คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การบังคับคดีทำได้ทันทีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 274 ระบุเรื่องกำหนดเวลาบังคับคดีว่าเริ่มตั้งแต่ศาลมีคำพิพากษา หรือ คำสั่ง ไม่ได้ระบุว่า เริ่มเมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด (ดังนั้นการอุทธรณ์/ฎีกา ไม่เกี่ยว)
ขั้นตอนต่อไป
1.ถ้าจำเลยมาฟังคำพิพากษาให้ถือว่าจำเลยได้รับคำบังคับแล้ว
2.ถ้าจำเลยไม่ได้มาฟังคำพิพากษา โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกคำบังคับและส่งไปยังภูมิลำเนาจำเลยและให้ปิดคำบังคับไว้
*ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับภายในกำหนดเวลา จะเข้าสู่ขั้นตอนการบังคับคดี โดยโจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี > ถือหมายไปติดต่อและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี > เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับ และ หมายขังจำเลย เพื่อเอาตัวจำเลยไปขังไว้ชั่วคราว (ไม่เกิน 6 เดือน) จนกว่าจะส่งที่ดินคืนให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้
การอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ใช่การทุเลาการบังคับ ดังนั้นบังคับคดีได้ ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ
ขั้นตอนต่อไป
1.ถ้าจำเลยมาฟังคำพิพากษาให้ถือว่าจำเลยได้รับคำบังคับแล้ว
2.ถ้าจำเลยไม่ได้มาฟังคำพิพากษา โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกคำบังคับและส่งไปยังภูมิลำเนาจำเลยและให้ปิดคำบังคับไว้
*ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับภายในกำหนดเวลา จะเข้าสู่ขั้นตอนการบังคับคดี โดยโจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี > ถือหมายไปติดต่อและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี > เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับ และ หมายขังจำเลย เพื่อเอาตัวจำเลยไปขังไว้ชั่วคราว (ไม่เกิน 6 เดือน) จนกว่าจะส่งที่ดินคืนให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้
การอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ใช่การทุเลาการบังคับ ดังนั้นบังคับคดีได้ ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ
แสดงความคิดเห็น
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลย แต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่ดิน โดยอ้างคดียังไม่ถึงที่สุด เราสามารถทำอะไรได้บ้าง