เครื่องบินรบgrippen e/f ที่กองทัพอากาศไทยเลือกถ้าเทียบกับเครื่องบินรบเพื่อนบ้านเราถือว่าดีกว่ามั้ยครับสู้ไหวมั้ย

น่าจะชัดเจนที่สุดแล้วว่าสุดท้ายแล้วกองทัพอากาศเราจะจัดหาเครื่องบินรบ grippen e/f เข้าประจำการโดยจะมาก่อน4ลำแรกพร้อมออฟชั่นอีกบางส่วน. ถ้าหากเทียบเครื่องบินรบรุ่นgrippen e/f กับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเพื่อนบ้านเรา ถือว่าของเราทันสมัยกว่าหรือว่าดีกว่าเครื่องบินรบเพื่อนบ้านมั้ยครับ หรือว่าสูสีกันใครพอมีข้อมูลบ้าง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
เครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen E/F ในปัจจุบันเพียงพอที่จะปกป้องน่านฟ้าไทย

ในอาเซียนเราเป็นรอง F-35B ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ ส่วนกองทัพอากาศอินโดนีเซียเรายังเป็นต่อ แม้เค้าจะมีเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale F4 รุ่นล่าสุด แต่อินโดนีเซียไม่มีเครื่องบินแจ้งเตือนภัยทางอากาศแบบทำให้เราได้เปรียบอินโดนีเซียหากรบกันจริงๆ
ประเทศในอาเซียน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับไทย มีโอกาสจะดวลกับไทยแทบเป็น 0 % แต่ในทางกลับกันยังเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับไทยอย่างมาก

การพิจาณาซื้ออาวุธของทุกเหล่าทัพ ทุกครั้งเมื่อมีการเลือกอาวุธ เหล่าทัพจะมองประเทศรอบๆข้างเป็นหลัก มาเลเซีย พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม เมื่อพิจารณาเฉพาะประเทศที่เครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพสูงจะเหลือ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม
- พม่า มีเครื่องบินขับไล่ Su-30SME เป็นเครื่องบินยุคที่ 4.5 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมากๆแบบหนึ่งของโลก เป็นเครื่องบินตระกูล SU-30 รุ่นใหม่ที่เปิดตัวขายในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันพม่ามีประจำการ 6 ลำ และจะทยอยจัดหาให้ครบฝูง 12 ลำ
- เวียดนาม มีเครื่องบินขับไล่ Su-30 MK2 เป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมของ Su-30MKK ของรัสเซีย ที่ได้รับการอัพเกรดอุปกรณ์ และความสามารถในการโจมตีทางทะเล แม้จะเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 4 แต่เป็นเครื่องบินรุ่นเก่าเปิดตัวครั้งแต่ปี 2543 ผลิตลำสุดท้ายปี 2559 โดยเวียดนามมีเครื่องบินรุ่นนี้จำนวนมากถึง 36 ลำ แต่เทคโนโลยีเก่ากว่า Su-30SME ของพม่าพอสมควร
อย่างที่เกริ่นเอาไว้ การรบต้องมีตัวช่วย ตราบใดที่พม่าและเวียดนามยังไม่เครื่องบินแจ้งเตือนภัยทางอากาศเป็นตัวช่วย ต่อให้มี SU-35 ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับกองทัพอากาศไทย เห็นศัตรูก่อน อาวุธหมัดยาวกว่า โอกาสชนะสูงมากๆ

- มาเลเซีย พึ่งอัพเกรดเครื่องบิน F/A-18 D Hornet มีความทันสมัยสูงมาก แต่ไม่ต้องถึงมือ JAS 39 Gripen E/F แค่รุ่น C/D MS20 ก็เอาอยู่
กองทัพอากาศมาเลเซียมีเครื่องบินรบ F/A-18D จำนวน 8 ลำ ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 18 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ทใกล้ ๆ ชายแดนไทย โดยมีภารกิจหลักคือลาดตระเวนและโจมตีทางทะเล สามารถติดจรวดโจมตีเรือ Harpoon ใช้โจมตีเรือรบได้

การอัพเกรด F/A-18D Hornets ของมาเลเซีย บริษัทโบอิ้งได้รับสัญญาจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ภายใต้โครงการขายทางทหารต่างประเทศเพื่อยกระดับฝูงบินกองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ด้วยเครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet จำนวน 8 ลำ เพื่อเพิ่มศักยภาพเครื่องบินรบอเนกประสงค์ มูลค่าสัญญาการปรับปรุงประมาณ 72 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามตามเอกสารการอนุมัติโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่ประกาศโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency)

โปรแกรมอัปเกรด F/A-18D ประกอบด้วย การปรับปรุง GPS, การแสดงแผนที่ห้องนักบินแบบสี, ความสามารถในการระบุตัวตนของมิตรหรือศัตรู IFF , การเพิ่มระบบ Cueing ที่ติดตั้งบนหมวกนิรภัย , และการบำรุงรักษาและการฝึกอบรม ตามข้อมูลจากบริษัทโบอิ้ง
เครื่องบินรบ F/A-18D ของมาเลเซียจะเพิ่มขีดความสามารถในการยิงขีปนาวุธพิสัยกลาง AIM-120C7 AMRAAM สหรัฐอเมริกาอนุมัติการขายจำนวน 10 นัด และขีปนาวุธพิสัยใกล้ AIM-9X-2 SIDEWINDER Block II สหรัฐอเมริกาอนุมัติการขายจำนวน 20 นัด

เมื่อเทียบกับเครื่องบินรบ SAAB JAS-39 Gripen C/D ฝูงบิน701 กองบิน7 สุราษฎร์ธานี ที่ปรับปรุงมาตรฐานชุดคำสั่งรุ่น MS20 เครื่องบินรบของกองทัพอากาศไทย ที่มีความทันสมัยและเหนือชั้นกว่ามาก (ไม่รวมปฎิบัติการร่วม Saab 340 AEW)
เครื่องบินรบ JAS-39 Gripen C/D สามารถยิงปนาวุธรุ่นใหม่ได้ทั้ง Meteor และ AIM-120 C8 AMRAAM และปรับปรุงเรดาร์ PS-05/A Mk.3 ให้เป็นรุ่น Mk.4 ที่จะมีขีดความสามารถในการตรวจจับเพิ่มขึ้น 100% จากเดิม 120 กิโลเมตร เพิ่มระยะค้นหาเป็น 240 กิโลเมตร ในขณะที่ เครื่องบิน F/A-18 D ของมาเลเซีย ยังคงใช้เรดาร์ตัวเดิมแบบ AN/APG-73 อัพเกรดซอฟแวร์ใหม่ ระยะค้นหา 150 กิโลเมตร และปรับปรุงขีดสามารถยิงปนาวุธได้แค่ AIM-120 C7 AMRAAM เท่านั้น (ก่อนอัพเกรดไม่มีขีดความสามารถในการยิง AIM-120 AMRAAM )
ถ้ากองทัพอากาศไทยใช้ JAS-39 Gripen C/D ปฎิบัติการร่วมกับ Saab 340 AEW หรือที่กำลังปรับปรุงใหม่เป็น AEW&C ใช้ระบบ Data Link ยิ่งจะทำให้มีขีดความสามารถสูงเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้มีความเหนือชั้นในการใช้ air-to-air missile กว่ามาก และที่สำคัญ JAS-39 Gripen C/D ยังมีรัศมีการบิน(Combat range) ที่บินได้ไกลกว่า



การโจมตีทางทะเล เครื่องบิน JAS-39 Gripen C/D สามารถติดตั้งขีปนาวุธโจมตีเรือผิวน้ำรุ่นใหม่ RBS 15 Mk. IV Gungnir ที่มีระยะยิง 300 กิโลเมตรได้ และเครื่องบินF/A-18D สามารถติดตั้งขีปนาวุธโจมตีเรือผิวน้ำรุ่น Harpoon Block II ซึ่งมีความสูสีกัน แต่เครื่องบินรบ JAS-39 Gripen C/D มีขีดความสามารถตรวจจับเป้าหมายสูงกว่า หากใช้ปฎิบัติการร่วมกับ Saab 340 AEW หรือที่กำลังปรับปรุงใหม่เป็น AEW&C ใช้ระบบ Data Link ยิ่งจะทำให้มีขีดความสามารถ Air-Launched Anti-Ship Missile สูงเพิ่มขึ้นไปอีก



การโจมตีภาคพื้นดิน แม้กว่าเครื่องบิน F/A-18 D ของมาเลเซีย จะสามารถบรรทุกอาวุธได้มากว่าเครื่องบิน JAS-39 Gripen C/D ประมาณ 1,000 กิโลกรัม แต่ Gripen มีระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic warfare : EW) ที่ทันสมัยและเหนือชั้นกว่ามากๆ สามารถโจมตีภาคพื้นดิน ทั้งเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ระบบป้องกันทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีขีดความสามารถในการดำรงอยู่รอดสูงกว่า




อ้างอิง
1. https://boeing.mediaroom.com/2011-12-06-Boeing-Receives-Contract-for-1st-Major-Upgrades-to-Malaysian-F-A-18D-Hornets
2. https://www.dsca.mil/press-media/major-arms-sales/malaysia-advanced-targeting-forward-looking-infrared-atflir
3. https://www.dsca.mil/press-media/major-arms-sales/malaysia-aim-120c7-amraam-missiles
4. https://www.dsca.mil/press-media/major-arms-sales/malaysia-aim-9x-2-sidewinder-missiles
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่