คือตัวผมเอง พอได้เข้ามาสู่โลกของการลงทุน เริ่มเข้าใจระบบเศรษฐกิจมหภาคแล้ว จากข้อเท็จจริงที่รู้มาคือ
1. เรารู้นะว่าทุกประเทศมีการพิมพ์เงินเข้ามาในระบบเรื่อย ๆ เรามสามารถดูได้จากกราฟ M2 Money supply (แต่ก็ไม่รู้ว่าตรงแค่ไหน)
2. เรามีการประกาศ GDP อัตราเงินเฟ้อ ทุกปี
3. รัฐบาลออกนโยบายมากดเงินเฟ้อจริงทุกปี เช่น นโยบายช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงาน ค่า supply chain ทางอาหาร ทำให้สินค้าบางอย่างกระโดดขึ้นสูงมาก ๆ เช่น ทองคำ แต่อาหาร พลังงาน ถูกกดต่ำกว่าราคาจริง
4. เรามีการจัดงบประมาณแบบเกินดุลทุกปี ถึงรัฐบาลจะใช้คำว่ากู้จากนั่นจากนี่มา แต่สุดท้ายมันก็คือเงินที่พิมพ์เพิ่มเข้ามาในระบบอยู่ดี และเข้ามาเจือจางมูลค่าเงินในกระเป๋าพวกเราทุกคน เสมือนเราจ่ายภาษีแล้ว และก็จ่ายอีกด้วยการลดมูลค่าเงินตัวเอง ให้รัฐบาลพิมพ์เงินขึ้นมาเพิ่ม
5. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ถ้าสังเกตดู อัตราแลกเปลี่ยนเงินไทย/สหรัฐ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเยอะขนาดนั้นทุกคนรู้ว่าสหรัฐพิมพ์เงินเยอะมากทุกปี แต่การที่อัตราแลกเปลี่ยนมันเท่าเดิม นั่นแสดงว่าไทยเองก็พิมพ์เงินในอัตราเท่ากันใช่หรือไม่
6. การลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำทุกประเภท ผลตอบแทนไม่มีทางทันอัตราเงินเฟ้อ หรือพูดง่าย ๆ เราขาดทุนในมูลค่าตลอดเวลาที่ลงทุน เหมือนเราโดนหลอก
** จุดที่ผมสงสัยก็คือ อย่างเช่น เราลงทุนในทองปีนี้ เติบโต 7% ไอ้ 7% ตัวนี้เนี่ย มันเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจริงกี่ % กันแน่ ถ้าหักลบเงินเฟ้อจริง ๆ สมมุติ 5% แปลว่าลงทุนแล้วได้กำไร 2% ใช่ไหม แล้วที่บอกตลาดหุ้นสหรัฐที่มันโตเอา ๆ นี่มันโตจากเงินเฟ้อแต่มีมูลค่าจริงเท่าเดิมหรือเปล่า
ความสงสัยตะหงิด ๆ เรื่องการลงทุน
1. เรารู้นะว่าทุกประเทศมีการพิมพ์เงินเข้ามาในระบบเรื่อย ๆ เรามสามารถดูได้จากกราฟ M2 Money supply (แต่ก็ไม่รู้ว่าตรงแค่ไหน)
2. เรามีการประกาศ GDP อัตราเงินเฟ้อ ทุกปี
3. รัฐบาลออกนโยบายมากดเงินเฟ้อจริงทุกปี เช่น นโยบายช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงาน ค่า supply chain ทางอาหาร ทำให้สินค้าบางอย่างกระโดดขึ้นสูงมาก ๆ เช่น ทองคำ แต่อาหาร พลังงาน ถูกกดต่ำกว่าราคาจริง
4. เรามีการจัดงบประมาณแบบเกินดุลทุกปี ถึงรัฐบาลจะใช้คำว่ากู้จากนั่นจากนี่มา แต่สุดท้ายมันก็คือเงินที่พิมพ์เพิ่มเข้ามาในระบบอยู่ดี และเข้ามาเจือจางมูลค่าเงินในกระเป๋าพวกเราทุกคน เสมือนเราจ่ายภาษีแล้ว และก็จ่ายอีกด้วยการลดมูลค่าเงินตัวเอง ให้รัฐบาลพิมพ์เงินขึ้นมาเพิ่ม
5. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ถ้าสังเกตดู อัตราแลกเปลี่ยนเงินไทย/สหรัฐ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเยอะขนาดนั้นทุกคนรู้ว่าสหรัฐพิมพ์เงินเยอะมากทุกปี แต่การที่อัตราแลกเปลี่ยนมันเท่าเดิม นั่นแสดงว่าไทยเองก็พิมพ์เงินในอัตราเท่ากันใช่หรือไม่
6. การลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำทุกประเภท ผลตอบแทนไม่มีทางทันอัตราเงินเฟ้อ หรือพูดง่าย ๆ เราขาดทุนในมูลค่าตลอดเวลาที่ลงทุน เหมือนเราโดนหลอก
** จุดที่ผมสงสัยก็คือ อย่างเช่น เราลงทุนในทองปีนี้ เติบโต 7% ไอ้ 7% ตัวนี้เนี่ย มันเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจริงกี่ % กันแน่ ถ้าหักลบเงินเฟ้อจริง ๆ สมมุติ 5% แปลว่าลงทุนแล้วได้กำไร 2% ใช่ไหม แล้วที่บอกตลาดหุ้นสหรัฐที่มันโตเอา ๆ นี่มันโตจากเงินเฟ้อแต่มีมูลค่าจริงเท่าเดิมหรือเปล่า