- ฉันจะเล่า ทุกๆสาระ ย่อสั้นๆนะ รู้ว่าคนรุ่นใหม่ ไม่ชอบอ่านยาวเยิ่นเย้อ
- เหล่าก๋งของฉันหนีสาระพัดทุกข์ยาก ที่ลำบากต้องกินข้าวผสมเผือกมันช่วยให้อิ่ม พวกผู้ชายได้กินเนื้อสัตว์ พวกผู้หญิงได้กินกระดูกหมูแค่นั้น
- ไปตายเอาดาบหน้า ตามที่เพื่อนๆส่งข่าวไปจาก มั่งก๊ก(สยาม) มาเรือสำเภาจากไหหลำ ดันลมหมดกลางทะเล เป็นเดือน อาหารหมดกินแต่น้ำ
- สำเภาถูกน้ำพัดมาติดที่ ปากน้ำชุมพร คนชุมพรใจดี จูงเรือเข้าฝั่ง จัดอาหารเลี้ยงดู รีบกิน เลยตายไปหลายคน เหล่าก๋งเตือนให้ค่อยๆกิน คนไม่เชื่อ !
- ชาวชุมพร เอื้อเฟื้อทั้งอาหาร ที่พัก เหล่าก๋งอาศัยเรือเล็กจากชุมพร ขึ้นบกที่เพชรบุรี เดินทางเรือไปราชบุรี ขึ้นที่บ้านโป่ง หางานทำไปหลายที่
- ได้ทำงานสวนของคหบดี ที่หนองปลาดุก ขยันทำงาน กลางคืนเหล่าก๋งก็ทำสวนพรวนดิน จนเป็นที่เมตตาของคหบดี ยกลูกสาวคือย่าชวดพลอยให้
- เหล่าก๋ง สร้างครอบครัวปักหลักมั่นคงอยู่ที่ หนองปลาดุก ส่งเงินกลับไปไหหลำ ให้พ่อแม่และญาติได้เป็นอยู่ดีขึ้น
- ครอบครัวหนองปลาดุก-บ้านโป่ง เหล่าก๋งกับย่าชวด มีลูกชาย 3 หญิง 3 แตกลูกหลานตามภาพเคยถ่ายรูปไว้ ในภาพตามยาว น่าจะเกือบ 30 คน
- ที่ว่า 30 คนคือ หลังจากลูกหลานโตไปทำงานกรุงเทพฯแล้วกลับบ้านโป่ง ถ่ายรูปรวมกันทุกตรุษจีน
- เหล่าก๋ง เน้นให้การศึกษากับลูกชายเป็นหลัก ให้เรียนโรงเรียนแคธอลิค สารสิทธิ์ บ้านโป่ง จบก็ส่งเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ส่วนลูกสาวเรียนที่ชอบ
- ฉันจะเน้นเฉพาะ สายตรงของครอบครัวฉัน ส่วนปู่คนโตกับปู่คนสุดท้อง ที่มีชีวิตประสบความสำเร็จเช่นกันนั้น ฉันคงผ่านไป
- ฉันเรียกปู่ เพราะย่าชวดพลอยของฉันไทยแท้ที่เป็นผู้เลี้ยงลูก หลาน เหลน ย่าชวดฉันจึงไม่พูดไหหลำ ต่างกับเหล่าก๋งจะพูดไหหลำกับลุกทั้งหมด
- นายกิมอุ่ย คือปู่(ก๋ง)ของฉัน แซ่โหล่ย ปู่เป็นลูกคนที่สาม มีพี่ชายพี่สาว ปู่กิมอุ่ยจบ ม.5 (ชั้นสูงสุดอัสสัมฯสมัยโน้น) จบปุ๊บเหล่าก๋งส่งไปอยู่ไหหลำ
- ปู่กิมอุ่ยได้ทั้งภาษาไหหลำกับจีนกลาง fluently + ภาษาอังกฤษ ที่เรียนเก่งที่หนึ่ง อยู่ไหหลำ 2 ปี กลับบางกอก เข้าทำงาน บ. Grupp ของเดนมาร์ค
- ต่อมากลายเป็น บ.ปูนซิเมนต์ไทย ปู่กิมอุ่ย ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นไทยตามบทกาลชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นชื่อ นายอุย (ไม่มีกิม)
- นายอุย ทำงานกับ บ.Grupp ในตำแหน่ง General Clerk คือผู้จัดการ เบอร์หนึ่งฝ่ายคนไทย โดยมี General Manager เป็นนายห้างใหญ่เดนมาร์ค
- ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้สัมภาษณ์ นายอุย ลงไว้ในหนังสือ 70 ปีของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลงเป็นคนแรกอันดับแรก)
- ฉัน คงหาโอกาสมาเขียนเล่าให้อ่านต่อ เป็นห้วงๆไป หวังว่าคงถูกใจคนรุ่นใหม่ ที่ตัดทอนย่อเป็นตอนๆไปโดยรักษาเนื้อหาเรื่องจริงไว้ได้ จบก่อนนะ
เรื่องสั้นที่ฉันเล่า : ตอน เหล่าก๋งของฉันมาจากเกาะไหหลำ
- เหล่าก๋งของฉันหนีสาระพัดทุกข์ยาก ที่ลำบากต้องกินข้าวผสมเผือกมันช่วยให้อิ่ม พวกผู้ชายได้กินเนื้อสัตว์ พวกผู้หญิงได้กินกระดูกหมูแค่นั้น
- ไปตายเอาดาบหน้า ตามที่เพื่อนๆส่งข่าวไปจาก มั่งก๊ก(สยาม) มาเรือสำเภาจากไหหลำ ดันลมหมดกลางทะเล เป็นเดือน อาหารหมดกินแต่น้ำ
- สำเภาถูกน้ำพัดมาติดที่ ปากน้ำชุมพร คนชุมพรใจดี จูงเรือเข้าฝั่ง จัดอาหารเลี้ยงดู รีบกิน เลยตายไปหลายคน เหล่าก๋งเตือนให้ค่อยๆกิน คนไม่เชื่อ !
- ชาวชุมพร เอื้อเฟื้อทั้งอาหาร ที่พัก เหล่าก๋งอาศัยเรือเล็กจากชุมพร ขึ้นบกที่เพชรบุรี เดินทางเรือไปราชบุรี ขึ้นที่บ้านโป่ง หางานทำไปหลายที่
- ได้ทำงานสวนของคหบดี ที่หนองปลาดุก ขยันทำงาน กลางคืนเหล่าก๋งก็ทำสวนพรวนดิน จนเป็นที่เมตตาของคหบดี ยกลูกสาวคือย่าชวดพลอยให้
- เหล่าก๋ง สร้างครอบครัวปักหลักมั่นคงอยู่ที่ หนองปลาดุก ส่งเงินกลับไปไหหลำ ให้พ่อแม่และญาติได้เป็นอยู่ดีขึ้น
- ครอบครัวหนองปลาดุก-บ้านโป่ง เหล่าก๋งกับย่าชวด มีลูกชาย 3 หญิง 3 แตกลูกหลานตามภาพเคยถ่ายรูปไว้ ในภาพตามยาว น่าจะเกือบ 30 คน
- ที่ว่า 30 คนคือ หลังจากลูกหลานโตไปทำงานกรุงเทพฯแล้วกลับบ้านโป่ง ถ่ายรูปรวมกันทุกตรุษจีน
- เหล่าก๋ง เน้นให้การศึกษากับลูกชายเป็นหลัก ให้เรียนโรงเรียนแคธอลิค สารสิทธิ์ บ้านโป่ง จบก็ส่งเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ส่วนลูกสาวเรียนที่ชอบ
- ฉันจะเน้นเฉพาะ สายตรงของครอบครัวฉัน ส่วนปู่คนโตกับปู่คนสุดท้อง ที่มีชีวิตประสบความสำเร็จเช่นกันนั้น ฉันคงผ่านไป
- ฉันเรียกปู่ เพราะย่าชวดพลอยของฉันไทยแท้ที่เป็นผู้เลี้ยงลูก หลาน เหลน ย่าชวดฉันจึงไม่พูดไหหลำ ต่างกับเหล่าก๋งจะพูดไหหลำกับลุกทั้งหมด
- นายกิมอุ่ย คือปู่(ก๋ง)ของฉัน แซ่โหล่ย ปู่เป็นลูกคนที่สาม มีพี่ชายพี่สาว ปู่กิมอุ่ยจบ ม.5 (ชั้นสูงสุดอัสสัมฯสมัยโน้น) จบปุ๊บเหล่าก๋งส่งไปอยู่ไหหลำ
- ปู่กิมอุ่ยได้ทั้งภาษาไหหลำกับจีนกลาง fluently + ภาษาอังกฤษ ที่เรียนเก่งที่หนึ่ง อยู่ไหหลำ 2 ปี กลับบางกอก เข้าทำงาน บ. Grupp ของเดนมาร์ค
- ต่อมากลายเป็น บ.ปูนซิเมนต์ไทย ปู่กิมอุ่ย ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นไทยตามบทกาลชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นชื่อ นายอุย (ไม่มีกิม)
- นายอุย ทำงานกับ บ.Grupp ในตำแหน่ง General Clerk คือผู้จัดการ เบอร์หนึ่งฝ่ายคนไทย โดยมี General Manager เป็นนายห้างใหญ่เดนมาร์ค
- ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้สัมภาษณ์ นายอุย ลงไว้ในหนังสือ 70 ปีของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลงเป็นคนแรกอันดับแรก)
- ฉัน คงหาโอกาสมาเขียนเล่าให้อ่านต่อ เป็นห้วงๆไป หวังว่าคงถูกใจคนรุ่นใหม่ ที่ตัดทอนย่อเป็นตอนๆไปโดยรักษาเนื้อหาเรื่องจริงไว้ได้ จบก่อนนะ