ภวังค์จิต กับอนิมิตเจโตสมาธิ มีองค์ธรรมเหมือนกัน/ต่างกัน อย่างไรครับ?

กระทู้คำถาม
คำถามคือ
เจตสิกที่เกิดพร้อมกับภวังค์จิต/สัมปยุตตธรรม มีอะไรบ้าง?
เจตสิกที่เกิดพร้อมกับอนิมิตตสมาธิ/สัมปยุตตธรรม มีอะไรบ้าง?

คุณทำหมู กรุณาตอบคำถามมาบางส่วนแล้ว

https://ppantip.com/topic/42925774/comment24-38
2. เจตสิกที่เกิดกับภวังค์จิต มี 7 ดวง คือ ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, เอกัคคตา, ชีวิตินทรีย์,  มนสิการ

ท่านใด มีความเห็นเพิ่มเติมอย่างไรไหมครับ?

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
แม้ "ภวังคจิต" และ "อนิมิตตสมาธิ" อันเป็นโลกุตตระ จะไม่มีราคะ , โทสะ , โมหะ ประกอบเหมือนกัน

แต่อารมณ์ของเขาก็ต่างกัน โดยอารมณ์ของ "ภวังคจิต" ก็คือ "กรรมนิมิต" , " คตินิมิต" หรือ "กรรมอารมณ์" อย่างใดอย่างหนึ่ง
(ภวังคจิต เป็นจิตนอกวิถี หากไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็คงไม่รู้ไม่เห็นถึงการมีอยู่ของภวังคจิตได้)

ส่วน "อนิมิตตสมาธิ" อันเป็นโลกุตตระ เขามี "นิพพาน" หรือ ความสิ้นไปแห่งราคะ , โทสะ , โมหะ และ บาปอกุศลทั้งปวงเป็นอารมณ์

****************

แม้ "ภวังคจิต" ของสัตว์ในอบายก็ไม่มีราคะ , โทสะ , โมหะ ประกอบเหมือนกัน แต่เพราะมีนิมิตชั่วร้าย
จึงไม่ได้เหตุสาม คือ อโลภะเหตุ , อโทสะเหตุ , อโมหะเหตุ เหมือนสัตว์ในสุคติภูมิ เพราะเหตุนี้การหยั่งลงสู่ภวังค์ด้วยความหลับ
จึงเป็นของหยาบ ไม่สุขุมเหมือนสัตว์ในสุคติภูมิ (และเพราะไม่มีรากเหง้าแห่งกุศลในขันธสันดานเลย จึงคิดอะไรอย่างอื่น นอกจากเรื่องปากเรื่องท้องได้ยากเย็นแสนเข็ญ)

อย่างพ่อผมเคยเล่าว่า สมัยเด็กๆเคยไปช่วยปู่ทำสวน ด้วยความเป็นเด็กขยันสันหลังยาว จึงไปแอบงีบหลับ
ปรากฏว่างูมานอนแถวหว่างขาแก แกไม่ได้รู้เรื่องเลย มารู้ตัวก็ตอนปู่เอาไม้ฟาดงูนั้นแหล่ะ โชคดีนะงูไม่ฉกเป้าเข้าให้
ไม่งั้นคงไม่มีความเห็นนี้ 555

ส่วนสัตว์ในอบาย เช่น พวกเดรัจฉาน อะไรนิดหน่อย ก็สะดุ้งเฮือกดีดตัวลอย ลุกขึ้นมาพร้อมจะสู้หรือหนีในฉับพลันทันที
ยังกับนักเรียนรบพิเศษในสัปดาห์นรก หรือ พวกผ่านสงครามเวียดนามมายังไงยังงั้น
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ไปแอบฟังเพื่อนๆ คุยกัน ได้ยินแว่วๆ ว่า อนิจจสัญญา อนิจจสัญญา โอ้ นั่นเป็นศัพท์ที่สุดแสนจะไพเราะ เพราะฉะนั้น ก็อปวางอีกสักสูตร --

๖. ชราสุตตนิทเทส๑-
อธิบายชราสูตร
ว่าด้วยชรา

             พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายชราสูตร ดังต่อไปนี้
             [๓๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)

                          ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี
                          แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น
                          ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้

{ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ}


             คำว่า ชีวิต ในคำว่า ชีวิตนี้น้อยนัก อธิบายว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความ
ดำเนินไป ความให้ชีวิตดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความรักษา ความ
เป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์

             อนึ่ง ชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

                          ๑. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย
                          ๒. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย


             ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
             คือ ในขณะจิตที่เป็นอดีต ชีวิตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่
ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ชีวิตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้วในขณะ
จิตที่เป็นปัจจุบัน ชีวิตกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่
             (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

                                       ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งปวง
                          เป็นธรรมที่ประกอบกันขึ้นชั่วขณะจิตเดียว
                          ขณะย่อมหมุนไปอย่างรวดเร็ว
                                       เทวดาผู้ดำรงอยู่ได้ตั้ง ๘๔,๐๐๐ กัป
                          ก็มิได้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวง(ในขณะจิตเดียว) เป็นอยู่ได้
                          ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายไป หรือยังดำรงอยู่ในโลกนี้ดับไปแล้ว
                          ขันธ์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นอย่างเดียวกัน ดับไปแล้วก็มิได้สืบต่อกัน
                                       ขันธ์ที่แตกไปในอดีตอันหาลำดับมิได้
                          และขันธ์ที่จะแตกไปในอนาคต มีลักษณะไม่ต่างกับขันธ์ที่ดับในปัจจุบัน
                                       สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์
                          เพราะจิตแตกดับไป สัตว์โลกชื่อว่า ตายแล้ว
                          นี้เป็นปรมัตถบัญญัติ
                                       เพราะมีอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย
                          ขันธ์ทั้งหลายที่แปรไปตามฉันทะ ย่อมเป็นไปไม่ขาดสาย
                          เหมือนน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น
                                       ขันธ์ทั้งหลายถึงการทรงตัวอยู่ไม่ได้แตกไปแล้ว
                          กองขันธ์ในอนาคตก็ไม่มี ส่วนขันธ์ที่เกิดแล้วในปัจจุบันก็ดำรงอยู่
                          เหมือนเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น
                                       ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเหล่านั้น
                          ปรากฏอยู่ข้างหน้า ขันธ์ทั้งหลายที่มีการแตกเป็นธรรมดา
                          ดำรงอยู่ มิได้รวมกับขันธ์เก่า
                                       ขันธ์ทั้งหลายมาโดยสภาวะที่ไม่ปรากฏ แตกทำลายไปแล้ว
                          ก็ไปสู่สภาวะที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและดับไป
                          เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น

             ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้

             ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
             คือ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้า ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิต
เกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิต
เกี่ยวเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยไฟธาตุ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วย
วิญญาณ มูลเหตุ(กรัชกาย) ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย บุพพเหตุของ
สภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นมีกำลังน้อย
แดนเกิด(ตัณหา) มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิดร่วมกันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย
ธรรมที่ประกอบกัน (อรูปธรรม)ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิด
พร้อมกันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย กิเลสเครื่องประกอบ(ตัณหา) มีกำลังน้อย
สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่างมีกำลังน้อยตลอดเวลา สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่าง
ไม่มั่นคง สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ทำให้สภาวธรรมอื่นตกล่วงลงไป เพราะสภาวธรรม
เหล่านี้ต่างก็ไม่มีความต้านทาน สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ไม่ดำรงกันและกันอยู่ได้
แม้สภาวธรรมที่ทำให้ธรรมเหล่านี้เกิดก็ไม่มี

                                       อนึ่ง ธรรมไรๆ ก็มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมไรๆ
                          เพราะขันธ์เหล่านี้ พึงถึงความแตกดับไปโดยประการทั้งปวง
                          ขันธ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก่อน
                          แม้เหตุปัจจัยที่เกิดก่อนก็แตกดับไปแล้วในก่อน
                          ในกาลไหนๆ ขันธ์ที่เกิดก่อนและที่เกิดภายหลัง
                          จึงไม่ได้เห็นกันและกัน

             ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่