เหตุใดดาร์วินจึงเข้าใจผิดเกี่ยวกับสัตว์เพศเมีย + ตำนานการพักฟื้นของผู้ชาย

กระทู้นี้(ยาวนิดนึง)จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศของสัตว์และตำนานการพักฟื้นของผู้ชาย เนื่องจากผมเป็นคนชอบอ่านบทความ หวังว่าจะเป็นการให้ความรู้กับทุกคนไม่มากก็น้อย ขอให้สนุกกับการอ่านนะครับ

เหตุใดดาร์วินจึงเข้าใจผิดเกี่ยวกับสัตว์เพศเมีย

ในความคิดของ ชาลส์ ดาร์วิน เชื่อว่าธรรมชาติสร้างให้สัตว์ทุกสายพันธุ์เพศผู้นั้นเจ้าชู้ กระตือรือร้น มีแรงขับทางเพศที่มากกว่าตัวเมีย สู้จนตัวตายเพื่อให้ได้ผสมพันธุ์กับเพศเมีย เป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสีตัวเมียก่อน นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ เนื่องด้วยสมัยนั้นเขาเป็นผู้บุกเบิกนักธรรมชาติวิทยาในยุควิคตอเรีย ทำให้ความคิดของเขาปลูกฝังกันมารุ่นสู่รุ่น

ก็จริงอย่างที่เขาพูดอยู่ว่า สัตว์ทุกสายพันธุ์เพศผู้นั้นเจ้าชู้ กระตือรือร้น สู้จนตัวตายเพื่อให้ได้ผสมพันธุ์กับเพศเมีย
ส่วนสัตว์เพศเมียจะเรียบร้อย เฉยเมยการผสมพันธุ์ ไม่เจ้าชู้ แต่อยากบอกว่าไม่ใช่ทุกชนิด แต่เป็นสัตว์บางชนิดที่มีการสลับบทบาททางเพศแบบนี้เกิดขึ้น แต่พบได้น้อยมากและพบได้ยาก

การสลับบทบาททางเพศ คือ นกจาคาน่าเพศเมีย พวกมันมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สูงกว่าตัวผู้ พวกมันยังเจ้าชู้ กระตือรือร้น สู้จนตัวตายเพื่อให้ได้ผสมพันธุ์กับตัวผู้ ในขณะที่ตัวผู้ดูแลไข่ แต่มันก็สามารถผสมพันธ์กับตัวเมียอีกตัวได้อีกแต่แค่ไม่กระตือรือร้นเท่านั้นเอง และตัวเมียก็ยังมีสีสันที่สวยสดใสกว่าตัวผู้ด้วย

ในอาณาจักรสัตว์ไม่มีคำว่ารักเดียวใจเดียว ผมจะขอแบ่งดังนี้
1. ผสมพันธุ์แบบหลายภรรยา/ตัวผู้หนึ่งตัว ผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว (Polygyny หรือ Polygynous)
2. ผสมพันธุ์แบบหลายสามีภรรยา/ตัวผู้และตัวเมียต่างผสมพันธุ์หลายตัว ต่างคนต่างเจ้าชู้ (Polygamy หรือ Polygamous)
3. คู่ครองคนเดียวตลอดไป (Monogamous)
4. ผสมพันธุ์แบบหลายสามี/ตัวเมียหนึ่งตัว ผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว (Polyandry  หรือ Polyandrous)

ซึ่งในสายพันธุ์สัตว์ส่วนใหญ่จะพบว่ามีการผสมพันธุ์แบบ มีภรรยาหลายคน
สายพันธุ์เพศผู้เจ้าชู้โดยธรรมชาติ ซึ่งถ้าอยู่ในธรรมชาติที่พวกมันอยู่จะพบแบบการผสมพันธุ์แบบมีภรรยาหลายตัวในคราวเดียว
แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในธรรมชาติของมัน เช่น กรงขังหรือในสวนสัตว์ (เช่น ตัวเมีย 1 ต่อตัวผู้ 3) จะพบว่าตัวเมียก็สามารถมีพฤติกรรมเจ้าชู้เหมือนกัน เจ้าชู้ในที่นี่ไม่ได้หมายความแบบนั้น แต่โดนรุมชำเราก็ถือว่าเจ้าชู้มากผัวทันที ในมุมมองวิทยาศาสตร์

ในกลุ่มไพรเมต(วานร) เช่น โบโนโบ ตัวเมียก็เจ้าชู้เช่นกัน ถึงแม้จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นการผสมพันธุ์แบบมีหลายภรรยาเป็นหลักก็ตาม โบโนโบเป็นสัตว์ที่มีเซ็กส์เพื่อความสนุก ทั้งตัวผู้และตัวเมียต่างก็มีกิจกรรมทางเพศบ่อยครั้ง โดยตัวเมียจะมีรสนิยมเป็นเลสเบี้ยนซะส่วนใหญ่ แต่ตัวผู้จะมีรสนิยมเป็นไบเซ็กชวล ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่รักเดียวใจเดียว เอาไม่เลือกหน้าทั้งคู่

การเกิดรักร่วมเพศในสัตว์พบได้หลายสายพันธุ์
การวิจัยล่าสุดพบว่า การรักร่วมเพศในสัตว์พบได้ในเพศผู้ 199 สายพันธุ์ ในขณะที่ในเพศเมียพบได้ 163 สายพันธุ์
นักวิจัยกล่าวติดตลกว่า ในมนุษย์ผู้ชายทุกคนน่าจะเป็นไบเซ็กชวล

ตำนานเกี่ยวกับการพักฟื้นและความเจ้าชู้ของเพศชายเกิดจากปรากฏการณ์นึง เรียกว่า "Coolidge effect" คือ ปรากฏการณ์ในทางชีววิทยาที่ระยะเวลาพักฟื้นของผู้ชายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์จะลดลงเนื่องจากมีผู้หญิงคนใหม่เข้ามา
จะพบในผู้ชายเป็นอย่างมาก เพราะซึ่งธรรมชาติสร้างให้ผู้ชายถ่ายทอดยีนของตนให้ได้มากที่สุดกับผู้หญิงหลายๆคน สัตว์ส่วนใหญ่ก็มีการผสมพันธุ์แบบหลายภรรยา หรือพูดง่ายๆคือ ตามธรรมชาติไม่ได้สร้างมาให้ "ผู้ชายไม่สมควรมีคู่ครองคนเดียว"
ผลปรากฏการคูลิดจ์ พบในหนูทดลอง
ซึ่งนักวิทย์ เขานำหนูตัวผู้และตัวเมียใส่กล่องคู่กัน จากนั้นหนูตัวผู้ก็พยายามจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย ราวกับว่าตัวเมียตัวนั้นคือสิ่งที่สวยงามในชีวิต ในเวลานั้น ตัวเมียก็หนีจนเหนื่อยเลยยอม
พอเอาเสร็จปุ๊ป มันกลับไม่สนใจตัวเมียตัวนั้นเลย จนนักวิทย์เอาหนูตัวเมียตัวใหม่ใส่เข้ามาแทน หนูตัวผู้ตัวนั้นกลับมีพลังขึ้นมาทันที และกระโจนเข้าใส่ผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวใหม่ทันที วนๆแบบนี้ไปจนเกือบสิบๆตัว
แต่หนูตัวเมียก็เหมือนกัน แต่หนูตัวเมียจะไม่คุ้นกับตัวผู้ตัวใหม่ มันจะใช้เวลาพิจารณา แล้วค่อยให้ตัวผู้ตัวใหม่ผสมพันธุ์ได้
นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า หนูตัวเมียชอบคู่ตัวแรกของมันมากกว่า และลังเลที่จะมีความสัมพันธ์กับชายอื่นมากกว่า ในขณะที่ตัวผู้นั้นตรงกันข้าม ไม่ลังเลอะไรเลย เจอของใหม่กลิ่นใหม่แล้วคึกทันที ไม่ใช่แค่หนู แต่สัตว์ตัวผู้หลายๆชนิดก็เป็น


สัตว์ที่พบว่ารักเดียวมีคู่ครองคนเดียวส่วนใหญ่จะพบในนกหลายชนิด

เราไม่พบสัตว์ตัวผู้ตัวใดเลยที่ไม่เจ้าชู้ แต่เราพบสัตว์สองชนิดที่พบว่า ตัวผู้เจ้าชู้ แต่ตัวเมียไม่เจ้าชู้ในฤดูผสมพันธุ์ นั่นคือ ยุงและตัวลิ่น

ยุง
การผสมพันธุ์ของยุงคือ ยุงตัวผู้จะไล่ตามยุงตัวเมียที่กำลังบินโดยตรวจจับเสียงบินอันแผ่วเบาของยุงตัวเมีย หากยุงตัวผู้ไม่สามารถได้ยินเสียงของยุงตัวเมียได้อย่างเหมาะสม การไล่ตามก็จะล้มเหลว การสืบพันธุ์ของยุงขึ้นอยู่กับการได้ยินเป็นสำคัญ
ยุงตัวเมียมีอายุขัย 42-56 วัน แต่ยุงตัวผู้มีอายุขัยเพียง 10 วันเท่านั้น นั่นหมายความว่าตัวผู้จะเร่งผสมพันธุ์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เจ้าชู้หลายเมียไปเรื่อยๆ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์จนหมดอายุขัย ในขณะที่ตัวเมียเมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อีกตลอดไป กินเลือดแล้ววางไข่วนอยู่แบบนี้จนหมดอายุขัย (ถึงว่ายุงเยอะจัด)

ตัวลิ่น
ตัวลิ่นดินเป็นสัตว์ที่มีเมียหลายตัวซึ่งหมายความว่าตัวผู้หนึ่งตัวจะผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว แต่ตัวเมียสามารถผสมพันธุ์กับตัวผู้ตัวเดียวได้เท่านั้น ในระหว่างกระบวนการผสมพันธุ์ อาจใช้เวลาตั้งครรภ์นานถึง 139 วัน จนกระทั่งลูกตัวหนึ่งเกิด สภาพแวดล้อมที่ลูกลิ่นจะตั้งท้องคือที่พักพิงใต้ดินจนกว่าลูกจะอายุได้ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จากนั้นจึงนำลูกออกมาไว้ข้างนอก ลูกจะอยู่กับแม่จนกว่าจะอายุครบ 3 เดือน ลูกตัวลิ่นสามารถเริ่มกระบวนการผสมพันธุ์ได้จนกระทั่งอายุ 5 ถึง 7 ปี

ไว้หาข้อมูลอะไรใหม่ๆได้แล้วจะมาอัพเดตนะครับผม ❤️
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่