงของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นเขตมหานครที่ค่อนข้างใหญ่ โดยพนักงานจากองค์กรกว่า 50 แห่งจะมีทางเลือกในการทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน โดยสามารถเลือกทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน ทุก 2 สัปดาห์ หรือทำงานชั่วโมงสั้นลงในแต่ละสัปดาห์
เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงวันในการทำงาน
ประชาชนในพื้นที่จังหวัดคยองกี ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของแรงงานที่เข้มงวด นำไปสู่การพิจารณาลดจำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ เพื่อบรรเทาความเครียดและความเหนื่อยล้า การทดลองนี้อาจช่วยแก้ไขปัญหาในสังคมการทำงานของคนเกาหลี เช่น ความสามารถของผู้หญิงในการบาลานซ์ระหว่างอาชีพและครอบครัว อัตราการเกิดและแน่นอน ความสุขโดยรวมของผู้คน
เพิ่มความสะดวกต่อการเดินทาง
เมื่อมุมมองต่อชีวิตและการทำงานของผู้คนดีขึ้น สัปดาห์การทำงานที่ลดลงจะเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องไปทำงานที่สำนักงาน หรือทำงานแบบ Work For Home การใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างอิสระมากขึ้น ส่วนพนักงานที่ต้องเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ ก็สะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเป็นประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อเวลาผ่านไป อาจส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และส่งเสริมการเดินทางระหว่างประเทศได้อีกด้วย
แหล่งที่มา
https://thethaiger.com/th/news/1242861/
https://www.nationtv.tv/foreign/378940409
“เกาหลีใต้” เริ่มทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ แก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ
หลายประเทศรวมทั้ง เกาหลีใต้ กำลังพิจารณาเริ่มใช้นโยบายทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาหลีใต้ขึ้นชื่อในเรื่องวัฒนธรรมการทำงานที่เข้มข้น พนักงานจึงต้องดิ้นรนรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลเกาหลีจึงเสนอให้บริษัทใช้นโยบายทำงานสูงสุดอยู่ที่ 69 ชั่วโมง เพื่อแก้ไขปัญหาอัตราการเกิดลดลง ช่วยให้ประชาชนมีเวลาว่างมากกว่าเดิม และจะมีลูกกันมากขึ้น
อัตราการเกิดของเกาหลีใต้ แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.70 ในช่วงไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว และคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรเกาหลีใต้ทั้งหมดจะลดลงจาก 52 ล้านคนในปัจจุบัน เหลือ 38 ล้านคนในปี 2070 ถ้าหากอัตราการเกิดยังต่ำแบบนี้ ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังพยายามคิดนโยบายทุกอย่าง ที่จะทำให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น
เริ่มใช้นโยบายทำงาน 4วัน/สัปดาห์ เมื่อใด?
สำนักข่าว Yonhap ของเกาหลีใต้ รายงานว่าการทดลองดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วจังหวัดคยองกี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ จังหวัดนี้ล้อมรอบกรุงโซลเมืองหลวงของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นเขตมหานครที่ค่อนข้างใหญ่ โดยพนักงานจากองค์กรกว่า 50 แห่งจะมีทางเลือกในการทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน โดยสามารถเลือกทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน ทุก 2 สัปดาห์ หรือทำงานชั่วโมงสั้นลงในแต่ละสัปดาห์
เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงวันในการทำงาน
ประชาชนในพื้นที่จังหวัดคยองกี ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของแรงงานที่เข้มงวด นำไปสู่การพิจารณาลดจำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ เพื่อบรรเทาความเครียดและความเหนื่อยล้า การทดลองนี้อาจช่วยแก้ไขปัญหาในสังคมการทำงานของคนเกาหลี เช่น ความสามารถของผู้หญิงในการบาลานซ์ระหว่างอาชีพและครอบครัว อัตราการเกิดและแน่นอน ความสุขโดยรวมของผู้คน
เพิ่มความสะดวกต่อการเดินทาง
เมื่อมุมมองต่อชีวิตและการทำงานของผู้คนดีขึ้น สัปดาห์การทำงานที่ลดลงจะเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องไปทำงานที่สำนักงาน หรือทำงานแบบ Work For Home การใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างอิสระมากขึ้น ส่วนพนักงานที่ต้องเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ ก็สะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเป็นประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อเวลาผ่านไป อาจส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และส่งเสริมการเดินทางระหว่างประเทศได้อีกด้วย
แหล่งที่มา
https://thethaiger.com/th/news/1242861/
https://www.nationtv.tv/foreign/378940409