ผมเข้าใจเรื่องอนัตตา(เขียนเอง)แบบนี้ถูกหรือยังครับ

อนัตตา:กฎธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นคำสอนหนึ่งของพระพุทธศาสนาที่ว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่มีผู้กำหนดเองได้

อนัตตา:ร่างกายที่มาประกอบเป็นตัวเรานี่เป็นเพียงธาตุ4ที่มาประชุมรวมกันชั่วคราว ไม่มีตัวตนอยู่จริงเป็นไปตามหลักธรรมชาติที่สิ่งหนึ่งต้องอาศัยอีกสิ่งหนึ่งไม่สามารถมีอยู่เองตามลำพังได้เป็นเพียงสภาวธรรมที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่มีสิ่งใดที่ไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัยเลย มีแต่ร่างกายที่ปรากฏทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความสลายไป ก็สิ่งที่ปรากฏทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความสลายไป ย่อมจะกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราปรากฏทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความสลายไป ฉะนั้นข้อที่ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ร่างกายเป็นอัตตาดังนี้จึงเป็นไปไม่ได้ ร่างกายจึงเป็นอนัตตา เป็นสิ่งที่ไม่มีอำนาจในตัวเอง ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ ร่างกายมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ถูกบีบคั้นให้สลายอยู่เนืองๆ มีความสลายไปเป็นธรรมดา แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่มีข้อยกเว้น จึงทรงดับขันธปรินิพพาน ร่างกายจึงเป็น"อนัตตา"เพราะไม่เป็นไปตาม"อาณัติ"ใคร

ประโยชน์ของการเห็นอนัตตา:
(1)ดังพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งมีว่าผู้ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพานอันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ(แปลว่าอัตตาตัวตน)ในปัจจุบันทีเดียว
(2)ละสังโยชน์(แปลว่ากิเลสเครื่องผูกมัดสัตว์โลกให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด)ข้อที่1สักกายทิฏฐิความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน
(3)ความไม่ยึดติดจะเกิดจากปัญญาที่เห็นว่าทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย(ข้อมูล รายการสามเณรปลูกปัญญาธรรม พระอาจารย์ชยสาโร)

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งหมดเรื่องเดียวคือหลักเกี่ยวกับเหตุ-ปัจจัยเรื่องเดียวหลักธรรมในพระพุทธศาสนาย่อธรรมลงเหลือแค่2ข้อคือเหตุและผลสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยถ้าเราสามารถควบคุมเหตุปัจจัยได้เราก็สามารถควบคุมทุกสิ่งไม่ว่าพืช,สัตว์,คน,สิ่งไม่มีชีวิตให้เป็นอย่างที่เราต้องการได้หมด

พืช:
(1)ผักไฮโดรโปนิกส์ต้นเท่ากันทุกต้น เพราะสามารถควบคุมเหตุ-ปัจจัยให้เท่ากันทุกต้นได้
(2)ต้นไม้ ดินทราย-ต้นเล็ก ดินร่วน-ต้นใหญ่ แสงน้อย-โตช้า แสงมาก-โตเร็ว
(3)ดอกดาวเรือง ถ้าปลูกในฤดูหนาวใช้เวลาออกดอก60วัน ถ้าปลูกในฤดูร้อนใช้เวลาออกดอก70วันเพราะในช่วงดังกล่าวดาวเรืองจะเจริญเติบโตทางต้นดีและออกดอกช้าลง(ข้อมูล trathospital.go.th ดาวเรืองไฟล์pdf)
(4)ไม้น้ำประดับ ปลูกในน้ำ-ใบสีแดง ปลูกบนบก-ใบสีเขียว

สัตว์:
(1)ไก่ซีพีเลี้ยงในฟาร์มน้ำหนักเท่ากันทุกตัว เพราะสามารถควบคุมเหตุ-ปัจจัยให้เท่ากันทุกตัวได้
(2)ไก่ฟาร์มน้ำหนักมากกว่าไก่บ้าน25% เพราะเหตุ-ปัจจัยคือวิธีเลี้ยงไม่เหมือนกัน (ข้อมูล คู่มือเลี้ยงไก่cpf)
(3)ขนาดตัวไก่เป็นอนัตตา ไก่ตอน-ตัวโต ไก่ไม่ตอน-ตัวไม่โต
(4)อายุแม่ไก่พันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่เมื่อเริ่มออกไข่ฟองแรก เลี้ยงในฟาร์ม188วัน เลี้ยงในบ้าน225วัน ผิดกัน37วัน(ข้อมูล รายงานวิจัยการเลี้ยงไก่พันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่โดยพรพิมล ใจไหว)
(5)นกแก้วนกขุนทองจะเลียนเสียงตามเสียงที่พวกมันได้ยิน,กิ้งก่าจะเปลี่ยนสีตามสภาพแวดล้อมที่อยู่

คน:
(1)คนเจนเดียวกันจะนิสัยเหมือนกันเพราะได้รับเหตุ-ปัจจัยเหมือนกัน คนเจนต่างกันจะนิสัยไม่เหมือนกันเพราะได้รับเหตุ-ปัจจัยต่างกัน
(2)คนเกาหลีใต้-คนเกาหลีเหนือ เป็นฝาแฝดกันก็จริง แต่ที่ไม่เหมือนกันเพราะได้รับเหตุ-ปัจจัยไม่เหมือนกัน เช่น จีดีพีคนเกาหลีเหนือ=21000บาท จีดีพีคนเกาหลีใต้=970000บาท ผิดกัน46เท่า(ข้อมูล longtunman.com )
(3)ส่วนสูงคนทั่วโลกที่เกิดในปี1896,1996 (ช)161ซม.,169ซม. (ญ)151ซม.,159ซม. เปลี่ยนไปตามเหตุ-ปัจจัยในสองยุคสมัยที่เปลี่ยนไป(ข้อมูล ourworldindata.org)
(4)สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล-คนแต่ละประเทศสำเนียงพูดภาษาไทยไม่เหมือนกัน เพราะเหตุ-ปัจจัยคือมาจากประเทศที่ไม่เหมือนกัน
(5)คนหูหนวกจะเป็นใบ้ด้วย เพราะเหตุ-ปัจจัยคือไม่สามารถฟังเสียงพูดได้ จึงไม่สามารถพูดได้ตามไปด้วย

สิ่งไม่มีชีวิต:
(1)ราคาทองคำขึ้น-ลงเพราะเหตุ-ปัจจัย1)ดอกเบี้ยนโยบาย2)ค่าเงินดอลลาร์3)อุปสงค์-อุปทาน4)ราคาน้ำมัน
(2)ราคาน้ำ-น้ำมันในโซนประเทศตะวันออกกลาง ถูกกว่า-แพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว เพราะเหตุ-ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ไม่เหมือนกัน
(3)ไก่kfcขายดีในประเทศอิสลาม แต่ร้านอาหารmcdonaldมีเนื้อหมูในเมนูจึงขายไม่ดีในประเทศอิสลามเพราะเหตุ-ปัจจัยเกี่ยวกับศาสนา
(4)สภาพภูมิอากาศร้อน-เย็นเพราะเหตุ-ปัจจัย1)ละติจูด2)ระยะห่างจากทะเล3)ทิศทางลมประจำ4)กระแสน้ำในมหาสมุทร5)ความสูงของพื้นที่(ข้อมูล thaigoodview.com)

เป็นไปตาม หลักปฏิจจสมุปบาท(อิทัปปัจจยตา,ปัจจยาการ)-เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น

ข้อมูล:คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี คัมภีร์วิสุทธิมรรค อนัตตลักขณสูตร พุทธทาสภิกขุ ป.อ.ปยุตโต วัดหนองรี(พนมสารคาม) wikipedia.com google.com youtube.com statista.com pewresearch.org
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่