เปิดเหตุผล! ทำไมแบงก์ชาติไม่ปรับลดจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับไป 5% แต่ขอตรึงไว้ที่ 8% อีก 1 ปี
เขมวันต์ ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) กล่าวในงาน Media Briefing เรื่องการปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยอธิบายว่าทำไม ธปท. ตัดสินใจตรึงอัตราการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต (Minimum Payment) ไว้ที่ 8% ถึงสิ้นปี 2568 จากเดิมจะขึ้นเป็น 10% ในวันที่ 1 มกราคม 2568 โดยสาเหตุสำคัญมาจากการพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายหนี้บัตรเครดิตของลูกหนี้แต่ละเดือนเทียบกับภาระในระยะยาวเป็นหลัก
การจ่าย Min Pay ที่ 8% ทำให้ลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วกว่า
เขมวันต์กล่าวว่า การจ่าย Min Pay ที่ 8% ทำให้ลูกหนี้มีภาระที่ต้องจ่ายหนี้คืนโดยรวมน้อยกว่า และปิดจบได้เร็วกว่า เมื่อเทียบกับการจ่าย Min Pay 5%
ตัวอย่างกรณียอดหนี้บัตรเครดิต 30,000 บาท
การจ่าย Min Pay ที่ 10% จะทำให้ปิดหนี้ได้ภายใน 4 ปี มีภาระรวม 34,542 บาท
การจ่าย Min Pay ที่ 8% จะทำให้ปิดหนี้ได้ภายใน 5 ปี มีภาระรวม 35,877 บาท
การจ่าย Min Pay ที่ 5% จะทำให้ปิดหนี้ได้ภายใน 8 ปี มีภาระรวม 40,523 บาท
ขั้นต่ำที่ 8% ทำให้ลูกหนี้มี Room ของสินเชื่อใหม่ได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เขมวันต์กล่าวอีกว่า การปิดจบหนี้ช้าลง หรือระหว่างที่ลูกหนี้ไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ จะทำให้ลูกหนี้มี Room น้อยลงในการไปขอสินเชื่อใหม่ หรือการขอสภาพคล่องใหม่และสภาพคล่องเพิ่มเติมจะเป็นไปได้ยากขึ้น
พร้อมแนะว่า สำหรับลูกหนี้ที่ยังจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ไม่ไหว แต่สามารถจ่ายในอัตรา 5% ได้ ให้เข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้จะตรงจุดและตอบโจทย์ลูกหนี้กว่า ภาระดอกเบี้ยรวมน้อยกว่า ปิดจบหนี้ได้ไวกว่า เป็นต้น
การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางการร้องขอของฝ่ายกระทรวงการคลังที่ออกมากล่าวหลายต่อหลายครั้งให้ ธปท. ช่วยพิจารณาทบทวนปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตให้กลับไปที่ 5% อีกครั้ง เนื่องจากมองว่าคนกำลังลำบาก ส่วนเรื่องวินัยให้ค่อยๆ แก้อีกที
เปิดข้อมูล ตกลงคนจ่ายขั้นต่ำไหว 8% หรือไม่?
ตามข้อมูลล่าสุดของ ธปท. จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบธรุกิจแสดงให้เห็นว่า บัญชีบัตรเครดิตราว 93% สามารถจ่ายมากกว่าหรือเท่ากับ 8% ได้ โดยมี 7% เท่านั้นที่จ่ายต่ำกว่าขั้นต่ำ
ขณะที่ตามข้อมูลจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) แสดงให้เห็นว่า ในไตรมาสที่ 1 หนี้เสียบัตรเครดิต (NPL) เพิ่มขึ้น 14.6% ขณะที่สินเชื่อที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ (SML) หรือหนี้ที่ผิดนัดชำระ 31-90 วัน ประเภทบัตร เพิ่มขึ้นถึง 32.4% หลัง ธปท. ได้ปรับเกณฑ์จ่ายขั้นต่ำไปที่ 8% จาก 5% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567
ที่มา : thestandardwealth
ทำไมแบงก์ชาติไม่ปรับลดจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับไป 5%
เขมวันต์กล่าวว่า การจ่าย Min Pay ที่ 8% ทำให้ลูกหนี้มีภาระที่ต้องจ่ายหนี้คืนโดยรวมน้อยกว่า และปิดจบได้เร็วกว่า เมื่อเทียบกับการจ่าย Min Pay 5%
ตัวอย่างกรณียอดหนี้บัตรเครดิต 30,000 บาท
การจ่าย Min Pay ที่ 10% จะทำให้ปิดหนี้ได้ภายใน 4 ปี มีภาระรวม 34,542 บาท
การจ่าย Min Pay ที่ 8% จะทำให้ปิดหนี้ได้ภายใน 5 ปี มีภาระรวม 35,877 บาท
การจ่าย Min Pay ที่ 5% จะทำให้ปิดหนี้ได้ภายใน 8 ปี มีภาระรวม 40,523 บาท
ขั้นต่ำที่ 8% ทำให้ลูกหนี้มี Room ของสินเชื่อใหม่ได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เขมวันต์กล่าวอีกว่า การปิดจบหนี้ช้าลง หรือระหว่างที่ลูกหนี้ไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ จะทำให้ลูกหนี้มี Room น้อยลงในการไปขอสินเชื่อใหม่ หรือการขอสภาพคล่องใหม่และสภาพคล่องเพิ่มเติมจะเป็นไปได้ยากขึ้น
พร้อมแนะว่า สำหรับลูกหนี้ที่ยังจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ไม่ไหว แต่สามารถจ่ายในอัตรา 5% ได้ ให้เข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้จะตรงจุดและตอบโจทย์ลูกหนี้กว่า ภาระดอกเบี้ยรวมน้อยกว่า ปิดจบหนี้ได้ไวกว่า เป็นต้น
การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางการร้องขอของฝ่ายกระทรวงการคลังที่ออกมากล่าวหลายต่อหลายครั้งให้ ธปท. ช่วยพิจารณาทบทวนปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตให้กลับไปที่ 5% อีกครั้ง เนื่องจากมองว่าคนกำลังลำบาก ส่วนเรื่องวินัยให้ค่อยๆ แก้อีกที
เปิดข้อมูล ตกลงคนจ่ายขั้นต่ำไหว 8% หรือไม่?
ตามข้อมูลล่าสุดของ ธปท. จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบธรุกิจแสดงให้เห็นว่า บัญชีบัตรเครดิตราว 93% สามารถจ่ายมากกว่าหรือเท่ากับ 8% ได้ โดยมี 7% เท่านั้นที่จ่ายต่ำกว่าขั้นต่ำ
ขณะที่ตามข้อมูลจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) แสดงให้เห็นว่า ในไตรมาสที่ 1 หนี้เสียบัตรเครดิต (NPL) เพิ่มขึ้น 14.6% ขณะที่สินเชื่อที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ (SML) หรือหนี้ที่ผิดนัดชำระ 31-90 วัน ประเภทบัตร เพิ่มขึ้นถึง 32.4% หลัง ธปท. ได้ปรับเกณฑ์จ่ายขั้นต่ำไปที่ 8% จาก 5% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567