ขอความรู้ด้านกฎหมาย ศาลแพ่งอนุญาตให้ทุเลาบังคับคดีในกรณีนี้ได้หรือไม่

กระทู้สนทนา
ขอเว้นเรื่องการเมือง พอดีวันนี้มีคำสั่งคดีแพ่งที่แปลกๆ จึงใคร่ขอความเห็นท่านผู้รู้ทางกฎหมายสักนิด
1.    ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2550 ระบุให้บริษัท ก. ชำระหนี้เงิน 100,000  บาทให้แก่โจทก์แทนจำเลย (หมายถึงเงินที่จำเลยมีสิทธิ์เรียกร้องจากบริษัท ก.)
2.    หลังจากนั้นไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษา คดีจึงถึงที่สุด
3.    เมื่อจำเลยและบริษัท ก.ไม่ยอมชำระตามคำพิพากษา  โจทก์จึงขอให้บังคับคดีบริษัท ก.
4.    บริษัท ก. ได้พยายามอ้างเหตุต่างๆเพื่อประวิงการชำระหนี้ตามคำพิพากษา เช่น อ้างว่ามีธนาคาร ท.มาอ้างสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้ด้วย จึงไม่ทราบว่าจะต้องจ่ายให้ใคร จนกระทั่งเมื่อเดือนเมษายน 2553 ศาลแพ่งจึงมีคำสั่งให้บริษัท ก.นำเงินชำระหนี้ให้กับโจทก์ภายในวันที่  10  พฤษภาคม 2553
5.    วันที่ 6 พฤษภาคม  2553 บริษัท ก.ยื่นคำร้องต่อศาลขอทุเลาการบังคับคดีโดยของดการบังคับคดี และขอวางเงินเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีจำนวน 100,000 บาทต่อศาลจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งว่า โจทก์หรือธนาคาร ท. ผู้ใดจะมีสิทธิที่แท้จริงที่จะได้รับเงิน
6.    ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่ให้งดการบังคับคดี แต่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีโดยรับเงิน 100,000 บาทไว้เป็นหลักประกัน
7.    หลังจากนั้นเป็นผลพวงตามมาที่วุ่นวายที่สุดหลายๆเรื่องซึ่งจะขอละไว้
คำถามที่สงสงสัยที่สุด
1.    ศาลแพ่งใช้กฎหมายใดมารองรับอำนาจในการอนุญาตให้บริษัท ก.ทุเลาการบังคับคดีได้  ในเมื่อการทุเลาการบังคับคดีจะกระทำได้เมื่อมีการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น  สำหรับกรณีนี้ ไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาเมื่อปี  2550 คดีจึงถึงที่สุดไปแล้ว  แต่ทำไมศาลแพ่งจึงใช้อำนาจอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีได้
2.    ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่ให้งดการบังคับคดี  แต่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี หมายความว่าอย่างไรครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่