ได้มีโอกาสได้ติดสอยห้อยตามพี่เค้าไปดูงาน AI Everywhere น่าทึ่งมากกับการเอา AI มาใช้ใน Smart Healthcare นำมาบริการด้านสาธารณสุขได้หลายๆ ด้านแน่นอน แล้วถ้ายิ่งได้นำมาใช้กับการแพทย์ของไทย หรือเจาะตามโรงพยาบาลรัฐ หรือกลุ่มสาธารณสุขระดับจังหวัด ตำบล ลงไปถึงหมู่บ้านจะดีมากเป็นอะไรที่น่าทึ่งมาก ทั้งการรักษา การเก็บข้อมูล หรือแม้กระทั่งเครื่องมือทางการแพทย์
จากภายในงานจะแบ่งเป็นหลายๆ โซลูชันที่น่าสนใจเลยแหละ บางจุดเราก็ได้ลองทดสอบด้วยตัวเองก็ทึ่งในเทคโนโลยีที่มันก้าวกระโดดไปไกลมากนะ
เริ่มจากโซลูชันแรกเลย ด้านการวินิจฉัยและรักษา
Telemedicine and Tele ICU โซลูชันนี้ดีมากเหมาะการโรงพยาบาลหน่วยแพทย์ เป็นบริการการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่ายทรู 5G เชื่อมโยงชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ และระบบหลัก การทำงานของโรงพยาบาล โดยมีแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลและและประวัติของคนไข้ ที่จะบันทึกทุกการดำเนินการทางการแพทย์ ไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน อันนี้ชอบมากเพราะจะเก็บข้อมูลไว้แบบออนไลน์เลย
Future of Large Language Model (LLM) ตัวนี้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบประวัติผู้ป่วยและวิเคราะห์อาการเบื้องต้น เพียงแค่คนไข้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและอาการเจ็บป่วย เจ้าระบบ AI ก็จะช่วยวิเคราะห์อาการ พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ด้วย
Pathology as a Service เครื่องนี้ยิ่งหน้าทึ่งเข้าไปอีก เพียงแค่สแกนชิ้นเนื้อเพื่อแปลงภาพพยาธิวิทยาเป็นดิจิทัล ซึ่ง AI จะช่วยนักพยาธิวิทยาทำงานได้เร็วขึ้น และเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวินิจฉัยด้วย
Ophthalmology as a Service เครื่องนี้ได้ลองเองด้วยนะ เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการสำหรับการวิเคราะห์และคัดกรองจักษุวิทยา ด้วยตัวเราเองเป็นเบาหวานมาได้สักระยะ และยังไม่ได้ตรวจตามาก่อน เจ้าหน้าที่ก็เลยลองตรวจสอบเบื้องต้นให้ โดยเจ้าเครื่องนี้ จะตรวจจอประสาทตาเสื่อมจากอายุและเบาหวาน โดยใช้กล้องเรตินาที่ขับเคลื่อนด้วย AI และคอมพิวเตอร์วินิจฉัยแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องขยายม่านตาให้เสียเวลา และเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบให้กับจักษุแพทย์ด้วย
โซลูชันอัจฉริยะด้านการฟื้นฟูดูแล
Digital Patient Twin (Patient Management as a Service – PMaaS) – โซลูชันนี้ เหมาะกับการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อุปกรณ์ไร้การสัมผัส
โดยสามารถตรวจสอบ ข้อมูลของของผู้ป่วย ตั้งแต่อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คุณภาพการนอนหลับ
และตำแหน่งของผู้ป่วยขณะนอนอยู่บนเตียง ทั้งหมดจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ที่ติดตั้งไว้อยู่บนเพดานห้องพักระดับเหนือเตียงผู้ป่วย
เพื่อรวบรวมข้อมูลไปยังศูนย์กลางและแจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติ ให้ช่วยดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว
โซลูชันอัจฉริยะด้านการฟื้นฟูดูแล
Residential Care Management แพลตฟอร์มนี้จะดีมากสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย จะได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด กับอุปกรณ์ Edge IoT และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนรถเข็น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต โดยจะบันทึกข้อมูลและส่งผ่านเครือข่ายทรู 5G
เพื่อรวบรวมบนแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและความเสี่ยงด้านสุขภาพ
และเชื่อมโยงไปยังระบบของโรงพยาบาล ทำให้สามารถแจ้งเตือนเมื่อพบความเสี่ยงหรือสิ่งผิดปกติได้ในทันที
โซลูชันอัจฉริยะด้านการจัดการข้อมูลทางการแพทย์
Transforming of PACS (Picture Archiving and Communication System)
โซลูชันนี้ระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (Medical Images) หรือภาพถ่ายทางรังสีผ่านแพลตฟอร์ม AI และประยุกต์ใช้ AI ได้ทุกที่ ยิ่งในพื้นที่ห่างไกล ยิ่งสำคัญเลย การทำงานจะเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ได้ทุกรูปแบบ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นการร่วมมือระหว่าง ทรูบิสิเนส และ อินเทล ที่นำเอาโซลูชันและแพลตฟอร์มต่างๆ นำมาพัฒนา ถือว่าเป็นแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรการแพทย์ และยังช่วยเก็บพวกข้อมูล และยังมีการประมวลผลด้วยระบบอัจฉริยะ AI มาปรับใช้งานด้วย
แอบถาม จนท. บางบูธ เค้าก็เริ่มมีใช้งานตามรพ.ในไทยแล้วด้วยนะ แต่ในอนาคตก็อยากเห็นการแพทย์ของไทย
นำมาใช้งานทั้งในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือในโรงพยาบาลรัฐ หรือการนำไปใช้งานในระดับชุมชนในงานสาธารณะสุขแยกเป็นระดับหมู่บ้าน
ด้วยจะดีมาก ถือว่าเป็นตัวช่วยของบุคลากรทางการแพทย์อีกทาง ลดการเดินทางมาพบแพทย์ หรือช่วยคนในชุมชน ผู้สูงอายุ ได้ในอนาคต
[CR] เดินดูเทคโนโยลีทางการแพทย์ Smart Healthcare กับ งาน AI Everywhere
เริ่มจากโซลูชันแรกเลย ด้านการวินิจฉัยและรักษา
Telemedicine and Tele ICU โซลูชันนี้ดีมากเหมาะการโรงพยาบาลหน่วยแพทย์ เป็นบริการการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่ายทรู 5G เชื่อมโยงชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ และระบบหลัก การทำงานของโรงพยาบาล โดยมีแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลและและประวัติของคนไข้ ที่จะบันทึกทุกการดำเนินการทางการแพทย์ ไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน อันนี้ชอบมากเพราะจะเก็บข้อมูลไว้แบบออนไลน์เลย
Future of Large Language Model (LLM) ตัวนี้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบประวัติผู้ป่วยและวิเคราะห์อาการเบื้องต้น เพียงแค่คนไข้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและอาการเจ็บป่วย เจ้าระบบ AI ก็จะช่วยวิเคราะห์อาการ พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ด้วย
Pathology as a Service เครื่องนี้ยิ่งหน้าทึ่งเข้าไปอีก เพียงแค่สแกนชิ้นเนื้อเพื่อแปลงภาพพยาธิวิทยาเป็นดิจิทัล ซึ่ง AI จะช่วยนักพยาธิวิทยาทำงานได้เร็วขึ้น และเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวินิจฉัยด้วย
Ophthalmology as a Service เครื่องนี้ได้ลองเองด้วยนะ เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการสำหรับการวิเคราะห์และคัดกรองจักษุวิทยา ด้วยตัวเราเองเป็นเบาหวานมาได้สักระยะ และยังไม่ได้ตรวจตามาก่อน เจ้าหน้าที่ก็เลยลองตรวจสอบเบื้องต้นให้ โดยเจ้าเครื่องนี้ จะตรวจจอประสาทตาเสื่อมจากอายุและเบาหวาน โดยใช้กล้องเรตินาที่ขับเคลื่อนด้วย AI และคอมพิวเตอร์วินิจฉัยแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องขยายม่านตาให้เสียเวลา และเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบให้กับจักษุแพทย์ด้วย
โซลูชันอัจฉริยะด้านการฟื้นฟูดูแล
โดยสามารถตรวจสอบ ข้อมูลของของผู้ป่วย ตั้งแต่อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คุณภาพการนอนหลับ
และตำแหน่งของผู้ป่วยขณะนอนอยู่บนเตียง ทั้งหมดจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ที่ติดตั้งไว้อยู่บนเพดานห้องพักระดับเหนือเตียงผู้ป่วย
Residential Care Management แพลตฟอร์มนี้จะดีมากสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย จะได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด กับอุปกรณ์ Edge IoT และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนรถเข็น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต โดยจะบันทึกข้อมูลและส่งผ่านเครือข่ายทรู 5G
เพื่อรวบรวมบนแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและความเสี่ยงด้านสุขภาพ
และเชื่อมโยงไปยังระบบของโรงพยาบาล ทำให้สามารถแจ้งเตือนเมื่อพบความเสี่ยงหรือสิ่งผิดปกติได้ในทันที
โซลูชันอัจฉริยะด้านการจัดการข้อมูลทางการแพทย์
Transforming of PACS (Picture Archiving and Communication System)
โซลูชันนี้ระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (Medical Images) หรือภาพถ่ายทางรังสีผ่านแพลตฟอร์ม AI และประยุกต์ใช้ AI ได้ทุกที่ ยิ่งในพื้นที่ห่างไกล ยิ่งสำคัญเลย การทำงานจะเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ได้ทุกรูปแบบ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นการร่วมมือระหว่าง ทรูบิสิเนส และ อินเทล ที่นำเอาโซลูชันและแพลตฟอร์มต่างๆ นำมาพัฒนา ถือว่าเป็นแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรการแพทย์ และยังช่วยเก็บพวกข้อมูล และยังมีการประมวลผลด้วยระบบอัจฉริยะ AI มาปรับใช้งานด้วย
แอบถาม จนท. บางบูธ เค้าก็เริ่มมีใช้งานตามรพ.ในไทยแล้วด้วยนะ แต่ในอนาคตก็อยากเห็นการแพทย์ของไทย
นำมาใช้งานทั้งในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือในโรงพยาบาลรัฐ หรือการนำไปใช้งานในระดับชุมชนในงานสาธารณะสุขแยกเป็นระดับหมู่บ้าน
ด้วยจะดีมาก ถือว่าเป็นตัวช่วยของบุคลากรทางการแพทย์อีกทาง ลดการเดินทางมาพบแพทย์ หรือช่วยคนในชุมชน ผู้สูงอายุ ได้ในอนาคต
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้